เมนู

(25 X ฌาน 4) ในปัญจกนัยได้ 125 นัย แต่เมื่อว่าโดยอรรถได้จิต 125 ดวง
เท่านั้น เพราะความที่ฌานจตุกนัยก็รวมเข้าในฌานปัญจกนัย. ก็ในนิทเทสแห่ง
จิตแต่ละดวงในบรรดาจิต 225 ดวงเหล่านั้น ในพระบาลี มีมหาวาระ คือ
ธรรมววัฏฐานะเป็นต้น มีอย่างละ 3. ก็มหาวาระเหล่านั้นในที่นั้น ๆ ท่านย่อ
แสดงพอเป็นนัยเท่านั้น ดังนี้แล.
ปฐวีกสิณ จบ

อธิบายอาโปกสิณเป็นต้น



บัดนี้ ฌานเหล่านี้ ย่อมเกิดขึ้นแม้ในอาโปกสิณเป็นต้น เพราะฉะนั้น
เพื่อแสดงฌานเหล่านั้น จึงทรงเริ่มคำเป็นต้นว่า กตเม ธมฺมา กุสลา
ดังนี้อีก. ในฌานเหล่านั้น นัยแห่งบาลีทั้งหมด การอธิบายเนื้อความ การนับ
จำนวนจิต การย่อวาระ พึงทราบโดยนัยที่กล่าวไว้ในปฐวีกสิณนั่นแหละ
แต่นัยแห่งภาวนาแม้ทั้งหมดตั้งแต่ทำบริกรรมกสิณ ข้าพเจ้าประกาศไว้ใน
วิสุทธิมรรคทั้งนั้น. ก็แต่ว่าในมหาสกุลูทายิสูตร ท่านกล่าวกสิณไว้ 10 อย่าง
ในกสิณ 10 เหล่านั้น มหัคคตวิญญาณที่เป็นไปในอากาศก็ดี วิญญาณัญจายตน-
สมาบัติ ที่เกิดขึ้นเพราะกระทำบริกรรมในอากาศนั้นก็ดี รวมเทศนาไว้ในอรูป
โดยประการทั้งปวง เพราะฉะนั้น วิญญาณกสิณ พระผู้มีพระภาคเจ้า จึงไม่
ตรัสไว้ในที่นี้.
ก็กสิณุคฆาฏิมากาศ (อากาศที่เพิกกสิณทั้ง 9 ออกเว้นอากาสกสิณ)
ก็ดี ขันธ์ทั้งหลายที่เป็นไปเพราะทำอากาศที่เพิกนั้นให้เป็นอารมณ์ก็ดี ปริจ-
เฉทากาศมีนิมิตที่พึงถือเอาในช่องฝาเป็นต้นอย่างใดอย่างหนึ่งก็ดี ฌานจตุกนัย
และฌานปัญจกนัยที่เกิดขึ้นเพราะทำอากาศนั้นให้เป็นอารมณ์ก็ดี เรียกว่าอากาส-

กสิณ. บรรดาอากาสกสิณทั้ง 4 นั้น นัยเบื้องต้น (2 นัยแรก) รวมอยู่ใน
อารูปเทศนา นัยหลัง (2 นัยหลัง) รวมอยู่ในรูปาวจรเทศนา ด้วยประการฉะนี้
อากาสกสิณ จึงไม่กล่าวไว้ในรูปาวจรเทศนานี้เพราะความเป็นของปะปนกัน แต่
ฌานที่เกิดขึ้นในการกำหนดปริจเฉทากาศ ย่อมเป็นมรรคเพราะความเข้าถึง
รูปภพ เพราะฉะนั้น จึงควรถือเอาฌานนั้น ฌานที่เป็นจตุกนัยเเละปัญจกนัย
เท่านั้น ย่อมเกิดขึ้นในปริจเฉทากาศนั้น อรูปฌานย่อมไม่เกิดขึ้น.
ถามว่า เพราะเหตุไร จึงไม่เกิด.
ตอบว่า เพราะไม่ได้เพิกกสิณออก.
จริงอยู่ อากาสกสิณนั้นแม้เพิกอยู่บ่อย ๆ ก็เป็นอากาศนั่นแหละ ย่อม
ไม่ได้การเพิกกสิณขึ้นในอรูปฌานนั้น เพราะฉะนั้น ปริจเฉทากาศฌาน ซึ่ง
เกิดขึ้นในที่นั้น จึงเป็นไปเพื่ออยู่เป็นสุขในปัจจุบันเป็นเหตุแห่งอภิญญา เป็น
บาทให้วิปัสสนา ไม่เป็นบาทให้นิโรธ แต่ว่า การดับโดยลำดับในรูปาวจรฌานนี้
จนถึงปัญจมฌานเป็นเหตุแห่งวัฏฏะเท่านั้น ก็ฌานนี้ (ปริจเฉทากาศ) ฉันใด
แม้ฌานทั้งหลายที่เกิดขึ้นในกสิณก่อนก็ฉันนั้น แต่ความที่กสิณก่อนเป็นบาท
แห่งนิโรธ จึงเป็นการแปลกกันในปริจเฉทากาศนั้น. คำที่เหลือในที่นี้ คำใด
ที่ควรจะกล่าวในอากาสกสิณ คำทั้งหมดนั้นได้กล่าวไว้ในวิสุทธิมรรคนั่นแล.
ส่วนพระโยคาวจรผู้ปรารถนาแสดงฤทธิ์ต่าง ๆ นัยอาทิว่า แม้คน
เดียวก็เป็นหลายคนได้ ดังนี้ ทำสมาบัติ 8 ให้เกิดในกสิณ 8 อันเป็นเบื้องต้น
แล้วพึงฝึกจิตโดยอาการ 14 อย่างเหล่านี้ คือ

1. กสิณานุโลมโต (เข้าฌานลำดับกสิณ)
2. กสิณปฏิโลมโต (เข้าฌานย้อนกสิณ)
3. กสิณานุโลมปฏิโลมโต (เข้าฌานตามสำดับและย้อนกสิณ)
4. ฌานานุโลมโต (เข้าตามลำดับฌาน)
5. ฌานปฏิโลมโต (เข้าย้อนลำดับฌาน)
6. ฌานานุโลมปฏิโลมโต (เข้าฌานตามลำดับและย้อนฌาน)
7. ฌานุกันติกโต (เข้าฌานโดยข้ามลำดับ )
8. กสิณุกันติกโต (เข้าฌานโดยข้ามกสิณ)
9. ฌานกสิณุกันติกโต (ข้ามทั้งฌานและกสิณ)
10. อังคสังกันติโต (เข้าฌาน 5 โดยก้าวล่วงองค์)
11. อารัมมณสังกันติโต (เข้าฌานโดยเปลี่ยนอารมณ์)
12. อังคารัมมณสังกันติโต (เข้าตามลำดับฌานและกสิณ )
13. อังคววัฏฐานโต (กำหนดรู้องค์ฌาน)
14. อารัมมณววัฏฐานโต (กำหนดรู้อารมณ์).
เรื่องพิสดารแห่งการฝึกจิตเหล่านั้น ข้าพเจ้ากล่าวไว้ในวิสุทธิมรรค
ทั้งนั้นแล ก็พระโยคาวจรไม่เคยอบรมมาก่อน เป็นอาทิกัมมิกะ ไม่ฝึกจิต
โดยอาการ 14 อย่าง อย่างนี้ จักยังการแสดงฤทธิ์ต่าง ๆ ให้สำเร็จ ด้วยประการ
ที่กล่าวมานี้ นั่นมิใช่ฐานะที่มีได้ จริงอยู่ แม้การบริกรรมกสิณของพระ-
โยคาวจรผู้เริ่มเป็นภาระ (ของยาก) ก็บรรดาผู้เริ่มบริกรรมกสิณตั้งร้อยองค์
พันองค์ องค์เดียวย่อมสามารถ. พระโยคาวจรผู้ทำกสิณบริกรรมแล้ว การที่

จะทำนิมิตให้เกิดขึ้นก็เป็นภาระ (ของยาก) ในบรรดาร้อยองค์ พันองค์
องค์เดียวเท่านั้นย่อมสามารถ. เมื่อนิมิตเกิดขึ้นแล้ว ขยายนิมิตให้เจริญขึ้น
แล้วบรรลุอัปปนาก็เป็นภาระ (ของยาก) ในร้อยองค์พันองค์ องค์เดียวเท่านั้น
ย่อมสามารถ แม้ผู้บรรลุอัปปนาได้แล้ว การฝึกจิตโดยอาการ 14 ก็เป็นภาระ
(ของยาก) ในร้อยองค์พันองค์ องค์เดียวย่อมสามารถ แม้ผู้ฝึกจิตโดยอาการ
14 อย่างแล้ว ชื่อว่า การแสดงฤทธิ์ต่าง ๆ ก็เป็นภาระ (ของยาก) ใน
ร้อยองค์พันองค์ องค์เดียวเท่านั้นย่อมสามารถ แม้ผู้แสดงฤทธิ์ได้แล้ว ชื่อว่า
การเข้าฌานได้รวดเร็วก็เป็นภาระ (ของยาก) ในบรรดาร้อยองค์พันองค์
จะมีองค์หนึ่งเท่านั้นเข้าฌานได้รวดเร็ว เหมือนพระรักขิตเถระผู้มีพรรษา 8
โดยการอุปสมบท ในบรรดาท่านผู้มีฤทธิ์ประมาณสามแสนองค์ ผู้มาพยาบาล
พระมหาโรหณคุตตเถระผู้อาพาธในเถรัมพัตถลวิหาร เรื่องพิสดารในวิสุทธิมรรค
นั่นแล.
กสิณกถา จบ

อภิภายตนะ



[178] ธรรมเป็นกุศล เป็นไฉน ?
โยคาวจรบุคคลเจริญมรรคปฏิปทาเพื่อเข้าถึงรูปภูมิ ไม่มีบริกรรม
สัญญาในรูปภายใน เห็นรูปภายนอกที่เล็กน้อย ตั้งใจว่าจะรู้จะเห็นครอบงำ
รูปนั้น สงัดจากกาม สงัดจากอกุศลธรรมทั้งหลายแล้ว บรรลุปฐมฌาน ฯลฯ
อยู่ในสมัยใด ผัสสะ ฯลฯ อวิกขปะ มีในสมัยนั้น ฯลฯ
สภาวธรรมเหล่านี้ชื่อว่า ธรรมเป็นกุศล.
ธรรมเป็นกุศล เป็นไฉน ?
โยคาวจรบุคคลเจริญมรรคปฏิปทาเพื่อเข้าถึงรูปภูมิ ไม่มีบริกรรม
สัญญาในรูปภายใน เห็นรูปภายนอกที่เล็กน้อย ตั้งใจว่าจะรู้จะเห็นครอบงำ
รูปนั้น บรรลุทุติยฌาน ฯลฯ บรรลุตติยฌาน ฯลฯ บรรลุจตุตถฌาน ฯลฯ
บรรลุปฐมฌาน ฯลฯ บรรลุปัญจมฌาน ฯลฯ อยู่ในสมัยใด ผัสสะ ฯลฯ
อวิกเขปะ มีในสมัยนั้น ฯลฯ
สภาวธรรมเหล่านี้ชื่อว่า ธรรมเป็นกุศล.

ปฏิปทา 4



[179] ธรรมเป็นกุศล เป็นไฉน ?
โยคาวจรบุคคลเจริญมรรคปฏิปทาเพื่อเข้าถึงรูปภูมิ ไม่มีบริกรรม
สัญญาในรูปภายใน เห็นรูปภายนอกที่เล็กน้อย ตั้งใจว่าจะรู้จะเห็นครอบงำ