เมนู

อรรถกถาจิตตุปปาทกัณฑ์



อธิบายกุศลที่เป็นไปในภูมิ 3



บัดนี้ กุศลที่เป็นไปในภูมิ 3 แม้ทั้งหมดเหล่านี้ ย่อมเป็นไปโดย
ประเภท 3 มีประเภทต่ำเป็นต้น ก็เพื่อแสดงประเภทนั้นแห่งธรรมเหล่านั้น จึง
ทรงเริ่มคำเป็นต้น ว่า กตเม ธมฺมา กุสลา ดังนี้อีก.
บรรดาบทเหล่านั้น บทว่า หีนํ (ต่ำ) ได้แก่ ลามก คือ หยาบ
พึงทราบกุศลต่ำด้วยสามารถแห่งการประมวลมา กุศลที่มีในท่ามกลางแห่ง
หีนะและอุตตมะ ชื่อว่า มัชฌิมะ (อย่างกลาง) กุศลที่นำไปสู่ความเพียร
ชื่อว่า ประณีต ได้แก่ กุศลที่สูงสุด บัณฑิตพึงทราบกุศลแม้เหล่านั้น ด้วย
อำนาจการประมวลมานั่นแหละ.
จริงอยู่ ในขณะที่ประมวลมาซึ่งกุศลใด จะเป็นฉันทะ หรือวิริยะ
หรือจิตตะ หรือวิมังสาเป็นหีนะ (อย่างต่ำ) มีอยู่ กุศลนั้น ชื่อว่า ต่ำ.
ธรรมเหล่านั้นเป็นมัชฌิมะ เป็นประณีตแห่งกุศลใด กุศลนั้น ชื่อว่า มัชฌิมะ
และปณีตะ. ก็กุศลใดประมวลมาซึ่งฉันทะคือความเป็นผู้ใคร่เพื่อจะทำ ทำ
ฉันทะให้เป็นธุระ ให้เป็นใหญ่ ให้เป็นประธาน กุศลนั้นชื่อว่า ฉันทาธิปไตย
เพราะความที่กุศลมาแล้วโดยฉันทาธิบดี และในวิริยาธิปไตยเป็นต้น ก็นัย
นี้แหละ.
แต่ในที่นี้ พึงถือเอานัยทั้งหลายที่ตั้งไว้แล้ว คือ นัยที่จำแนกไว้ก่อน
เป็นนัย 1 คำว่า หีนะ เป็นนัย 1 คำว่า มัชฌิมะ เป็นนัย 1 คำว่า