เมนู

อรรถกถาจิตตุปปาทกัณฑ์



อธิบายอภิภายตนะ



พระผู้มีพระภาคเจ้าครั้นทรงแสดงรูปาวจรกุศลในกสิณ 8 ด้วยอาการ
อย่างนี้แล้ว บัดนี้ เพื่อทรงแสดงรูปาวจรกุศลกล่าวคืออภิภายตนะแม้อื่นอีกที
เป็นไปในกสิณ 8 เหล่านี้ เพราะความที่อภิภายตนะเป็นภาวะที่ไม่เหมือนกันใน
ภาวนาในอารมณ์แม้ที่มีอยู่นั้น เพราะฉะนั้น จึงเริ่มคำเป็นต้นว่า กตเม
ธมฺมา กุสลา
ดังนี้อีก.
พึงทราบวินิจฉัยในคำว่า กตเม ธมฺมา เป็นต้น.
บทว่า อชฺฌตฺตํ อรูปสญฺญี (ไม่มีบริกรรมรูปสัญญาในภายใน)
ความว่า เว้นบริกรรมสัญญาในอัชฌัตติกรูป เพราะการไม่ได้อัชฌัตติกรูป
หรือว่า เพราะไม่มีอัชฌัตติกรูป. บทว่า พหิทฺธา รูปานิ ปสฺสติ ความว่า
ย่อมเห็นรูปในกสิณ 8 ในภายนอกเหล่านั้น ด้วยอำนาจบริกรรม และอำนาจ
อัปปนา เพราะความที่ทำบริกรรมในกสิณ 8 ภายนอก. บทว่า ปริตฺตานิ
(เล็กน้อย) ได้แก่ มีอารมณ์ขยายไม่ได้. บทว่า ตานิ อภิภุยฺย (ครอบงำ
รูปเหล่านั้น) ความว่า บุคคลผู้ยิ่งด้วยญาณ ผู้มีญาณนบริสุทธิ์คิดว่า จะมี
ประโยชน์อะไรที่ตนพึงเข้าสมาบัติในอารมณ์อันเล็กน้อยนี้ เพราะฉะนั้น รูป-
ธรรมนี้ จึงไม่ใช่ภาระของเรา ดังนี้ จึงครอบงำ (เว้น ) รูปเหล่านั้นเสียแล้ว
เข้าสมาบัติ คือ ยังอัปปนาให้เกิดขึ้นในฌานนี้ พร้อมกับการเกิดขึ้นแห่งนิมิต
เปรียบเหมือนบุคคลผู้บริโภคอาหารได้ข้าวมาเพียงทัพพีเดียวก็คิดว่า เราจะพึง
บริโภคอย่างไร ในภัตเพียงช้อนเดียวนี้ จึงรวมทำเป็นเพียงคำเดียวเท่านั้น
ฉะนั้น. ก็บุรพภาคของฌานนั้น ท่านกล่าวไว้ด้วยบทนี้ว่า ชานามิ ปสฺสามิ

(เราย่อมรู้ย่อมเห็น) แต่ท่านกล่าวไว้ในอรรถกถาในนิกายที่มาทั้งหลายว่าท่าน
กล่าวถึงการผูกใจของฌานนั้น ด้วยบทว่า ชานามิ ปสฺสามิ นี้. ก็ความผูกใจ
นั้นย่อมมีแก่พระโยคาวจรผู้ออกจากสมาบัติแล้ว มิใช่มีในภายในสมาบัติ.
บทว่า อปฺปมาณานิ ได้แก่ มีอารมณ์กว้างใหญ่.
ก็ในคำว่า อภิภุยฺย นี้ มีอธิบายว่า บุคคลผู้ยิ่งด้วยญาณ ผู้มีญาณ
บริสุทธิ์ คิดว่า ประโยชน์อะไรที่เราจะเข้าอรูปฌานนี้ อรูปฌานนี้ไม่มีอารมณ์
กว้างใหญ่ การทำจิตให้แน่วแน่หาใช่เป็นภาระของเราไม่ เพราะฉะนั้น จึง
ครอบงำ (เว้น ) อารมณ์นั้นเสีย แล้วเข้าสมาบัติ คือยังอัปปนาสมาธิให้เกิดขึ้น
ในอรูปฌานนี้ พร้อมกับให้นิมิตเกิดขึ้น เหมือนคนที่กินจุได้ภัตที่เขาคดให้
ส่วนหนึ่ง ก็คิดว่า ส่วนอื่น ๆ ยังมีอีก เพราะฉะนั้น ภัตส่วนนี้จักทำประโยชน์
อะไรให้แก่เรา ดังนี้ จึงไม่เห็นภัตส่วนนั้นว่ามาก ฉะนั้น.
ในคำว่า ปริตฺตํ ปริตฺตารมมณํ อปฺปมาณํ ปริตฺตารมมณํ
(มีกำลังน้อย มีอารมณ์เล็กน้อย มีกำลังมาก มีอารมณ์เล็กน้อย) นี้ มิได้
ทรงถือเอาอรูปฌานมีอารมณ์หาประมาณมิได้ เพราะได้ตรัสมาแล้วว่า เป็น
ปริตตะ คือมีกำลังน้อย ส่วนในนัยที่สองมิได้ทรงถือว่า อรูปฌานนั้นมีอารมณ์
ไม่มีประมาณ เพราะได้ตรัสข้างหน้าว่า อปฺปมาณานิ และในอรรถกถาก็ได้
กล่าวไว้อย่างนั้น แต่ในที่นี้มิได้ทรงถือเอาอารมณ์อย่างละ 4 แต่ทรงถือเอา
อย่างละสองเท่านั้น. ถามว่า เพราะเหตุไร ตอบว่า เพราะเมื่อถือเอาอย่างละ 4
เทศนาก็จะเป็น 16 ครั้ง และเทศนา 16 ครั้งก็จะเป็นเทศนาโดยกว้าง ดุจ
หว่านเมล็ดงาบนเสื่อลำแพน ในที่นี้พระองค์มีอัธยาศัยเพื่อทรงทำเทศนาแก่
สัตว์เพียง 8 ครั้ง เพราะฉะนั้น พึงทราบว่า พระองค์ทรงถือเอาอย่างละ 2
เท่านั้น.

บทว่า สุวณฺณทุพฺพณฺณานิ (มีสีงามและไม่งาม) ความว่า มีสี
บริสุทธิ์และไม่บริสุทธิ์ จริงอยู่ อารมณ์มีสีเขียวเป็นต้นที่บริสุทธิ์ ทรงประสงค์
เอาว่าสีงาม และอารมณ์มีสีไม่บริสุทธิ์ ทรงประสงค์เอาสีไม่งามในที่นี้. ส่วน
ในอรรถกถาที่มาในนิกายทั้งหลายกล่าวว่า พระผู้มีพระภาคเจ้าทรงแสดง
อภิภายตนะเหล่านั้น ด้วยอำนาจที่เป็นปริตตารมณ์ และอัปปมาณารมณ์เท่านั้น
ว่าเป็นอารมณ์ที่มีสีงาม และอารมณ์ที่มีสีไม่งาม. อนึ่ง ในอภิภายตนะ 4 เหล่านี้
อภิภายตนะที่เป็นปริตตารมณ์สมควรแก่บุคคลผู้มีวิตักกจริต อภิภายตนะที่เป็น
อัปปมาณารมณ์สมควรแก่บุคคลผู้มีโมหจริต อภิภายตนะที่มีสีงามสมควรแก่
บุคคลผู้มีโทสจริต อภิภายตนะที่มีสีไม่งามสมควรแก่บุคคลผู้มีราคจริต เพราะ
อารมณ์เหล่านี้เป็นสัปปายะแก่บุคคลเหล่านั้น. และความที่อารมณ์เหล่านั้นเป็น
สัปปายะแก่บุคคลเหล่านั้น ข้าพเจ้ากล่าวไว้ในจริตนิทเทส ในวิสุทธิมรรค
โดยพิสดารแล้ว.
ถามว่า ก็เพราะเหตุไร ในพระอภิธรรมนี้ จึงตรัสว่า ความที่บุคคล
มีความสำคัญในรูปภายในว่ามิใช่รูป ในอภิภายตนะแม้ทั้ง 4 ไม่ตรัสเหมือนที่
ตรัสในพระสูตรซึ่งมีคำเป็นต้นว่า บุคคลคนหนึ่ง มีความสำคัญในรูปภายใน
ว่าเป็นรูป เห็นรูปภายนอกว่ามีอารมณ์เล็กน้อย อย่างนี้เล่า ?
ตอบว่า เพราะไม่ครอบครองถึงรูปในภายใน จริงอยู่ ในพระสูตรนั้น
หรือในพระอภิธรรมนี้ ตรัสคำเป็นต้นว่า เห็นรูปภายนอกมีอารมณ์เล็กน้อย
ดังนี้ รูปภายนอกนั่นแหละพระโยคาวจรครอบครองได้ เพราะฉะนั้น จึงตรัส
ไว้ในพระสูตรบ้าง ในพระอภิธรรมบ้างว่า รูปภายนอกเหล่านั้นพึงกล่าวถึง
โดยจำกัด ดังนี้.

ก็ในคำว่า อชฺฌตฺตอรูปสญฺญี นี้เป็นเพียงความงามของเทศนา
ของพระศาสดาเท่านั้น. นี้เป็นการพรรณนาตามลำดับบทในอภิภายตนะทั้ง 4
ก่อน. ส่วนความแตกต่างแห่งปฏิปทาในสุทธิกนัยในที่นี้ พึงทราบในอภิภายตนะ
แต่ละอย่างโดยนัยที่กล่าวไว้ในปฐวีกสิณนั่นแหละว่า ก็ปฐวีกสิณในพระสูตรนั้น
อภิภายตนะมีอารมณ์ 4 อย่าง ในพระอภิธรรมนี้ มีอารมณ์ 2 อย่าง และใน
ปฐวีกสิณนั้นแสดงอภิภายตนะไว้ 16 ครั้ง อภิภายตนะในอภิธรรมนี้แสดงไว้
8 ครั้ง ข้อความที่เหลือเป็นเช่นเดียวกันนั่นแหละ บรรดาอภิภายตนะ 4
เหล่านี้ อภิภายตนะแต่ละอย่างมีนวกะ 15 คือ สุทธิกนวกะ 1 ปฏิปทานวกะ 4
อารัมมณนวกะ 2 นวกะที่มีอารมณ์เจือกัปปฏิปทามี 8 หมวด พึงทราบว่า
ในอภิภายตนะแม้ทั้ง 4 รวมเป็นนวกะ 60 หมวดพอดี.
บทว่า นีลานิ (เขียว) ในอภิภายตนะที่ 5 เป็นต้น ตรัสไว้โดย
รวมอภิภายตนะทั้งหมด. บทว่า นีลวณฺณานิ (สีเขียว) นี้ตรัสไว้ด้วยการ
เปรียบเทียบว่า ว่าโดยสีเป็นสีเขียวแท้. มีอธิบายว่า เขียวไม่ปรากฏมีช่องว่าง
เขียวไม่เจือปน เป็นสีเขียวล้วนทีเดียว. ก็บทว่า นีลนิภาสานิ (รัศมีเขียว) นี้
ตรัสด้วยอำนาจการส่องแสง อธิบายว่า การส่องแสงสีเขียวเป็นการประกอบ
ด้วยรัศมีเขียว ด้วยคำว่ารัศมีเขียวนี้ พระผู้มีพระภาคเจ้าทรงแสดงถึงความที่รูป
เหล่านั้นเป็นรูปบริสุทธิ์ดีแล้ว เพราะฉะนั้น จึงตรัสอภิภายตนะ 4 เหล่านี้
ด้วยอำนาจสีที่บริสุทธิ์ดีแล้วนั่นแหละ แม้ในคำเป็นต้นว่า ปีตานิ (เหลือง)
ก็พึงทราบเนื้อความโดยนัยนี้ ก็การทำกสิณก็ดี การบริกรรมก็ดี อัปปนาก็ดี
ในนีลกสิณนี้ ซึ่งมีคำเป็นต้นว่า พระโยคาวจรผู้ศึกษานีลกสิณ ย่อมถือเอา
นิมิตเขียวในดอกไม้ หรือในวัตถุ หรือในวรรณธาตุ ทั้งหมดข้าพเจ้ากล่าว
ไว้โดยพิสดาร ในวิสุทธิมรรคนั่นแล. ในอภิภายตนะแต่ละอย่างในนีลกสิณนี้
พึงทราบนวกะ 25 นั่นแหละ เหมือนในปฐวีกสิณแล.
อภิภายตนกถาจบ

วิโมกข์ 3



[189] ธรรมเป็นกุศล เป็นไฉน ?
โยคาวจรบุคคลเจริญมรรคปฏิปทาเพื่อเข้าถึงรูปภูมิ เป็นผู้ได้ฌาน
มีรูปภายในเป็นอารมณ์ เห็นรูปทั้งหลาย สงัดจากกาม สงัดจากอกุศลธรรม
ทั้งหลายแล้ว บรรลุปฐมฌาน ฯลฯ อยู่ในสมัยใด ผัสสะ ฯลฯ อวิกเขปะ
มีในสมัยนั้น ฯลฯ
สภาวธรรมเหล่านั้นชื่อว่า ธรรมเป็นกุศล.
ธรรมเป็นกุศล เป็นไฉน ?
โยคาวจรบุคคลเจริญมรรคปฏิปทาเพื่อเข้าถึงรูปภูมิ ไม่มีบริกรรม
สัญญาในรูปภายใน เห็นรูปภายนอก สงัดจากกาม สงัดจากอกุศลธรรม
ทั้งหลายแล้ว บรรลุปฐมฌาน ฯลฯ อยู่ในสมัยใด ผัสสะ ฯลฯ อวิกเขปะ
มีในสมัยนั้น ฯลฯ
สภาวธรรมเหล่านี้ ชื่อว่า ธรรมเป็นกุศล.
ธรรมเป็นกุศล เป็นไฉน ?
โยคาวจรบุคคลเจริญมรรคปฏิปทาเพื่อเข้าถึงรูปภูมิ ผูกใจอยู่ในวรรณ-
กสิณว่างาม สงัดจากกาม สงัดจากอกุศลธรรมทั้งหลายแล้ว บรรลุปฐมฌาน
ฯลฯ อยู่ ในสมัยใด ผัสสะ ฯลฯ อวิกเขปะ มีในสมัยนั้น ฯลฯ
สภาวธรรมเหล่านี้ชื่อว่า ธรรมเป็นกุศล.
แม้วิโมกข์ 3 นี้ ก็แจกอย่างละ 16