เมนู

อรรถกถาจิตตุปปาทกัณฑ์



อธิบายกุศลที่เป็นไปในภูมิ 3



บัดนี้ กุศลที่เป็นไปในภูมิ 3 แม้ทั้งหมดเหล่านี้ ย่อมเป็นไปโดย
ประเภท 3 มีประเภทต่ำเป็นต้น ก็เพื่อแสดงประเภทนั้นแห่งธรรมเหล่านั้น จึง
ทรงเริ่มคำเป็นต้น ว่า กตเม ธมฺมา กุสลา ดังนี้อีก.
บรรดาบทเหล่านั้น บทว่า หีนํ (ต่ำ) ได้แก่ ลามก คือ หยาบ
พึงทราบกุศลต่ำด้วยสามารถแห่งการประมวลมา กุศลที่มีในท่ามกลางแห่ง
หีนะและอุตตมะ ชื่อว่า มัชฌิมะ (อย่างกลาง) กุศลที่นำไปสู่ความเพียร
ชื่อว่า ประณีต ได้แก่ กุศลที่สูงสุด บัณฑิตพึงทราบกุศลแม้เหล่านั้น ด้วย
อำนาจการประมวลมานั่นแหละ.
จริงอยู่ ในขณะที่ประมวลมาซึ่งกุศลใด จะเป็นฉันทะ หรือวิริยะ
หรือจิตตะ หรือวิมังสาเป็นหีนะ (อย่างต่ำ) มีอยู่ กุศลนั้น ชื่อว่า ต่ำ.
ธรรมเหล่านั้นเป็นมัชฌิมะ เป็นประณีตแห่งกุศลใด กุศลนั้น ชื่อว่า มัชฌิมะ
และปณีตะ. ก็กุศลใดประมวลมาซึ่งฉันทะคือความเป็นผู้ใคร่เพื่อจะทำ ทำ
ฉันทะให้เป็นธุระ ให้เป็นใหญ่ ให้เป็นประธาน กุศลนั้นชื่อว่า ฉันทาธิปไตย
เพราะความที่กุศลมาแล้วโดยฉันทาธิบดี และในวิริยาธิปไตยเป็นต้น ก็นัย
นี้แหละ.
แต่ในที่นี้ พึงถือเอานัยทั้งหลายที่ตั้งไว้แล้ว คือ นัยที่จำแนกไว้ก่อน
เป็นนัย 1 คำว่า หีนะ เป็นนัย 1 คำว่า มัชฌิมะ เป็นนัย 1 คำว่า

ปณีตะ เป็นนัย 1 และคำว่า ฉันทาธิปไตย เป็นนัย 1 นัยทั้ง 5 เหล่านี้
ในฉันทาธิปไตยเท่านี้ก่อน. แม้ในวิริยาธิปไตยเป็นต้นก็อย่างนี้ เพราะฉะนั้น
ปัญจกนัยทั้ง 4 จึงเป็น 20 นัย. อีกอย่างหนึ่ง เป็น 20 นัย แม้อย่างนี้ คือ
นัยแรกเป็นสุทธิกนัย 1 นัย 3 นัยมีคำว่า หีนะเป็นต้น (มัชฌิมะ และปณีตะ)
นัย 4 นัยมีคำว่า ฉันทาธิปไตยเป็นต้น (วิริยะ จิตตะ วิมังสา) และนัย 12
นัยมีคำว่า ฉนฺทาธิปเตยฺเย หีนํ (ฉันทะเป็นต้น กับหีนะเป็นต้น ) นัยเหล่านี้
เป็นมหานัย 20 ก่อน.
ถามว่า ทรงจำแนกนัยเหล่านั้นไว้ในที่ไหน ?
ตอบว่า ในหีนติกะ ในมหาปกรณ์.
แต่ในฐานะนี้ พึงถือเอากองธรรมมัชฌิมะจากหีนติกะ แล้วแบ่งเป็น 3
ส่วน ด้วยอำนาจหีนะ มัชฌิมะ ปณีตะ พึงเว้นกองธรรมมัชฌิมะแม้จากหีนติกะ
นั้นแล้วถือเอาหีนะและปณีตะ แล้วแบ่งออกอย่างละ 9 ส่วน เพราะว่าในหีนะ
นั่นแหละ กุศลธรรมที่ต่ำก็มี กุศลธรรมที่ปานกลางก็มี กุศลธรรมที่ประณีต
ก็มี ถึงแม้ในปณีตะเล่า กุศลธรรมที่ต่ำก็มี กุศลธรรมที่ปานกลางก็มี กุศลธรรม
ที่ประณีตก็มี. อนึ่ง ในธรรมที่เป็นหีนะและหีนะ กุศลธรรมที่เป็นหีนะ (ต่ำ)
ก็มี ในธรรมที่เป็นหีนะและหีนะ กุศลธรรมที่เป็นมัชฌิมะก็มี ในธรรมที่เป็น
หีนะและหีนะ กุศลธรรมที่เป็นปณีตะก็มี ในธรรมที่เป็นหีนะและมัชฌิมะ กุศล-
ธรรมที่เป็นหีนะก็มี ในธรรมที่เป็นหีนะและมัชฌิมะ กุศลธรรมที่เป็นมัชฌิมะ
ก็มี ในธรรมที่เป็นหีนะและมัชฌิมะ กุศลธรรมที่เป็นปณีตะก็มี ในธรรมที่เป็น
หีนะและปณีตะ กุศลธรรมที่เป็นหีนะก็มี ในธรรมที่เป็นหีนะและปณีตะ กุศล

ธรรมที่เป็นมัชฌิมะก็มี ในธรรมที่เป็นหีนะและปณีตะ กุศลธรรมที่เป็นปณีตะ
ก็มี นี้เรียกว่า นวกะหนึ่ง.
แม้ในธรรมที่เป็นปณีตะและหีนะ ชื่อว่า กุศลธรรมที่ต่ำก็มี ใน
ธรรมที่เป็นปณีตะและหีนะ กุศลธรรมที่เป็นมัชฌิมะก็มี ในธรรมที่เป็นปณีตะ
และหีนะ กุศลธรรมที่เป็นปณีตะก็มี. อนึ่ง ในธรรมที่เป็นปณีตะและมัชฌิมะ
กุศลธรรมที่ต่ำก็มี ในธรรมที่เป็นปณีตะและมัชฌิมะ กุศลธรรมที่เป็นมัชฌิมะ
ก็มี ในธรรมที่เป็นปณีตะและมัชฌิมะ กุศลธรรมที่เป็นปณีตะก็มี ในธรรมที่
เป็นปณีตะและปณีตะกุศลธรรมที่เป็นหีนะ (ต่ำ) ก็มี ในธรรมที่เป็นปณีตะและ
ปณีตะ กุศลธรรมที่เป็นมัชฌิมะก็มี ในธรรมที่เป็นปณีตะและปณีตะ กุศลธรรม
ที่เป็นปณีตะก็มี นี้เป็นนวกะที่ 2 รวมนวกะทั้งสองเป็นธรรม 18. ธรรม
18 เหล่านี้ ชื่อว่า กรรมทวาร. ว่าด้วยกรรมทวารเหล่านี้ พึงทราบว่า
กษัตริย์ 18 พราหมณ์ 18 แพทย์ 8 ศูทร 18 โคตรจรณะ 48 เพราะ
ความเป็นผู้อบรมแล้วด้วยกรรมทวาร 18 เหล่านี้.
บรรดากุศลธรรมที่เป็นไปในภูมิ 3 เหล่านี้ กามาวจรกุศล เป็น
ทุเหตุกะโดยการไม่ประกอบญาณสัมปยุตบ้าง แต่รูปาวจรและอรูปาวจร เป็น
ติเหตุกะอย่างเดียว คือเป็นญาณสัมปยุตเท่านั้น. ก็ในกุศลที่เป็นไปในภูมิ 3
เหล่านั้น กามาวจรกุศลย่อมเกิดร่วมกับอธิบดีบ้าง เว้นจากอธิบดีบ้าง แต่
รูปาวจรและอรูปาวจรกุศลย่อมสัมปยุตด้วยอธิบดีโดยแท้. และในกุศลประกอบ
ด้วยภูมิ 3 นี้ ในกามาวจรกุศลย่อมได้อธิบดี เพียง 2 เท่านั้น คือ อารัมมณา-
ธิปติ สหชาตาธิปติ. ในรูปาวจรและอรูปาวจรกุศลย่อมไม่ได้อารัมมณาธิปติ
ย่อมได้เฉพาะสหชาตาธิปติเท่านั้น ในสหชาตาธิปติเหล่านั้น ตรัสความเป็น

จิตตาธิปไตยของจิตไว้ด้วยอำนาจสัมปยุตธรรมทั้งหลาย. แต่เพราะจิต 2 ดวง
ไม่มีพร้อมกัน ชื่อว่า จิตตาธิปติ ของสัมปยุตตจิตก็ไม่มี. อนึ่ง ฉันทาธิปติเป็นต้น
แห่งธรรมมีฉันทะเป็นต้นก็เช่นเดียวกัน แต่อาจารย์บางพวกย่อมปรารถนาชื่อ
อธิบดี ด้วยสามารถแห่งการมาอย่างนี้ว่า กุศลจิตดวงอื่นอีกกระทำจิตใดให้
เป็นธุระให้เป็นใหญ่ ประมวลมาแล้วอย่างนี้ว่า ถ้ากุศลธรรมมีอยู่เเก่บุคคลผู้มี
จิตไซร้ กุศลธรรมก็จักมีแก่เรา ดังนี้ จิตดวงเดิมนั้นของบุคคลนั้น ชื่อว่า
เป็นจิตตาธิปติ จิตนี้ชื่อว่า จิตตาธิปไตย เพราะมาจากจิตดวงนั้น ดังนี้.
ก็นัยนี้ไม่ปรากฏในพระบาลีและอรรถกถา เพราะฉะนั้น พึงทราบความเป็น
อธิบดีโดยนัยที่กล่าวแล้วนั่นแหละ.
ก็ในมหานัย 19 เหล่านี้ มีจิตทั้งหลายประมาณตามที่กล่าวในสุทธิกนัย
ต้น และมีนวกะทั้งหลาย และวาระแห่งพระบาลีทั้งหลาย เพราะฉะนั้น
พึงทราบประเภท จิตตะ นวกะ และวาระ ซึ่งคูณด้วย 20 โดยประมาณที่
กล่าวในญาณสัมปยุต และคูณด้วย 16 ในญาณวิปปยุต 4 ดังนี้ นี้ชื่อว่า
ปกิณณกถา ในกุศลเป็นไปในภูมิ 3 ดังนี้แล.
กุศลที่เป็นไปในภูมิ 3 จบ

โลกุตตรกุศลจิต



มรรคจิตดวงที่ 1



[196] ธรรมเป็นกุศล เป็นไฉน ?
โยคาวจรบุคคลเจริญฌานเป็นโลกุตระ อันเป็นเครื่องออกไปจากโลก
นำไปสู่นิพพาน เพื่อละทิฏฐิ เพื่อบรรลุภูมิเบื้องต้น สงัดจากกาม สงัดจาก
อกุศลธรรมทั้งหลายแล้ว บรรลุปฐมฌาน เป็นทุกขาปฏิปทา ทันธาภิญญา
ประกอบด้วยวิตก วิจาร มีปีติและสุขอันเกิดแต่วิเวก อยู่ในสมัยใด ผัสสะ
เวทนา สัญญา เจตนา จิต วิตก วิจาร ปีติ สุข เอกัคคตา สัทธินทรีย์
วิริยินทรีย์ สตินทรีย์ สมาธินทรีย์ ปัญญินทรีย์ มนินทรีย์ โสมนัสสินทรีย์
ชีวิตินทรีย์ อนัญญตัญญัสสามีตินทรีย์ สัมมาทิฏฐิ สัมมาสังกัปปะ สัมมาวาจา
สัมมากัมมันตะ สัมมาอาชีวะ สัมมาวายามะ สัมมาสติ สัมมาสมาธิ สัทธาพละ
วิริยพละ สติพละ สมาธิพละ ปัญญาพละ หิริพละ โอตตัปปพละ อโลภะ
อโทสะ อโมหะ อนภิชฌา อัพยาปาทะ สัมมาทิฏฐิ หิริ โอตัตัปปะ กายปัสสัทธิ
จิตตปัสสัทธิ กายลหุตา จิตตลหุตา กายมุทุตา กายกัมมัญญตา
จิตตกัมมัญญตา กายปาคุญญตา จิตตปาคุญญตา กายุชุกตา จิตตุชุกตา
สติสัมปชัญญะ สมถะ วิปัสสนา ปัคคาหะ อวิกเขปะ มีในสมัยนั้น หรือว่า
นามธรรมที่อิงอาศัยเกิดขึ้นแม้อื่นใด มีอยู่ในสมัยนั้น.
สภาวธรรมเหล่านี้ชื่อว่า ธรรมเป็นกุศล.
[197] ผัสสะ มีในสมัยนั้น เป็นไฉน ?
การกระทบ กิริยาที่กระทบ กิริยาที่ถูกต้อง ความถูกต้อง มีในสมัยนั้น
อันใด นี้ชื่อว่าผัสสะ มีในสมัยนั้น.