เมนู

ในพระไตรปิฎกทั้ง 3 มิใช่น้อย มีอาทิเช่น อุทานสังคหะ (หมวดอุทาน)
วรรคสังคหะ เปยยาลสังคหะ นิปาตสังคหะ หมวดนิบาตมีเอกนิบาต ทุกนิบาต
เป็นต้น สังยุตตสังคหะ และปัณณาสสังคหะเป็นต้น สังคายนาแล้วอย่างนี้
สิ้น 7 เดือน.
ก็ในการอวสานแห่งการสังคายนาพระพุทธพจน์นั้น มหาปฐพีนี้ได้
สั่นสะเทือน เลื่อนลั่น หวั่นไหว มีประการมิใช่น้อยหยั่งลงไปถึงน้ำรองแผ่นดิน
เป็นที่สุด เป็นดุจมีความปราโมทย์อันเกิดขึ้นพร้อมแล้วให้อยู่ซึ่งสาธุการว่า
จงดูศาสนาของพระทศพลนี้ อันพระมหากัสสปเถระการทำให้สามารถเพื่อเป็น
ไปตลอดกาลประมาณ 5 ,000 ปี และได้เกิดมหัศจรรย์ทั้งหลายอเนกประการ.

ว่าโดยเฉพาะอภิธรรม



ก็ในปิฎกนี้ เมื่อพระเถระทั้งหลายสังคายนาพระพุทธพจน์แล้วอย่างนี้
พระอภิธรรมนี้ เมื่อว่าโดยปิฎก เป็นอภิธรรมปิฎก เมื่อว่าโดยนิกาย
เป็นขุททกนิกาย เมื่อว่าโดยองค์ เป็นไวยากรณ์ เมื่อว่าโดยธรรมขันธ์
เป็นธรรมขันธ์ หลายพันธรรมขันธ์ (22,000ธรรมขันธ์). บรรดาภิกษุ
ทั้งหลายผู้ทรงพระอภิธรรมนั้น ในกาลก่อนมีภิกษุรูปหนึ่งนั่งอยู่ในที่ประชุม
บริษัท เมื่อจะนำสูตรจากพระอภิธรรมมากล่าว ได้กล่าวธรรมกถาว่า รูปขันธ์
เป็นอัพยากตะ ขันธ์ 4 เป็นกุศลก็มี เป็นอกุศลก็มี เป็นอัพยากตะก็มี อายตนะ
10 เป็นอัพยากตะ อายตนะ 2 เป็นกุศลก็มี เป็นอกุศลก็มี เป็นอัพยากตะก็มี
ธาตุ 16 เป็นอัพยากตะ ธาตุ 2 เป็นกุศลก็มี เป็นอกุศลก็มี เป็นอัพยากตะก็มี
สมุทัยสัจจะเป็นอกุศล มรรคสัจจะเป็นกุศล นิโรธสัจจะเป็นอัพยากตะ ทุกข-
สัจจะเป็นกุศลก็มี เป็นอกุศลก็มี เป็นอัพยากตะก็มี อินทรีย์ 10 เป็นอัพยากตะ
โทมนัสสินทรีย์เป็นอกุศล อนัญญตัญญัสสามีตินทรีย์เป็นกุศล อินทรีย์ 4

เป็นกุศลก็มี เป็นอัพยากตะก็มี อินทรีย์ 6 เป็นกุศลก็มี เป็นอกุศลก็มี เป็น
อัพยากตะก็มี ดังนี้.
ภิกษุรูปหนึ่งซึ่งนั่งอยู่ในที่นั้น ได้ถามพระธรรมกถึกว่า ดูก่อนท่าน
ธรรมกถึก ท่านนำสูตรมายาวเหมือนจะเอามาล้อมเขาสิเนรุ สูตรนี้มีชื่อว่า
อย่างไรเล่า ?
พระธรรมกถึก : ชื่อว่า พระอภิธรรมสูตร ผู้มีอายุ.
ภิกษุนั้น : เพราะเหตุไร จึงนำพระอภิธรรมสูตรมา การนำพระสูตร
อื่นที่เป็นพุทธภาษิตมา ไม่สมควรหรือ
พระธรรมกถึก : พระอภิธรรม ใครภาษิตไว้เล่า ?
ภิกษุนั้น : พระอภิธรรมนี้ ไม่ใช่พุทธภาษิต.
พระธรรมกถึก : ดูก่อนผู้มีอายุ ก็คุณเรียนพระวินัยปิฏกหรือไม่.
ภิกษุนั้น : กระผมไม่ได้เรียนขอรับ.
พระธรรมกถึก : เห็นจะเป็นเพราะคุณไม่ทรงพระวินัย เมื่อไม่รู้จึง
กล่าวอย่างนี้.
ภิกษุนั้น : กระผมเรียนเพียงวินัยเท่านั้นขอรับ.
พระธรรมกถึก : แม้วินัยนั้นก็เรียนเอาไม่ดี คงจักนั่งเรียนหลับอยู่ที่
ท้ายบริษัท หรือว่า เพราะพระอุปัชฌาย์ผู้ให้บุคคลเช่นท่านบรรพชา อุปสมบท
เป็นคนด่วนได้ เพราะเหตุไร ? เพราะแม้วินัยเธอก็เรียนไม่ดี จริงอยู่ พระ-
ผู้มีพระภาคเจ้าตรัสพระดำรัสนี้ในพระวินัยนั้นว่า ภิกษุผู้ไม่ประสงค์จะติเตียน
กล่าวตามเหตุว่า นิมนต์ท่านเรียนพระสูตร เรียนคาถาทั้งหลาย หรือเรียน
พระอภิธรรมไปก่อน ภายหลังจักเรียนพระวินัย *ดังนี้ก็ไม่เป็นอาบัติ ก็แม้คำว่า
ภิกษุขอโอกาสถามปัญหาในพระสูตร แต่ไพล่ถามอภิธรรมหรือวินัย ขอโอกาส
* 1. วินย. 2. 688/454

ถามปัญหาในพระอภิธรรม แต่ไพล่ถามพระสูตรหรือวินัย ขอโอกาสถามปัญหา
ในพระวินัย แต่ไพล่ถามพระสูตรหรืออภิธรรม ดังนี้ มีประมาณเท่านี้ ท่าน
ก็ย่อมไม่รู้ พระธรรมกถึกนั้น จึงเป็นอันข่มปรวาทีได้ ด้วยถ้อยคำแม้ประมาณ
เท่านี้.
ก็มหาโคสิงคสูตร เป็นสูตรสำคัญกว่าสูตรแม้นี้ เพราะเหตุที่เป็น
พุทธภาษิต จริงอยู่ ในมหาโคสิงคสูตรนั้น พระธรรมเสนาบดีสารีบุตรเถระ
ไปเฝ้าพระผู้มีพระภาคเจ้า เพื่อกราบทูลปัญหาที่ถามและคำวิสัชนากะกันและกัน
เมื่อจะบอกคำวิสัชนาของพระมหาโมคคัลลานเถระ จึงกราบทูลว่า พระมหา-
โมคคัลลานเถระกล่าวว่า ท่านสารีบุตร ภิกษุสองรูปในพระธรรมวินัยนี้ กล่าว
อภิธรรมกถา เธอทั้งสองนั้นย่อมถามปัญหากันแล้ว ย่อมช่วยกันแก้ ไม่ขัดแย้ง
กัน และธรรมมีกถาของเธอทั้งสองนั้นย่อมเป็นไปได้ดี ท่านสารีบุตร ป่าโค-
สิงคสาลวันพึงงามด้วยภิกษุเห็นปานนี้แล* ดังนี้.
พระศาสดาไม่ตรัสว่า ขึ้นชื่อว่า พระผู้ทรงพระอภิธรรมเป็นผู้อยู่
ภายนอกศาสนาของเรา ดังนี้ แต่ทรงยกพระศอขึ้น ดุจพระสุวรรณภิงคาร
(พระเต้าทอง) เมื่อจะยังเนื้อความนั้นให้สมบูรณ์ ด้วยพระโอษฐ์อันมีสิริดัง
พระจันทร์เพ็ญ จึงทรงเปล่งพระสุรเสียงอันก้องกังวานดุจเสียงของพระพรหม
ประทานสาธุการถึงพระมหาโมคคัลลานเถระว่า ดีละ ๆ สารีบุตร ดังนี้ แล้ว
ตรัสว่า ก็โมคคัลลานะเมื่อจะพยากรณ์โดยชอบ ก็พึงพยากรณ์ตามนั้น ดูก่อน
สารีบุตร ด้วยว่าโมคคัลลานะเป็นธรรมกถึก ดังนี้.

ภิกษุผู้ทรงอภิธรรมชื่อว่า พระธรรมกถึก



จริงอยู่ ได้ยินว่า ภิกษุผู้ทรงพระอภิธรรมเท่านั้น ชื่อว่า พระธรรมกถึก
นอกจากนี้แม้กล่าวธรรม ก็ไม่ใช่เป็นพระธรรมกถึก เพราะเหตุไร เพราะว่า
* ม.มู. 12. 374/401