เมนู

เจริญอายตนะเป็นโลกุตระ ฯลฯ เจริญธาตุเป็นโลกุตระ ฯลฯ เจริญอาหาร
เป็นโลกุตระ ฯลฯ เจริญผัสสะเป็นโลกุตระ ฯลฯ เจริญเวทนาเป็นโลกุตระ
ฯลฯ เจริญสัญญาเป็นโลกุตระ ฯลฯ เจริญเจตนาเป็นโลกุตระ ฯลฯ เจริญจิต
เป็นโลกุตระ ฯลฯ อันเป็นเครื่องออกไปจากโลก นำไปสู่นิพพาน เพื่อละทิฏฐิ
เพื่อบรรลุภูมิเบื้องต้น สงัดจากกาม สงัดจากอกุศลธรรมทั้งหลายแล้ว บรรลุ
ปฐมฌาน เป็นฉันทาธิบดี ฯลฯ เป็นจิตตาธิบดี ฯลฯ เป็นวิมังสาธิบดี เป็น
ทุกขาปฏิปทา ทันธาภิญญา ฯลฯ อยู่ในสมัยใด ผัสสะ ฯลฯ อวิกเขปะ มีใน
สมัยนั้น ฯลฯ
สภาวธรรมเหล่านี้ชื่อว่า ธรรมเป็นกุศล ฯลฯ
อธิบดี จบ
มรรคจิตดวงที่ 1 จบ

อรรถกถาจิตตุปปาทกัณฑ์



อธิบายโลกุตรกุศล



พระผู้มีพระภาคเจ้าครั้นทรงแสดงกุศลที่ยังสมบัติในสามภพให้เกิดขึ้น
อย่างนี้แล้ว บัดนี้ เพื่อแสดงโลกุตรกุศลเพื่อก้าวล่วงภพทั้งหมดจึงเริ่มพระบาลี
มีอาทิว่า กตเม ธมฺมา กุสลา (ธรรมเป็นกุศล เป็นไฉน) อีก.
พึงทราบวินิจฉัยในคำว่า กตเม ธมฺมา เป็นต้นต่อไป.
บทว่า โลกุตฺตรํ ถามว่า ธรรมที่ชื่อว่า โลกุตระ เพราะอรรถ
ว่ากระไร ? ตอบว่า ที่ชื่อว่า โลกุตระ เพราะอรรถว่า ย่อมข้ามโลก ชื่อว่า

โลกุตระ เพราะอรรถว่า ข้ามพ้นโลกไป ชื่อว่า โลกุตระ เพราะอรรถว่า
ก้าวล่วง ครอบงำโลกทั้งสามตั้งอยู่.
บทว่า ฌานํ ภาเวติ (เจริญฌานโลกุตระ) ได้แก่. พระโยคาวจรยัง
อัปปนาฌานอันประกอบด้วยขณะจิตดวงหนึ่งให้เกิด คือให้เจริญ. อธิบายว่า
โลกุตรฌาน ชื่อว่า นิยยานิกะ เพราะอรรถว่า ออกไปจากโลก ออกไป
จากวัฏฏะ อีกนัยหนึ่ง ที่ชื่อว่า นิยยานิกะ เพราะอรรถว่า เป็นเครื่องออก
ไปจากโลกและจากวัฏฏะนั้น จริงอยู่ บุคคลผู้พรั่งพร้อมด้วยโลกุตรฌานนั้น
เมื่อกำหนดรู้ทุกข์ ชื่อว่า ย่อมออกไป เมื่อละสมุทัยชื่อว่าย่อมออกไป เมื่อ
กระทำให้แจ้งซึ่งนิโรธชื่อว่าย่อมออกไป เมื่อเจริญมรรคก็ชื่อว่าย่อมออกไป
เพราะฉะนั้น โลกุตรฌานนั้น จึงชื่อว่า นิยยานิกะ.
ก็กุศลอันเป็นไปในภูมิสามย่อมก่อจุติและปฏิสนธิทำให้เจริญในวัฏฏะ
เพราะฉะนั้น กุศลนั้นจึงชื่อว่า อาจยคามี ฉันใด โลกุตรกุศลนี้เป็น
เช่นนั้นหามิได้ ก็โลกุตรกุศลนี้ รื้ออยู่ทำลายอยู่ซึ่งจุติและปฏิสนธิ อันกุศล
ในภูมิสามสร้างไว้ โดยกระทำให้ขาดแคลนซึ่งปัจจัยไป เปรียบเหมือนเมื่อ
บุรุษคนหนึ่งสร้างกำแพงสูง 18 ศอก แต่อีกคนหนึ่งเอาค้อนใหญ่รื้ออยู่ ทำ
ให้กระจัดกระจายอยู่ซึ่งที่อันบุรุษนั้นก่อแล้ว ๆ พึงไป ฉะนั้น เพราะเหตุนั้น
โลกุตรฌานนั้น จึงชื่อว่า อปจยคามี (นำไปสู่พระนิพพาน).
ในบทว่า ทิฏฺฐิคตานํ ปหานาย (เพื่อละทิฏฐิ) นี้ ทิฏฐิทั้งหลาย
นั่นเอง ชื่อว่า ทิฏฐิคตะ เหมือนคำเป็นต้นว่า คูถคตํ (คูถ) มุตฺตคตํ
(มูตร). อีกอย่างหนึ่ง ที่ชื่อว่า ทิฏฐิคตะ แม้เพราะอรรถว่า ไปแล้วใน
ทิฏฐิทั้งหลายเพราะหยั่งลงในภายในแห่งทิฏฐิ 62. อีกอย่างหนึ่ง ธรรมชาติที่
ชื่อว่า ทิฏฐิคตะ แม้เพราะอรรถว่า มีทิฏฐิเป็นไป อธิบายว่า สภาวะที่มี

การไปเช่นเดียวกับทิฏฐิ คือ สภาที่เป็นไปทั่วเช่นกับทิฏฐิ. ถามว่า ก็สภาวะ
ที่เป็นไปทั่วเช่นกับทิฏฐินั้น เป็นอย่างไร ? ตอบว่า ได้แก่สักกายทิฏฐิ วิจิกิจฉา
สีลัพพตปรามาส และอกุศลมีราคะ โทสะ โมหะ พร้อมสัมปยุตตธรรมของ
ทิฏฐินั้นซึ่งยังสัตว์ให้ไปสู่อบาย เพราะสภาวธรรมเหล่านั้น ท่านเรียกว่า
สภาวะที่มีการไปเช่นกับทิฏฐิ เพราะมีสภาพเป็นไปจนถึงมรรคที่หนึ่งเกิด
เพราะฉะนั้น ทิฏฐิทั้งหลายด้วย สภาวะที่มีการไปของทิฏฐิทั้งหลายด้วย จึง
ชื่อว่า ทิฏฐิคตะ. บทว่า ปหานาย (เพื่อละ) ได้แก่ เพื่อละทิฏฐิคตะ
เหล่านั้นด้วยอำนาจสมุจเฉทประหาณ.
บทว่า ปฐมาย (เบื้องต้น) ได้แก่ ชื่อว่าเบื้องต้นด้วยอำนาจแห่งการ
นับบ้าง ด้วยอำนาจแห่งการเกิดขึ้นครั้งแรกบ้าง. บทว่า ภูมิยา (ภูมิ) ความว่า
มหาปฐพีนี้ ท่านเรียกว่า ภูมิ ก่อน ดุจในประโยคมีอาทิว่า อนนฺตรหิตาย
ภูมิยา
(บนพื้นอันปราศจากเครื่องปูลาด). จิตุปบาท (ความเกิดขึ้นแห่งจิต)
ก็เรียกว่า ภูมิ ดุจในประโยคมีอาทิว่า สุขภูมิยํ กามาวจเร (ในกามาวจร
เป็นภูมิแห่งความสุข ). แต่ในที่นี้ทรงประสงค์เอาสามัญผล ด้วยว่า
สัมปยุตตธรรมเหล่านั้น ต่อเกิดในสามัญผลนี้ เพราะฉะนั้น สามัญผลนี้
จึงชื่อว่า ภูมิ เพราะความเป็นที่อาศัยของสัมปยุตตธรรมเหล่านั้น. อีกอย่างหนึ่ง
เมื่อความเป็นโลกุตระแม้มีอยู่ สามัญผลย่อมเกิดขึ้นปรากฏได้เอง มิใช่ไม่
ปรากฏเหมือนนิพพาน เพราะฉะนั้น จึงเรียกว่า ภูมิ.
ถามว่า เพราะเหตุไร จึงตรัสคำว่า ภูมิ นี้ ตอบว่า เพื่อแสดงการ
บรรลุภูมิเบื้องต้น ในข้อนี้ พึงทราบเนื้อความอย่างนี้ว่า เพื่อบรรลุ คือเพื่อ
ประโยชน์การได้เฉพาะสามัญผลที่หนึ่ง กล่าวคือ โสดาปัตติผล. บทว่า
วิวิจฺจ (สงัด ) คือสงัดแล้ว เว้นแล้วด้วยอำนาจสมุจเฉทวิเวก.

บัดนี้ เพราะความเป็นผู้ใคร่จะแสดงถึงโลกิยฌานเว้นปฏิปทาย่อมไม่
สำเร็จโดยแท้ ครั้นความไม่สำเร็จแม้มีอยู่ในโลกุตรกุศลนี้ จึงทรงละสุทธิกนัย
เสียแล้วกระทำโลกุตรฌานให้หนักพร้อมกับปฏิปทานั่นแหละ จึงตรัสคำ
เป็นต้นว่า ทุกฺขาปฏิปทํ ทนฺธาภิญฺญํ ดังนี้.
พึงทราบวินิจฉัยในคำเป็นต้นว่า ทุกขาปฏิปทา นั้นต่อไป.
โยคาจรบุคคลใด เมื่อข่มกิเลสทั้งหลายตั้งแต่เริ่มต้น ลำบากอยู่ด้วย
การขวนขวายพร้อมกับสังขารอันยากเข็ญ จึงข่มไว้ได้ ปฏิปทาของท่านนั้น
เป็นทุกขาปฏิปทา ส่วนโยคาวจรบุคคลใดมีกิเลสข่มไว้แล้ว เมื่ออบรม
วิปัสสนาอยู่โดยกาลนานจึงถึงความปรากฏแห่งมรรค การตรัสรู้ของท่านนั้น
เป็นทันธาภิญญา. ด้วยประการตามที่กล่าวแล้ว วาระอย่างใดอย่างหนึ่ง
ชื่อว่า ทุกขาปฏิปทา ทันธาภิญญา ดังนี้เป็นต้น ท่านอธิบายไว้แล้ว.
ถามว่า ก็วาระไหน ท่านพระอรรถกถาจารย์ชอบใจ.
ตอบว่า ในวาระใด กิเลสทั้งหลายที่โยคาวจรข่มไว้ครั้งเดียวแล้วก็ฟุ้ง
ขึ้นอีก ข่มแล้วครั้งที่สองก็ย่อมฟุ้งขึ้นอีก แต่เมื่อข่มครั้งที่สามจึงทำการข่มไว้
ได้เหมือนอย่างนั้นทีเดียว แล้วจึงให้ถึงการถอนขึ้นด้วยมรรค ก็วาระนี้ ท่าน
พระอรรถกถาจารย์ชอบใจ ท่านตั้งชื่อวาระนี้ว่า ทุกขาปฏิปทา ทันธาภิญญา.
ก็ด้วยคำเพียงเท่านี้ วาระนี้ก็ยังไม่ชัดเจน เพราะฉะนั้น ในอธิการนี้
พึงทราบการอธิบายตั้งแต่ต้นอย่างนี้ว่า ก็โยคาวจรบุคคลใดกำหนดมหาภูตรูป 4
แล้วจึงกำหนดอุปาทารูป กำหนดอรูปได้ แต่เมื่อกำหนดรูปและอรูปก็ลำบากอยู่
ด้วยความทุกข์ ด้วยความลำบาก ย่อมสามารถเพื่อกำหนดได้ ปฏิปทาของ
ท่านจึงชื่อว่า ทุกขาปฏิปทา ส่วนโยคาวจรบุคคลใดมีรูปและอรูปกำหนด

ได้แล้ว ในการเจริญวิปัสสนา เพราะความชักช้าแห่งความปรากฏของมรรค
อภิญญาของโยคาวจรบุคคลนั้น จึงชื่อว่า ทันธาภิญญา.
แม้โยคาวจรบุคคลใดกำหนดรูป และอรูปได้แล้ว เมื่อกำหนดแยก
นามรูป ลำบากอยู่ด้วยความทุกข์ ด้วยความลำบาก จึงกำหนดแยกได้ และเมื่อ
กำหนดแยกนามรูปได้แล้ว เจริญวิปัสสนาอยู่โดยกาลนาน จึงสามารถให้มรรค
เกิดขึ้นได้ ปฏิปทาของท่านแม้นั้น จึงเป็นทุกขาปฏิปทา ทันธาภิญญา.
อีกรูปหนึ่ง กำหนดนามรูปได้แล้ว กำหนดแม้ปัจจัยทั้งหลาย แทง
ตลอดลักษณะทั้งหลาย ลำบากอยู่ด้วยความทุกข์ ความยาก จึงกำหนดได้ ครั้น
กำหนดปัจจัยแทงตลอดลักษณะได้แล้ว เจริญวิปัสสนาอยู่โดยกาลนาน จึงยัง
มรรคให้เกิดขึ้น แม้ด้วยอาการอย่างนี้ก็ชื่อว่า ทุกขาปฏิปทา ทันธาภิญญา.
รูปอีกกำหนดแม้ปัจจัยทั้งหลายแล้ว แทงตลอดลักษณะทั้งหลาย
ลำบากอยู่ด้วยความทุกข์ ความยาก จึงแทงตลอดได้ และท่านที่มีลักษณะอัน
แทงตลอดแล้ว เจริญวิปัสสนาอยู่โดยกาลนาน จึงยังมรรคให้เกิด แม้ด้วย
อาการอย่างนี้ ก็ชื่อว่า ทุกขาปฏิปทา ทันธาภิญญา.
รูปอื่นอีกแทงตลอดลักษณะทั้งหลายนำวิปัสสนาญาณอันคมกล้าและ
ผ่องใสมา เมื่อครอบงำนิกันติแห่งวิปัสสนาที่เกิดขึ้น ลำบากอยู่ด้วยความทุกข์
ความยาก จึงครอบงำได้ ครั้นครอบงำนิกันติได้แล้ว เจริญวิปัสสนาอยู่โดย
กาลนาน จึงยังมรรคให้เกิด แม้ด้วยอาการอย่างนี้ก็ชื่อว่า ทุกขาปฏิปทา
ทันธาภิญญา
. วาระนี้ พระอรรถกถาจารย์พอใจ และตั้งชื่อวาระนี้ไว้แล้ว.
พึงทราบปฏิปทา 3 ข้างหน้า (ที่เหลือ) โดยอุบายนี้.
ในบรรดาบททั้งหลายมีคำเป็นต้นว่า ผสฺโส โหติ (ผัสสะย่อมมี) มี
อธิกบท 4 คือ อนัญญตัญญัสสามีตินทรีย์ 1 สัมมาวาจา 1 สัมมากัมมันตะ 1

สัมมาอาชีวะ 1 และบทมีคำเป็นต้นว่า มคฺคงฺคํ ในนิทเทสมีวิตักกะเป็นต้น
ในนิทเทสวาร เป็นอธิกบท. คำที่เหลือทั้งหมดเช่นเดียวกับที่กล่าว แล้วนั่นแหละ
แต่ในอธิการนี้ มีความแปลกกันด้วยสามารถความต่างกันแห่งภูมิ เพราะเป็น.
โลกุตระ.
บรรดาอธิกบททั้ง 4 เหล่านั้น บทว่า อนัญญตัญญัสสามีตินฺทฺริยํ
ได้แก่ อินทรีย์อันเกิดขึ้นโดยส่วนเบื้องต้นนี้ ของโยคีผู้ปฏิบัติด้วยมนสิการว่า
เราจักรู้ทั่วซึ่งอมตบท คือ สัจจธรรม 4 นั่นแหละ ที่ยังไม่เคยรู้แล้วใน
สังสารวัฏซึ่งมีเบื้องต้นและที่สุดที่บุคคลรู้ไม่ได้แล้ว. ส่วนคำมีลักษณะเป็นต้น
ของอนัญญตัญญัสสามีตินทรีย์นั้น พึงทราบโดยนัยที่กล่าวไว้ในปัญญินทรีย์ใน
หนหลังนั่นแหละ.
วาจาดี หรือวาจาที่บัณฑิตสรรเสริญ ชื่อว่า สัมมาวาจา คำว่า
สัมมาวาจานี้ เป็นชื่อของการงดเว้นมิจฉาวาจา เพราะเป็นวาจาถอนขึ้นซึ่ง
วจีทุจริต. สัมมาวาจานั้นมีการกำหนดเป็นลักษณะ มีการงดเว้นเป็นกิจ มีการ
ละมิจฉาวาจาเป็นปัจจุปัฏฐาน.
การงานที่ดีหรือที่บัณฑิตสรรเสริญ ชื่อว่า สัมมากัมมันตะ คำว่า
สัมมากัมมันตะนี้เป็นชื่อของการงดเว้นปาณาติบาตเป็นต้น เพราะเป็นการงาน
ที่ถอนขึ้นซึ่งมิจฉากัมมันตะ สัมมากัมมันตะนั้นมีการตั้งขึ้นดีเป็นลักษณะ มีการ
งดเว้นเป็นกิจ มีการละมิจฉากัมมันตะเป็นปัจจุปัฏฐาน.
อาชีวะดีหรือที่บัณฑิตสรรเสริญ ชื่อว่า สัมมาอาชีวะ คำว่า
สัมมาอาชีวะนี้เป็นชื่อของการงดเว้นมิจฉาอาชีวะ สัมมาอาชีวะนั้นมีความผ่อง-
แผ้วเป็นลักษณะ มีการเป็นไปแห่งอาชีวะชอบธรรมเป็นกิจ มีการละมิจฉา
อาชีวะเป็นปัจจุปัฏฐาน.

อีกอย่างหนึ่ง พึงทราบข้อธรรมมีลักษณะเป็นต้น ในสัมมาวาจาเป็นต้น
เหล่านั้น ด้วยสามารถแห่งคำที่กล่าวแล้วในวิรติ 3 ในหนหลัง. พึงทราบมรรค
5 ที่กล่าวไว้ในหนหลังด้วยสามารถแห่งธรรม (วีรตี) 3 เหล่านี้ ด้วยประการ
ฉะนี้ ในที่นี้พึงทราบมรรค และในเยวาปนกธรรมทั้งหลาย ไม่มีสัมมาวาจา
เป็นต้นเหล่านั้น กรุณาและมุทิตาก็ไม่มีเหมือนกัน ด้วยว่า ธรรมทั้ง 3
(มีสัมมาวาจาเป็นต้น) เหล่านี้ เพราะความที่กล่าวไว้ในบาลีนี้ จึงไม่ถือเอาใน
เยวาปนกธรรมทั้งหลาย ส่วนกรุณาและมุทิตามีสัตว์เป็นอารมณ์ ก็ธรรม
(กรุณา มุทิตา) เหล่านี้เป็นอดีต อารมณ์ที่เย็นสงบ ท่านไม่ถือเอาในโลกุตระนี้
เนื้อความที่ต่างกันในอุทเทสวารเพียงเท่านี้.
ก็พึงทราบวินิจฉัยในคำนี้ว่า มคฺคงฺคํ (เป็นองค์แห่งมรรค) มคฺค-
ปริยาปนฺนํ
(นับเนื่องในมรรค) ในนิทเทสวารก่อน.
ธรรมที่ชื่อว่า มัคคังคะ เพราะอรรถว่า เป็นองค์แห่งมรรค อธิบายว่า
เป็นส่วนแห่งมรรค เหมือนอย่างว่า สิ่งที่นับเนื่องในป่า ชื่อว่า อรัญญปริ-
ยาปันนะ
ฉันใดธรรมที่นับเนื่องในมรรค ชื่อว่า มัคคปริยาปันนะ ฉันนั้น
อธิบายว่า อาศัยมรรค.
ในข้อว่า ปีติสัมโพชฌงค์ นี้ สัมโพชฌงค์คือปีตินั่นแหละ ชื่อว่า
ปีติสัมโพชฌงค์. อีกอย่างหนึ่ง ในคำว่าปีติสัมโพชฌงค์เหล่านั้น ธรรมที่
ชื่อว่า โพชฌงค์ เพราะอรรถว่า เป็นองค์แห่งธรรมสามัคคีเครื่องตรัสรู้
หรือของบุคคลผู้ตรัสรู้ คำนี้มีอธิบายว่า ธรรมสามัคคีนี้ ตรัสเรียกว่า
โพธิ เพราะทำนายว่า พระอริยสาวกย่อมตรัสรู้ด้วยธรรมสามัคคีกล่าวคือ
สติ ธรรมวิจยะ วิริยะ ปีติ ปัสสัทธิ สมาธิ และอุเบกขา อันเกิดขึ้นใน
ขณะแห่งโลกุตรมรรค ซึ่งเป็นปฏิปักษ์ต่ออุปัทวะมิใช่น้อยมีความหดหู่ ถีนะ

อุทธัจจะ ปติฏฐานคือกิเลสเป็นเครื่องยึดไว้ อายูหนะ คือ กิเลสเป็นเครื่อง
ประกอบไว้ กามสุขัลลิกานุโยค อัตตกิลมถานุโยค และอภินิเวสะ คือ ยึดมั่น
ในสัสสตทิฏฐิและอุจเฉททิฏฐิเป็นต้น. คำว่า ย่อมตรัสรู้ คือ ย่อมลุกขึ้น
จากความหลับ คือความสืบต่อแห่งกิเลส หรือย่อมตรัสรู้อริยสัจ 4 หรือกระทำ
ให้แจ้งซึ่งพระนิพพานนั่นแหละ องค์แห่งโพธิกล่าวคือธรรมสามัคคีนั้น มีอยู่
เหตุนั้น ธรรมนั้นจึงชื่อว่า โพชฌงค์ เหมือนองค์ฌานและองค์แห่งมรรค
เป็นต้น. พระอริยสาวกแม้นี้ ก็เรียกว่า โพธิ เพราะทำอธิบายว่า ย่อม
ตรัสรู้ ด้วยธรรมสามัคคีมีประการตามที่กล่าวแล้วนั้น. แม้องค์แห่งโพธิ คือ
พระอริยสาวกผู้ตรัสรู้นั้น ท่านก็เรียกว่า โพชฌงค์ เหมือนองค์แห่งเสนา
และองค์แห่งรถเป็นต้น ด้วยเหตุนั้น พระอรรถกถาจารย์ทั้งหลายจึงกล่าวว่า
ชื่อว่า โพชฌงค์ เพราะเป็นองค์แห่งบุคคลผู้ตรัสรู้.
อีกอย่างหนึ่ง พึงทราบอรรถแห่งโพชฌงค์แม้โดยนัยปฏิสัมภิทามรรค
นี้ว่า คำว่า โพชฌงค์ ถามว่า ธรรมที่ชื่อว่า โพชฌงค์ เพราะอรรถว่า
กระไร ? ตอบว่า ที่ชื่อว่า โพชฌงค์ เพราะอรรถว่า ย่อมเป็นไปพร้อม
เพื่อการตรัสรู้. ชื่อว่า โพชฌงค์ เพราะอรรถว่า ย่อมตรัสรู้. ชื่อว่า โพชฌงค์
เพราะอรรถว่า ย่อมตรัสรู้ตาม. ชื่อว่า โพชฌงค์ เพราะอรรถว่า ย่อม
ตรัสรู้เฉพาะ ชื่อว่า สัมโพชฌงค์ เพราะอรรถว่า ย่อมตรัสรู้พร้อม ดังนี้.
โพชฌงค์อันบัณฑิตสรรเสริญแล้วด้วย เป็นโพชฌงค์อันดีด้วย ชื่อว่า สัม-
โพชฌงค์
. ด้วยประการฉะนี้ สัมโพชฌงค์คือปีตินั่นแหละ ชื่อว่า ปีติสัม-
โพชฌงค์
ดังนี้. แม้ในนิทเทสแห่งเอกัคคตาแห่งจิตเป็นต้น บัณฑิตพึงทราบ
โดยนัยนี้แล.

บทว่า เตสํ ธมฺมานํ (ธรรมเหล่านั้น) ได้แก่ ธรรมคือสัจจะ 4
ย่อมถึงการแทงตลอดในสมัยนั้น ชื่อว่า ธรรมเหล่านั้น. บทว่า อญฺญตานํ
(ที่ยังไม่เคยรู้) ความว่า ธรรมเหล่านั้นอันโยคาวจรชื่อว่า รู้แล้วด้วยปฐม-
มรรคแม้ก็จริง
ท่านก็กล่าวอุปมาไว้ว่า บุคคลมาสู่วิหารที่ไม่เคยตามปรกติ
แม้ยืนอยู่ในท่ามกลางวิหารก็ย่อมพูดว่า ข้าพเจ้ามาสู่ที่ไม่เคยมา เพราะอาศัย
ความเป็นผู้ไม่มาตามปกติฉันใด และเหมือนบุคคลประดับดอกไม้ที่ไม่เคย
ประดับตามปกติ นุ่งผ้าที่ยังไม่เคยนุ่ง (ผ้าใหม่) บริโภคอาหารที่ไม่เคยบริโภค
เพราะอาศัยความเป็นผู้ไม่เคยบริโภคตามปกติ จึงพูดว่า ข้าพเจ้าบริโภคอาหาร
ที่ยังไม่เคยบริโภค ฉันใด แม้ในข้อนี้ ก็ฉันนั้น เพราะธรรมเหล่านี้ อันบุคคลนี้
ไม่รู้ตามปกติ ฉะนั้น จึงกล่าวว่า ที่ยังไม่เคยรู้ ดังนี้.
แม้ในคำว่า ที่ยังไม่เคยเห็น เป็นต้น ก็นัยนี้แหละ.
บรรดาบทเหล่านั้น บทว่า อทิฏฺฐานํ (ที่ยังไม่เคยเห็น) ได้แก่
ไม่เคยเห็นด้วยปัญญาจักษุในกาลก่อนแต่กาลนี้. บทว่า อปฺปตฺตานํ (ที่ยัง
ไม่เคยบรรลุ) คือที่ยังไม่เคยบรรลุด้วยสามารถแห่งความรู้. บทว่า อวิทิตานํ
(ที่ยังไม่เคยทราบ) คือที่ยังไม่ปรากฏด้วยญาณ. บทว่า อสจฺฉิกตานํ (ที่ยัง
ไม่เคยทำให้แจ้ง คือที่ยังไม่เคยทำให้ประจักษ์. บทว่า สจฺฉิกิริยาย (เพื่อ
ทำให้แจ้ง) คือทำให้ประจักษ์. พึงประกอบเนื้อความแม้กับบทที่เหลือกับบท
นี้อย่างนี้ว่า เพื่อรู้ธรรมที่ยังไม่เคยรู้ เพื่อเห็นธรรมที่ยังไม่เคยเห็น เพื่อบรรลุ
ธรรมที่ยังไม่เคยบรรลุ เพื่อทราบธรรมที่ยังไม่เคยทราบ ดังนี้.
ในบททั้งหลายมีอาทิว่า จตูหิ วจีทุจฺจริเตหิ (วจีทุจริต 4) บทว่า
วจี พึงทราบว่าเป็นเครื่องหมายให้รู้ทางวาจา (วจีวิญญัติ). ธรรมที่ชื่อว่า

ทุจริต เพราะอรรถว่า ความประพฤติอันโทษสามอย่างใดอย่างหนึ่งประทุษร้าย
แล้ว. ทุจริตที่เป็นไปทางวาจา ชื่อว่า วจีทุจริต อีกอย่างหนึ่ง ทุจริตที่สำเร็จ
ด้วยคำพูดเรียกว่าวจีทุจริต. เจตนาที่ชื่อว่า อารตี เพราะย่อมงดห่างไกลจาก
วจีทุจริตเหล่านั้น. ชื่อว่า วิรติ เพราะย่อมเว้นห่างไกลจากวจีทุจริตเหล่านั้น
ชื่อว่า ปฏิวิรติ (การเลิกละ) เพราะเป็นผู้ถอยจากวจีทุจริตนั้น ๆ และงดเว้น
จากวจีทุจริตเหล่านั้น. อีกอย่างหนึ่ง บททั้งสามนี้ท่านเพิ่มคำอุปสรรค บท
ทั้งสามนี้เป็นชื่อของการงดเว้นทั้งหมด. ที่ชื่อว่า เวรมณี เพราะอรรถว่า
การย่ำยี คือทำให้พินาศ. แม้คำว่า เวรมณี นี้ก็เป็นชื่อของการงดเว้นนั่นแหละ
ก็บุคคลเมื่อกล่าวมุสาวาทเป็นต้น. ชื่อว่า ย่อมทำด้วยเจตนาใด วิรติใน
โลกุตรมรรคนี้ เกิดขึ้นแล้วย่อมไม่ไห้เพื่อกระทำกิริยานั้น ย่อมตัดขาดทาง
แห่งการทำ เพราะฉะนั้น จึงชื่อว่า อกิริยา (การไม่ทำ). อนึ่ง การไม่ให้
เพื่อการกระทำนั้น ย่อมตัดขาดทางเป็นเครื่องกระทำ เพราะเหตุนั้น จึงชื่อว่า
อกรณะ (การไม่ประกอบ). อนึ่ง บุคคลเมื่อกล่าววจีทุจริต 4 อย่างด้วย
เจตนาใด ชื่อว่า ย่อมล่วงละเมิด วิรติในโลกุตรมรรคนี้เกิดขึ้นแล้ว ย่อม
ไม่ให้เพื่อล่วงละเมิดเหมือนอย่างนั้น เพราะเหตุนั้น จึงชื่อว่า อนัชฌาปัตติ
(การไม่ล่วงละเมิด).
ในบทนี้ว่า เวลาอนติกฺกโม (การไม่ล้ำเขต ) อธิบายว่า กาล
ตรัสเรียกว่า เวลา เหมือนในประโยคมีอาทิว่า ตาย เวลาย (ในกาลนั้น)
ดังนี้ก่อน. ราสิ (กอง) ตรัสเรียกว่า เวลา ในคำนี้ว่า อุรุเวลายํ วิหรติ
ประทับอยู่ที่ตำบลอุรุเวลา (กองทราย) สีมา (เขตแดน) ตรัสว่าเวลาในคำ
นี้ว่า ฐิติธมฺโม เวลํ นาติวตฺตติ (ผู้มีธรรมดำรงอยู่ย่อมไม่ประพฤติล้ำเขต)

แม้ในอธิการนี้ทรงประสงค์เอาเวลาคือเขตเท่านั้น จริงอยู่ วจีสุจริต 4 ทรง
ประสงค์เอาเวลา (คือเขต) เพราะอรรถว่า ไม่ควรก้าวล่วง ด้วยประการฉะนี้
บุคคลเมื่อก้าวล่วงวจีทุจริต 4 ด้วยเจตนาใด ชื่อว่า ย่อมก้าวล้ำเขต วิรติ
ในโลกุตรมรรคนี้ เกิดขึ้นแล้วย่อมไม่ให้เพื่อก้าวล่วงเขตนั้น เพราะเหตุนั้น
จึงตรัสว่า การไม่ล่วงล้ำเขต ดังนี้. อีกอย่างหนึ่ง ชื่อว่า เวลา เพราะอรรถว่า
ย่อมให้ย่อยยับไป อธิบายว่า ทำให้พินาศ ให้กระจัดกระจายไป. ถามว่า
ทำอะไรให้ย่อยยับไป. ตอบว่า ทำวจีทุจริต 4 ด้วยประการฉะนี้ จึงชื่อว่า
เวลา เพราะทำให้ย่อยยับไป. ที่ชื่อว่า อนติกกมะ (การไม่ก้าวล้ำ) เพราะ
อรรถว่า ไม่ก้าวล่วงประโยชน์สุขของบุคคลให้เป็นไป. พึงทราบอรรถแม้ด้วย
อำนาจบททั้ง 2 ในคำว่า เวลาอนติกฺกโม นี้ ด้วยประการฉะนี้.
ธรรมที่ชื่อว่า เสตุฆาต เพราะอรรถว่า ย่อมฆ่าซึ่งเหตุ (เสตุ) คือ
ฆ่าทางแห่งวจีทุจริต 4 อธิบายว่า ฆ่าปัจจัย. ปัจจัยตรัสเรียกว่า เสตุ ในที่นี้.
ในคำว่า เสตุฆาต นั้น มีความหมายถ้อยคำดังต่อไปนี้. ปัจจัยแห่งวจีทุจริต 4
มีราคะเป็นต้น ย่อมเชื่อม คือ ย่อมผูกพันบุคคลไว้ในวัฏฏะ เพราะเหตุนั้น
ปัจจัยนั้น จึงชื่อว่า เสตุ. การฆ่าซึ่งปัจจัยที่ชื่อว่าเสตุนั้น ชื่อว่า เสตุฆาต
คำว่า เสตุฆาต นี้เป็นชื่อของวิรติ เพราะถอนขึ้นซึ่งปัจจัยแห่งวจีทุจริต.
แต่วิรตินี้ คือ สัมมาวาจา ย่อมได้ในจิตต่าง ๆ ในส่วนเบื้องต้น เพราะย่อม
งดเว้นมุสาวาทด้วยจิตดวงหนึ่ง ย่อมงดเว้นจากเปสุญญวาทเป็นต้นด้วยจิตดวง
อื่น แต่ในขณะแห่งโลกุตรมรรคย่อมได้ในจิตดวงเดียวเท่านั้น เพราะวิรติ
คือสัมมาวาจาดวงเดียวเกิดขึ้นทำการตัดทางของเจตนาในวจีทุจริต 4 ยังองค์
มรรคให้บริบูรณ์.

บทว่า กายทุจฺจริเตหิ ได้แก่ ทุจริตที่เป็นไปทางกาย หรือทุจริต
มีปาณาติบาตเป็นต้นอันให้สำเร็จด้วยกาย. คำที่เหลือพึงทราบโดยนัยก่อนนั่นแล.
วิรติแม้นี้ กล่าวคือสัมมากัมมันตะย่อมได้ในจิตต่าง ๆ ในกาลเบื้องต้น เพราะ
ปาณาติบาตย่อมงดเว้นด้วยจิตดวงหนึ่ง ในอทินนาทานและมิจฉาจารก็ได้ในจิต
ดวงอื่น แต่ในขณะแห่งโลกุตรมรรคย่อมได้จิตดวงเดียวเท่านั้น ด้วยว่า วิรติ
ดวงเดียวเกิดทำการตัดทางแห่งเจตนาในกายทุจริต 3 อย่าง ยังองค์มรรคให้
บริบูรณ์.
พึงทราบวินิจฉัยในบทเป็นต้นว่า อกิริยา (การไม่ทำ) ในนิทเทส
แห่งสัมมาอาชีวะ ต่อไป.
บัณฑิตพึงประกอบเนื้อความโดยนัยนี้ว่า บุคคลเลี้ยงชีพอยู่ชื่อว่าย่อม
กระทำกิริยามิจฉาชีพด้วยเจตนาใด โลกุตรเจตนานี้เกิดขึ้นแล้วย่อมไม่ให้เพื่อ
ทำกิริยานั้น เพราะเหตุนั้น เจตนานั้นจึงชื่อว่า อกิริยา (การไม่ทำ). อนึ่ง
ชื่อว่า อาชีวะ นี้ เป็นเฉพาะส่วนหนึ่งมิได้มี เมื่อสัมมาวาจาและสัมมากัมมันตะ
โยคาวจรถือเอาแล้ว สัมมาอาชีวะก็เป็นอันถือเอาแล้วเหมือนกัน เพราะความ
ที่สัมมาอาชีวะนั้นเป็นไปในฝักฝ่ายแห่งวาจาและกายนั้น แต่อาชีวะนั้นพระองค์
ทรงนำออกจากวาจาและกายนั้น แสดงไว้ด้วยอำนาจแห่งการเสพอาศัยอยู่
เป็นนิตย์ เมื่อเป็นเช่นนั้น สัมมาอาชีวะก็ไม่มีหน้าที่ของตน มรรค 8 ก็ย่อม
ไม่บริบูรณ์ เพราะฉะนั้น สัมมาอาชีวะพึงมีหน้าที่ของตน องค์มรรค 8 ก็
พึงบริบูรณ์ เพราะฉะนั้น ในอธิการนี้ พึงทราบนัยดังต่อไปนี้.
ขึ้นชื่อว่า อาชีวะ แม้เมื่อแตกก็ย่อมแตกในกายทวารและวจีทวาร
นั่นแหละ ชื่อว่าการแตกแห่งอาชีวะในมโนทวารหามีไม่ แม้เมื่อบริบูรณ์
ก็ย่อมบริบูรณ์ในสองทวารนั้นนั่นเอง ชื่อว่าความบริบูรณ์แห่งอาชีวะมิได้มี

ทางมโนทวาร เพราะฉะนั้น สัมมาอาชีวะก็พึงทำกิจของตน องค์แห่งมรรค 8
ก็พึงบริบูรณ์ นี้เป็นนัยในอาชีวะนั้น ก็การก้าวล่วงในกายทวารมีอาชีวะเป็น
เหตุบ้าง ไม่มีอาชีวะเป็นเหตุบ้าง ในวจีทวารก็เหมือนกัน.
บรรดาทวารทั้งสองนั้น พระราชาและมหาอำมาตย์ของพระราชา
เป็นผู้ขวนขวายในการเล่น เมื่อจะแสดงความเป็นผู้กล้าหาญ ย่อมทำการล่าเนื้อ
บ้าง ปล้นคนเดินทางบ้าง ล่วงเกินภรรยาของผู้อื่นบ้าง ใด ๆ นี้ชื่อว่า
กายกรรมเป็นอกุศล. แม้เจตนางดเว้นจากอกุศลกายกรรมแล้ว ก็ชื่อว่า
สัมมากัมมันตะ อนึ่ง พระราชาและมหาอำมาตย์ของพระราชาย่อมกล่าว
วจีทุจริต 4 มิใช่มีอาชีวะเป็นเหตุ นี้ชื่อว่า วจีกรรมอันเป็นอกุศล แม้
งดเว้นจากวจีกรรมอันเป็นอกุศลนั้น ก็ชื่อว่า สัมมาวาจา.
แต่ว่า นายพรานและชาวประมงเป็นต้น เพราะอาชีพเป็นเหตุ ย่อม
ฆ่าสัตว์ ย่อมถือเอาสิ่งของที่เขาไม่ให้ ย่อมประพฤติมิจฉาจารใด นี้ชื่อว่า
มิจฉาอาชีวะ การงดเว้นจากมิจฉาอาชีวะนั้น ชื่อว่า สัมมาอาชีวะ พวกชน
ที่รับค่าจ้างแม้ใดย่อมกล่าวมุสา ย่อมยังเปสุญญวาท ผรุสวาท สัมผัปปลาปะ
ให้เป็นไป กรรมแม้นี้ ก็ชื่อว่า มิจฉาอาชีวะ แม้การงดเว้นจากมิจฉา-
อาชีวะนั้น ก็ชื่อว่า สัมมาอาชีวะ.
ก็พระมหาสิวเถระกล่าวไว้ว่า การก้าวล่วงกายทวารและวจีทวาร มี
อาชีวะเป็นเหตุ หรือไม่มีอาชีวะเป็นเหตุก็ตาม ย่อมนับว่าเป็นกายกรรมและ
วจีกรรมฝ่ายอกุศลโดยแท้ แม้การงดเว้นจากกายกรรมและวจีกรรมฝ่ายอกุศล
จึงเรียกว่า สัมมากัมมันตะ สัมมาวาจาได้ ก็ถ้ามีคนถามว่า อาชีวะไปไหน
เสียเล่า ? ก็จะพูดว่า บุคคลอาศัยกุหนวัตถุ (เรื่องโกหก) 3 อย่าง ยังปัจจัย

4 ให้เกิดขึ้นแล้วบริโภคปัจจัยนั้น ก็อันนี้เป็นมิจฉาอาชีวะถึงที่สุด การงดเว้น
จากมิจฉาอาชีวะนั้น ชื่อว่า สัมมาอาชีวะ.
สัมมาอาชีวะแม้นี้ ในส่วนเบื้องต้นย่อมได้ในจิตต่าง ๆ เพราะการ
งดเว้นจากการก้าวล่วงทางกายทวารก็จิตอย่างหนึ่ง จากวจีทวารก็ได้จิต
อย่างหนึ่ง แต่ในขณะแห่งโลกุตรมรรคย่อมได้จิตดวงเดียวเท่านั้น เพราะวิรติ
ดวงเดียวเกิดขึ้นกระทำการตัดทางของเจตนา ความเป็นผู้ทุศีล คือมิจฉาอาชีวะ
อัน เกิดขึ้นด้วยสามารถแห่งกรรมบถ 7 คือ กายกรรมและวจีกรรมในกายทวาร
และวจีทวารยังองค์มรรคให้บริบูรณ์ เพราะฉะนั้น ความนี้จึงแปลกกันใน
นิทเทสวาร.
แต่ในอินทรีย์ทั้งหลายทรงเพิ่มอนัญญตัญญัสสามีตินทรีย์ และในองค์
แห่งมรรคทรงเพิ่มสัมมาวาจาเป็นต้นนั้น ตรัสว่า อินทรีย์ 9* มรรคมีองค์ 8
ดังนี้ ในสังคหวารด้วยสามารถแห่งอนัญญตัญญัสสามีตินทรีย์ และสัมมาวาจา
เป็นต้นเหล่านั้น. สุญญตวาระเป็นไปตามปรกตินั่นแหละ ก็ความเบื้องต้นนี้
แปลกกันในสุทธิกปฏิปทา.
สุทธิปฏิปทา จบ

กถาว่าด้วยสุญญตาเป็นต้น



เบื้องหน้าแต่นี้ไป เป็นประเภทแห่งเทศนา คือ
สุทธิกสุญญตา 1
สุญญตปฏิปทา 1
สุทธิกอัปปณิหิตะ 1
อัปปณิหิตปฏิปทา 1

* ข้ออันอรรถกถาฉบับไทยเป็น สงฺคหวาเรน วิริยินทฺริยานิ อฏฺฐงฺคิโก มคฺโค ฉบับพม่าเป็น
สงฺคหวาเร นวินฺทฺริยานิ อฏฺฐงฺคิโก มคฺโค