เมนู

อธิบายอารมณ์และปฏิปทาเจือกัน



บัดนี้ เพื่อแสดงนัย 16 ครั้ง เจือด้วยอารมณ์และปฏิปทา จึงทรงเริ่มคำ
เป็นต้นว่า กตเม ธมฺมา กุสลา ดังนี้. บรรดานัยเหล่านั้น ฌานพระผู้มี-
พระภาคเจ้าตรัสไว้ในนัยแรกชื่อว่า หีนะ เพราะเหตุ 4 อย่าง คือ เพราะเป็น
ทุกขาปฏิปทา (ปฏิบัติลำบาก) เพราะเป็นต้นทันธาภิญญา (รู้ได้ช้า) เพราะเป็น
ปริตตะ (ไม่ชำนาญ) เพราะเป็นปริตตารัมมณะ (มีอารมณ์เล็กน้อย) ฌานที่
ตรัสไว้ในนัยที่ 16 ชื่อว่า ปณีตะ เพราะเหตุ 4 อย่าง คือ เพราะเป็น
สุขาปฏิปทา เพราะเป็นขิปปาภิญญา เพราะเป็นอัปปมาณะ (ชำนาญ) เพราะเป็น
อัปปมาณารัมมณะ (มีอารัมณ์ไม่มีประมาณ). ในนัยที่เหลือ 14 นัย พึงทราบ
ความเป็นหีนะและปณีตะ ด้วยเหตุหนึ่งเหตุสองและเหตุสาม.
ถามว่า ก็นัยนี้ท่านแสดงไว้เพราะเหตุไร ?
ตอบว่า เพราะความเกิดขึ้นแห่งฌาน เป็นเหตุ.
จริงอยู่ พระสัมมาสัมพุทธเจ้า ทรงแสดงสุทธิกฌานในปฐวีกสิณด้วย
สามารถแห่งฌานจตุกนัย และฌานปัญจตุกนัย ทรงแสดงสุทธิกปฏิปทา และ
สุทธิการมณ์ในปฐวีกสิณด้วยสามารถแห่งฌานจตุกนัย และฌานปัญจกนัย
เหมือนกัน. บรรดาจตุกนัยและปัญจกนัยทั้งสองเหล่านั้น เทวดาเหล่าใด ย่อม
อาจเพื่อจะตรัสรู้สุทธิกฌานในปฐวีกสิณที่พระองค์แสดงอยู่ด้วยสามารถแห่งฌาน
จตุกนัย ก็ทรงแสดงจตุกนัยในสุทธิกฌานด้วยสามารถแห่งสัปปายะแก่เทวดา
เหล่านั้น.
เทวดาเหล่าใด ย่อมอาจเพื่อจะตรัสรู้สุทธิกฌานในปฐวีกสิณที่พระองค์
ทรงแสดงด้วยสามารถแห่งฌานปัญจกนัย ก็ทรงแสดงปัญจกนัย ด้วยสามารถ
แห่งสัปปายะแก่เทวดาเหล่านั้น.

เทวดาเหล่าใด ย่อมอาจเพื่อจะตรัสรู้สุทธิกฌานในสุทธิกปฏิปทา และ
ในสุทธิการมณ์ ที่ทรงแสดงด้วยสามารถจตุกนัยก็ทรงแสดงจตุกนัยในสุทธิก-
ปฏิปทา และในสุทธิการมณ์ ด้วยสามารถสัปปายะแก่เทวดาเหล่านั้น.
เทวดาเหล่าใด ย่อมอาจเพื่อจะตรัสรู้สุทธิกฌานในสุทธิกปฏิปทาและ
ในสุทธิการมณ์ ที่ทรงแสดงด้วยสามารถแห่งปัญจกนัย ก็ทรงแสดงปัญจกนัย
ในสุทธิกปฏิปทา และสุทธิการมณ์ ด้วยสามารถแห่งสัปปายะแก่เทวดาเหล่านั้น.
พระผู้มีพระภาคเจ้าทรงทำเทศนาด้วยสามารถแห่งอัธยาศัยของบุคคลตามที่กล่าว
ด้วยประการฉะนี้.
อนึ่ง พระผู้มีพระภาคเจ้าทรงเป็นผู้เทศนาไพเราะ ทรงแตกฉานใน
ปฏิสัมภิทา ทรงมีพระทศพลญาณและเวสารัชชญาณบริสุทธิ์ สามารถกำหนด
เทศนาด้วยอำนาจแห่งนัยใด ๆ ก็ได้ เพราะความที่พระองค์ฉลาดในการบัญญัติ
ธรรม โดยที่ธรรมทั้งหลายพระองค์ทรงแทงตลอดดีแล้วตามความเป็นจริงพร้อม
ทั้งรสและลักษณะ. เพราะฉะนั้น พระองค์จึงทรงทำเทศนาด้วยสามารถแห่งฌาน
สุทธิกจตุกนัยเป็นต้นในปฐวีกสิณนั้น เพราะเหตุที่ทรงเทศนาไพเราะนี้ (เทสนา
วิลาส).
ก็ชนเหล่าใดเหล่าหนึ่งยังฌานให้เกิดขึ้น เว้นอารมณ์และปฏิปทาก็ไม่
สามารถจะให้ฌานเกิดขึ้นได้ เพราะฉะนั้น จึงตรัสนัยสิ้น 16 ครั้งนี้เพราะการ
บรรลุฌานเป็นเหตุโดยการกำหนด ด้วยคำมีประมาณเท่านี้ เป็นอันตรัสหมวด
9 ไว้ 25 นัย คือ สุทธิกนวกะ 1 นัย ปฏิปทานวกะ 4 นัย อารัมมณนวกะ
4 นัย และนวกะ 16 นัยนี้แหละ บรรดานวกธรรม 25 นัยเหล่านั้น ในนวกะ
หนึ่ง ๆ มีนัย 50 คือ จตุกนัย 25 ปัญจกนัย 25. บรรดานัย 50 เหล่านั้น
ว่าโดยพระบาลีได้ฌานจิต 225 ดวง คือ นัย 25 ในจตุกนัย ได้ 100 นัย

(25 X ฌาน 4) ในปัญจกนัยได้ 125 นัย แต่เมื่อว่าโดยอรรถได้จิต 125 ดวง
เท่านั้น เพราะความที่ฌานจตุกนัยก็รวมเข้าในฌานปัญจกนัย. ก็ในนิทเทสแห่ง
จิตแต่ละดวงในบรรดาจิต 225 ดวงเหล่านั้น ในพระบาลี มีมหาวาระ คือ
ธรรมววัฏฐานะเป็นต้น มีอย่างละ 3. ก็มหาวาระเหล่านั้นในที่นั้น ๆ ท่านย่อ
แสดงพอเป็นนัยเท่านั้น ดังนี้แล.
ปฐวีกสิณ จบ

อธิบายอาโปกสิณเป็นต้น



บัดนี้ ฌานเหล่านี้ ย่อมเกิดขึ้นแม้ในอาโปกสิณเป็นต้น เพราะฉะนั้น
เพื่อแสดงฌานเหล่านั้น จึงทรงเริ่มคำเป็นต้นว่า กตเม ธมฺมา กุสลา
ดังนี้อีก. ในฌานเหล่านั้น นัยแห่งบาลีทั้งหมด การอธิบายเนื้อความ การนับ
จำนวนจิต การย่อวาระ พึงทราบโดยนัยที่กล่าวไว้ในปฐวีกสิณนั่นแหละ
แต่นัยแห่งภาวนาแม้ทั้งหมดตั้งแต่ทำบริกรรมกสิณ ข้าพเจ้าประกาศไว้ใน
วิสุทธิมรรคทั้งนั้น. ก็แต่ว่าในมหาสกุลูทายิสูตร ท่านกล่าวกสิณไว้ 10 อย่าง
ในกสิณ 10 เหล่านั้น มหัคคตวิญญาณที่เป็นไปในอากาศก็ดี วิญญาณัญจายตน-
สมาบัติ ที่เกิดขึ้นเพราะกระทำบริกรรมในอากาศนั้นก็ดี รวมเทศนาไว้ในอรูป
โดยประการทั้งปวง เพราะฉะนั้น วิญญาณกสิณ พระผู้มีพระภาคเจ้า จึงไม่
ตรัสไว้ในที่นี้.
ก็กสิณุคฆาฏิมากาศ (อากาศที่เพิกกสิณทั้ง 9 ออกเว้นอากาสกสิณ)
ก็ดี ขันธ์ทั้งหลายที่เป็นไปเพราะทำอากาศที่เพิกนั้นให้เป็นอารมณ์ก็ดี ปริจ-
เฉทากาศมีนิมิตที่พึงถือเอาในช่องฝาเป็นต้นอย่างใดอย่างหนึ่งก็ดี ฌานจตุกนัย
และฌานปัญจกนัยที่เกิดขึ้นเพราะทำอากาศนั้นให้เป็นอารมณ์ก็ดี เรียกว่าอากาส-