เมนู

ไป การอยู่แห่งอัตภาพ สมจริงดังที่ตรัสไว้ในวิภังค์ว่า บทว่า วิหรติ ได้แก่
ย่อมเคลื่อนไหว ย่อมเป็นไป ย่อมคุ้มครอง ย่อมดำเนินไป ย่อมให้ดำเนินไป
ย่อมเที่ยวไป ย่อมอยู่ เพราะเหตุนั้น จึงตรัสว่า วิหรติ ดังนี้.

ว่าด้วยปฐวีกสิณ



พึงทราบวินิจฉัยในคำว่า ปฐวีกสิณํ นี้ ต่อไป
แม้ปฐวีมณฑล (วงกลมแห่งพื้นดิน) ท่านก็เรียกว่า ปฐวีกสิณ
เพราะอรรถว่าเป็นวัตถุสำหรับเพ่ง. แม้นิมิตที่ได้แล้วเพราะอาศัยปฐวีกสิณ
นั้นก็ชื่อว่า ปฐวีกสิณ. แม้ฌานที่ได้เฉพาะแล้วในนิมิต ก็ชื่อว่า ปฐวีกสิณ.
บรรดาความหมายเหล่านั้น ฌาน พึงทราบว่าเป็นปฐวีกสิณ ในความหมายนี้.
ก็ในความหมายว่า พระโยคาวจรเข้าฌานกล่าวคือปฐวีกสิณอยู่ ดังนี้ มีเนื้อความ
ย่อดังนี้
ก็กุลบุตรผู้ใคร่บรรลุพระอรหัตกระทำบริกรรมในปฐวีกสิณนี้ ยังฌาน
หมวด 4 ฌานหมวด 5 ให้เกิดขึ้นแล้ว เจริญวิปัสสนามีฌานเป็นปทัฏฐาน
พึงทำอย่างไร ? เบื้องต้น ควรชำระศีล 4 คือ ปาฏิโมกขสังวรศีล อินทริย-
สังวรศีล อาชีวปาริสุทธิศีล ปัจจยสันนิสสิตศีลให้หมดจดก่อน เมื่อดำรงอยู่
ในศีลดีแล้วก็ตัดปลิโพธที่มีอยู่ในปลิโพธ 10 ประการที่มีอยู่ มีอาวาสปลิโพธ
เป็นต้นนั้น แล้วเข้าไปหากัลยาณมิตรผู้ให้กรรมฐาน ใคร่ครวญกรรมฐานที่
สมควรแก่จริตของตนในบรรดากรรมฐาน 38 ประการ ที่มีมาในพระบาลี
ถ้าปฐวีกสิณนี้สมควรแก่จริงของตนก็พึงถือเอากรรมฐานนี้เท่านั้น ละวิหารที่
ไม่สมควรแก่การเจริญฌานอยู่ในวิหารที่เหมาะสม ตัดความกังวลเล็ก ๆ น้อยๆ
รักษาบริกรรมและนิมิตกสิณ เว้นอสัปปาย 7 แห่ง เสพเสนาสนสัปปายะ