เมนู

ด้วยคำมีประมาณเท่านี้ คาถาแม้นี้ก็เป็นอันข้าพเจ้ากล่าวแล้วว่า
ภิกษุย่อมบรรลุประเภทแห่งปริยัติ
สมบัติ และแม้วิบัติอันใด ในปิฎกใด โดย
ประการใด พึงเจริญเนื้อความแม้นั้น
ทั้งหมด ด้วยประการนั้น.

บัณฑิต ครั้นทราบปิฎกทั้งหลายโดยประการต่าง ๆ ด้วยอาการอย่างนี้
แล้วพึงทราบพุทธพจน์แม้ทั้งหมดที่ประมวลมาด้วยสามารถแห่งปิฎกเหล่านั้นว่า
เป็นปิฎก 3 ดังนี้.

พุทธพจน์มี 5 นิกาย



พระพุทธพจน์ว่าโดยนิกาย มี 5 นิกาย อย่างไร ? จริงอยู่ พระพุทธพจน์
นั้น แม้ทั้งหมดมี 5 ประเภท คือ ทีฆนิกาย มัชฌิมนิกาย สังยุตตนิกาย
อังคุตตรนิกาย ขุททกนิกาย.

ว่าโดยทีฆนิกาย 34 สูตร



บรรดานิกายทั้ง 5 นั้น ทีฆนิกายเป็นไฉน ? พระสูตร 34 สูตร
มีพรหมชาลสูตรเป็นต้น รวบรวมไว้ 3 วรรค เรียกว่า ทีฆนิกาย ดังคาถา
ที่ท่านประพันธ์ไว้ว่า
พระสูตร 34 สูตรเท่านั้น มี 3 วรรค
ท่านรวบรวมไว้สำหรับนิกายใด นิกายนั้น
ชื่อว่า ทีฆนิกาย นับตามลำดับ เป็นนิกาย
ที่หนึ่ง.