เมนู

อธิบายจตุตถฌาน



พึงทราบนิทเทสแห่งจตุตถฌาน ต่อไป.
บทว่า สุขสฺส จ ปหานา ทุกฺขสฺส จ ปหานา (เพราะละสุข
และทุกข์ได้) ได้แก่ การละสุขทางกาย และทุกข์ทางกาย. คำว่า ปุพฺเพว
คือ การละนั้นมีในกาลก่อนทีเดียว มิใช่มีในขณะแห่งจตุตถฌานไม่. คำว่า
โสมนสฺสโทมนสฺสานํ อตฺถงฺคมา (เพราะโสมนัสและโทมนัสดับสนิท)
ความว่า เพราะถึงการตั้งอยู่ไม่ได้แห่งธรรมทั้ง 2 เหล่านี้ คือ สุขทางใจ
และทุกข์ทางใจ คำนี้ท่านอธิบายว่า เพราะละเสียแล้ว.
ถามว่า ก็การละสุขและทุกข์ทางใจเหล่านั้นมีในกาลไร.
ตอบว่า ในขณะแห่งอุปุจารฌานทั้ง 4.
จริงอยู่ พระโยคาวจรละโสมนัสได้ในขณะแห่งอุปจาระของฌานที่ 4
เท่านั้น ส่วนทุกข์ โทมนัส และสุขย่อมละได้ในขณะแห่งอุปจาระของฌาน
ที่หนึ่ง ที่สอง และที่สาม. โดยประการฉะนี้ บัณฑิตพึงทราบการละสุข ทุกข์
โสมนัส และโทมนัส แม้ไม่ตรัสไว้โดยลำดับแห่งการละองค์ฌานเหล่านั้น
แต่ก็ตรัสแม้ในฌานที่ 4 นี้ โดยลำดับแห่งอุทเทสแห่งอินทรีย์ทั้งหลาย ใน
อินทริยวิภังค์นั่นแล.
ถามว่า ก็องค์ฌานเหล่านั้น พระโยคาวจรย่อมละได้ในขณะอุปจาระ
ของฌานนั้น ๆ ไซร้ เมื่อเป็นเช่นนี้ เพราะเหตุไร จึงตรัสความดับในฌาน
ทั้งหลาย อย่างนี้ว่า ก็ทุกขินทรีย์ เกิดขึ้นแล้ว ย่อมดับไปไม่มีส่วนเหลือ
ในที่ไหน ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ภิกษุในธรรมวินัย สงัดจากกาม
สงัดจากอกุศลธรรม เข้าปฐมฌาน มีวิตกวิจาร มีปีติและสุขเกิด
แต่วิเวกอยู่ ทุกขินทรีย์ที่เกิดขึ้นแล้ว ย่อมดับไปไม่มีส่วนเหลือใน