เมนู

อรรถกถาจิตตุปปาทกัณฑ์



อธิบายปฏิปทา 4



บัดนี้ เพื่อแสดงประเภทลำดับปฏิปทา เพราะธรรมดาว่าฌานนี้ย่อม
สำเร็จด้วยลำดับปฏิปทานั้น ฉะนั้น จึงทรงปรารภคำมีอาทิว่า กตเม ธมฺมา
กุสลา
อีก. ในปฏิปทาเหล่านั้น ฌานที่ชื่อว่า ทุกขาปฏิปทา เพราะอรรถว่า
ฌานนั้นปฏิบัติลำบาก ที่ชื่อว่า ทันธาภิญญา เพราะฌานนั้นรู้ได้ยาก ด้วย
ประการฉะนี้ แม้คำทั้ง 3 คือ ทุกขาปฏิปทาก็ดี ทันธาภิญญาก็ดี ปฐวีกสิณก็ดี
เป็นชื่อของฌานทั้งนั้น. แม้ในคำเป็นต้น ว่า ทุกฺขาปฏิปทํ ขิปฺปาภิญฺญํ
ก็นัยนี้เหมือนกัน.
บรรดาปฏิปทาเป็นต้นเหล่านั้น การเจริญฌานตั้งแต่เริ่มตั้งใจ
ครั้งแรก จนถึงอุปจารแห่งฌานนั้น ๆ เกิดขึ้นเป็นไป เรียกว่า ปฏิปทา. ส่วน
ปัญญาที่ดำเนินไปตั้งแต่อุปจาร จนถึงอัปปนา เรียกว่า อภิญญา. ก็ปฏิปทา
นี้นั้น ย่อมเป็นทุกข์แก่บุคคลบางคนอธิบายว่า ชื่อว่า ปฏิบัติยาก ไม่ได้เสพ
ความสุขเพราะความที่ปัจจนีกธรรมมีนิวรณ์เป็นต้นทำให้ฟุ้งขึ้น. ปฏิปทาของ
บางคนเป็นสุข เพราะไม่มีปัจจนิกธรรมเช่นนั้น แม้อภิญญาของบางคนก็ช้า
คือเป็นธรรมชาติอ่อน ไม่เป็นไปโดยรวดเร็ว อภิญญาของบางคนรวดเร็ว คือ
ไม่ช้า เป็นไปโดยรวดเร็ว เพราะฉะนั้น บุคคลใด เมื่อข่มกิเลสทั้งหลายด้วย
วิปัสสนาญาณตั้งแต่ต้น ลำบากอยู่ ย่อมข่มได้โดยยาก พร้อมทั้งสังขารและ
สัมปโยคะ ปฏิปทาของบุคคลนั้น ชื่อว่า ทุกขาปฏิปทา (ปฏิบัติลำบาก).
ส่วนบุคคลใด ข่มกิเลสได้แล้วอบรมอัปปนาอยู่ ย่อมบรรลุถึงความ
เป็นองค์ฌานได้โดยกาลช้านาน ปฏิปทาของบุคคลนั้น ชื่อว่า ทันธาภิญญา