เมนู

เพียงความไม่มีวิตกไม่มีวิจาร. ส่วนคำว่า อวิตกฺกํ อวิจารํ นี้ เป็นคำแสดง
เพียงสักว่าความไม่มีวิตกและวิจารเท่านั้น เพราะฉะนั้น พระผู้มีพระภาคเจ้า
ครั้นตรัสอวิตักกะอวิจารแล้ว ก็พึงตรัสอีกโดยแท้.
บทว่า สมาธิชํ (เกิดแต่สมาธิ) ความว่า เกิดแต่สมาธิในปฐมฌาน
หรือแต่สมาธิที่สัมปยุตกัน. บรรดาสมาธิทั้ง 2 นั้นแม้ฌานที่หนึ่งเกิดแต่สมาธิ
ที่สัมปยุตกันก็จริง. แต่ที่แท้ สมาธินี้เท่านั้น ย่อมควรกล่าวคำว่า สมาธิ
เพราะเป็นสมาธิที่ไม่หวั่นไหวเกินไป โดยเป็นการเว้นจากการกำเริบของวิตก
และวิจาร และเพราะเป็นเหตุให้สมาธิผ่องใสดี ฉะนั้น เพื่อกล่าวยกย่องทุติย-
ฌานนี้ พระผู้มีพระภาคเจ้า จึงตรัสคำว่า สมาธิชํ นี้ทีเดียว. คำว่า ปีติ สุขํ
นี้ มีนัยตามที่กล่าวมาแล้ว. คำว่า ทุติยํ นี้ ชื่อว่า ที่สองโดยลำดับแห่ง
การนับ
. ที่ชื่อว่า ที่สอง เพราะอรรถว่า ย่อมบรรลุฌานที่สองนี้ ดังนี้ก็ได้.
ในคำว่า ตสฺมึ สมเย ผสฺโส โหติ เป็นต้น พึงทราบการลด
บทวิตกและวิจารในฌานหมวด 5 พึงทราบการลดบทสัมมาสังกัปปะในหมวด 5
แห่งมรรค. พึงทราบวินิจฉัยบทที่มีการจำแนกและไม่มีการจำแนกด้วยสามารถ
แห่งหมวด 5 แห่งฌานและหมวด 5 แห่งมรรคเหล่านั้น. แม้ในโกฏฐาสวาระ
ก็มีพระบาลีมาว่า ฌานประกอบด้วยองค์ 3 มรรคประกอบด้วยองค์ 4 ดังนี้.
คำที่เหลือนอกจากนี้เป็นเช่นกับปฐมฌานนั่นแล.
ทุติยฌานจบ

อธิบายตติยฌาน



พึงทราบวินิจฉัยในตติยฌานนิทเทส ต่อไป
บทว่า ปีติยา จ วิราคา (เพราะคลายปีติ ) ความว่า ความรังเกียจหรือ
ความก้าวล่วงปีติมีประการตามที่กล่าวแล้ว ชื่อว่า วิราคะ (ความคลายราคะ)

ก็ ศัพท์ในระหว่างศัพท์ทั้งสองมีอรรถว่า ประมวลมา คือย่อมประมวลมา
ซึ่งความสงบ หรือย่อมประมวลมาซึ่งความสงบและวิจาร. ในการประมวล
มาทั้ง 2 นั้น ในกาลใด ศัพท์ย่อมประมวลซึ่งความสงบเท่านั้น ในกาลนั้น
พึงทราบการประกอบความอย่างนี้ว่า เพราะคลายปีติ และเพราะความสงบยิ่ง
ขึ้นไปเล็กน้อย. เนื้อความที่ประกอบนี้ พึงเห็นว่า วิราคะ (ความคลายราคะ)
มีอรรถว่ารังเกียจ. แต่ว่า ในกาลใด ศัพท์ย่อมประมวลมาซึ่งความสงบวิตก
และวิจาร ในกาลนั้น พึงทราบการประกอบเนื้อความอย่างนี้ว่า เพราะคลายปีติ
และเพราะความสงบวิตกและวิจารยิ่งขึ้นเล็กน้อย. ก็ว่าด้วยการประกอบเนื้อความ
นี้ วิราคะ (ความคลายราคะ) มีอรรถว่าก้าวล่วง เพราะฉะนั้น พึงเห็นเนื้อความ
นี้ว่า เพราะการก้าวล่วงปีติ และเพราะสงบวิตกและวิจารดังนี้. ก็วิตกและวิจาร
เหล่านั้นสงบแล้วในทุติยฌานก็จริง ถึงอย่างนั้น ท่านก็กล่าวคำว่า เพราะความ
สงบวิตกและวิจารนี้ไว้เพื่ออธิบายแนวทางของฌานนี้ และเพื่อจะกล่าวชมฌานนี้.
จริงอยู่ เนื้อกล่าวคำว่า วิตกฺกวิจารานํ วูปสมา ดังนี้ ตติยฌานนี้ ย่อม
ปรากฏชัดว่า ความเข้าไปสงบวิตกและวิจาร เป็นอุบายเครื่องบรรลุฌานนี้
แน่แท้. เหมือนอย่างว่าการละท่านกล่าวไว้ในอริยมรรคที่ 3 อย่างนี้ว่า เพราะ
ละสัญโญชน์เบื้องต่ำ 5 มีสักกายทิฏฐิเป็นต้น แม้ที่ยังมิได้ละดังนี้ ย่อมเป็น
การกล่าวถึงคุณความดี เพื่อให้เกิดการอุตสาหะแก่บุคคลผู้ขวนขวายเพื่อบรรลุ
มรรคนั้น ฉันใด การสงบวิตกและวิจาร แม้ที่ยังไม่สงบตามที่ตรัสไว้ใน
ตติยฌานนี้ ย่อมเป็นการกล่าวชมเชยคุณฉันนั้น เพราะเหตุนั้น จึงตรัส
เนื้อความนี้ว่า เพราะก้าวล่วงปีติ และเพราะความสงบวิตกและวิจารทั้งหลาย
ดังนี้.

ในคำว่า อุเปกฺขโก จ วิหรติ นี้ มีวิเคราะห์ว่า ธรรมที่ชื่อว่า
อุเบกขา เพราะอรรถว่า ย่อมเห็นโดยความเกิดขึ้น อธิบายว่า ย่อมเห็นเสมอ
คือเห็นอยู่โดยไม่ตกไปเป็นฝ่ายไหน. พระโยคาวจรผู้พรั่งพร้อมด้วยตติยฌาน
ตรัสเรียกว่า อุเปกฺขโก (ผู้เข้าไปเพ่ง) เพราะประกอบด้วยอุเบกขาอันบริสุทธิ์
ไพบูลมีกำลังนั้น.

ว่าด้วยอุเบกขา 10 อย่าง



ก็อุเบกขามี 10 อย่าง คือ
ฉฬังคูเบกขา (อุเบกขาของพระขีณาสพคือตัตรมัชฌัตตตา)
พรหมวิหารูเบกขา (อุเบกขาในพรหมวิหารคือตัตรมัชฌัตตตา)
โพชฌังคูเบกขา (อุเบกขาในสัมโพชฌงค์คือตัตรมัชฌัตตตา)
วิริยูเบกขา (อุเบกขาคือความเพียร)
สังขารูเบกขา (อุเบกขาในฌานและวิปัสสนาคือปัญญา)
เวทนูเบกขา (อุเบกขาเวทนา)
วิปัสสนูเบกขา (อุเบกขาในวิปัสสนาคือปัญญา)
ตัตรมัชฌัตตูเบกขา (ตัตรมัชฌัตตเจตสิก)
ฌานูเบกขา (อุเบกขาในฌานคือตัตรมัชฌัตตตา)
ปาริสุทธิอุเบกขา (อุเบกขาทำสติให้บริสุทธิ์คือตัตรมัชฌัตตตา).
บรรดาอุเบกขา 10 เหล่านั้น อุเบกขาใดเป็นธรรมบริสุทธิ์เป็นปกติ
ในคลองแห่งอารมณ์ 6 ที่น่าปรารถนาและไม่น่าปรารถนาในทวาร 6 ของพระ-
ขีณาสพเป็นอาการมีอยู่ที่มาในพระบาลีอย่างนี้ว่า ภิกษุผู้เป็นขีณาสพในธรรม
วินัยนี้เห็นรูป ด้วยจักษุแล้วไม่ดีใจ ไม่เสียใจ มีสติ มีความรู้สึกตัว วางเฉย
อยู่เทียว ย่อมอยู่ ดังนี้ อุเบกขานี้ ชื่อว่า ฉฬวคูเบกขา.