เมนู

โดยนัยเป็นต้นว่า เสกขธรรม อเสกขธรรม โลกุตรธรรม ดังนี้ก็มี ท่าน
อธิบายว่า ธรรมที่ควรบูชา ตรัสธรรมทั้งหลายที่ทรงกำหนดไว้ เพราะเป็น
ธรรมที่กำหนดโดยสภาวะ โดยนัยเป็นต้นว่า ผัสสะย่อมมี เวทนาย่อมมี
ดังนี้ก็มี และตรัสธรรมทั้งหลายอันยิ่ง โดยนัยเป็นต้นว่า มหัคคตธรรม
อัปปมาณธรรม อนุตรธรรม ดังนี้ก็มี ด้วยเหตุนั้น เพื่อความฉลาดใน
อรรถแห่งการกล่าวถึงพระอภิธรรมนี้ ท่านจึงประพันธ์คาถาไว้ว่า
ยํ เอตฺถ วุฑฺฒิมนฺโต สลกฺขณา ปูชิตา ปริจฺฉินฺนา
วุตฺตาธิกา จ ธมฺมา อภิธมฺโม เตน อกฺขาโต
พระอภิธรรม บัณฑิตกล่าวว่า พระ-
อภิธรรม เพราะเหตุที่พระอภิธรรมนี้ พระ-
ผู้มีพระภาคเจ้าตรัสถึงธรรมที่เจริญ 1 ธรรม
ที่ควรกำหนด ธรรมที่ควรบูชา 1 ธรรม
กำหนด (แยก) ไว้ 1 และธรรมที่ยิ่ง 1.


ว่าด้วยความหมายที่ไม่ต่างกันของปิฎก



อนึ่ง ในปิฎกทั้ง 3 นี้ บัณฑิตผู้รู้อรรถแห่งปิฎกศัพท์กล่าวว่า คำว่า
ปิฎก ที่ไม่แตกต่างกันนั้นว่า ชื่อว่า ปิฎก เพราะอรรถว่าเป็น ปริยัติ และ
ภาชนะ (เครื่องรองรับ) บัดนี้ พึงประมวลปิฎกศัพท์นั้นเข้าด้วยกันแล้ว
ทราบปิฎกแม้ทั้ง 3 มีวินัยเป็นต้น.
จริงอยู่ แม้ปริยัติ ท่านก็เรียกว่า ปิฎก (ตำรา) เหมือนใน
ประโยคมีอาทิว่า มา ปิฏกสมฺปทาเนน อย่าเชื่อโดยอ้างตำรา แม้
ภาชนะอย่างใดอย่างหนึ่ง ก็เรียกว่า ปิฎก เหมือนในประโยคมีอาทิว่า

อถ ปุริโส อาคจฺเฉยฺย กุทฺทาลปิฏกมาทาย ครั้งนั้น บุรุษ (ผู้ทำถนน)
ถือเอาจอบและตะกร้า (ปิฎก) มาดังนี้. เพราะฉะนั้น บัณฑิตผู้รู้อรรถแห่ง
ปิฎกศัพท์จึงกล่าวว่า ชื่อว่า ปิฎก เพราะอรรถว่าเป็นปริยัติ และภาชนะ
(เครื่องรองรับ ).
บัดนี้ บัณฑิตพึงประมวลปิฎกศัพท์เข้าด้วยกัน แล้วพึงทราบปิฎก
แม้ทั้ง 3 มีวินัยเป็นต้น คือ พึงทำสมาส (วินัยเป็นต้น ) กับปิฎกศัพท์ซึ่งมี
อรรถ 2 อย่าง อย่างนี้ แล้วพึงทราบปิฎกแม้ทั้ง 3 มีวินัยเป็นต้นเหล่านี้ว่า
พระวินัยนั้นด้วย เป็นปิฎกด้วย ชื่อว่า วินัยปิฎก เพราะเป็นปริยัติ และเพราะ
เป็นภาชนะ (เครื่องรองรับ) แห่งอรรถนั้น ๆ พระสูตรนั้นด้วย เป็นปิฎก
ด้วย ชื่อว่า สุตตันปิฎก และพระอภิธรรมนั้นด้วย เป็นปิฎกด้วย ชื่อว่า
อภิธรรมปิฎก โดยนัยที่กล่าวแล้วนั้นแหละ อย่างนี้ด้วยประการฉะนี้.

ว่าด้วยความหมายคำว่าปิฎกที่แตกต่างกัน



ก็ครั้นทราบอย่างนี้แล้ว เพื่อความฉลาดเนื้อความต่าง ๆ ในปิฎก
แม้ทั้ง 3 นั่นแหละอีกว่า
ในปิฎกเหล่านั้น บัณฑิตพึงแสดง
ประเภทเทศนา ศาสนะ กถา สิกขา ปหานะ
และคัมภีรภาพ ตามสมควร คือว่าภิกษุย่อม
บรรลุประเภทปริยัติ สมบัติ และวิบัติ อันใด
ในปิฎกใด โดยประการใด พึงอธิบาย
ประเภทปริยัติ สมบัติ และวิบัติแม้นั้นทั้งหมด
โดยประการนั้นเถิด.