เมนู

โลกุตตรกุศลจิต



มรรคจิตดวงที่ 1



[196] ธรรมเป็นกุศล เป็นไฉน ?
โยคาวจรบุคคลเจริญฌานเป็นโลกุตระ อันเป็นเครื่องออกไปจากโลก
นำไปสู่นิพพาน เพื่อละทิฏฐิ เพื่อบรรลุภูมิเบื้องต้น สงัดจากกาม สงัดจาก
อกุศลธรรมทั้งหลายแล้ว บรรลุปฐมฌาน เป็นทุกขาปฏิปทา ทันธาภิญญา
ประกอบด้วยวิตก วิจาร มีปีติและสุขอันเกิดแต่วิเวก อยู่ในสมัยใด ผัสสะ
เวทนา สัญญา เจตนา จิต วิตก วิจาร ปีติ สุข เอกัคคตา สัทธินทรีย์
วิริยินทรีย์ สตินทรีย์ สมาธินทรีย์ ปัญญินทรีย์ มนินทรีย์ โสมนัสสินทรีย์
ชีวิตินทรีย์ อนัญญตัญญัสสามีตินทรีย์ สัมมาทิฏฐิ สัมมาสังกัปปะ สัมมาวาจา
สัมมากัมมันตะ สัมมาอาชีวะ สัมมาวายามะ สัมมาสติ สัมมาสมาธิ สัทธาพละ
วิริยพละ สติพละ สมาธิพละ ปัญญาพละ หิริพละ โอตตัปปพละ อโลภะ
อโทสะ อโมหะ อนภิชฌา อัพยาปาทะ สัมมาทิฏฐิ หิริ โอตัตัปปะ กายปัสสัทธิ
จิตตปัสสัทธิ กายลหุตา จิตตลหุตา กายมุทุตา กายกัมมัญญตา
จิตตกัมมัญญตา กายปาคุญญตา จิตตปาคุญญตา กายุชุกตา จิตตุชุกตา
สติสัมปชัญญะ สมถะ วิปัสสนา ปัคคาหะ อวิกเขปะ มีในสมัยนั้น หรือว่า
นามธรรมที่อิงอาศัยเกิดขึ้นแม้อื่นใด มีอยู่ในสมัยนั้น.
สภาวธรรมเหล่านี้ชื่อว่า ธรรมเป็นกุศล.
[197] ผัสสะ มีในสมัยนั้น เป็นไฉน ?
การกระทบ กิริยาที่กระทบ กิริยาที่ถูกต้อง ความถูกต้อง มีในสมัยนั้น
อันใด นี้ชื่อว่าผัสสะ มีในสมัยนั้น.

[198] เวทนา มีในสมัยนั้น เป็นไฉน ?
ความสบายทางใจ ความสุขทางใจ อันเกิดแต่สัมผัสแห่งมโนวิญญาณ-
ธาตุที่สมกัน ความเสวยอารมณ์ที่สบายเป็นสุขอันเกิดแต่เจโตสัมผัส กิริยาเสวย
อารมณ์ที่สบายเป็นสุขอันเกิดแต่เจโตสัมผัส ในสมัยนั้น อันใด นี้ชื่อว่า เวทนา
มีในสมัยนั้น.
[199] สัญญา มีในสมัยนั้น เป็นไฉน ?
การจำ กิริยาที่จำ ความจำ อันเกิดแต่สัมผัสแห่งมโนวิญญานธาตุ
ที่สมกัน ในสมัยนั้น อันใด นี้ชื่อว่าสัญญา มีในสมัยนั้น.
[200] เจตนา มีในสมัยนั้น เป็นไฉน ?
การคิด กิริยาที่คิด ความคิด อันเกิดแต่สัมผัสแห่งมโนวิญญาณธาตุ
ที่สมกัน ในสมัยนั้น อันใด นี้ชื่อว่า เจตนา มีในสมัยนั้น.
[201] จิต มีในสมัยนั้น เป็นไฉน ?
จิต มโน มานัส หทัย ปัณฑระ มโน มนายตนะ มนินทรีย์
วิญญาณ วิญญาณขันธ์ มโนวิญญาณธาตุที่สมกัน ในสมัยนั้น อันใด นี้ชื่อว่า
จิต มีในสมัยนั้น.
[202] วิตก มีในสมัยนั้น เป็นไฉน ?
ความตรึก ความตรึกอย่างแรง ความดำริ ความที่จิตแนบอยู่ใน
อารมณ์ ความที่จิตแนบสนิทอยู่ในอารมณ์ ความยกจิตขึ้นสู่อารมณ์ สัมมาสัง-
กัปปะ อันเป็นองค์แห่งมรรค นับเนื่องในมรรค ในสมัยนั้นอันใด นี้ชื่อว่า
วิตก มีในสมัยนั้น.
[203] วิจาร มีในสมัยนั้น เป็นไฉน ?

ความตรอง ความพิจารณา ความตามพิจารณา ความเข้าไปพิจารณา
ความที่จิตสืบต่ออารมณ์ ความที่จิตเพ่งอารมณ์ ในสมัยนั้นอันใด นี้ชื่อว่า
วิจาร มีในสมัยนั้น.
[204] ปีติ มีในสมัยนั้น เป็นไฉน ?
ความอิ่มใจ ความปราโมทย์ ความยินดียิ่ง ความบันเทิง ความร่าเริง
ความรื่นเริง ความปลื้มใจ ความตื่นเต้น ความที่จิตชื่นชมยินดี ปีติสัมโพชฌงค์
ในสมัยนั้น อันใด นี้ชื่อว่าปีติ มีในสมัยนั้น.
[205] สุข มีในสมัยนั้น เป็นไฉน ?
ความสบายทางใจ ความสุขทางใจ ความเสวยอารมณ์ที่สบาย เป็นสุข
อันเกิดแต่เจโตสัมผัส กิริยาเสวยอารมณ์ที่สบายเป็นสุขอันเกิดแต่เจโตสัมผัส
ในสมัยนั้น อันใด นี้ชื่อว่าสุข มีในสมัยนั้น.
[206] เอกัคคตา มีในสมัยนั้น เป็นไฉน ?
ความตั้งอยู่แห่งจิต ความดำรงอยู่แห่งจิต ความมั่นอยู่แห่งจิต ความ
ไม่ส่ายไปแห่งจิต ความไม่ฟุ้งซ่านแห่งจิต ภาวะที่จิตไม่ส่ายไป ความสงบ
สมาธินทรีย์ สมาธิพละ สัมมาสมาธิ สมาธิสัมโพชฌงค์ อันเป็นองค์แห่งมรรค
นับเนื่องในมรรค ในสมัยนั้น อันใด นี้ชื่อว่าเอกัคคตา มีในสมัยนั้น.
[207] สัทธินทรีย์ มีในสมัยนั้น เป็นไฉน ?
ศรัทธา กิริยาที่เชื่อ ความปลงใจเชื่อ ความเลื่อมใสยิ่ง ศรัทธา
อินทรีย์ คือศรัทธา สัทธาพละ อันใด นี้ชื่อว่า สัทธินทรีย์ มีในสมัยนั้น.
[208] วิริยินทรีย์ มีในสมัยนั้น เป็นไฉน ?
การปรารภความเพียรทางใจ ความขะมักเขม้น ความบากบั่น ความ
ตั้งหน้า ความพยายาม ความอุตสาหะ ความทนทาน ความเข้มแข็ง ความ

หมั่น ความก้าวไปอย่างไม่ท้อถอย ความไม่ทอดทิ้งฉันทะ ความไม่ทอดทิ้ง
ธุระ ความประคับประคองธุระ วิริยะ อินทรีย์ คือวิริยะ วิริยพละ สัมมา-
วายามะ วิริยสัมโพชฌงค์ อันเป็นองค์แห่งมรรค นับเนื่องในมรรค ในสมัย
นั้น อันใด นี้ชื่อว่า วิริยินทรีย์ มีในสมัยนั้น.
[209] สตินทรีย์ มีในสมัยนั้น เป็นไฉน ?
สติ ความตามระลึก ความหวนระลึก สติ กิริยาที่ระลึก ความทรงจำ
ความไม่เลื่อนลอย ความไม่ลืม สติ อินทรีย์คือสติ สติพละ สัมมาสติ สติ
สัมโพชฌงค์ อันเป็นองค์แห่งมรรค นับเนื่องในมรรค ในสมัยนั้น อันใด
นี้ชื่อว่า สตินทรีย์ มีในสมัยนั้น.
[210] สมาธินทรีย์ มีในสมัยนั้น เป็นไฉน ?
ความตั้งอยู่แห่งจิต ความดำรงอยู่แห่งจิต ความมั่นแห่งจิต ความ
ไม่ส่ายไปแห่งจิต ความไม่ฟุ้งซ่านแห่งจิต ภาวะที่จิตไม่ส่ายไป ความสงบ
อินทรีย์คือสมาธิ สมาธิพละ สัมมาสมาธิ สมาธิสัมโพชฌงค์ อันเป็นองค์แห่ง
มรรค นับเนื่องในมรรค ในสมัยนั้น อันใด นี้ชื่อว่า สมาธินทรีย์ มีใน
สมัยนั้น.
[211] ปัญญินทรีย์ มีในสมัยนั้น เป็นไฉน ?
ปัญญา กิริยาที่รู้ชัด ความวิจัย ความเลือกสรร ความวิจัยธรรม
ความกำหนดหมาย ความเข้าไปกำหนด ความเข้าไปกำหนดเฉพาะ ภาวะที่รู้
ภาวะที่ฉลาด ภาวะที่รู้ละเอียด ความรู้แจ่มแจ้ง ความค้นคิด ความใคร่ครวญ
ปัญญาเหมือนแผ่นดิน ปัญญาเครื่องทำลายกิเลส ปัญญาเครื่องนำทาง ความ
เห็นแจ้ง ความรู้ชัด ปัญญาเหมือนปฏัก ปัญญา อินทรีย์คือปัญญา ปัญญา
พละ ปัญญาเหมือนศัสตรา ปัญญาเหมือนปราสาท ความสว่างคือปัญญา

แสงสว่างคือปัญญา ปัญญาเหมือนประทีป ปัญญาเหมือนดวงแก้ว ความไม่หลง
ความวิจัยธรรม สัมมาทิฏฐิ ธรรมวิจัยสัมโพชฌงค์ อันเป็นองค์แห่งมรรค
นับเนื่องในมรรค ในสมัยนั้น อันใด นี้ชื่อว่า ปัญญินทรีย์ มีในสมัยนั้น.
[212] มนินทรีย์ มีในสมัยนั้น เป็นไฉน ?
จิต มโน มานัส หทัย ปัณฑระ มโน มนายตนะ อินทรีย์คือมโน-
วิญญาณ วิญญาณขันธ์ มโนวิญญาณธาตุที่สมกัน ในสมัยนั้นอันใด นี้ชื่อว่า
มนินทรีย์ มีในสมัยนั้น.
[213] โสมนัสสินทรีย์ ในสมัยนั้น เป็นไฉน ?
ความสบายทางใจ ความสุขทางใจ ความเสวยอารมณ์ที่สบาย เป็นสุข
อันเกิดแต่เจโตสัมผัส กิริยาเสวยอารมณ์ที่สบาย เป็นสุขอันเกิดแต่เจโตสัมผัส
ในสมัยนั้น อันใด นี้ชื่อว่า โสมนัสสินทรีย์ มีในสมัยนั้น.
[214] ชีวิตินทรีย์ มีในสมัยนั้น เป็นไฉน ?
อายุ ความดำรงอยู่ ความเป็นไปอยู่ กิริยาที่เป็นไปอยู่ อาการที่
สืบเนื่องกันอยู่ ความประพฤติเป็นไปอยู่ ความหล่อเลี้ยงอยู่ ชีวิต อินทรีย์
คือชีวิตของนามธรรมนั้น ๆ ในสมัยนั้น อันใด นี้ชื่อว่า ชีวิตินทรีย์ มีใน
สมัยนั้น.
[215] อนัญญตัญญัสสามีตินทรีย์ มีในสมัยนั้น เป็นไฉน ?
ปัญญา กิริยาที่รู้ชัด ความวิจัย ความเลือกสรร ความวิจัยธรรม
ความกำหนดหมาย ความเข้าไปกำหนด ความเข้าไปกำหนดเฉพาะ ภาวะที่รู้
ภาวะที่ฉลาด ภาวะที่รู้ละเอียด ความรู้แจ่มแจ้ง ความค้นคิด ความใคร่ครวญ
ปัญญาเหมือนแผ่นดิน ปัญญาเครื่องทำลายกิเลส ปัญญาเครื่องนำทาง ความ
เห็นแจ้ง ความรู้ชัด ปัญญาเหมือนปฏัก ปัญญา ปัญญาญินทรีย์ ปัญญาพละ

ปัญญาเหมือนศัสตรา ปัญญาเหมือนปราสาท ความสว่างคือปัญญา แสงสว่าง
คือปัญญา ปัญญาเหมือนประทีป ปัญญาเหมือนดวงแก้ว ความไม่หลง.
ความวิจัยธรรม สัมมาทิฏฐิ ธรรมวิจยสัมโพชฌงค์ อันเป็นองค์แห่งมรรค
นับเนื่องในมรรค เพื่อรู้ธรรมที่ยังไม่เคยรู้ เพื่อเห็นธรรมที่ยังไม่เคยเห็น
เพื่อบรรลุธรรมที่ยังไม่เคยบรรลุ เพื่อทราบธรรมที่ยังไม่เคยทราบ เพื่อทำให้
แจ้งธรรมที่ยังไม่เคยทำให้แจ้งนั้น ๆ ในสมัยนั้น อันใด นี้ชื่อว่า อนัญญ-
ตัญญัสสามีตินทรีย์
มีในสมัยนั้น.
[216] สัมมาทิฏฐิ มีในสมัยนั้น เป็นไฉน ?
ปัญญา กิริยาที่รู้ชัด ความวิจัย ความเลือกสรร ความวิจัยธรรม
ความกำหนดหมาย ความเข้าไปกำหนด ความเข้าไปกำหนดเฉพาะ ภาวะที่รู้
ภาวะที่ฉลาด ภาวะที่รู้ละเอียด ความรู้แจ่มแจ้ง ความค้นคิด ความใคร่ครวญ
ปัญญาเหมือนแผ่นดิน ปัญญาเครื่องทำลายกิเลส ปัญญาเครื่องนำทาง ความ
เห็นแจ้ง ความรู้ชัด ปัญญาเหมือนปฏัก ปัญญา ปัญญินทรีย์ ปัญญาพละ
ปัญญาเหมือนศัสตรา ปัญญาเหมือนปราสาท ความสว่างคือปัญญา แสงสว่าง
คือปัญญา ปัญญาเหมือนประทีป ปัญญาเหมือนดวงแก้ว ความไม่หลง
ความวิจัย สัมมาทิฏฐิ ธรรมวิจยสัมโพชฌงค์ อันเป็นองค์แห่งมรรค นับเนื่อง
ในมรรค ในสมัยนั้น อันใด นี้ชื่อว่าสัมมาทิฏฐิ มีในสมัยนั้น.
[217] สัมมาสังกัปปะ มีในสมัยนั้น เป็นไฉน ?
ความตรึก ความตรึกอย่างแรง ความดำริ ความที่จิตแนบอยู่ใน
อารมณ์ ความที่จิตแนบสนิทอยู่ในอารมณ์ ความยกจิตขึ้นสู่อารมณ์ ความ
ดำริชอบ อันเป็นองค์แห่งมรรค นับเนื่องในมรรค ในสมัยนั้นอันใด นี้ชื่อว่า
สัมมาสังกัปปะ มีในสมัยนั้น.

[218] สัมมาวาจา มีในสมัยนั้น เป็นไฉน ?
การงด การเว้น การเลิกละ เจตนาเครื่องเว้น การไม่ทำ การไม่
ประกอบ การไม่ล่วงละเมิด การไม่ล้ำเขต การกำจัดต้นเหตุวจีทุจริต 4 วาจา
ชอบ อันเป็นองค์แห่งมรรค นับเนื่องในมรรค ในสมัยนั้น อันใด นี้ชื่อว่า
สัมมาวาจา มีในสมัยนั้น.
[219] สัมมากัมมันตะ มีในสมัยนั้น เป็นไฉน ?
การงด การเว้น การเลิกละ เจตนาเครื่องเว้น การไม่ทำ การไม่
ประกอบ การไม่ล่วงละเมิด การไม่ล้ำเขต การกำจัดต้นเหตุกายทุจริต 3
การงานชอบ อันเป็นองค์แห่งมรรค นับเนื่องในมรรค ในสมัยนั้น อันใด
นี้ชื่อว่า สัมมากัมมันตะ มีในสมัยนั้น.
[220] สัมมาอาชีวะ มีในสมัยนั้น เป็นไฉน ?
การงด การเว้น การเลิกละ เจตนาเครื่องเว้น การไม่ทำ การไม่
ประกอบ การไม่ล่วงละเมิด การไม่ล้ำเขต การกำจัดต้นเหตุมิจฉาชีพ การ
เลี้ยงชีพชอบอันเป็นองค์แห่งมรรค นับเนื่องในมรรคในสมัยนั้น อันใด
นี้ชื่อว่า สัมมาอาชีวะ มีในสมัยนั้น.
[221] สัมมาวายามะ มีในสมัยนั้น เป็นไฉน ?
การปรารภความเพียรทางใจ ความขะมักเขม้น ความบากบั่น ความ
ตั้งหน้า ความพยายาม ความอุตสาหะ ความทนทาน ความเข้มแข็ง ความหมั่น
ความก้าวไปอย่างไม่ท้อถอย ความไม่ทอดทิ้งฉันทะ ความไม่ทอดทิ้งธุระ
ความประคับประคองธุระ วิริยะ วิริยินทรีย์ วิริยพละ ความพยายามชอบ
วิริยสัมโพชฌงค์อันเป็นองค์แห่งมรรค นับเนื่องในมรรค ในสมัยนั้น อันใด
นี้ชื่อว่า สัมมาวายามะ มีในสมัยนั้น.

[222] สัมมาสติ มีในสมัยนั้น เป็นไฉน ?
สติ ความตามระลึก ความหวนระลึก กิริยาที่ระลึก ความทรงจำ
ความไม่เลื่อนลอย ความไม่ลืม สติ สตินทรีย์ สติพละ ความระลึกชอบ
สติสัมโพชฌงค์อันเป็นองค์แห่งมรรค นับเนื่องในมรรค ในสมัยนั้น อันใด
นี้ชื่อว่า สัมมาสติ มีในสมัยนั้น.
[223] สัมมาสมาธิ มีในสมัยนั้น เป็นไฉน ?
ความตั้งอยู่แห่งจิต ความดำรงอยู่แห่งจิต ความมั่นคงแห่งจิต ความ
ไม่ส่ายไปแห่งจิต ความไม่ฟุ้งซ่านแห่งจิต ภาวะที่จิตไม่ส่ายไป ความสงบ
สมาธินทรีย์ สมาธิพละ ความตั้งใจชอบ สมาธิสัมโพชฌงค์ อันเป็นองค์
แห่งมรรค นับเนื่องในมรรค ในสมัยนั้น อันใด นี้ชื่อว่า สัมมาสมาธิ
มีในสมัยนั้น.
[224] สัทธาพละ มีในสมัยนั้น เป็นไฉน ?
ศรัทธา กิริยาที่เชื่อ กิริยาที่ปลงใจเชื่อ ความเลื่อมใสยิ่ง ศรัทธา
สัทธินทรีย์ กำลังคือศรัทธา ในสมัยนั้น อันใด นี้ชื่อว่า สัทธาพละ
มีในสมัยนั้น.
[225] วิริยพละ มีในสมัยนั้น เป็นไฉน ?
การปรารภความเพียงทางใจ ความขะมักเขม้น ความบากบั่น ความ
ตั้งหน้า ความพยายาม ความอุตสาหะ ความทนทาน ความเข้มแข็ง ความหมั่น
ความก้าวไปอย่างไม่ท้อถอย ความไม่ทอดทิ้งฉันทะ ความไม่ทอดทิ้งธุระ
ความประคับประคองธุระ วิริยะ วิริยินทรีย์ กำลังคือความเพียร สัมมาวายามะ
วิริยสัมโพชฌงค์ อันเป็นองค์แห่งมรรค นับเนื่องในมรรค ในสมัยนั้น อันใด
นี้ชื่อว่า วิริยพละ มีในสมัยนั้น.

[226] สติพละ มีในสมัยนั้น เป็นไฉน ?
สติ ความตามระลึก ความหวนระลึก สติ กิริยาที่ระลึก ความทรงจำ
ความไม่เลื่อยลอย ความไม่ลืม สติ สตินทรีย์ กำลังคือสติ ความระลึกชอบ
สติสัมโพชฌงค์ อันเป็นองค์แห่งมรรค นับเนื่องในมรรค ในสมัยนั้น อันใด
นี้ชื่อว่า สติพละ มีในสมัยนั้น.
[227] สมาธิพละ มีในสมัยนั้น เป็นไฉน ?
ความตั้งอยู่แห่งจิต ความดำรงอยู่แห่งจิต ความมั่นคงแห่งจิต ความ
ไม่ส่ายไปแห่งจิต ความไม่ฟุ้งซ่านแห่งจิต ภาวะที่จิตไม่ส่ายไป ความสงบ
สมาธินทรีย์ กำลังคือสมาธิ สัมมาสมาธิ สมาธิสัมโพชฌงค์ อันเป็นองค์
แห่งมรรค นับเนื่องในมรรค ในสมัยนั้น อันใด นี้ชื่อว่า สมาธิพละ
มีในสมัยนั้น.
[228] ปัญญาพละ มีในสมัยนั้น เป็นไฉน ?
ปัญญา กิริยาที่รู้ชัด ความวิจัย ความเลือกสรร ความวิจัยธรรม
ความกำหนดหมาย ความเข้าไปกำหนด ความเข้าไปกำหนดเฉพาะ ภาวะที่รู้
ภาวะที่ฉลาด ภาวะที่รู้ละเอียด ความรู้แจ่มแจ้ง ความค้นคิด ความใคร่ครวญ
ปัญญาเหมือนแผ่นดิน ปัญญาเป็นเครื่องทำลายกิเลส ปัญญาเป็นเครื่องนำทาง
ความเห็นแจ้ง ความรู้ชัด ปัญญาเหมือนปฏัก ปัญญา ปัญญินทรีย์ กำลัง
คือปัญญา ปัญญาเหมือนศัสตรา ปัญญาเหมือนปราสาท ความสว่างคือปัญญา
แสงสว่างคือปัญญา ปัญญาเหมือนประทีป ปัญญาเหมือนดวงแก้ว ความ
ไม่หลง ความวิจัยธรรม สัมมาทิฏฐิ ธรรมวิจยสัมโพชฌงค์ อันเป็นองค์
แห่งมรรค นับเนื่องในมรรค มีในสมัยนั้น อันใด นี้ชื่อว่า ปัญญาพละ
มีในสมัยนั้น.

[229] หิริพละ มีในสมัยนั้น เป็นไฉน ?
กิริยาที่ละอายต่อการประพฤติทุจริตอันเป็นสิ่งที่น่าละอาย วิริยาที่
ละอายต่อการประกอบอกุศลบาปธรรมทั้งหลาย ในสมัยนั้น อันใด นี้ชื่อว่า
หิริพละ มีในสมัยนั้น.
[230] โอตตัปปพละ มีในสมัยนั้น เป็นไฉน ?
กิริยาที่เกรงกลัวต่อการประพฤติทุจริตอันเป็นสิ่งที่น่าเกรงกลัว กิริยา
ที่ไม่ประกอบอกุศลบาปธรรมทั้งหลาย ในสมัยนั้น อันใด นี้ชื่อว่า โอตตัปป-
พละ
มีในสมัยนั้น.
[231] อโลภะ มีในสมัยนั้น เป็นไฉน ?
การไม่โลภ กิริยาที่ไม่โลภ ความที่ไม่โลภ การไม่กำหนัด กิริยา
ที่ไม่กำหนัด ความไม่กำหนัด ความไม่เพ่งเล็ง กุศลมูลคืออโลภะ ในสมัยนั้น
อันใด นี้ชื่อว่า อโลภะ มีในสมัยนั้น.
[232] อโทสะ มีในสมัยนั้น เป็นไฉน ?
การไม่คิดทุษร้าย กิริยาที่ไม่คิดประทุษร้าย ความไม่คิดประทุษร้าย
ความไม่พยาบาท ความไม่คิดเบียดเบียน กุศลมูลคืออโทสะ ในสมัยนั้น
อันใด นี้ชื่อว่า อโทสะ มีในสมัยนั้น.
[233] อโมหะ มีในสมัยนั้น เป็นไฉน ?
ปัญญา กิริยาที่รู้ชัด ความวิจัย ความเลือกสรร ความวิจัยธรรม
ความกำหนดหมาย ความเข้าไปกำหนด ความเข้าไปกำหนดเฉพาะ ภาวะที่รู้
ภาวะที่ฉลาด ภาวะที่รู้ละเอียด ความรู้แจ่มแจ้ง ความค้นคิด ความใคร่ครวญ
ปัญญาเหมือนแผ่นดิน ปัญญาเครื่องทำลายกิเลส ปัญญาเครื่องนำทาง ความ
เห็นแจ้ง ความรู้ชัด ปัญญาเหมือนปฏัก ปัญญา ปัญญินทรีย์ ปัญญาพละ

ปัญญาเหมือนศัสตรา ปัญญาเหมือนปราสาท ความสว่างคือปัญญา แสงสว่าง
คือปัญญา ปัญญาเหมือนประทีป ปัญญาเหมือนดวงแก้ว ความไม่หลง
ความวิจัยธรรม สัมมาทิฏฐิ ธรรมวิจยสัมโพชฌงค์ อันเป็นองค์แห่งมรรค
นับเนื่องในมรรค ในสมัยนั้น อันใด นี้ชื่อว่า อโมหะ มีในสมัยนั้น.
[234] อนภิชฌา มีในสมัยนั้น เป็นไฉน ?
การไม่โลภ กิริยาที่ไม่โลภ ความไม่โลภ ความไม่กำหนัด กิริยาที่
ไม่กำหนัด ความไม่กำหนัด ความไม่เพ่งเล็ง กุศลมูลคืออโลภะ ในสมัยนั้น
อันใด นี้ชื่อว่า อนภิชฌา มีในสมัยนั้น.
[235] อัพยาปาทะ มีในสมัยนั้น เป็นไฉน ?
การไม่คิดประทุษร้าย กิริยาที่ไม่คิดประทุษร้าย ความไม่คิด-
ประทุษร้าย ความไม่พยาบาท ความไม่คิดเบียดเบียน กุศลมูลคืออโทสะ
ในสมัยนั้น อันใด นี้ชื่อว่า อัพยาปาทะ มีในสมัยนั้น.
[236] สัมมาทิฏฐิ มีในสมัยนั้น เป็นไฉน ?
ปัญญา กิริยาที่รู้ชัด ความวิจัย ความเลือกสรร ความวิจัยธรรม
ความกำหนดหมาย ความเข้าไปกำหนด ความเข้าไปกำหนดเฉพาะ ภาวะที่รู้
ภาวะที่ฉลาด ภาวะที่รู้ละเอียด ความรู้แจ่มแจ้ง ความค้นคิด ความใคร่ควรญ
ปัญญาเหมือนแผ่นดิน ปัญญาเครื่องทำลายกิเลส ปัญญาเครื่องนำทาง ความ
เห็นแจ้ง ความรู้ชัด ปัญญาเหมือนปฏัก ปัญญา ปัญญินทรีย์ ปัญญาพละ
ปัญญาเหมือนศัสตรา ปัญญาเหมือนปราสาท ความสว่างคือปัญญา แสงสว่าง
คือปัญญา ปัญญาเหมือนประทีป ปัญญาเหมือนดวงแก้ว ความไม่หลง
ความวิจัยธรรม ความเห็นชอบ ธรรมวิจยสัมโพชฌงค์ อันเป็นองค์แห่งมรรค
นับเนื่องในมรรค ในสมัยนั้น อันใด นี้ชื่อว่า สัมมาทิฏฐิ มีในสมัยนั้น.

[237] หิริ มีในสมัยนั้น เป็นไฉน ?
กิริยาที่ละอายต่อการประพฤติทุจริตอันเป็นสิ่งที่น่าละอาย กิริยาที่
ละอายต่อการประกอบอกุศลบาปธรรมทั้งหลาย ในสมัยนั้น อันใด นี้ชื่อว่า
หิริ มีในสมัยนั้น.
[238] โอตตัปปะ มีในสมัยนั้น เป็นไฉน ?
กิริยาที่เกรงกลัวต่อการประพฤติทุจริตอันเป็นสิ่งที่น่าเกรงกลัว กิริยา
ที่เกรงกลัวต่อการประกอบอกุศลบาปธรรมทั้งหลาย ในสมัยนั้น อันใด นี้ชื่อว่า
โอตตัปปะ มีในสมัยนั้น.
[239] กายปัสสัทธิ มีในสมัยนั้น เป็นไฉน ?
การสงบ การสงบระงับ กิริยาที่สงบ กิริยาที่สงบระงับ ความสงบ
ระงับแห่งเวทนาขันธ์ สัญญาขันธ์ สังขารขันธ์ ปัสสัทธิสัมโพชฌงค์ ใน
สมัยนั้น อันใด นี้ชื่อว่า กายปัสสัทธิ มีในสมัยนั้น.
[240] จิตตปัสสัทธิ มีในสมัยนั้น เป็นไฉน ?
การสงบ การสงบระงับ กิริยาที่สงบ กิริยาที่สงบระงับ ความสงบ
ระงับแห่งวิญญาณขันธ์ ปัสสัทธิสัมโพชฌงค์ ในสมัยนั้น อันใด นี้ชื่อว่า
จิตตปัสสัทธิ มีในสมัยนั้น.
[241] กายลหุตา มีในสมัยนั้น เป็นไฉน ?
ความเบา ความรวดเร็ว ความไม่เชื่องช้า ความไม่หนัก แห่ง
เวทนาขันธ์ สัญญาขันธ์ สังขารขันธ์ ในสมัยนั้น อันใด นี้ชื่อว่า กายลหุตา
มีในสมัยนั้น.
[242] จิตตลหุตา มีในสมัยนั้น เป็นไฉน ?
ความเบา ความรวดเร็ว ความไม่เชื่องช้า ความไม่หนัก แห่ง
วิญญาณขันธ์ ในสมัยนั้น อันใด นี้ชื่อว่า จิตตลหุตา มีในสมัยนั้น.

[243] กายมุทุตา มีในสมัยนั้น เป็นไฉน ?
ความอ่อน ภาวะที่อ่อน ความไม่กักขฬะ ความไม่แข็ง แห่งเวทนาขันธ์
สัญญาขันธ์ สังขารขันธ์ ในสมัยนั้น อันใด นี้ชื่อว่า กายมุทุตา มีในสมัยนั้น.
[244] จิตตมุทุตา มีในสมัยนั้น เป็นไฉน ?
ความอ่อน ภาวะที่อ่อน ความไม่แข็ง ความไม่กระด้าง แห่ง
วิญญาณขันธ์ ในสมัยนั้น อันใด นี้ชื่อว่า จิตตมุทุตา มีในสมัยนั้น.
[245] กายกัมมัญญตา มีในสมัยนั้น เป็นไฉน ?
กิริยาที่ควรแก่การงาน ความควรแก่การงาน ภาวะที่ควแก่การงาน
แห่งเวทนาขันธ์ สัญญาขันธ์ สังขารขันธ์ ในสมัยนั้น อันใด นี้ชื่อว่า
กายกัมมัญญตา มีในสมัยนั้น.
[246] จิตตกัมมัญญตา มีในสมัยนั้น เป็นไฉน ?
กิริยาที่ควรแก่การงาน ความควรแก่การงาน ภาวะที่ควรแก่การงาน
แห่งวิญญาณขันธ์ ในสมัยนั้น อันใด นี้ชื่อว่า จิตตกัมมัญญตา มีในสมัยนั้น.
[247] กายปาคุญญตา มีในสมัยนั้น เป็นไฉน ?
กิริยาที่คล่องแคล่ว ความคล่องแคล่ว ภาวะที่คล่องแคล่ว แห่ง
เวทนาขันธ์ สัญญาขันธ์ สังขารขันธ์ ในสมัยนั้น อันใด นี้ชื่อว่า กาย-
ปาคุญญตา
มีในสมัยนั้น.
[248] จิตตปาคุญญตา มีในสมัยนั้น เป็นไฉน ?
กิริยาที่คลองแคล่ว ความคล่องแคล่ว ภาวะที่คล่องแคล่ว แห่ง
วิญญาณขันธ์ ในสมัยนั้น อันใด นี้ชื่อว่า จิตตปาคุญญตา มีในสมัยนั้น.
[249] กายุชุกตา มีในสมัยนั้น เป็นไฉน ?
ความตรง กิริยาที่ตรง ความไม่คด ความไม่โค้ง ความไม่งอ
แห่งเวทนาขันธ์ สัญญาขันธ์ สังขารขันธ์ ในสมัยนั้น อันใด นี้ชื่อว่า กายุชุกตา
มีในสมัยนั้น.

[250] จิตตุชุกตา มีในสมัยนั้น เป็นไฉน ?
ความตรง กิริยาที่ตรง ความไม่คด ความไม่โค้ง ความไม่งอ
แห่งวิญญาณขันธ์ ในสมัยนั้น อันใด นี้ชื่อว่า จิตตุชุกตา มีในสมัยนั้น.
[251] สติ มีในสมัยนั้น เป็นไฉน ?
สติ ความตามระลึก ความหวนระลึก สติ กิริยาที่ระลึก ความทรงจำ
ความไม่เลื่อนลอย ความไม่หลงลืม สติ สตินทรีย์ สติพละ ความระลึกชอบ
สติสัมโพชฌงค์ อันเป็นองค์แห่งมรรค นับเนื่องในมรรค ในสมัยนั้น อันใด
นี้ชื่อว่า สติ มีในสมัยนั้น.
[252] สัมปชัญญะ มีในสมัยนั้น เป็นไฉน ?
ปัญญา กิริยาที่รู้ชัด ความวิจัย ความเลือกสรร ความวิจัยธรรม
ความกำหนดหมาย ความเข้าไปกำหนด ความเข้าไปกำหนดเฉพาะ ภาวะที่รู้
ภาวะที่ฉลาด ภาวะที่รู้ละเอียด ความรู้แจ่มแจ้ง ความค้นคิด ความใคร่ครวญ
ปัญญาเหมือนแผ่นดิน ปัญญาเครื่องทำลายกิเลส ปัญญาเครื่องนำทาง ความ
เห็นแจ้ง ความรู้ชัด ปัญญาเหมือนปฏัก ปัญญา ปัญญินทรีย์ ปัญญาพละ
ปัญญาเหมือนศัสตรา ปัญญาเหมือนปราสาท ความสว่างคือปัญญา แสงสว่าง
คือปัญญา ปัญญาเหมือนประทีป ปัญญาเหมือนดวงแก้ว ความไม่หลง ความ
วิจัยธรรม สัมมาทิฏฐิ ธรรมวิจัยสัมโพชฌงค์ อันเป็นองค์แห่งมรรค นับเนื่อง
ในมรรค ในสมัยนั้น อันใด นี้ชื่อว่า สัมปชัญญะ มีในสมัยนั้น.
[253] สมถะ มีในสมัยนั้น เป็นไฉน ?
ความตั้งอยู่แห่งจิต ความดำรงอยู่แห่งจิต ความมั่นคงแห่งจิต ความ
ไม่ส่ายไปแห่งจิต ความไม่ฟุ้งซ่านแห่งจิต ภาวะที่จิตไม่ส่ายไป ความสงบ

สมาธินทรีย์ สมาธิพละ ความตั้งใจชอบ สมาธิสัมโพชฌงค์อันเป็นองค์แห่ง
มรรค นับเนื่องในมรรค ในสมัยนั้น อันใด นี้ชื่อว่า สมถะ มีในสมัยนั้น.
[254] วิปัสสนา มีในสมัยนั้น เป็นไฉน ?
ปัญญา กิริยาที่รู้ชัด ความวิจัย ความเลือกสรร ความวิจัยธรรม
ความกำหนดหมาย ความเข้าไปกำหนด ความเข้าไปกำหนดเฉพาะ ภาวะที่รู้
ภาวะที่ฉลาด ภาวะที่รู้ละเอียด ความรู้แจ่มแจ้ง ความค้นคิด ความใคร่ครวญ
ปัญญาเหมือนแผ่นดิน ปัญญาเครื่องทำลายกิเลส ปัญญาเครื่องนำทาง ความ
เห็นแจ้ง ความรู้ชัด ปัญญาเหมือนปฏัก ปัญญา ปัญญินทรีย์ ปัญญาพละ
ปัญญาเหมือนศัสตรา ปัญญาเหมือนปราสาท ความสว่างคือปัญญา แสงสว่าง
คือปัญญา ปัญญาเหมือนประทีป ปัญญาเหมือนดวงแก้ว ความไม่หลง
ความวิจัยธรรม สัมมาทิฏฐิ ธรรมวิจยสัมโพชฌงค์ อันเป็นองค์แห่งมรรค
นับเนื่องในมรรค ในสมัยนั้น อันใด นี้ชื่อว่า วิปัสสนา มีในสมัยนั้น.
[255] ปัคคาหะ มีในสมัยนั้น เป็นไฉน ?
การปรารภความเพียร ความขะมักเขม้น ความบากบั่น ความตั้งหน้า
ความพยายาม ความอุตสาหะ ความทนทาน ความเข้มแข็ง ความหมั่น
ความก้าวไปอย่างไม่ท้อถอย ความไม่ทอดทิ้งฉันทะ ความไม่ทอดทิ้งธุระ
ความประคับประคองธุระ วิริยะ วิริยินทรีย์ วิริยพละ สัมมาวายามะ วิริย-
สัมโพชฌงค์ อันเป็นองค์แห่งมรรค นับเนื่องในมรรค ในสมัยนั้น อันใด
นี้ชื่อว่า ปัคคาหะ มีในสมัยนั้น.
[256] อวิกเขปะ มีในสมัยนั้น เป็นไฉน ?
ความตั้งอยู่แห่งจิต ความดำรงอยู่แห่งจิต ความมั่นคงแห่งจิต ความ
ไม่ส่ายไปแห่งจิต ความไม่ฟุ้งซ่านแห่งจิต ภาวะที่จิตไม่ส่ายไป ความสงบ

สมาธินทรีย์ สมาธิพละ สัมมาสมาธิ สมาธิสัมโพชฌงค์ อันเป็นองค์แห่งมรรค
นับเนื่องในมรรค ในสมัยนั้น อันใด นี้ชื่อว่า อวิกเขปะ มีในสมัยนั้น.
[257] หรือนามธรรมที่อิงอาศัยเกิดขึ้นแม้อื่นใด มีอยู่ในสมัยนั้น
สภาวธรรมเหล่านี้ชื่อว่า ธรรมเป็นกุศล.
[258] ก็ขันธ์ 4 อายตนะ 2 ธาตุ 2 อาหาร 3 อินทรีย์ 9 ฌานมี
องค์ 5 มรรคมีองค์ 8 พละ 7 เหตุ 3 ผัสสะ 1 เวทนา 1 สัญญา 1 เจตนา 1
จิต 1 เวทนาขันธ์ 1 สัญญาขันธ์ 1 สังขารขันธ์ 1 วิญญาณขันธ์ 1 มนายตนะ 1
มนินทรีย์ 1 มโนวิญญาณธาตุ 1 ธรรมายตนะ 1 ธรรมธาตุ 1 มีในสมัยนั้น
หรือนามธรรมที่อิงอาศัยเกิดขึ้นแม้อื่นใด มีในสมัยนั้น
สภาวธรรมเหล่านั้นชื่อว่า ธรรมเป็นกุศล.
[259] สังขารขันธ์ มีในสมัยนั้น เป็นไฉน ?
ผัสสะ เจตนา วิตก วิจาร ปีติ เอกัคคตา สัทธินทรีย์ วิริยินทรีย์
สตินทรีย์ สมาธินทรีย์ ปัญญินทรีย์ ชีวิตินทรีย์ อนัญญตัญญัสสามีตินทรีย์
สัมมาทิฏฐิ สัมมาสังกัปปะ สัมมาวาจา สัมมากัมมันตะ สัมมาอาชีวะ สัมมา-
วายามะ สัมมาสติ สัมมาสมาธิ สัทธาพละ วิริยพละ สติพละ สมาธิพละ
ปัญญาพละ หิริพละ โอตตัปปพละ อโลภะ อโทสะ อโมหะ อนภิชฌา
อัพยาปาทะ สัมมาทิฏฐิ หิริโอตตัปปะ กายปัสสัทธิ จิตตปัสสัทธิ กายลหุตา
จิตตลหุตา กายมุทุตา จิตตมุทุตา กายกัมมัญญตา จิตตกัมมัญตา กายปา-
คุญญตา จิตตปาคุญญตา กายุชุกตา จิตตุชุกตา สติ สัมปชัญญะ สมถะ
วิปัสสนา ปัคคาหะ อวิกเขปะ หรือนามธรรมที่อิงอาศัยเกิดขึ้นแม้อื่นใด
เว้นเวทนาขันธ์ สัญญาขันธ์ วิญญาณขันธ์ มีอยู่ในสมัยนั้น นี้ชื่อว่า สังขารขันธ์
มีในสมัยนั้น ฯลฯ
สภาวธรรมเหล่านี้ชื่อว่า ธรรมเป็นกุศล.

มหานัย 20



สุทธิกปฏิปทา



[260] ธรรมเป็นกุศล เป็นไฉน ?
โยคาวจรบุคคลเจริญฌานเป็นโลกุตระ อันเป็นเครื่องออกไปจากโลก
นำไปสู่นิพพานเพื่อละทิฏฐิ เพื่อบรรลุภูมิเบื้องต้น สงัดจากการ สงัดจากอกุศล-
ธรรมทั้งหลายแล้ว บรรลุปฐมฌาน เป็นทุกขาปฏิปทา ทันธาภิญญา ฯลฯ
อยู่ในสมัยใด ผัสสะ ฯลฯ อวิกเขปะ มีในสมัยนั้น ฯลฯ
สภาวธรรมเหล่านี้ ชื่อว่า ธรรมเป็นกุศล.
[261] ธรรมเป็นกุศล เป็นไฉน ?
โยคาวจรบุคคลเจริญฌานเป็นโลกุตระ อันเป็นเครื่องออกไปจากโลก
นำไปสู่นิพพานเพื่อละทิฏฐิ เพื่อบรรลุภูมิเบื้องต้น สงัดจากกาม สงัดจากอกุศล-
ธรรมทั้งหลายแล้ว บรรลุปฐมฌาน เป็นทุกขาปฏิปทา ขิปปาภิญญา ฯลฯ
อยู่ในสมัยใด ผัสสะ ฯลฯ อวิกเขปะ มีในสมัยนั้น ฯลฯ
สภาวธรรมเหล่านี้ชื่อว่า ธรรมเป็นกุศล.
[262] ธรรมเป็นกุศล เป็นไฉน ?
โยคาวจรบุคคลเจริญฌานเป็นโลกุตระ อันเป็นเครื่องออกไปจากโลก
นำไปสู่นิพพานเพื่อละทิฏฐิ เพื่อบรรลุภูมิเบื้องต้น สงัดจากาม สงัดจากอกุศล-
ธรรมทั้งหลายแล้ว บรรลุปฐมฌาน เป็นสุขาปฏิปทา ทันธาภิญญา ฯลฯ อยู่ใน
สมัยใด ผัสสะ ฯลฯ อวิกเขปะ มีในสมัยนั้น ฯลฯ
สภาวธรรมเหล่านี้ชื่อว่า ธรรมเป็นกุศล.