เมนู

. . .อุเบกขา แผ่ไปสู่ทิศหนึ่ง ฯลฯ อยู่ สัตว์ทั้งหลาย ย่อมเป็นผู้ไม่ปฏิกูล
เพราะเจริญอุเบกขา พระผู้มีพระภาคเจ้าตรัสคำว่า ชื่อว่า วิโมกข์ เพราะ
อรรถว่า เป็นผู้น้อมไปในอารมณ์ว่า งาม ดังนี้ ด้วยประการฉะนี้ แต่ใน
พระอภิธรรมนี้ พระองค์ทรงปฏิเสธนัยนั้น เพราะความที่พรหมวิหารมาแล้ว
ในพระบาลีข้างหน้านั่นแหละ ทรงตรัสอนุญาตสุภวิโมกข์ไว้ด้วยอำนาจนีลกสิณ
ที่ดี ปีตกสิณที่ดี โลหิตกสิณที่ดี โอทาตกสิณที่ดี นีลกสิณที่บริสุทธิ์ ปีตกสิณ
ที่บริสุทธิ์ โลหิตกสิณที่บริสุทธิ์ โอทาตกสิณที่บริสุทธิ์เท่านั้น ด้วยประการฉะนี้
คำว่า กสิณ หรือคำว่า อภิภายตนะ หรือคำว่า วิโมกข์ ก็คือรูปาวจรฌาน
นั่นเอง. จริงอยู่ รูปาวจรฌานนั้น ตรัสว่า ชื่อว่า กสิณ เพราะอรรถว่า
ทั่วไปแก่อารมณ์ ชื่อว่า อภิภายตนะ เพราะอรรถว่า ครอบงำอารมณ์
ชื่อว่า วิโมกข์ เพราะอรรถว่า น้อมใจไปในอารมณ์ และเพราะอรรถว่า
หลุดพ้นจากธรรมอันเป็นข้าศึกทั้งหลาย บรรดาเทศนากสิณ อภิภายตนะและ
วิโมกข์เหล่านั้น เทศนากสิณ พึงทราบว่า ตรัสไว้ด้วยอำนาจพระอภิธรรม
ส่วนเทศนา 2 อย่างนอกจากนี้ ตรัสไว้ด้วยอำนาจการเทศนาในพระสูตร. นี้
เป็นการพรรณนาบทตามลำดับในวิโมกข์นี้ แต่ว่า วิโมกข์แต่ละข้อ พึงทราบ
นวกนัย 75 หมวด โดยทำเป็นข้อละ 25 ดุจปฐวีกสิณแล.
วิโมกข์ขกถาจบ

อธิบายพรหมวิหารฌาน



บัดนี้ เพื่อแสดงรูปาวจรกุศลเป็นไปด้วยอำนาจพรหมวิหารมีเมตตา-
ฌานเป็นต้น พระผู้มีพระภาคเจ้าจึงทรงเริ่มคำเป็นต้นว่า กตเม ธมฺมา กุสลา
ดังนี้ อีก. พึงทราบวินิจฉัยในคำว่า กตเม ธมฺมา กุสลา เป็นต้นนั้นต่อไป.