เมนู

ไป การอยู่แห่งอัตภาพ สมจริงดังที่ตรัสไว้ในวิภังค์ว่า บทว่า วิหรติ ได้แก่
ย่อมเคลื่อนไหว ย่อมเป็นไป ย่อมคุ้มครอง ย่อมดำเนินไป ย่อมให้ดำเนินไป
ย่อมเที่ยวไป ย่อมอยู่ เพราะเหตุนั้น จึงตรัสว่า วิหรติ ดังนี้.

ว่าด้วยปฐวีกสิณ



พึงทราบวินิจฉัยในคำว่า ปฐวีกสิณํ นี้ ต่อไป
แม้ปฐวีมณฑล (วงกลมแห่งพื้นดิน) ท่านก็เรียกว่า ปฐวีกสิณ
เพราะอรรถว่าเป็นวัตถุสำหรับเพ่ง. แม้นิมิตที่ได้แล้วเพราะอาศัยปฐวีกสิณ
นั้นก็ชื่อว่า ปฐวีกสิณ. แม้ฌานที่ได้เฉพาะแล้วในนิมิต ก็ชื่อว่า ปฐวีกสิณ.
บรรดาความหมายเหล่านั้น ฌาน พึงทราบว่าเป็นปฐวีกสิณ ในความหมายนี้.
ก็ในความหมายว่า พระโยคาวจรเข้าฌานกล่าวคือปฐวีกสิณอยู่ ดังนี้ มีเนื้อความ
ย่อดังนี้
ก็กุลบุตรผู้ใคร่บรรลุพระอรหัตกระทำบริกรรมในปฐวีกสิณนี้ ยังฌาน
หมวด 4 ฌานหมวด 5 ให้เกิดขึ้นแล้ว เจริญวิปัสสนามีฌานเป็นปทัฏฐาน
พึงทำอย่างไร ? เบื้องต้น ควรชำระศีล 4 คือ ปาฏิโมกขสังวรศีล อินทริย-
สังวรศีล อาชีวปาริสุทธิศีล ปัจจยสันนิสสิตศีลให้หมดจดก่อน เมื่อดำรงอยู่
ในศีลดีแล้วก็ตัดปลิโพธที่มีอยู่ในปลิโพธ 10 ประการที่มีอยู่ มีอาวาสปลิโพธ
เป็นต้นนั้น แล้วเข้าไปหากัลยาณมิตรผู้ให้กรรมฐาน ใคร่ครวญกรรมฐานที่
สมควรแก่จริตของตนในบรรดากรรมฐาน 38 ประการ ที่มีมาในพระบาลี
ถ้าปฐวีกสิณนี้สมควรแก่จริงของตนก็พึงถือเอากรรมฐานนี้เท่านั้น ละวิหารที่
ไม่สมควรแก่การเจริญฌานอยู่ในวิหารที่เหมาะสม ตัดความกังวลเล็ก ๆ น้อยๆ
รักษาบริกรรมและนิมิตกสิณ เว้นอสัปปาย 7 แห่ง เสพเสนาสนสัปปายะ

7 แห่ง พึงทำภาวนาวิธีทั้งหมดอันมีอัปปนาโกศล 10 อย่าง ไม่ให้ตกหล่น
พึงปฏิบัติเพื่อบรรลุฌาน เนื้อความสังเขปมีเพียงนี้. ส่วนความพิสดาร พึงทราบ
โดยนัยที่กล่าวไว้ในวิสุทธิมรรค. อนึ่ง ในกสิณแม้อื่นจากนี้ ก็พึงทราบเหมือน
ในปฐวีกสิณนี้ จริงอยู่ วิธีทั้งหมดแห่งกรรมฐานทั้งปวงแห่งวิธิการเจริญภาวนา
ข้าพเจ้าถือเอาโดยนัยแห่งอรรถกถาแล้วขยายให้พิสดารในวิสุทธิมรรคแล้ว จะมี
ประโยชน์อะไรด้วยวิธีการเจริญกรรมฐานนั้นในวิธีการที่จะกล่าวซ้ำอีกในที่นั้น ๆ
เพราะฉะนั้น ข้าพเจ้าจักไม่ขยายความอีก. แต่ว่า ข้าพเจ้าจักไม่ทำเนื้อความ
ที่มาในพระบาลีในหนหลัง ให้ตกหล่นจะพรรณนาตามลำดับบทติดต่อกันไป.
บทว่า ตสฺมึ สมเย ความว่า ในสมัยที่เข้าปฐมฌานอยู่นั้น ธรรม
56 ตามลำดับมีประการตามที่กล่าวในกามาวจรกุศลจิตดวงหนึ่งเหล่านี้ คือ
ผัสสะ ฯลฯ อวิกเขปะ ย่อมมี ก็ความแปลกกันในปฐมฌานนี้มีอย่างเดียว
คือ ธรรม 56 เหล่านั้นเป็นกามาพจร ธรรม 56 ที่กล่าวนี้เป็นมหัคคตะ
เป็นรูปาวจร ธรรมที่เหลือนอกจากนี้เป็นเช่นเดียวกันทั้งนั้น ส่วนเยวาปนก-
ธรรมและธรรม 4 อย่างมีฉันทะเป็นต้น ย่อมหาได้ในฌานนี้. โกฏฐาสวาระ
และสุญญตวาระ ย่อมเป็นไปตามปกตินั่นแหละ ดังนี้แล.
ปฐมฌานจบ

อธิบายทุติยฌาน



พึงทราบวินิจฉัยในนิทเทสแห่งทุติยฌาน ต่อไป
บทว่า วิตกฺกวิจารานํ วูปสมา (เพราะวิตกวิจารสงบ) ความว่า
ความสงบ คือ เพราะความก้าวล่วงธรรมทั้ง 2 เหล่านี้ คือ วิตกและวิจาร
มีอธิบายว่า เพราะความที่วิตกและวิจารไม่ปรากฏในฌานที่ 2 ในบรรดาฌาน