เมนู

ว่าด้วยวิบัติ 3 ประเภท



อนึ่ง ภิกษุผู้ปฏิบัติผิดในพระวินัย เป็นผู้มีความสำคัญว่าไม่มีโทษใน
ผัสสะที่มีใจครองเป็นต้น อันพระผู้มีพระภาคเจ้าทรงห้ามแล้ว โดยความเสมอ
ด้วยสัมผัสมีเครื่องลาดและเครื่องนุ่งห่ม มีสัมผัสเป็นสุขเป็นต้นที่ทรงอนุญาต
แล้ว เหมือนคำที่พระอริฏฐะกล่าวว่า เราย่อมรู้ทั่วถึงธรธมอันพระผู้มีพระภาค-
เจ้าแสดงแล้ว โดยประการที่ธรรมทั้งหลายอันกระทำอันตรายที่พระผู้มีพระ-
ภาคเจ้าตรัสแล้วนี้ ไม่สามารถทำอันตรายแก่ผู้เสพอยู่ได้1 ดังนี้ ต่อจากนั้น
เธอก็ถึงความเป็นผู้ทุศีล.
ภิกษุผู้ปฏิบัติผิดในพระสูตร ไม่รู้คำอธิบาย เหมือนในประโยคมีอาทิว่า
ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย บุคคล 4 จำพวกเหล่านี้มีอยู่ มีปรากฏอยู่ในโลก ดังนี้
ย่อมถือเอาผิด ซึ่งพระผู้มีพระภาคเจ้าทรงหมายเอาตรัสไว้ว่า บุคคลมีอัตตาอัน
ถือเอาผิด ย่อมกล่าวตู่เราด้วย ย่อมขุด (ทำลาย) ซึ่งตนด้วย และย่อมประสบ
สิ่งมิใช่บุญเป็นอันมากด้วย ดังนี้ ต่อจากนั้น เธอก็ถึงความเป็นมิจฉาทิฏฐิ.
ภิกษุผู้ปฏิบัติผิดในพระอภิธรรมจะวิจารธรรมเกินไป ย่อมคิดแม้สิ่งที่
ไม่ควรคิด (อจินไตย) ต่อจากนั้น ก็จะถึงความฟุ้งซ่านแห่งจิต สมกับพระ
ดำรัสที่พระผู้มีพระภาคเจ้าตรัสไว้ว่า ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย อจินไตย 4 เหล่านี้
บุคคลไม่ควรคิด ซึ่งเมื่อคิดอยู่ ก็พึงเป็นผู้มีส่วนแห่งความเป็นบ้า แห่งความ
คับแค้น2 ดังนี้.
ภิกษุผู้ปฏิบัติผิดในพระไตรปิฎกนี้ ย่อมถึงความวิบัติอันต่างด้วยความ
เป็นผู้ทุศีล ความเป็นมิจฉาทิฏฐิ และความฟุ้งซ่านแห่งจิตนี้ โดยลำดับ
ด้วยประการฉะนี้.
1. วินย. 2. 662/ 431
2. องฺ จตุกกก. 21. 77/104

ด้วยคำมีประมาณเท่านี้ คาถาแม้นี้ก็เป็นอันข้าพเจ้ากล่าวแล้วว่า
ภิกษุย่อมบรรลุประเภทแห่งปริยัติ
สมบัติ และแม้วิบัติอันใด ในปิฎกใด โดย
ประการใด พึงเจริญเนื้อความแม้นั้น
ทั้งหมด ด้วยประการนั้น.

บัณฑิต ครั้นทราบปิฎกทั้งหลายโดยประการต่าง ๆ ด้วยอาการอย่างนี้
แล้วพึงทราบพุทธพจน์แม้ทั้งหมดที่ประมวลมาด้วยสามารถแห่งปิฎกเหล่านั้นว่า
เป็นปิฎก 3 ดังนี้.

พุทธพจน์มี 5 นิกาย



พระพุทธพจน์ว่าโดยนิกาย มี 5 นิกาย อย่างไร ? จริงอยู่ พระพุทธพจน์
นั้น แม้ทั้งหมดมี 5 ประเภท คือ ทีฆนิกาย มัชฌิมนิกาย สังยุตตนิกาย
อังคุตตรนิกาย ขุททกนิกาย.

ว่าโดยทีฆนิกาย 34 สูตร



บรรดานิกายทั้ง 5 นั้น ทีฆนิกายเป็นไฉน ? พระสูตร 34 สูตร
มีพรหมชาลสูตรเป็นต้น รวบรวมไว้ 3 วรรค เรียกว่า ทีฆนิกาย ดังคาถา
ที่ท่านประพันธ์ไว้ว่า
พระสูตร 34 สูตรเท่านั้น มี 3 วรรค
ท่านรวบรวมไว้สำหรับนิกายใด นิกายนั้น
ชื่อว่า ทีฆนิกาย นับตามลำดับ เป็นนิกาย
ที่หนึ่ง.