เมนู

อรรถกถาจิตตุปปาทกัณฑ์



อธิบายวิโมกข์ 3



ธรรมดาว่า รูปาวจรกุศลนี้ ย่อมเกิดขึ้นด้วยอำนาจอภิภายตนะเพราะ
ครอบงำอายตนะ คือ อารมณ์อย่างเดียวเท่านั้นก็หามิได้ โดยที่แท้ รูปตายนะนี้
ย่อมเกิดขึ้นด้วยอำนาจแห่งวิโมกข์ด้วย เพราะฉะนั้น บัดนี้ เพื่อจะทรงแสดง
นัยแม้นั้น พระผู้มีพระภาคเจ้าจึงทรงเริ่มคำว่า กตเม ธมฺมา กุสลา ดังนี้ อีก.
ถามว่า ก็ธรรมคือวิโมกข์นี้ บัณฑิตพึงทราบได้อย่างไร ตอบว่า
พึงทราบได้ ด้วยอรรถว่าหลุดพ้น. อะไรเล่า ชื่อว่า อรรถว่าหลุดพ้นนี้.
ก็อรรถว่าหลุดพ้นนี้ เป็นการหลุดพ้นอย่างดีจากปัจจนีกธรรมทั้งหลาย และ
เป็นการหลุดพ้นอย่างดีด้วยอำนาจแห่งความยินดียิ่งในอารมณ์ มีอธิบายว่า
ธรรมคือวิโมกข์นี้ย่อมเป็นไปในอารมณ์ โดยความไม่เกี่ยวข้องกับปัจจนีกธรรม
และความยินดียิ่งในอารมณ์ เพราะความไม่ยึดถือ เหมือนทารกปล่อยอวัยวะ
น้อยใหญ่ นอนบนตักของบิดา ฉะนั้น.
ก็เพื่อทรงแสดงรูปาวจรกุศลที่ถึงความเป็นวิโมกข์ด้วยลักษณะอย่างนี้
จึงทรงเริ่มนัยนี้. บรรดาบทเหล่านั้น บทว่า รูปี (มีรูป) มีวิเคราะห์ว่า ที่ชื่อว่า
รูปี เพราะอรรถว่า รูปของบุคคลนั้นมีอยู่ คือ รูปฌานที่ให้เกิดขึ้นในโกฏฐาส
มีผมเป็นต้นในภายใน. จริงอยู่ พระโยคาวจรเมื่อทำบริกรรมนีลกสิณในภายใน
ย่อมกระทำที่ผม หรือที่น้ำดี หรือที่ดวงตา เมื่อจะกระทำปีตกสิณ ย่อมทำ
มันข้น หรือที่ผิวหนัง หรือที่ฝ่ามือฝ่าเท้า หรือที่ตาสีเหลือง เมื่อจะทำ
บริกรรมโลหิตกสิณ ก็ย่อมทำที่เนื้อ หรือที่เลือด หรือที่ลิ้น หรือที่ฝ่ามือฝ่าเท้า
หรือที่สีแดงแห่งลูกตา เมื่อจะทำบริกรรมโอทาตกสิณ ก็ย่อมทำที่กระดูก