เมนู

ในข้อนั้น มีคำบรรยาย และอธิบาย ดังต่อไปนี้
จริงอยู่ ปิฎกทั้ง 3 แม้เหล่านี้ ท่านเรียกตามลำดับว่า อาณาเทศนา
โวหารเทศนา ปรมัตถเทศนา ยถาปราธศาสนะ ยถานุโลมศาสนะ
ยถาธัมมศาสนะ สังวราสังวรกถา ทิฏฐิวินิเวฐนกถา และนามรูป-
ปริจเฉทกถา.


ว่าโดยเทศนา



จริงอยู่ บรรดาปิฎกทั้ง 3 นี้ พระวินัยปิฎก เรียกว่าอาณาเทศนา เพราะ
พระผู้มีพระภาคเจ้าผู้ควรแก่การใช้อำนาจ (อาณา) ทรงแสดงมากไปด้วยอาณา
(อำนาจ) พระสุตตันตปิฎก เรียกว่า โวหารเทศนา เพราะพระผู้มีพระภาคเจ้า
ทรงเป็นผู้ฉลาดในโวหาร (บัญญัติศัพท์) ทรงแสดงมากไปด้วยโวหาร พระ-
อภิธรรมปิฎก เรียกว่า ปรมัตถเทศนา เพราะความที่พระผู้มีพระภาคเจ้าเป็น
ผู้ฉลาดในปรมัตถธรรม ทรงแสดงมากไปด้วยปรมัตถธรรม.

ว่าโดยศาสนะ



อนึ่ง ปิฎกที่หนึ่ง เรียกชื่อว่า ยถาปราธศาสนะ เพราะสัตว์ทั้งหลายผู้มี
ความผิดมาก พระผู้มีพระภาคเจ้าทรงสั่งสอนตามที่มีความผิดในพระวินัยปิฎกนี้
ปิฎกที่สอง เรียกชื่อว่า ยถานุโลมศาสนะ เพราะเหล่าสัตว์ที่มีอัธยาศัย อนุสัย
จริยา และอธิมุติมิใช่น้อย พระผู้มีพระภาคเจ้าจึงทรงสั่งสอนไปตามลำดับ
ในพระสุตตันตปิฎกนี้ ปิฎกที่สาม เรียกชื่อว่า ยถาธัมมศาสนะ เพราะสัตว์
ทั้งหลายผู้มีความสำคัญในสภาวสักว่ากองแห่งธรรมว่า เรา ของเรา พระผู้มี
พระภาคเจ้าทรงสั่งสอน ตามควรแก่ธรรมในพระอภิธรรมปิฎกนี้.

ว่าโดยกถา



อนึ่ง ปิฎกที่หนึ่ง เรียกว่า สังวราวรกถา เพราะพระผู้มีพระภาคเจ้าตรัส
ความสังวรน้อยใหญ่ อันเป็นปฎิปักษ์ต่อความประพฤติผิดไว้ในพระวินัยปิฎกนี้.
คำว่า สังวราสังวร นี้ ได้แก่ สังวรน้อยและใหญ่ เหมือนกัมมากัมมะ (กรรม
น้อยใหญ่) และผลาผล (ผลน้อยใหญ่). ปิฎกที่สอง เรียกว่า ทิฏฐิวินิเวฐนกถา
เพราะพระผู้มีพระภาคเจ้าตรัสถึงการเปลื้องทิฏฐิอันเป็นปฏิปักษ์ต่อทิฏฐิ 62
ไว้ในพระสุตตันตปิฎกนี้. ปิฎกที่สาม เรียกว่า นามรูปปริจเฉทกถา เพราะ
ตรัสถึงการกำหนดนามและรูปอันเป็นปฏิปักษ์ต่อธรรม มีราคะเป็นต้นไว้ใน
พระอภิธรรมปิฎกนี้.

ว่าโดยสิกขาเป็นต้น



อนึ่ง ในปิฎกแม้ทั้ง 3 เหล่านั้น บัณฑิตพึงทราบสิกขา 3 ปหานะ
3 และคัมภีรภาพ 4 อย่าง.
จริงอย่างนั้น ว่าโดยนัยพิเศษ พระผู้มีพระภาคเจ้าตรัสอธิศีลสิกขาไว้ใน
พระวินัยปิฎก ตรัสอธิจิตตสิกขาไว้ในพระสุตตันตปิฎก และตรัสอธิปัญญาสิกขา
ไว้ในพระอภิธรรมปิฎก. อนึ่ง พระผู้มีพระภาคเจ้าตรัสปหาน (การละ) วิติกกม-
กิเลสไว้ในพระวินัยปิฎก เพราะความที่ศีลเป็นปฏิปักษ์ต่อการก้าวล่วงของกิเลส
(วีติกกมกิเลส) ตรัสการปหานปริยุฏฐานกิเลสไว้ในพระสุตตันตปิฎก เพราะ
ความที่สมาธิเป็นปฏิปักษ์ต่อกิเลสที่กลุ้มรุม (ปริยุฏฐานกิเลส) ตรัสการปหาน
อนุสัยกิเลสไว้ในพระอภิธรรมปิฎก เพราะความที่ปัญญาเป็นปฏิปักษ์ต่ออนุสัย-
กิเลส. อีกอย่างหนึ่ง ในปิฎกที่หนึ่งตรัสการละกิเลสทั้งหลายด้วยตทังคปหาน (ละ
ชั่วคราว) ในสองปิฎกนอกนี้ตรัสการละกิเลสด้วยวิกขัมภนปหานและสมุจเฉท-
ปหาน อีกอย่างหนึ่ง ในปิฎกที่หนึ่งตรัสการปหานสังกิเลสคือทุจริต ในสองปิฎก
นอกนี้ ตรัสการปหานสังกิเลส คือ ตัณหาและทิฏฐิ.