เมนู

7 แห่ง พึงทำภาวนาวิธีทั้งหมดอันมีอัปปนาโกศล 10 อย่าง ไม่ให้ตกหล่น
พึงปฏิบัติเพื่อบรรลุฌาน เนื้อความสังเขปมีเพียงนี้. ส่วนความพิสดาร พึงทราบ
โดยนัยที่กล่าวไว้ในวิสุทธิมรรค. อนึ่ง ในกสิณแม้อื่นจากนี้ ก็พึงทราบเหมือน
ในปฐวีกสิณนี้ จริงอยู่ วิธีทั้งหมดแห่งกรรมฐานทั้งปวงแห่งวิธิการเจริญภาวนา
ข้าพเจ้าถือเอาโดยนัยแห่งอรรถกถาแล้วขยายให้พิสดารในวิสุทธิมรรคแล้ว จะมี
ประโยชน์อะไรด้วยวิธีการเจริญกรรมฐานนั้นในวิธีการที่จะกล่าวซ้ำอีกในที่นั้น ๆ
เพราะฉะนั้น ข้าพเจ้าจักไม่ขยายความอีก. แต่ว่า ข้าพเจ้าจักไม่ทำเนื้อความ
ที่มาในพระบาลีในหนหลัง ให้ตกหล่นจะพรรณนาตามลำดับบทติดต่อกันไป.
บทว่า ตสฺมึ สมเย ความว่า ในสมัยที่เข้าปฐมฌานอยู่นั้น ธรรม
56 ตามลำดับมีประการตามที่กล่าวในกามาวจรกุศลจิตดวงหนึ่งเหล่านี้ คือ
ผัสสะ ฯลฯ อวิกเขปะ ย่อมมี ก็ความแปลกกันในปฐมฌานนี้มีอย่างเดียว
คือ ธรรม 56 เหล่านั้นเป็นกามาพจร ธรรม 56 ที่กล่าวนี้เป็นมหัคคตะ
เป็นรูปาวจร ธรรมที่เหลือนอกจากนี้เป็นเช่นเดียวกันทั้งนั้น ส่วนเยวาปนก-
ธรรมและธรรม 4 อย่างมีฉันทะเป็นต้น ย่อมหาได้ในฌานนี้. โกฏฐาสวาระ
และสุญญตวาระ ย่อมเป็นไปตามปกตินั่นแหละ ดังนี้แล.
ปฐมฌานจบ

อธิบายทุติยฌาน



พึงทราบวินิจฉัยในนิทเทสแห่งทุติยฌาน ต่อไป
บทว่า วิตกฺกวิจารานํ วูปสมา (เพราะวิตกวิจารสงบ) ความว่า
ความสงบ คือ เพราะความก้าวล่วงธรรมทั้ง 2 เหล่านี้ คือ วิตกและวิจาร
มีอธิบายว่า เพราะความที่วิตกและวิจารไม่ปรากฏในฌานที่ 2 ในบรรดาฌาน

ทั้ง 2 นั้น ธรรมที่เป็นปฐมฌานแม้ทั้งหมด ย่อมไม่มีในทุติยฌานแม้โดยแท้
เพราะว่า ธรรมทั้งหลายมีผัสสะเป็นต้น ในปฐมฌานก็อย่างหนึ่ง ในทุติยฌาน
นี้ก็อย่างหนึ่งก็จริง ถึงอย่างนั้น ก็พึงทราบว่า คำที่ตรัสอย่างนี้ว่า เพราะวิตก
และวิจารสงบ เพื่อแสดงว่า การบรรลุทุติยฌานเป็นต้นเป็นอย่างอื่นจากปฐมฌาน
ย่อมมีเพราะก้าวล่วงองค์หยาบ ๆ.
ในบทว่า อชฺฌตฺตํ (ภายใน) นี้ ท่านประสงค์เอาภายในเป็นของตนเอง
แต่ในวิภังค์ตรัสคำมีประมาณเท่านี้ว่าเฉพาะตัว ชื่อว่า อัชฌัตตะ ก็เพราะ
บทว่า อชฺฌตฺตํ นี้ ท่านประสงค์เอาบทว่า นิยกชฺฌตฺตํ ฉะนั้นในบทว่า
อชฺฌตฺตํ จึงมีอธิบายว่า เกิดในภายในของตน หรือเกิดในสันดานของตน.
ศรัทธา เรียกว่า ความผ่องใสในบทว่า สมฺปสาทนํ นี้. แม้ฌานก็เรียกว่า
ความผ่องใส เพราะประกอบด้วยความผ่องใส เหมือนผ้า ชื่อว่า ผ้าเขียว
เพราประกอบด้วยสีเขียว. อีกอย่างหนึ่ง เพราะฌานนั้นยังจิตให้แจ่มใส เพราะ
ประกอบด้วยความผ่องใส และเพราะความสงบความกำเริบวิตกและวิจารฉะนั้น
จึงตรัสว่า สมฺปสาทนํ (ความผ่องใส). ก็ในการกำหนดเนื้อความนี้พึงทราบ
ความสัมพันธ์แห่งบทอย่างนี้ ว่า สมฺปสาทนํ เจตโส แต่ในการกำหนด
เนื้อความบทแรก บทว่า เจตโส นี้ พึงประกอบกับบท เอโกทิภาวํ.
ในบทนั้นมีการประกอบเนื้อความดังต่อไปนี้.
สมาธิใด ย่อมผุดขึ้นเป็นเอก เพราะเหตุนั้น สมาธินั้น จึงชื่อว่า
เอโกทิ อธิบายว่า สมาธินั้นเป็นภาวะที่เลิศประเสริฐผุดขึ้น เพราะวิตกและ
วิจารไม่เจริญ (เกิด) ขึ้นในภายใน. จริงอยู่ แม้บุคคลผู้ประเสริฐที่สุด เขาก็
เรียกว่า เป็นเอกในโลก ดังนี้. อีกอย่างหนึ่ง แม้จะกล่าวว่าสมาธิที่เว้นวิตก
ละวิจารเป็นเอกไม่มีสหายผุดขึ้น ดังนี้ก็ควร. อีกนัยหนึ่ง สมาธิใดย่อมยัง

สัมปยุตตธรรมให้ผุดขึ้น เพราะเหตุนั้น สมาธินั้น จึงชื่อว่า อุทิ คือย่อมให้
สัมปยุตตธรรมตั้งขึ้น สมาธินั้นเป็นเอกเพราะอรรถว่าประเสริฐด้วย และยัง
สัมปยุตตรรมให้ผุดขึ้นด้วย เพราะเหตุนั้น จึงชื่อว่า เอโกทิ. คำว่า เอโกทิ
นี้ เป็นชื่อของสมาธิ. ทุติฌานใดย่อมยังสมาธิชื่อว่า เอโกทินี้ให้เกิด
ให้เจริญ เพราะเหตุนั้น ทุติยฌานนี้จึงชื่อว่า เอโกทิภาวะ ก็เพราะสมาธิ
นี้นั้นเป็นเอกเป็นสภาวะที่ยังสัมปยุตตธรรมให้ผุดขึ้นย่อมมีแก่จิต มิใช่มีแก่สัตว์
มิใช่มีแก่ชีวะ ฉะนั้น พระผู้มีพระภาคเจ้าจึงตรัสคำนี้ว่า เจตโส เอโกทิภาวํ
ดังนี้
ถามว่า ศรัทธานี้ และสมาธิมีชื่อว่า เอโกทิ นี้ มีอยู่แม้ในปฐมฌาน
มีใช่หรือ เมื่อเป็นเช่นนั้น เพราะเหตุไร ทุติยฌานนี้นั่นแหละ พระผู้มีพระ-
ภาคเจ้าจึงตรัสว่า เป็นเครื่องผ่องใส และเป็นเอโกทิภาวะอีกเล่า. ตอบว่า
เพราะว่า ปฐมฌานนั้นยังไม่ผ่องใสแท้เพราะกำเริบด้วยวิตกวิจาร เหมือน
น้ำที่ขุ่นเพราะระลอกคลื่น ฉะนั้น แม้เมื่อศรัทธามีอยู่ ก็ไม่ตรัสว่า สมฺปสาทนํ
(ความผ่องใส) อนึ่ง แม้สมาธิในปฐมฌานนี้ก็ยังไม่ปรากฏ เพราะยังไม่ผ่องใส
แท้นั่นแหละ ฉะนั้น ปฐมฌานนั้น จึงไม่ตรัสว่า เอโกทิภาวะ แต่ในทุติยฌานนี้
ศรัทธามีกำสังได้โอกาส เพราะไม่มีวิตกและวิจารเป็นปลิโพธ (กังวลใจ) แม้
สมาธิก็ปรากฏเพราะการได้ศรัทธาเป็นกำลังและเป็นสหาย ฉะนั้น ทุติยฌานนี้
เท่านั้นพึงทราบว่า ตรัสไว้อย่างนั้น. ส่วนในวิภังค์ ตรัสไว้เพียงเท่านี้ว่า
บทว่า สมฺปสาทนํ (ผ่องใส) ได้แก่ศรัทธา (ความเชื่อ) กิริยาที่เชื่อ
ความปลงใจเชื่อ ความเลื่อมใสยิ่ง. คำว่า เจตโส เอโกทิภาวํ (ธรรมเอก
ผุดขึ้นแก่ใจ) ได้แก่ ความตั้งอยู่ การตั้งมั่นแห่งจิต ฯลฯ สัมมาสมาธิดังนี้.
พึงทราบการพรรณนาเนื้อความนี้กับพระดำรัสที่ตรัสไว้อย่างนั้น ย่อมไม่ผิด
เทียบเคียงกันอยู่ ย่อมลงกันได้ ฉะนั้น.

บทว่า อวิตกฺกํ อวิจารํ (ไม่วิตกไม่มีวิจาร) มีวิเคราะห์ว่า ชื่อว่า
อวิตก (ไม่มีวิตก) เพราะอรรถว่า วิตกในทุติยฌานนี้ หรือของทุติยฌานนี้
ไม่มี เพราะความที่วิตกนั้นละได้แล้วด้วยภาวนา. ชื่อว่า อวิจาร (ไม่มีวิจาร)
โดยนัยนี้เหมือนกัน. แม้ในวิภังค์ก็ตรัสไว้ วิตกนี้ และวิจารนี้ ย่อมสงบระงับ
เข้าไประงับ ดับไป ดับไปอย่างราบคาบ ถูกทำให้พินาศไป ให้ละลายไป
ถูกทำให้แห้งไป ถูกทำให้ผากไป ถูกทำให้สิ้นสุด ด้วยเหตุนั้น จึงตรัสว่า
ไม่มีวิตก ไม่มีวิจาร ด้วยประการฉะนี้.
ในข้อนี้หากมีผู้ท้วง แม้ด้วยคำนี้ว่า เพราะการเข้าไปสงบวิตกและวิจาร
ดังนี้ พระผู้มีพระภาคเจ้าตรัส ก็สมบูรณ์แล้วมิใช่หรือ เมื่อเป็นเช่นนั้น
เพราะเหตุไร จึงตรัสว่า ไม่มีวิตกไม่มีวิจารอีกเล่า. ตอบว่า ได้ความหมายนี้
สำเร็จแล้วอย่างนั้นนั่นแหละ แต่คำว่าไม่มีวิตกไม่มีวิจารนี้เป็นคำที่แสดงความ
ข้อนั้นก็หาไม่ ข้าพเจ้าได้กล่าวไว้แล้วมิใช่หรือว่า พระผู้มีพระภาคเจ้าตรัสไว้
อย่างนี้ว่า วิตกฺกวิจารานํ วูปสมา ดังนี้ เพื่อแสดงว่า การบรรลุทุติยฌาน
เป็นต้นเป็นอย่างหนึ่งจากปฐมฌาน ย่อมมีได้เพราะก้าวล่วงองค์หยาบ ๆ ดังนี้.
อีกอย่างหนึ่ง คำนี้เป็นเหตุแสดงเหตุแห่งภาวะสัมปสาททนะและเอโกทิ
อย่างนี้ว่า ทุติยฌานนี้ ชื่อว่า สัมปสาทนะ เพราะสงบวิตกและวิจาร มิใช่
เข้าไปสงบกิเลสที่กำเริบตามกาล ฌานนั้น ชื่อว่า เอโกทิภาวะสงบวิตก
และวิจาร
มิใช่ละนิวรณ์ได้เหมือนอุปจารฌาน มิใช่องค์ฌานปรากฏเหมือน
ปฐมฌาน. อนึ่ง ทุติยฌานนี้ ชื่อว่า อวิตักกะอวิจาร เพราะเข้าไปสงบ
วิตกและวิจาร มิใช่เพราะไม่มีเองเหมือนตติยฌานและจตุตถฌาน และเหมือน
จักขุวิญาณเป็นต้น เพราะฉะนั้น คำว่า ไม่มีวิตกไม่มีวิจารนี้ เป็นคำแสดง
เหตุแห่งความที่ทุติยฌานนั้นเป็นธรรมชาติไม่มีวิตกไม่มีวิจาร มิใช่เป็นคำแสดง

เพียงความไม่มีวิตกไม่มีวิจาร. ส่วนคำว่า อวิตกฺกํ อวิจารํ นี้ เป็นคำแสดง
เพียงสักว่าความไม่มีวิตกและวิจารเท่านั้น เพราะฉะนั้น พระผู้มีพระภาคเจ้า
ครั้นตรัสอวิตักกะอวิจารแล้ว ก็พึงตรัสอีกโดยแท้.
บทว่า สมาธิชํ (เกิดแต่สมาธิ) ความว่า เกิดแต่สมาธิในปฐมฌาน
หรือแต่สมาธิที่สัมปยุตกัน. บรรดาสมาธิทั้ง 2 นั้นแม้ฌานที่หนึ่งเกิดแต่สมาธิ
ที่สัมปยุตกันก็จริง. แต่ที่แท้ สมาธินี้เท่านั้น ย่อมควรกล่าวคำว่า สมาธิ
เพราะเป็นสมาธิที่ไม่หวั่นไหวเกินไป โดยเป็นการเว้นจากการกำเริบของวิตก
และวิจาร และเพราะเป็นเหตุให้สมาธิผ่องใสดี ฉะนั้น เพื่อกล่าวยกย่องทุติย-
ฌานนี้ พระผู้มีพระภาคเจ้า จึงตรัสคำว่า สมาธิชํ นี้ทีเดียว. คำว่า ปีติ สุขํ
นี้ มีนัยตามที่กล่าวมาแล้ว. คำว่า ทุติยํ นี้ ชื่อว่า ที่สองโดยลำดับแห่ง
การนับ
. ที่ชื่อว่า ที่สอง เพราะอรรถว่า ย่อมบรรลุฌานที่สองนี้ ดังนี้ก็ได้.
ในคำว่า ตสฺมึ สมเย ผสฺโส โหติ เป็นต้น พึงทราบการลด
บทวิตกและวิจารในฌานหมวด 5 พึงทราบการลดบทสัมมาสังกัปปะในหมวด 5
แห่งมรรค. พึงทราบวินิจฉัยบทที่มีการจำแนกและไม่มีการจำแนกด้วยสามารถ
แห่งหมวด 5 แห่งฌานและหมวด 5 แห่งมรรคเหล่านั้น. แม้ในโกฏฐาสวาระ
ก็มีพระบาลีมาว่า ฌานประกอบด้วยองค์ 3 มรรคประกอบด้วยองค์ 4 ดังนี้.
คำที่เหลือนอกจากนี้เป็นเช่นกับปฐมฌานนั่นแล.
ทุติยฌานจบ

อธิบายตติยฌาน



พึงทราบวินิจฉัยในตติยฌานนิทเทส ต่อไป
บทว่า ปีติยา จ วิราคา (เพราะคลายปีติ ) ความว่า ความรังเกียจหรือ
ความก้าวล่วงปีติมีประการตามที่กล่าวแล้ว ชื่อว่า วิราคะ (ความคลายราคะ)