เมนู

อรรถกถาจิตตุปปาทกัณฑ์



อธิบายอภิภายตนะ



พระผู้มีพระภาคเจ้าครั้นทรงแสดงรูปาวจรกุศลในกสิณ 8 ด้วยอาการ
อย่างนี้แล้ว บัดนี้ เพื่อทรงแสดงรูปาวจรกุศลกล่าวคืออภิภายตนะแม้อื่นอีกที
เป็นไปในกสิณ 8 เหล่านี้ เพราะความที่อภิภายตนะเป็นภาวะที่ไม่เหมือนกันใน
ภาวนาในอารมณ์แม้ที่มีอยู่นั้น เพราะฉะนั้น จึงเริ่มคำเป็นต้นว่า กตเม
ธมฺมา กุสลา
ดังนี้อีก.
พึงทราบวินิจฉัยในคำว่า กตเม ธมฺมา เป็นต้น.
บทว่า อชฺฌตฺตํ อรูปสญฺญี (ไม่มีบริกรรมรูปสัญญาในภายใน)
ความว่า เว้นบริกรรมสัญญาในอัชฌัตติกรูป เพราะการไม่ได้อัชฌัตติกรูป
หรือว่า เพราะไม่มีอัชฌัตติกรูป. บทว่า พหิทฺธา รูปานิ ปสฺสติ ความว่า
ย่อมเห็นรูปในกสิณ 8 ในภายนอกเหล่านั้น ด้วยอำนาจบริกรรม และอำนาจ
อัปปนา เพราะความที่ทำบริกรรมในกสิณ 8 ภายนอก. บทว่า ปริตฺตานิ
(เล็กน้อย) ได้แก่ มีอารมณ์ขยายไม่ได้. บทว่า ตานิ อภิภุยฺย (ครอบงำ
รูปเหล่านั้น) ความว่า บุคคลผู้ยิ่งด้วยญาณ ผู้มีญาณนบริสุทธิ์คิดว่า จะมี
ประโยชน์อะไรที่ตนพึงเข้าสมาบัติในอารมณ์อันเล็กน้อยนี้ เพราะฉะนั้น รูป-
ธรรมนี้ จึงไม่ใช่ภาระของเรา ดังนี้ จึงครอบงำ (เว้น ) รูปเหล่านั้นเสียแล้ว
เข้าสมาบัติ คือ ยังอัปปนาให้เกิดขึ้นในฌานนี้ พร้อมกับการเกิดขึ้นแห่งนิมิต
เปรียบเหมือนบุคคลผู้บริโภคอาหารได้ข้าวมาเพียงทัพพีเดียวก็คิดว่า เราจะพึง
บริโภคอย่างไร ในภัตเพียงช้อนเดียวนี้ จึงรวมทำเป็นเพียงคำเดียวเท่านั้น
ฉะนั้น. ก็บุรพภาคของฌานนั้น ท่านกล่าวไว้ด้วยบทนี้ว่า ชานามิ ปสฺสามิ