เมนู

ว่าโดยกถา



อนึ่ง ปิฎกที่หนึ่ง เรียกว่า สังวราวรกถา เพราะพระผู้มีพระภาคเจ้าตรัส
ความสังวรน้อยใหญ่ อันเป็นปฎิปักษ์ต่อความประพฤติผิดไว้ในพระวินัยปิฎกนี้.
คำว่า สังวราสังวร นี้ ได้แก่ สังวรน้อยและใหญ่ เหมือนกัมมากัมมะ (กรรม
น้อยใหญ่) และผลาผล (ผลน้อยใหญ่). ปิฎกที่สอง เรียกว่า ทิฏฐิวินิเวฐนกถา
เพราะพระผู้มีพระภาคเจ้าตรัสถึงการเปลื้องทิฏฐิอันเป็นปฏิปักษ์ต่อทิฏฐิ 62
ไว้ในพระสุตตันตปิฎกนี้. ปิฎกที่สาม เรียกว่า นามรูปปริจเฉทกถา เพราะ
ตรัสถึงการกำหนดนามและรูปอันเป็นปฏิปักษ์ต่อธรรม มีราคะเป็นต้นไว้ใน
พระอภิธรรมปิฎกนี้.

ว่าโดยสิกขาเป็นต้น



อนึ่ง ในปิฎกแม้ทั้ง 3 เหล่านั้น บัณฑิตพึงทราบสิกขา 3 ปหานะ
3 และคัมภีรภาพ 4 อย่าง.
จริงอย่างนั้น ว่าโดยนัยพิเศษ พระผู้มีพระภาคเจ้าตรัสอธิศีลสิกขาไว้ใน
พระวินัยปิฎก ตรัสอธิจิตตสิกขาไว้ในพระสุตตันตปิฎก และตรัสอธิปัญญาสิกขา
ไว้ในพระอภิธรรมปิฎก. อนึ่ง พระผู้มีพระภาคเจ้าตรัสปหาน (การละ) วิติกกม-
กิเลสไว้ในพระวินัยปิฎก เพราะความที่ศีลเป็นปฏิปักษ์ต่อการก้าวล่วงของกิเลส
(วีติกกมกิเลส) ตรัสการปหานปริยุฏฐานกิเลสไว้ในพระสุตตันตปิฎก เพราะ
ความที่สมาธิเป็นปฏิปักษ์ต่อกิเลสที่กลุ้มรุม (ปริยุฏฐานกิเลส) ตรัสการปหาน
อนุสัยกิเลสไว้ในพระอภิธรรมปิฎก เพราะความที่ปัญญาเป็นปฏิปักษ์ต่ออนุสัย-
กิเลส. อีกอย่างหนึ่ง ในปิฎกที่หนึ่งตรัสการละกิเลสทั้งหลายด้วยตทังคปหาน (ละ
ชั่วคราว) ในสองปิฎกนอกนี้ตรัสการละกิเลสด้วยวิกขัมภนปหานและสมุจเฉท-
ปหาน อีกอย่างหนึ่ง ในปิฎกที่หนึ่งตรัสการปหานสังกิเลสคือทุจริต ในสองปิฎก
นอกนี้ ตรัสการปหานสังกิเลส คือ ตัณหาและทิฏฐิ.

ว่าโดยคัมภีรภาพ 4 อย่าง



อนึ่ง ในปิฎกทั้ง 3 นี้ แต่ละปิฎกพึงทราบคัมภีรภาพ (ความลึกซึ้ง)
4 อย่าง คือ โดยธรรม โดยอรรถ โดยเทศนา และโดยปฏิเวธ.
บรรดาคัมภีรภาพเหล่านั้น พระบาลี (ตนฺติ) ชื่อว่า ธรรม. เนื้อความ
แห่งพระบาลีนั้น ชื่อว่า อรรถ. การแสดงบาลีตามที่กำหนดไว้อย่างดีด้วยใจ
นั้น ชื่อว่า เทศนา. การตรัสรู้ตามความเป็นจริงซึ่งธรรมและอรรถแห่งบาลี
นั้น ชื่อว่า ปฏิเวธ. จริงอยู่ ธรรม อรรถ เทศนา และปฏิเวธ ในปิฎก
ทั้ง 3 นั้น ชื่อว่า ลึกซึ้ง เพราะสัตว์ทั้งหลายผู้มีปัญญาน้อยหยั่งลงได้ยาก
เป็นที่พึงอันบุคคลผู้มีปัญญาน้อยไม่พึงได้ เปรียบเหมือนมหาสมุทร อันสัตว์
เล็กทั้งหลายมีกระต่ายเป็นต้นหยั่งให้ถึงได้โดยยาก ทั้งเป็นที่พึ่งก็ไม่ได้ฉะนั้น
บัณฑิตพึงทราบคัมภีรภาพแม้ทั้ง 4 อย่าง ในปิฎกทั้ง 3 นี้แต่ละปิฎก ด้วย
ประการฉะนี้.
อีกนัยหนึ่ง เหตุชื่อว่า ธรรม เหมือนที่ตรัสไว้ว่า ญาณในเหตุ ชื่อว่า
ธรรมปฏิสัมภิทา. ผลของเหตุ ชื่อว่า อรรถ เหมือนที่ตรัสไว้ว่า ญาณในผล
ของเหตุ ชื่อว่า อัตถปฎิสัมภิทา. บัญญัติ ท่านหมายเอาการกล่าวธรรมสมควร
แก่ธรรม ชื่อว่า เทศนา หรือว่าการกล่าวธรรมด้วยสามารถแห่งอนุโลม
ปฏิโลม สังเขป และพิสดารเป็นต้น ชื่อว่า เทศนา. การตรัสรู้ ชื่อว่า ปฏิเวธ.
ก็ปฏิเวธ นั้น เป็นทั้งโลกิยะและโลกุตระ. อธิบายว่า การหยั่งรู้ในธรรม
ทั้งหลายสมควรแก่อรรถ ในอรรถทั้งหลายสมควรแก่ธรรม ในบัญญัติทั้งหลาย
สมควรแก่คลองแห่งบัญญัติ โดยวิสัย (อารมณ์) โดยอสัมโมหะ (ความไม่
หลงลืม) หรือว่า ความที่ธรรมเหล่านั้น ๆ อันพระผู้มีพระภาคเจ้าตรัสไว้ในที่
นั้น ๆ เป็นธรรมไม่วิปริตเป็นไปกับด้วยลักษณะ อันพึงแทงตลอดได้.