เมนู

อธิบายจตุตถฌาน



พึงทราบนิทเทสแห่งจตุตถฌาน ต่อไป.
บทว่า สุขสฺส จ ปหานา ทุกฺขสฺส จ ปหานา (เพราะละสุข
และทุกข์ได้) ได้แก่ การละสุขทางกาย และทุกข์ทางกาย. คำว่า ปุพฺเพว
คือ การละนั้นมีในกาลก่อนทีเดียว มิใช่มีในขณะแห่งจตุตถฌานไม่. คำว่า
โสมนสฺสโทมนสฺสานํ อตฺถงฺคมา (เพราะโสมนัสและโทมนัสดับสนิท)
ความว่า เพราะถึงการตั้งอยู่ไม่ได้แห่งธรรมทั้ง 2 เหล่านี้ คือ สุขทางใจ
และทุกข์ทางใจ คำนี้ท่านอธิบายว่า เพราะละเสียแล้ว.
ถามว่า ก็การละสุขและทุกข์ทางใจเหล่านั้นมีในกาลไร.
ตอบว่า ในขณะแห่งอุปุจารฌานทั้ง 4.
จริงอยู่ พระโยคาวจรละโสมนัสได้ในขณะแห่งอุปจาระของฌานที่ 4
เท่านั้น ส่วนทุกข์ โทมนัส และสุขย่อมละได้ในขณะแห่งอุปจาระของฌาน
ที่หนึ่ง ที่สอง และที่สาม. โดยประการฉะนี้ บัณฑิตพึงทราบการละสุข ทุกข์
โสมนัส และโทมนัส แม้ไม่ตรัสไว้โดยลำดับแห่งการละองค์ฌานเหล่านั้น
แต่ก็ตรัสแม้ในฌานที่ 4 นี้ โดยลำดับแห่งอุทเทสแห่งอินทรีย์ทั้งหลาย ใน
อินทริยวิภังค์นั่นแล.
ถามว่า ก็องค์ฌานเหล่านั้น พระโยคาวจรย่อมละได้ในขณะอุปจาระ
ของฌานนั้น ๆ ไซร้ เมื่อเป็นเช่นนี้ เพราะเหตุไร จึงตรัสความดับในฌาน
ทั้งหลาย อย่างนี้ว่า ก็ทุกขินทรีย์ เกิดขึ้นแล้ว ย่อมดับไปไม่มีส่วนเหลือ
ในที่ไหน ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ภิกษุในธรรมวินัย สงัดจากกาม
สงัดจากอกุศลธรรม เข้าปฐมฌาน มีวิตกวิจาร มีปีติและสุขเกิด
แต่วิเวกอยู่ ทุกขินทรีย์ที่เกิดขึ้นแล้ว ย่อมดับไปไม่มีส่วนเหลือใน

ที่นี้.. ก็โทมนัสสินทรีย์ ฯลฯ สุขินทรีย์ ฯลฯ โสมนัสสินทรีย์
เกิดขึ้นด้วยแล้ว ย่อมดับไปไม่มีส่วนเหลือในที่ไหน ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย
ภิกษุในธรรมวินัยนี้ เข้าจตุตถฌานไม่มีทุกข์ ไม่มีสุข เพราะละทุกข์
และสุข และดับโสมนัสและโทมนัสก่อน ๆ ได้ มีอุเบกขาเป็นต้น
ให้สติบริสุทธิ์อยู่ โสมนัสสินทรีย์ที่เกิดขึ้นแล้ว ย่อมดับไปไม่มี
ส่วนที่เหลือในที่นี้
ดังนี้. ตอบว่า เพราะความดับดียิ่ง.
อันที่จริง ความดับองค์ฌานเหล่านั้นในปฐมฌานเป็นต้น ก็เป็นการ
ดับดียิ่งเหมือนกัน แต่การดับในขณะแห่งอุปจารฌานไม่ชื่อว่า ความดับที่ดียิ่ง
จริงอย่างนั้น เมื่อทุกขินทรีย์แม้ดับแล้วในอุปจาระแห่งปฐมฌานในอาวัชชนะ
ต่าง ๆ ความเกิดขึ้นแห่งทุกขินทรีย์ จะพึงมีได้เพราะสัมผัสอันเกิดแต่เหลือบยุง
เป็นต้น หรือว่า เพราะความลำบากเกิดแต่การนั่งในที่อันไม่เสมอ ส่วน
ภายในอัปปนา ทุกขินทรีย์นั้นหาเกิดขึ้นไม่.
อีกอย่างหนึ่ง ทุขินทรีย์ในอุปจารฌานแม้นี้ ยังไม่ดับอย่างสนิท
เพราะยังมิได้ถูกปฏิปักขธรรม (คือฌาน) ปราบปราม แต่ว่า ภายในอัปปนา
กายทั้งปวงได้หยั่งลงสู่ความสุขแล้วด้วยการแผ่ไปแห่งปีติ ทุกขินทรีย์ของพระ-
โยคาวจรผู้มีกายอันหยั่งลงแล้วในความสุข ย่อมเป็นธรรมดับสนิท เพราะอัน
ปฏิปักขธรรมกำจัดแล้ว
อนึ่ง โทมนัสสินทรีย์แม้พระโยคาวจรละได้แล้วในอุปจารแห่งทุติย-
ฌานในอาวัชชนจิตต่าง ๆ นั่นแหละ โทมนัสสินทรีย์นี้ก็จะพึงเกิดขึ้น เพราะ
ความลำบากกาย และความคับแค้นใจ อันมีวิตกและวิจารเป็นปัจจัยยังมีอยู่
แต่เมื่อไม่มีวิตกและวิจาร โทมนัสสินทรีย์จะไม่เกิดเลย แต่เมื่อวิตกและวิจารมี
อยู่ในที่ใด โทมนัสสินทรีย์ก็ย่อมเกิดขึ้นในที่นั้น คือว่า วิตกและวิจารในอุปจาร

แห่งทุติยฌานอันพระโยคาวจรยังละไม่ได้ เพราะฉะนั้น โทมนัสสินทรีย์ก็พึง
เกิดขึ้นในที่นั้น เพราะความที่วิตกและวิจารเป็นปัจจัยที่ยังละไม่ได้ ส่วนใน
ทุติยฌาน โทมนัสสินทรีย์เกิดไม่ได้เลย เพราะความที่วิตกและวิจารเป็นปัจจัย
นั้นท่านละได้แล้ว.
อนึ่ง ในอุปจารแห่งตติยฌาน สุขินทรีย์แม้พระโยคาวจรละได้แล้ว
จะพึงเกิดขึ้นแก่กายที่รูปอันประณีตมีปีติเป็นสมุฏฐานถูกต้องแล้ว ส่วนใน
ตติยฌาน สุขินทรีย์จะเกิดไม่ได้เลย เพราะว่า ปีติซึ่งเป็นปัจจัยแก่สุขใน
ตติยฌานย่อมดับไปโดยประการทั้งปวง.
อนึ่ง ในอุปจารแห่งจตุตถฌาน โสมนัสสินทรีย์แม้พระโยคีละแล้ว
ก็พึงเกิดขึ้นได้ เพราะความเป็นสภาวะใกล้ต่อสุข และเพราะยังไม่ก้าวล่วง
โดยชอบ โดยที่ไม่มีอุเบกขาที่ถึงอัปปนา ส่วนในจตุตถฌาน โสมนัสสินทรีย์
จะเกิดไม่ได้เลย เพราะเหตุนั้น พระผู้มีพระภาคเจ้าจึงตรัสกระทำให้ถือเอา
โดยไม่มีส่วนเหลือในที่นั้น ๆ อย่างนี้ว่า ก็ทุกขินทรีย์เกิดขึ้นแล้วย่อมดับไป
ไม่มีส่วนเหลือในที่นี้ ดังนี้.
ในอธิการแห่งจตุตถฌานนี้ มีผู้ท้วงว่า ถ้าเวทนาเหล่านั้นแม้พระโยคี
ละแล้วในอุปจารแห่งฌานนั้น ๆ ด้วยอาการอย่างนี้แล้ว เพราะเหตุไร ในที่นี้
จึงนำมาตรัสอีกเล่า. ตอบว่า เพื่อให้เข้าใจ. จริงอยู่ เวทนาที่ไม่ใช่ทุกข์
ไม่ใช่สุขนี้ใด ซึ่งตรัสไว้ในองค์แห่งฌานนี้ว่า ไม่ใช่ทุกข์ ไม่ใช่สุข ดังนี้
เวทนานั้นสุขุมรู้ได้โดยยาก ใคร ๆ ไม่อาจเข้าใจได้โดยง่าย เพราะฉะนั้น
พระผู้มีพระภาคเจ้า จึงทรงนำเวทนาเหล่านี้ทั้งหมดมาอีกเพื่อให้กำหนดได้โดย
ง่าย เปรียบเหมือนนายโคบาลต้องการจับโคดุตัวหนึ่งที่ใคร ๆ ไม่อาจ เพื่อจะ

เข้าไปจับโดยวิธีใดวิธีหนึ่ง จึงต้อนโคทั้งหมดเข้าไปในคอกเดียวกัน ทีนั้น
เขาจึงต้อนออกไปทีละตัว มันก็ออกมาโดยลำดับ จึงชี้ให้จับว่า โคตัวนี้ คือ
โคดุนั้น พวกท่านจงจับมัน ฉันใด ข้อนี้ก็ฉันนั้นเหมือนกัน.
พระผู้มีพระภาคเจ้า ครั้นทรงแสดงเวทนาเหล่านั้น ที่ทรงประมวลมา
ด้วยอาการอย่างนี้แล้ว ใคร ๆ ก็อาจเพื่อให้บุคคลกำหนดเวทนานั้นได้ว่า
สภาวะใดไม่ใช่สุข ไม่ใช่ทุกข์ ไม่ใช่โสมนัส ไม่ใช่โทมนัส สภาวะนี้เป็น
อทุกขมสุขเวทนา ดังนี้.
อีกอย่างหนึ่ง พึงทราบว่า พระผู้มีพระภาคเจ้าตรัสเวทนาเหล่านั้น
เพื่อทรงชี้ถึงปัจจัยเพื่อเจโตวิมุตติ (คือ ความหลุดพ้นแห่งใจ) ที่ไม่มีทุกข์และ
สุข เพราะว่า การละสุขและทุกข์เป็นเป็นปัจจัยเพื่อเจโตวิมุตตินั้น เหมือน
อย่าง พระธรรมทินนาเถรี กล่าวไว้ว่า *จตฺตาโร โข อาวุโส ปจฺจยา
อทุกฺขมสุขาย เจโตวิมุตฺติยา สมาปตฺติยา ฯเปฯ สมาปตฺติยา

ดูก่อนท่านผู้มีอายุ ปัจจัยแห่งสมาบัติ ที่เป็นเจโตวิมุตติ อันไม่มีทุกข์ ไม่มี
สุข มี 4 อย่างแล ดูก่อนท่านผู้มีอายุ ภิกษุในพระธรรมวินัยนี้ เข้าถึงจตุตถ-
ฌานอันไม่มีทุกข์และสุข เพราะละสุขและทุกข์ และดับโสมนัสโทมนัสในก่อน
เสียได้ มีอุเบกขาเป็นเหตุให้สติบริสุทธิ์อยู่ ดูก่อนท่านผู้มีอายุ ปัจจัยแห่ง
สมาบัติที่เป็นเจโตวิมุตติอันไม่มีทุกข์ไม่มีสุข 4 อย่างนี้แล.
อีกอย่างหนึ่ง พึงทราบว่า สังโยชน์มีสักกายทิฏฐิเป็นต้น ที่พระอริย-
เจ้าละได้แล้วในมรรคอื่น (ปฐมมรรคเป็นต้น ) พระผู้มีพระภาคเจ้า เพื่อจะ
ทรงยอย่องมรรคที่ 3 จึงตรัสว่า ละแล้วในมรรคที่ 3 นั้น ดังนี้ ฉันใด
*ม. มู เล่ม 12. 503/543

เพื่อทรงยกย่องฌานนั้น จึงตรัสถึงอทุกขมสุขเวทนานั้น ในฌานที่ 4 นี้ฉันนั้น.
หรืออีกอย่างหนึ่ง พึงทราบตรัสอทุกขมสุขนั้น เพื่อแสดงถึงความที่ราคะและ
โทสะเป็นสภาพไกลยิ่งในฌานที่ 4 นี้ โดยขจัดปัจจัยได้แล้ว จริงอยู่ บรรดา
ฌานเหล่านั้น สุขเป็นปัจจัยแก่โสมนัส โสมนัสเป็นปัจจัยแก่ราคะ ทุกข์เป็น
ปัจจัยแก่โทมนัส โทมนัสเป็นปัจจัยแก่โทสะ ราคะและโทสะพร้อมทั้งปัจจัย
อันจตุตถฌานขจัดแล้ว เพราะขจัดความสุขเป็นต้นได้แล้ว เพราะฉะนั้น ราคะ
และโทสะ จึงชื่อว่า มีอยู่ในที่ไกลยิ่ง ดังนี้.
คำว่า อทุกฺขมสุขํ ความว่า ชื่อว่า อทุกข์ เพราะความไม่มีทุกข์
ชื่อว่า อสุข เพราะความไม่มีสุข. ด้วยคำว่า อทุกฺขมสุขํ นี้ ย่อมทรง
แสดงเวทนาที่ 3 อันเป็นปฏิปักษ์ต่อทุกข์และสุข ในจุตตถฌานนี้ มิใช่ทรง
แสดงเพียงความไม่ทุกข์ไม่สุข แต่ตรัสว่า ความไม่ทุกข์ ไม่สุข ชื่อว่า เวทนาที่
3 เป็นอุเบกขาดังนี้ก็มี.
อุเบกขาเวทนานั้น พึงทราบว่า มีการเสวยอารมณ์ตรงกันข้ามกับ
อิฏฐารมณ์และอนิฏฐารมณ์เป็นลักษณะ มีความเป็นกลางเป็นรส มีการไม่
ปรากฏชัดเป็นปัจจุปัฏฐาน มีการดับความสุขเป็นปทัฏฐาน.
คำว่า อุเปกฺขาสติปาริสุทฺธึ (มีสติบริสุทธิ์เพราะอุเบกขา) ได้แก่
มีสติบริสุทธิ์ อันอุเบกขาให้เกิดขึ้นแล้ว เพราะในฌานนี้ สติบริสุทธิ์ดีแล้ว
ก็ความบริสุทธิ์ของสตินี้อันอุเบกขาทำแล้ว มิใช่ธรรมอื่นทำให้ เพราะเหตุนั้น
จตุตถฌานนี้ จึงชื่อว่า มีสติบริสุทธิ์ เพราะอุเบกขา ดังนี้. แม้ในวิภังค์
พระผู้มีพระภาคเจ้าก็ตรัสว่า สตินี้ อันอุเบกขานี้ เปิดแล้ว เป็นธรรมชาติ
บริสุทธิ์ผ่องแผ้ว เพราะเหตุนั้น จึงตรัสว่า มีสติบริสุทธิ์เพราะอุเบกขา ดังนี้.

อนึ่ง ความบริสุทธิ์แห่งสติในฌานนี้ย่อมมีได้ด้วยอุเบกขาใด อุเบกขานั้น ว่า
โดยเนื้อความ พึงทราบว่า เป็นตัตรมัชฌัตตตา ดังนี้ ก็ในจตุตถฌานนี้ สติ
เท่านั้นบริสุทธิ์แล้วด้วยอุเบกขานั้นเพียงอย่างเดียวก็หาไม่ ที่แท้สัมปยุตตธรรม
แม้ทั้งหมดก็บริสุทธิ์เพราะอุเบกขาเหมือนกัน แต่ตรัสเทศนาไว้โดยยกสติเป็น
ประธาน บรรดาฌานเหล่านั้น อุเบกขานี้ แม้จะมีอยู่ในฌานเบื้องต่ำ 3 ก็จริง
ถึงอย่างนั้น ก็ไม่ทำให้สติและสัมปยุตตธรรมบริสุทธิ์ผุดผ่อง เปรียบเหมือนดวง
จันทร์แม้มีอยู่ในกลางวันก็ไม่บริสุทธิ์ผ่องใส เพราะกลางวันถูกรัศมีพระอาทิตย์
ข่ม และเพราะไม่ได้ราตรีอันเป็นสภาคะ โดยเป็นราตรีแจ่มใส หรือราตรีที่
อุปการะแก่ตนฉันใด แม้ดวงจันทร์ คือ ตัตรมัชฌัตตตุเบกขานี้ก็ฉันนั้น
เหมือนกัน เพราะถูกเดชแห่งธรรมอันเป็นข้าศึกมีวิตกเป็นต้นครอบงำ และ
ไม่ได้ราตรีอันเป็นสภาวะคืออุเบกขาเวทนา แม้จะมีอยู่ในฌานมีปฐมฌาน
เป็นต้น ก็ไม่บริสุทธิ์ เปรียบเหมือนดวงจันทร์ไม่บริสุทธิ์ผุดผ่องในเวลา
กลางวัน รัศมีแห่งดวงจันทร์ ก็ไม่บริสุทธิ์ แม้สหชาตธรรมมีสติเป็นต้น
ก็ไม่บริสุทธิ์เหมือนกัน เพราะฉะนั้น ในบรรดาฌานเหล่านั้น แม้ฌานหนึ่ง
ก็ไม่ตรัสว่า มีสติบริสุทธิ์เพราะอุเบกขา แต่ในจตุตถฌานนี้ ดวงจันทร์ คือ
ตัตรมัชฌัตตตุเบกขานี้ บริสุทธิ์ยิ่งนัก เพราะได้ราตรี คือ อุเบกขาเวทนาเป็น
สภาคะ เพราะไม่ถูกเดชแห่งข้าศึกมีวิตกเป็นต้นครอบงำ เพราะเหตุที่อุเบกขา
นั้นเป็นธรรมบริสุทธิ์ แม้สหชาตธรรมมีสติเป็นต้นก็บริสุทธิ์ผ่องแผ้ว ดุจรัศมี
แห่งดวงจันทร์ที่บริสุทธิ์แล้ว เพราะฉะนั้น พึงทราบว่า จตุตถฌานนี้เท่านั้น
พระผู้มีพระภาคเจ้าตรัสว่า มีสติบริสุทธิ์ เพราะอุเบกขา ดังนี้.
คำว่า จตุตฺถํ แปลว่า ที่ 4 โดยลำดับแห่งการนับ. ฌานนี้ ชื่อว่า
ฌานที่ 4 เพราะอรรถว่า ย่อมบรรลุครั้งที่ 4. ในคำว่า ผสฺโส โหติ

เป็นต้น พึงทราบในผัสสปัญจกะ (หมวด 5 แห่งผัสสะ) ว่า เวทนานั้นเป็น
อุเบกขาเวทนาเท่านั้น. อนึ่ง ในหมวด 5 แห่งฌาน และหมวด 8 แห่ง
อินทรีย์ ก็ตรัสว่า เป็นอุเบกขา เป็นอุเบกขินทรีย์นั่นแล. บทที่เหลือนอกนี้
ไม่มีในฌานที่ 3 แม้ในฌานที่ 4 นี้ ก็ไม่มีเหมือนกัน. แม้ในโกฏฐาสวาร
ก็ตรัสว่า ฌานมีองค์ 2 คำนี้พึงทราบด้วยสามารถแห่งอุเบกขาและจิตเตกัคคตา
นั่นแหละ. คำที่เหลือทั้งปวงเป็นเช่นกับตติยฌานนั่นแล.
ฌานจุตกนัยจบ

ปัญจกนัย



[149] ธรรมเป็นกุศล เป็นไฉน ?
โยคาวจรบุคคลเจริญมรรคปฏิปทาเพื่อเข้าถึงรูปภูมิ สงัดจากกาม
สงัดจากอกุศลธรรมทั้งหลายแล้ว บรรลุปฐมฌานที่มีปฐวีกสิณเป็นอารมณ์ ฯลฯ
อยู่ในสมัยใด ผัสสะ ฯลฯ อวิกเขปะ มีในสมัยนั้น ฯลฯ
สภาวธรรมเหล่านี้ชื่อว่า ธรรมเป็นกุศล.
[150] ธรรมเป็นกุศล เป็นไฉน ?
โยคาวจรบุคคลเจริญมรรคปฏิปทาเพื่อเข้าถึงรูปภูมิ บรรลุทุติยฌานที่มี
ปฐวีกสิณเป็นอารมณ์ ไม่มีวิตก มีแต่วิจาร กับปีติและสุขอันเกิดจากสมาธิ
อยู่ในสมัยใด ผัสสะ เวทนา สัญญา เจตนา จิต วิจาร ปีติ สุข เอกัคคตา