เมนู

บัณฑิต ธรรมดาว่า พระอภิธรรมนี้เป็นวิสัยของพระสัพพัญญูพุทธเจ้าทั้งหลาย
เท่านั้น ไม่ใช่วิสัยของคนเหล่าอื่น จริงอยู่ การเสด็จหยั่งลงสู่พระครรภ์ของ
พระพุทธเจ้าทั้งหลายปรากฏแล้ว อภิชาติก็ปรากฏ อภิสัมโพธิก็ปรากฏ
ธรรมจักกัปปวัตตนะก็ปรากฏ ยมกปาฏิหาริย์ก็ปรากฏ การเสด็จไปสู่ที่อยู่ของ
เทวดาก็ปรากฏ ความแสดงธรรมในเทวโลกก็ปรากฏ การเสด็จลงจากเทวโลก
ก็ปรากฏ.
ขึ้นชื่อว่า การขโมยช้างแก้ว หรือม้าแก้วของพระจ้าจักรพรรดิแล้ว
เทียมยานน้อยไป นั่นไม่ใช่ฐานะ มิใช่เหตุ หรือว่า ชื่อว่า การขโมยจักรรัตนะ
แล้วห้อยไว้ที่เกวียนบรรทุกฟางเอาไป ไม่ใช่ฐานะไม่ใช่เหตุที่เป็นไปได้
หรือว่า ชื่อว่าการขโมยมณีรัตนะที่สามารถส่องแสงไกลประมาณโยชน์ใส่
ไว้ในกระเช้าฝ้ายแล้วใช้สอย ก็ไม่ใช่ฐานะไม่ใช่เหตุที่เป็นไปได้ เพราะ
เหตุไร ? เพราะเป็นภัณฑะสมควรแก่พระเจ้าจักรพรรดิ ข้อนี้ฉันใด เพราะ
พระอภิธรรมก็ฉันนั้นเหมือนกัน ไม่ใช่วิสัยของชนเหล่าอื่น เป็นวิสัยของ
พระสัพพัญญูพุทธเจ้าเหล่านั้น จริงอยู่ การเสด็จหยั่งลงสู่พระครรภ์
ของพระพุทธเจ้าทั้งหลายปรากฏแล้ว ฯลฯ การเสด็จลงจากเทวโลกก็ปรากฏ
ดูก่อนบัณฑิต ขึ้นชื่อว่ากิจด้วยนิทานของพระอภิธรรมนจึงมิได้มีด้วยประการ
ฉะนี้ เมื่อกล่าวอย่างนี้แล้ว ปรวาทีก็ไม่อาจเพื่อจะยกอุทาหรณ์อันประกอบ
ด้วยสหธรรมมาโต้ตอบได้.

ว่าด้วยพระอภิธรรมมีนิทาน



ส่วนพระติสสคุตตเถระผู้อยู่ในมัณฑลารามได้นำปเทสวิหารสูตรนี้มา
กล่าวว่า พระผู้มีพระภาคเจ้าตรัสไว้ว่า ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย เรานั้นตรัสรู้

ครั้งแรก อยู่ด้วยธรรมเป็นเครื่องอยู่อันใด เราก็อยู่ด้วยปเทสะ คือส่วนแห่ง
ธรรมอันนั้น ดังนี้ เพื่อแสดงว่าพระอภิธรรมนี้ มีมหาโพธิเป็นนิทาน ดังนี้.
จริงอยู่ ชื่อว่า ปเทสะ (ในปเทสสูตร) มี 10 อย่าง คือ ขันธปเทสะ
อายตนปเทสะ ธาตุปเทสะ สัจจปเทสะ อินทรียปเทสะ ปัจจยาการปเทสะ
สติปัฏฐานปเทสะ ฌานปเทสะ นามปเทสะ ธรรมปเทสะ บรรดาปเทสะ
10 เหล่านั้น พึงทราบดังต่อไปนี้.
พระศาสดาทรงแทงตลอดเบญจขันธ์โดยสิ้นเชิง (นิปปเทสะ) ณ
ควงไม้มหาโพธิ์ แล้วทรงประทับอยู่ด้วยเวทนาขันธ์นั้นแหละตลอดไตรมาสนี้
ทรงแทงตลอดอายตนะ 12 ธาตุ 18 โดยสิ้นเชิง แล้วประทับอยู่ด้วยอำนาจ
เวทนาในธัมมายตนะ และด้วยอำนาจเวทนาในธัมมธาตุนั้นแหละตลอดไตรมาสนี้
นี้ ทรงแทงตลอดสัจจะ 4 โดยสิ้นเชิง แล้วประทับอยู่ด้วยอำนาจเวทนาใน
ทุกขสัจจะนั่นแหละตลอดไตรมาสนี้ ทรงแทงตลอดอินทรีย์ 22 โดยสิ้นเชิง
แล้วประทับอยู่ด้วยอำนาจแห่งอินทรีย์ในหมวด 5 แห่งเวทนาตลอดไตรมาสนี้
ทรงแทงตลอดการหมุนเวียนแห่งปัจจยาการ 12 บท โดยสิ้นเชิงแล้วประทับ
อยู่ด้วยเวทนาอันมีผัสสะเป็นปัจจัยตลอดไตรมาสนี้ ทรงแทงตลอดสติปัฏฐาน 4
โดยสิ้นเชิงแล้วประทับอยู่ด้วยสามารถแห่งเวทนาสติปัฏฐานตลอดไตรมาสนี้
ทรงแทงตลอดฌาน 4 ด้วยสามารถแห่งเวทนาในองค์ฌานนั่นแหละตลอด
ไตรมาสนี้ ทรงแทงตลอดนามโดยสิ้นเชิงแล้วประทับอยู่ด้วยสามารถแห่ง
เวทนาในนามนั้นนั่นแหละตลอดไตรมาสนี้ ทรงแทงตลอดธรรมทั้งหลายโดย
สิ้นเชิงแล้วประทับอยู่ด้วยสามารถแห่งเวทนาติกะนั่นแหละตลอดธรรมทั้งหลายโดย
พระเถระกล่าวนิทานแห่งพระอภิธรรม ด้วยสามารถแห่งปเทสวิหารสูตรไว้
อย่างนี้.

ฝ่ายพระสุธรรมเทวเถระผู้อยู่ในคามวาสี เมื่อจะเปลี่ยนแปลงธรรมที่
ภายใต้โลหปราสาท กล่าวไว้ว่า ปรวาทีบุคคลนี้ เป็นเหมือนประคองแขนทั้ง
สองคร่ำครวญอยู่ในป่า และสร้างคดีที่ไม่มีพยาน จึงไม่ทราบแม้พระอภิธรรม
ว่ามีนิทาน แล้วกล่าวอย่างนี้อีกว่า สมัยหนึ่ง พระผู้มีพระภาคเจ้าประทับอยู่ที่
บัณฑุกัมพลศิลาอาสน์ ณ ควงไม้ปาริชาต สวรรค์ชั้นดาวดึงส์ ในครั้งนั้นแล
พระผู้มีพระภาคเจ้าตรัสอภิธรรมกถาแก่เทวดาชั้นดาวดึงส์ว่า กุสลา ธมฺมา
อกุสลา ธมฺมา อพฺยากตา ธมฺมา
เป็นต้น. ส่วนในพระสูตรอื่น ๆ ก็มี
นิทานอย่างเดียวกันนั่นแหละ.

พระอภิธรรมมีนิทาน 2 อย่าง



ในพระอภิธรรมมีนิทาน 2 อย่าง คือ อธิคมนิทาน และเทศนา-
นิทาน
. บรรดานิทานทั้ง 2 นั้น อธิคมนิทาน พึงทราบตั้งแต่พระทศพล
พระนามว่า ทีปังกร จนถึงมหาโพธิบัลลังก์ เทศนานิทาน พึงทราบจนถึง
การประกาศพระธรรมจักร. เพื่อความเป็นผู้ฉลาดในนิทานของพระอภิธรรม
อันสมบูรณ์ด้วยนิทานทั้ง 2 อย่างนี้บัณฑิตพึงทราบการตั้งปัญหาดังต่อไปนี้ก่อน.
ถามว่า พระอภิธรรมนี้ ให้เจริญมาด้วยอะไร ? ให้งอกงามไว้ใน
ที่ไหน ? บรรลุแล้วในที่ไหน ? บรรลุแล้วในกาลไร ? ใครบรรลุ ? วิจัย
แล้วในที่ไหน ? วิจัยแล้วในกาลไร ? ใครวิจัยแล้ว ? แสดงในที่ไหน ?
แสดงแล้วเพื่อประโยชน์แก่ใคร ? แสดงแล้วเพื่ออะไร ? พวกใครรับไว้ ?
พวกไหนกำลังศึกษา ? พวกไหนศึกษาแล้ว? พวกไหนย่อมทรงจำไว้ ?
เป็นคำของใคร ? ใครนำมา ดังนี้.
ในปัญหานั้น มีวิสัชนาดังนี้.