เมนู

อรรถกถาจิตตุปปาทกัณฑ์



อธิบายมรรคจิตดวงที่ 2



บัดนี้ เพื่อทรงแสดงมรรคที่สองเป็นต้น จึงเริ่มตรัสคำว่า กตเม
ธมฺมา กุสลา
ดังนี้อีก.
บรรดาคำเหล่านั้น คำเหล่านี้ว่า กามราคพฺยาปาทานํ ตนุภาวาย
(เพื่อบรรเทากามราคะและพยาบาท) ได้แก่ เพื่อบรรเทาสังกิเลสทั้งหลายใน
คำว่าเพื่อบรรเทาสังกิเลสเหล่านั้น พึงทราบการทำให้เบาบางด้วยเหตุ 2 อย่าง
คือ การเกิดขึ้นบางคราวและการกลุ้มรุมอย่างอ่อน.
จริงอยู่ กิเลสทั้งหลายย่อมไม่เกิดขึ้นเนืองๆ แก่พระสกทาคามี เหมือน
มหาชนผู้ท่องเที่ยวไปในวัฏฏะ ย่อมเกิดขึ้นบางครั้งบางคราว แม้เมื่อเกิดขึ้นก็
เป็นการเกิดขึ้นที่เบาบาง เหมือนหน่อพืชในนาที่เขาหว่านไว้ห่าง ๆ แม้เมื่อ
เกิดขึ้นก็แผ่ไปปกปิดเบาบาง ไม่เกิดขึ้นทำการมืดมนเหมือนมหาชนผู้ท่องเที่ยว
ไปในวัฏฏะ ก็เพราะถูกมรรคทั้งสองประหาณแล้วจึงเกิดขึ้นเบาบาง ย่อมเกิดขึ้น
เป็นสภาพเบาบางเหมือนแผ่นหมอกบาง ๆ และเหมือนปีกแมลงวัน ฉะนั้น.
ในข้อนี้ พระเถระบางพวกกล่าวว่า กิเลสเกิดขึ้นแก่พระสกทาคามี
นาน ๆ ครั้งแม้ก็จริง ถึงอย่างนั้นก็เป็นกิเลสหนาเทียวเกิดขึ้น เพราะว่า พระ-
สกทาคามีนั้นยังมีบุตรและธิดาปรากฏอยู่ ดังนี้. แต่ข้อนี้ไม่เป็นประมาณ เพราะ
ว่าบุตรและธิดาย่อมมีด้วยเหตุสักว่าการลูบคลำอวัยวะน้อยใหญ่ก็มี แต่ความที่
กิเลสยังหนาไม่มีเพราะความทที่กิเลสทั้งหลายท่านละด้วยมรรคทั้งสองแล้ว. พึง
ทราบความเบาบางแห่งกิเลสทั้งหลายของท่านด้วยเหตุทั้ง 2 คือ ด้วยการเกิดขึ้น
บางคราวและเพราะกลุ้มรุมอย่างอ่อน ด้วยการฉะนี้.

คำว่า ทุติยาย (ที่ 2) ได้แก่ชื่อว่า ที่ 2 ด้วยการนับบ้าง ด้วยการ
เกิดขึ้นครั้งที่ 2 บ้าง.
บทว่า ภูมิยา ปตฺติยา (เพื่อบรรลุภูมิ) ได้แก่ เพื่อประโยชน์แก่
การได้สามัญผล. แม้ในคำว่า เพื่อบรรลุภูมิที่ 3 ที่ 4 ก็นัยนี้แหละ ข้าพเจ้า
จักกล่าวแต่เฉพาะเนื้อความที่ต่างกันเท่านั้น.
บทว่า อญฺญินฺทฺริยํ (อัญญินทรีย์) ได้แก่ อินทรีย์ที่รู้ทั่ว มีอธิบายว่า
อินทรีย์ที่รู้สัจจธรรมทั้ง 4 เหล่านั้นนั่นแหละ อันสกทาคามิมรรคนั้นรู้แล้ว
ไม่เกินขอบเขตที่ปฐมมรรครู้. แม้ในนิทเทสวารแห่งอัญญินทรีย์นั้นก็พึงทราบ
เนื้อความโดยนัยแม้นี้. ในโกฏฐาสวาระรวมกับอินทรีย์นี้ก็เป็นอินทรีย์ 9.
คำที่เหลือพึงทราบโดยนัยก่อนนั่นแหละ.
ทุติยมรรคจบ

ในมรรคจิตดวงที่ 3 บทว่า อนวเสสปฺปหานาย (เพื่อละไม่ให้
มีเหลือ) ได้แก่ เพื่อประโยชน์แก่การละสังโยชน์เหล่านั้นนั่นแหละที่เบาบาง
ด้วยอำนาจสกทาคามิมรรคมิให้เหลือ.
ในมรรคจิตดวงที่ 4 คำว่า เพื่อละรูปราคะ อรูปราคะ มานะ
อุทธัจจะ และอวิชชา มิให้มีเหลือ
ได้แก่เพื่อประโยชน์แก่การละอุทธัม-
ภาคิยสังโยชน์ 5 เหล่านั้น มิให้เหลือ. บรรดาอุทธัมภาคิยสังโยชน์เหล่านั้น
บทว่า รูปราโค ได้แก่ความกำหนัดด้วยอำนาจความพอใจในรูปภพ. บทว่า
อรูปราโค ได้แก่ ความกำหนัดด้วยอำนาจความพอใจในอรูปภพ. บทว่า
มาโน ได้แก่ มานะที่พระอรหัตพึงฆ่านั่นแหละ. อุทธัจจะและอวิชชาที่พระ-
อรหัตพึงฆ่าเหมือนกัน. ก็ในมรรคจิตทั้ง 2 (ที่ 3 ที่ 4) เหล่านี้ เป็น
อัญญินทรีย์ที่ 9 ทีเดียว.

ว่าด้วยมรรคจิตพันนัยเป็นต้น



ในมรรคทั้งหมดมีบท 60 ถ้วน โดยลำดับ รวมกับองค์อปัณณกะ
(ไม่ผิดกัน) 4 เป็น 64 บท ก็บทที่ไม่ปะปนกัน 33 บทในโกฏฐาสวาร และ
สุญญตวาร ตามปกตินั่นแหละ. พระธรรมราชาทรงจำแนกมรรคทั้ง 4 แสดงไว้
4,00 นัย คือ แม้ในมรรคจิตดวงที่ 2 เป็นต้น ก็เป็นดวงละพันนัยเหมือน
ปฐมมรรคนั่นแหละ.
ก็ในสัจจวิภังค์ พระองค์ทรงตั้งโลกุตระไว้ 6 หมื่นนัย ด้วยอำนาจ
แห่งมรรคจิตเหล่านั้นนั่นแหละ ในสติปัฏฐานวิภังค์ทรงตั้งโลกุตระไว้ 2 หมื่นนัย
ในสัมมัปปธานวิภังค์ 2 หมื่นนัย ในอิทธิบาทวิภังค์ 3 หมื่น 2 พันนัย ใน
โพชฌงค์ 3 หมื่น 2 พันนัย ในมรรควิภังค์ทรงตั้งโลกุตระไว้ 2 หมื่น
8 พันนัย ด้วยอำนาจมรรคจิตเหล่านั้นแหละ.
แต่ในที่นี้ ทรงตั้งโลกุตระไว้ 4 พันนัย ในมรรคจิตทั้ง 4 ดวง ใน
บรรดามรรคจิตเหล่านั้น ในมรรคจิตดวงที่หนึ่งประกอบด้วยปฐมฌาน ทรง
จำแนกองค์ไว้ 8 ในทุติยมรรคเป็นต้นก็เหมือนกัน. บรรดาองค์มรรคเหล่านั้น
สัมมาทิฏฐิในมรรคที่หนึ่ง ชื่อว่า สัมมาทิฏฐิ เพราะอรรถว่า ย่อมละมิจฉาทิฏฐิ
มรรคแม้มีสัมมาสังกัปปะเป็นต้นก็พึงทราบ เพราะอรรถว่าการละมิจฉาสังกัปปะ
เป็นต้นนั่นแหละ.
ถามว่า เมื่อเป็นเช่นนี้ ชื่อว่า ทิฏฐิ อันมรรคเบื้องบน 3 พึงละก็ไม่มี
เพราะความที่ทิฏฐิ 62 อันมรรคที่หนึ่งเท่านั้นละได้แล้ว ชื่อว่า สัมมาทิฏฐิ
ในมรรคเบื้องบน 3 นั้นย่อมมีอย่างไร.