เมนู

โอฆะเป็นต้น ด้วยบทแรก (วิวิจฺเจว กาเมหิ) ย่อมเป็นอันตรัสวิเวกอันเป็น
เครื่องข่มกามโอฆะ กามโยคะ กามาสวะ กามุปทาน อภิฌากายคัณฐะ
และกามราคสัญโญชน์ ด้วยบทที่สอง (วิวิจฺจ อกุสเลหิ) ย่อมเป็นอันตรัส
วิเวกเป็นเครื่องข่มโอฆะ โยคะ อาสวะ อุปาทาน คัณฐะและสัญโญชน์ที่เหลือ
อนึ่ง ด้วยบทต้น (วิวิจฺเจว กาเมหิ) ย่อมเป็นอันตรัสวิเวกเป็นเครื่องข่ม
ตัณหาและธรรมที่สัมปยุตด้วยตัณหานั้น ด้วยบทที่สอง (วิวิจฺ จ อกุสเลหิ)
ย่อมเป็นอันตรัสวิเวกเป็นเครื่องข่มอวิชชา และธรรมที่สัมปยุตด้วยอวิชชานั้น.
อีกนัยหนึ่ง ด้วยบทแรก (วิวิจฺเจว กาเมหิ) พึงทราบว่า ตรัสวิเวกเป็น
เครื่องข่มจิต 8 ดวงที่สัมปยุตด้วยโลภะ ด้วยบทที่สอง (วิวิจฺจ อกุสเลหิ)
ย่อมเป็นอันตรัสวิเวกเป็นเครื่องข่มอกุศลจิ ต 4 ดวงที่เหลือ. การประกาศ
เนื้อความในคำนี้ว่า วิวิจฺเจว กาเมหิ วิวิจฺจ อกุสเลหิ ธมฺเมหิ ดังนี้
เท่านี้ก่อน.

ว่าด้วยองค์ฌาน



ก็พระผู้มีพระภาคเจ้าครั้นทรงแสดงองค์ที่ปฐมฌานละได้แล้ว ด้วยคำ
ประมาณเท่านี้บัดนี้ เพื่อแสดงสัมปโยคธรรม จึงตรัสคำเป็นต้นว่า สวิตกฺกํ
สวิจารํ
ดังนี้. บรรดาบทเหล่านั้น ฌานตรัสเรียกว่า สวิตก สวิจาร
เพราะความเป็นไปร่วมกับวิตกและวิจาร ชื่อว่า ถึงความเป็นรูปาวจร
เพราะสัมปโยคะด้วยอัปปนา โดยการจำแนกลักษณะเป็นต้น ตามที่กล่าวใน
หนหลัง ดุจนี้ไม้ที่มีดอกและผล ฉะนั้น. แต่ในวิภังค์ท่านทำเทศนาเป็น
ปุคคลาธิฏฐาน โดยนัยมีอาทิว่าพระโยคาวจรเป็นผู้เข้าถึงแล้ว เข้าถึงพร้อมแล้ว
ด้วยวิตก ด้วยวิจารนี้. ส่วนเนื้อความในวิภังค์แม้นั้น พึงเห็นตามที่กล่าว
แล้วนั่นแหละ.

พึงทราบวินิจฉัยในคำว่า วิเวกชํ นี้ ความสงัดท่านเรียกว่า วิเวก
อธิบายว่า ปราศจากนิวรณ์. อีกนัยหนึ่ง ชื่อว่า วิเวก เพราะสงัดแล้ว
อธิบายว่า กองธรรมที่สัมปยุตด้วยฌานสงัดจากนีวรณ์. ปีติและสุข ชื่อว่า
วิเวกชะ (เกิดแต่วิเวก) เพราะอรรถว่า เกิดแต่วิเวกนั้น หรือเกิดในวิเวกนั้น.
พึงทราบวินิจฉัยในคำว่า ปีติ สุขํ นี้ ความว่า ปีติและความสุข
เป็นคำที่ข้าพเจ้าอธิบายไว้ในหนหลังแล้วนั่นแหละ. บรรดาปีติและสุขเหล่านั้น
ปีติ 5 อย่าง มีประการตามที่กล่าวแล้ว ผรณาปีติเป็นมูลรากแห่งอัปปนาสมาธิ
เจริญถึงความเป็นองค์ประกอบของสมาธิ ท่านประสงค์เอาว่า ปีติในอรรถนี้
ปีตินี้ แสะสุขนี้มีอยู่แก่ฌานนี้ หรือในฌานนี้ เพราะฉะนั้น ฌานนี้ ท่านจึง
เรียกว่า มีปีติและสุข ดังนี้.
อีกอย่างหนึ่ง ปีติและสุข ชื่อว่า ปีติและสุข เหมือนศัพท์ว่าธรรม
และวินัย ชื่อว่า ธรรมวินัยเป็นต้น. ปีติและสุขเกิดแต่วิเวกมีอยู่แก่ฌานนี้
หรือในฌานนี้ เพราะเหตุนั้น ฌานนี้จึงชื่อว่า มีปีติและสุข อันเกิดแต่วิเวก
แม้ดังพรรณนามาฉะนี้. เหมือนอย่างว่า ฌานมีปีติและสุขเกิดแต่วิเวก ฉันใด
ปีติและสุขในฌานนี้ ก็เกิดแต่วิเวกฉันนั้นเหมือนกัน. อนึ่ง ปีติและสุขนั้นมีอยู่
แก่ฌานนี้ เพราะฉะนั้น ท่านกล่าวว่าปีติและสุขเกิดแต่วิเวกด้วยบทเดียวเท่านั้น
ก็สมควร. แต่ในวิภังค์ ท่านกล่าวไว้โดยนัยเป็นต้นว่า สุขนี้สหรคตด้วยปีตินี้
ดังนี้ ส่วนความหมายพึงเห็นตามนัยวิภังค์นั้นนั่นแล.
พึงทราบวินิจฉัยในคำว่า ปฐมชฺฌานํ นี้ ต่อไป
ฌานที่ชื่อว่า ที่หนึ่ง เพราะนับตามลำดับ. ชื่อว่า ที่หนึ่ง เพราะ
เกิดขึ้นก่อนดังนี้ก็มี. ชื่อว่า ที่หนึ่ง เพราะพระโยคาวจร พึงเข้าก่อนดังนี้ก็มี.
การกำหนดแม้นี้มิใช่แน่นอน เพราะพระโยคาวจรผู้ได้สมาบัติ 8 มีวสีประพฤติ

มาแล้ว ย่อมสามารถเพื่อจะเข้าฌานตั้งแต่ต้นจนถึงที่สุดก็ได้ สามารถเข้าฌาน
กระทำตั้งแต่ที่สุดลงมาถึงเบื้องต้นก็ได้ สามารถเข้าฌานหนึ่งภายในระหว่างก็ได้
ก็ฌานนั้น ชื่อว่า ที่หนึ่ง เพราะอรรถว่าเกิดขึ้นก่อน ด้วยประการฉะนี้.
บทว่า ฌานํ ได้แก่ ฌาน 2 อย่าง คือ อารัมมณูปนิชฌาน และ
ลักขณูปนิชฌาน. บรรดาฌานทั้ง 2 นั้น สมาบัติ 8 ย่อมเข้าไปเพ่งอารมณ์มี
ปฐวีกสิณเป็นต้นเพราะเหตุนั้น ฌานนั้นจึงถึงการนับว่าเป็นอารัมมณูปนิชฌาน.
ส่วนวิปัสสนา มรรค และผล ชื่อว่า ลักขณูปนิฌาน. บรรดาวิปัสสนา
มรรคผลเหล่านั้น วิปัสสนาชื่อว่า ลักขณูปนิชฌาน เพราะการเข้าไปเพ่ง
ลักษณะมีอนิจจลักษณะเป็นต้น. มรรคชื่อว่า ลักขณูปนิชฌาน เพราะกิจที่
วิปัสสนาทำแล้วสำเร็จด้วยมรรค. ส่วนผลชื่อว่า ลักขณูปนิชฌาน เพราะ
เข้าไปเพ่งลักษณะอันเป็นความจริง คือนิโรธสัจจะ บรรดาอารัมมณูปนิชฌาน
และลักขณูปนิชฌานทั้ง 2 นั้น ในที่นี้ท่านประสงค์เอาอารัมมณูปนิชฌาน
เพราะฉะนั้น ฌานนั้น พึงทราบว่า ชื่อว่า ฌาน เพราะเข้าไปเพ่งอารมณ์
หรือเพราะเป็นเครื่องเผาธรรมที่เป็นข้าศึก ดังนี้.
บทว่า อุปสมปชฺช ได้แก่ เข้าถึงแล้ว คือ บรรลุแล้ว. อีกอย่างหนึ่ง
อธิบายว่า ให้เข้าถึงแล้ว หรือให้สำเร็จแล้ว. แต่ในวิภังค์กล่าวว่า บทว่า
อุปสมฺปชฺช ได้แก่ การได้ การได้เฉพาะ การบรรลุ การบรรลุพร้อม
การถูกต้อง การทำให้แจ้ง การเข้าถึงปฐมฌาน ดังนี้. ความหมายแม้แห่ง
ฌานนั้นพึงเห็นเหมือนในวิภังค์นั้นนั่นแหละ.
บทว่า วิหรติ ได้แก่ ความพรั่งพร้อมแห่งฌานมีประการตามที่กล่าว
แล้วว่า โดยการอยู่แห่งอิริยาบถอันสมควรแก่ฌานนั้น ย่อมให้สำเร็จ การ
เคลื่อนไหว การเป็นไป การรักษา การดำเนินไป การให้ดำเนินไป การเที่ยว

ไป การอยู่แห่งอัตภาพ สมจริงดังที่ตรัสไว้ในวิภังค์ว่า บทว่า วิหรติ ได้แก่
ย่อมเคลื่อนไหว ย่อมเป็นไป ย่อมคุ้มครอง ย่อมดำเนินไป ย่อมให้ดำเนินไป
ย่อมเที่ยวไป ย่อมอยู่ เพราะเหตุนั้น จึงตรัสว่า วิหรติ ดังนี้.

ว่าด้วยปฐวีกสิณ



พึงทราบวินิจฉัยในคำว่า ปฐวีกสิณํ นี้ ต่อไป
แม้ปฐวีมณฑล (วงกลมแห่งพื้นดิน) ท่านก็เรียกว่า ปฐวีกสิณ
เพราะอรรถว่าเป็นวัตถุสำหรับเพ่ง. แม้นิมิตที่ได้แล้วเพราะอาศัยปฐวีกสิณ
นั้นก็ชื่อว่า ปฐวีกสิณ. แม้ฌานที่ได้เฉพาะแล้วในนิมิต ก็ชื่อว่า ปฐวีกสิณ.
บรรดาความหมายเหล่านั้น ฌาน พึงทราบว่าเป็นปฐวีกสิณ ในความหมายนี้.
ก็ในความหมายว่า พระโยคาวจรเข้าฌานกล่าวคือปฐวีกสิณอยู่ ดังนี้ มีเนื้อความ
ย่อดังนี้
ก็กุลบุตรผู้ใคร่บรรลุพระอรหัตกระทำบริกรรมในปฐวีกสิณนี้ ยังฌาน
หมวด 4 ฌานหมวด 5 ให้เกิดขึ้นแล้ว เจริญวิปัสสนามีฌานเป็นปทัฏฐาน
พึงทำอย่างไร ? เบื้องต้น ควรชำระศีล 4 คือ ปาฏิโมกขสังวรศีล อินทริย-
สังวรศีล อาชีวปาริสุทธิศีล ปัจจยสันนิสสิตศีลให้หมดจดก่อน เมื่อดำรงอยู่
ในศีลดีแล้วก็ตัดปลิโพธที่มีอยู่ในปลิโพธ 10 ประการที่มีอยู่ มีอาวาสปลิโพธ
เป็นต้นนั้น แล้วเข้าไปหากัลยาณมิตรผู้ให้กรรมฐาน ใคร่ครวญกรรมฐานที่
สมควรแก่จริตของตนในบรรดากรรมฐาน 38 ประการ ที่มีมาในพระบาลี
ถ้าปฐวีกสิณนี้สมควรแก่จริงของตนก็พึงถือเอากรรมฐานนี้เท่านั้น ละวิหารที่
ไม่สมควรแก่การเจริญฌานอยู่ในวิหารที่เหมาะสม ตัดความกังวลเล็ก ๆ น้อยๆ
รักษาบริกรรมและนิมิตกสิณ เว้นอสัปปาย 7 แห่ง เสพเสนาสนสัปปายะ