เมนู

อรรถกถาจิตตุปปาทกัณฑ์



อธิบายรูปาวจรกุศล



บัดนี้ เพื่อจะแสดงรูปาวจรกุศล พระผู้มีพระภาคเจ้าจึงทรงเริ่มคำ
เป็นต้นว่า กตเม ธมฺมา กุสลา ( ธรรมเป็นกุศล เป็นไฉน ? ) ดังนี้.
บรรดาคำเหล่านั้น คำว่า รูปูปตฺติยา มคฺคํ ภาเวติ (พระโยคาวจร
เจริญมรรคเพื่อเข้าถึงรูปภพ) ดังนี้ ความว่า รูปภพท่านเรียกว่า รูป. คำว่า
อุปปตฺติ (ความเข้าถึง) ได้แก่ ความบังเกิด คือความเกิด ความเกิดพร้อม.
คำว่า มคฺโค ได้แก่ อุบาย. ก็ความหมายถ้อยคำในคำว่า มรรค นี้ ดังนี้.
สภาวธรรมที่ชื่อว่า มรรค เพราะอรรถว่า ย่อมค้นหา คือ ย่อม
แสวงหา ย่อมให้เกิด ย่อมให้สำเร็จซึ่งความเข้าถึงนั้น. มีอธิบายว่า ความเข้าถึง
ความบังเกิด ความเกิด ความเกิดพร้อมย่อมมีในรูปภพด้วยมรรคใด พระ-
โยคาวจรย่อมเจริญมรรคนั้น ดังนี้. ถามว่า ก็ความเข้าถึงรูปภพด้วยมรรคนี้
ได้โดยนิยมหรือ. ตอบว่า ไม่ใช่โดยนิยม. พระผู้มีพระภาคเจ้าตรัสไว้อย่างนี้ว่า
ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย พวกเธอจงเจริญสมาธิ บุคคลผู้มีจิตตั้งมั่นแล้ว ย่อมรู้ชัด
ย่อมรู้พร้อม ย่อมเห็นตามความเป็นจริง ดังนี้ เพราะว่า แม้การก้าวล่วง
รูปภพโดยส่วนแห่งการแทงตลอดย่อมมีไม่ได้ ก็แต่ว่า ชื่อว่ามรรคอื่นนอกจาก
มรรคนี้ เพื่อความเข้าถึงรูปภพย่อมไม่มี เพราะเหตุนั้น จึงตรัสว่า พระโยคาวจร
เจริญมรรคเพื่อเข้าถึงรูปภพ ดังนี้. อนึ่ง เมื่อว่าโดยอรรถ ธรรมดามรรคนี้
เป็นเจตนาก็มี เป็นธรรมสัมปยุตด้วยเจตนาก็มี เป็นทั้ง 2 คือ เป็นทั้งเจตนา
ทั้งธรรมที่สัมปยุตด้วยเจตนาก็มี.
จริงอยู่ เจตนา ชื่อว่า มรรค ดังในประโยคนี้ว่า ดูก่อนสารีบุตร
เรา (ตถาคต) ย่อมรู้ทั่วถึงนรก และมรรค (เจตนา) ที่ให้สัตว์ไปสู่นรก ดังนี้.

ธรรมที่สัมปยุตด้วยเจตนา ชื่อว่า มรรค (ทาง)ดังในประโยคนี้ว่า
ธรรมเหล่านี้ คือ ศรัทธา หิริ กุศล-
ทาน เป็นทางดำเนินของสัตบุรุษ ก็สัตบุรุษ
ย่อมกล่าวทางนี้เป็นทางทิพย์ เพราะว่า
บุคคลย่อมไปสู่เทวโลกด้วยทางนี้
ดังนี้.
เจตนาก็ดี ธรรมที่สัมยุตด้วยเจตนาก็ดี ชื่อว่า มรรค ในพระสูตร
มีสังขารูปปัตติสูตรเป็นต้นว่า ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย นี้เป็นมรรค นี้เป็นปฏิปทา
ดังนี้. แต่ในที่นี้ทรงประสงค์เอาธรรมที่สัมปยุตด้วยเจตนา เพราะพระบาลีว่า
ฌานํ ดังนี้. แต่เพราะเจตนาสัมปยุตด้วยฌาน ย่อมเป็นเหตุให้ปฏิสนธิ ฉะนั้น
เจตนาก็ดี ธรรมที่สัมปยุตด้วยเจตนาก็ดี ย่อมสมควรเหมือนกัน.
คำว่า ภาเวติ (ย่อมเจริญ) ได้แก่ ย่อมให้เกิด คือย่อมให้บังเกิด
ย่อมให้เจริญ. เนื้อความแห่งความเจริญ (ภาวนา) ในที่นี้มีเพียงนี้ก่อน. แต่
ในที่อื่น ว่าด้วยความหมายแห่งอุปสรรค มีเนื้อความโดยเป็นอีกอย่างหนึ่ง
อย่างนี้ว่า สัมภาวนา (การยกย่อง) ปริภาวนา (การอบรม) วิภาวนา
(การชี้แจง)
บรรดาบททั้ง 3 เหล่านั้น เนื้อความนี้ว่า ดูก่อนอุทายี สาวกทั้งหลาย
ของเราในศาสนานี้ ย่อมยกเราในอธิศีลว่า พระสมณโคตะมีศีล
ประกอบด้วยศีลขันธ์อย่างยิ่ง ดังนี้ ชื่อว่า สัมภาวนา ได้แก่เชื่อมั่น.
เนื้อความนี้ว่า สมาธิอันศีลอบรมแล้วย่อมมีผลมาก มีอานิสงส์มาก ปัญญา
อันสมาธิอบรมแล้วย่อมมีผลมาก มีอานิสงส์มาก จิตอันปัญญาอบรมแล้วย่อม
หลุดพ้นจากอาสวะทั้งหลายโดยชอบทีเดียว ดังนี้ ชื่อว่า ปริภาวนา ได้แก่

การอบรม. เนื้อความนี้ว่า เชิญท่านชี้แจงรูป เวทนา สัญญา สังขาร วิญญาณ
เถิด ดังนี้ ชื่อว่า วิภาวนา ได้แก่ การชี้แจงทำเป็นข้อ.
ส่วนปฏิทานี้ว่า ดูก่อนอุทายี ยังมีข้ออื่นอีก เราได้บอกปฏิปทาแก่
สาวกทั้งหลาย โดยประการทั้งสาวกทั้งหลายของเราปฏิบัติตามแล้ว ชื่อว่าย่อม
เจริญสติปัฏฐาน 4 ดังนี้ ชื่อว่า สำเร็จแล้วด้วยภาวนา เพราะอรรถว่า
ให้เกิดคือให้เจริญ. ในที่แม้นี้ ปฏิปทานี้เท่านั้นทรงประสงค์เอาแล้ว เพราะ
เหตุนั้น จึงตรัสว่า ภาเวติ ได้แก่ ย่อมให้เกิด คือให้บังเกิดขึ้น ให้เจริญขึ้น
ดังนี้.
ถามว่า ก็เพราะเหตุไร ในกามาวจรกุศลนิทเทส ทรงกระทำเทศนา
มีธรรมเป็นประธาน แต่ในรูปวาจรนิทเทสไม่ทำเหมือนอย่างนั้น คือได้ทรงทำ
เทศนาบุคคลเป็นประธาน. ตอบว่า เพราะจะชำระปฏิทาให้หมดจด. จริงอยู่
รูปาวจรนิทเทสนี้ พระโยคาวจรพึงชำระให้หมดจดได้ด้วยปฏิปทา 4 อย่างใด
อย่างหนึ่ง เว้นจากปฏิปทาเสียจะเกิดเหมือนกามาวจรได้ไม่. อนึ่ง ธรรมดา
ปฏิปทานี้ เมื่อบุคคลผู้ปฏิบัติยังมีอยู่ จึงมีอยู่ เพราะฉะนั้น เพื่อจะแสดง
เนื้อความนั้น จึงทรงทำเทศนามีบุคคลเป็นประธาน จึงตรัสว่า พระโยคาวจร
เจริญมรรคเพื่อเข้าถึงรูปภพ ดังนี้.
คำว่า วิวิจฺเจว กาเมหิ ความว่า สงัดแล้ว คือเว้นแล้ว ก้าวล่วง
แล้วจากกามทั้งหลาย ก็ เอว อักษรในคำว่า วิวิจฺเจว กาเมหิ นี้ พึงทราบ
ว่า ใช้ในอรรถว่า นิยม (แน่นอน) ก็เพราะ เอวอักษรมีอรรถว่า
แน่นอน ฉะนั้น จึงทรงแสดงซึ่งความที่กามทั้งหลายแม้ไม่มีอยู่ในสมัยเป็นที่
เข้าปฐมฌานอยู่นั้นเป็นปฏิปักษ์ต่อปฐมฌานนั้น และแสดงถึงการบรรลุ
ปฐมฌานนั้น โดยการสละกามได้ขาดแล้ว. ถามว่า อย่างไร ? ตอบว่า

ก็เมื่อบุคลกำหนดไปอย่างนี้ว่า สงัดจากกามทั้งหลาย ดังนี้ ฌานนี้จึงปรากฏ
ก็กามทั้งหลายเป็นปฏิปักษ์ต่อฌานนี้แน่ เพราะกามทั้งหลายยังอยู่ ฌานนี้
ก็เป็นไปไม่ได้ เปรียบเหมือนเมื่อความมืดยังมีอยู่ แสงสว่างแห่งประทีปก็ยัง
ไม่มี ฉะนั้น การบรรลุฌานนั้นได้ เพราะการสละกามเหล่านั้นนั่นแหละ
เปรียบเหมือนละฝั่งนี้จึงไปถึงฝั่งโน้นได้ เพราะฉะนั้น เอวอักษรนั้น จึงทำ
ความว่าแน่นอน ดังนี้.
ในปฐมฌานนั้น พึงมีคำท้วงว่า ก็เพราะเหตุไร เอวอักษรนี้ท่านกล่าว
ไว้ในบทต้นเท่านั้นไม่กล่าวไว้ในบทหลัง พระโยคาวจรแม้สงัดจากอกุศลธรรม
ทั้งหลายแล้วพึงเข้าฌานอยู่ได้หรือ ? ตอบว่า ข้อนี้ ไม่พึงเห็นอย่างนั้น
เพราะว่า เอวอักษรนี้ท่านกล่าวไว้ในบทต้น เพราะการสลัดออกซึ่งกามนั้น
ด้วยว่า ฌานนี้เป็นเครื่องสลัดออกซึ่งกามทั้งหลายนั่นเหละ เพราะเป็นเหตุ
ก้าวล่วงกามธาตุ และเพราะเป็นปฏิปักษ์ต่อกามราคะ เหมือนอย่างตรัสไว้ว่า
เนกขัมมะ คือการสลัดออกจากกามทั้งหลายนี้. อนึ่ง เอวอักษรนี้ แม้ในบทหลัง
ก็ควรนำมากล่าวไว้ในที่นี้เหมือนดังที่ตรัสไว้ว่า อิเธว ภิกฺขเว ปฐโม
สมโณ อิธ ทุติโย สมโน
(ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย สมณะที่หนึ่ง มีใน
ธรรมวินัยนี้เท่านั้น สมณะที่สองก็มีในธรรมวินัยนี้เหมือนกัน ) ฉะนั้น. เพราะ
ใคร ๆ ที่ยังไม่สละอกุศลธรรมกล่าวคือนิวรณ์ แม้เหล่าอื่นจากกามนี้แล้ว ก็
ไม่อาจเข้าฌานอยู่ได้ ฉะนั้น พึงใช้เอวอักษรนี้แม้ในบททั้งสอง อย่างนี้ว่า
วิวจฺเจว กาเมหิ วิวิจฺเจว อกุสเลหิ ธมฺเมหิ ดังนี้. ก็ด้วยพระดำรัส
ที่ไม่ทั่วไปว่า วิวิจฺจ นี้ วิเวกแม้ทั้งหมดมีตทังควิเวกเป็นต้น และกายวิเวก
เป็นต้น ย่อมรวมลงแม้ในบททั้งสองก็จริง ถึงอย่างนั้น ในที่นี้ พึงเห็นวิเวก
3 เท่านั้น คือ กายวิเวก จิตตวิเวก วิขัมภนวิเวก.

ก็ด้วยบทว่า กาเมหิ นี้ วัตถุกามทั้งหลายที่ตรัสไว้ในนิทเทส โดยนัย
เป็นต้นว่า วัถถุกามเป็นไฉน ? คือรูปที่น่าชอบใจ ดังนี้. และกิเลสกาม
ทั้งหลาย ตรัสไว้ในนิทเทสนั้นนั่นแหละ ในวิภังค์อย่างนี้ว่า ฉันทะชื่อว่ากาม
ราคะชื่อว่ากาม ฉันทราคะชื่อว่ากาม สังกัปปกามชื่อว่าราคะ กามสังกัปป-
ราคะชื่อว่ากาม ธรรมเหล่านั้น เรียกว่า กาม ดังนี้ อกุศลเหล่านั้นแม้ทั้งหมด
พึงเห็นว่ารวมกันในที่นี้แล. ก็เมื่อเป็นเช่นนี้ ชื่อความว่า วิวิจฺเจว กาเมหิ
(สงัดจากกามทั้งหลาย) จะพึงมีความหมายว่า สงัดแล้วจากวัตถุกามทั้งหลาย
บ้างก็สมควร. ด้วยคำว่า วิวิจฺเจว กาเมหิ นั้น ตรัสว่าเป็นกายวิเวก.
คำว่า วิวิจฺจ อกุสเลหิ ธมฺเมหิ (สงัดแล้วจากอกุศลธรรมทั้งหลาย)
อธิบายว่า สงัดแล้วจากกิเลสกามทั้งหลาย หรืออกุศลธรรมทั้งหมด ดังนี้ก็
สมควร. ด้วยคำว่า วิวิจฺจ อกุสเลหิ ธมฺเมหิ นั้น ตรัสถึงจิตตวิเวก.
ก็ในบรรดาบททั้ง 2 เหล่านั้น บทแรกย่อมเป็นอันตรัสการสละความสุขในกาม
เพราะตรัสถึงความสงัด จากวัตถุกามทั้งหลายนั่นแหละ บทที่สอง ตรัสอธิบาย
ถึงการกำหนดความสุขในเนกขัมมะ เพราะตรัสถึงความสงัดจากกิเลสกาม
ทั้งหลาย. ก็เพราะตรัสถึงความสงัดจากวัตถุกามและกิเลสกามด้วยประการฉะนี้
นั่นแหละ พึงทราบความหมายว่า บรรดาคำเหล่านั้น ด้วยบทแรกตรัสการละ
สงัดกิเลสวัตถุ บทที่สองตรัสการละสังกิเลส. บทแรก ตรัสสละเหตุแห่งความโลเล
บทที่สองตรัสการสละเหตุความเป็นพาล ด้วยบทแรก ตรัสปโยคสุทธิ บทที่สอง
ตรัสอบรมอัธยาศัยของจิต ดังนี้ก็มี. ในกามตามคำว่า กาเมหิ นี้ ในฝ่าย
วัตถุกามมีนัยเพียงเท่านี้ก่อน. ส่วนในฝ่ายกิเลสกาม กามฉันทะนั่นแหละมี
ประเภทมิใช่น้อยด้วยคำเป็นต้นอย่างนี้ คือ ฉันทะชื่อว่ากาม ราคะชื่อว่ากาม
ท่านประสงค์เอาว่า กาม. ก็กามฉันทะนั้นแม้นับเนื่องด้วยอกุศลธรรม แต่

เพราะเป็นปฏิปักษ์ต่อองค์ฌาน จึงตรัสไว้ส่วนหนึ่งในวิภังค์ โดยนัยมีอาทิว่า
บรรดากามเหล่านั้น กามฉันทะเป็นไฉน ?
อีกนัยหนึ่ง กามตรัสไว้ในบทแรกเพราะเป็นกิเลสกาม ในบทที่สอง
ตรัสไว้เพราะนับเนื่องในอกุศล. ก็เพราะกามนั้นแยกมิใช่น้อย จึงไม่ตรัส
ว่า กามโต แต่ตรัสว่า กาเมหิ ดังนี้. อนึ่ง แม้มีธรรมเหล่าอื่นที่เป็น
อกุศลธรรม แต่ตรัสเฉพาะนีวรณธรรมเท่านั้น โดยทรงถือนิวรณ์เป็นข้าศึก
และขดขวางองค์ฌานเบื้องสูงไว้ในวิภังค์ โดยนัยมีอาทิว่า ในมาติกาเหล่านั้น
ธรรมเป็นอกุศลเป็นไฉน ? คือ กามฉันทะ ดังนี้. จริงอยู่ นิวรณธรรม
ทั้งหลายเป็นข้าศึกต่อองค์ฌาน. อธิบายว่า นิวรณ์ทั้งหลายเป็นปฏิปักษ์ เป็น
ตัวกำจัด เป็นตัวพิฆาตองค์ฌานเหล่านั้น. จริงอย่างนั้น ในคัมภีร์เปฏกะ
กล่าวไว้ว่า สมาธิเป็นปฏิปักษ์ต่อกามฉันทะ ปีติเป็นปฏิปักษ์ต่อพยาบาท
วิตกเป็นปฏิปักษ์ต่อถีนมิทธะ สุขเป็นปฏิปักษ์ต่ออุทธัจจกุกกุจจะ วิจารเป็น
ปฏิปักษ์ต่อวิจิกิจฉา ด้วยอาการอย่างนี้ ในบททั้ง 2 เหล่านั้น ย่อมเป็นอัน
ตรัสวิเวกเป็นเครื่องข่มกามฉันทะด้วยบทว่า วิวิจฺเจว กาเมหิ นี้ ตรัสวิเวก
เป็นเครื่องข่มนิวรณ์แม้ทั้ง 5 ด้วยบทว่า วิวจฺจ อกุสเลหิ นี้.
อนึ่ง ว่าโดยนัยที่ยังมิได้อธิบาย ย่อมเป็นอันตรัสวิเวกเป็นเครื่องข่ม
กามฉันทะด้วยบทที่หนึ่ง (วิวิจฺจเจว กาเมหิ) ย่อมเป็นอันตรัสวิเวกเป็น
เครื่องละนิวรณ์ที่เหลือด้วยบทที่สอง (วิวิจฺจ อกุสเลหิ). อนึ่ง ในบรรดา
อกุศลมูล 3 อย่าง ย่อมเป็นอันตรัสวิเวกเป็นเครื่องข่มโลกอันเป็นอารมณ์แห่ง
กามคุณ 5 ประเภท ด้วยบทที่หนึ่ง (วิวิจฺเจ กาเมหิ) ด้วยบทที่สอง
(วิวิจฺจ อกุสเลหิ) ย่อมเป็นอันตรัสวิเวกเป็นเครื่องข่มโทสะและโมหะซึ่งเป็น
อารมณ์อันต่างด้วยอาฆาตวัตถุเป็นต้น. อีกอย่างหนึ่ง บรรดาธรรมทั้งหลายมี

โอฆะเป็นต้น ด้วยบทแรก (วิวิจฺเจว กาเมหิ) ย่อมเป็นอันตรัสวิเวกอันเป็น
เครื่องข่มกามโอฆะ กามโยคะ กามาสวะ กามุปทาน อภิฌากายคัณฐะ
และกามราคสัญโญชน์ ด้วยบทที่สอง (วิวิจฺจ อกุสเลหิ) ย่อมเป็นอันตรัส
วิเวกเป็นเครื่องข่มโอฆะ โยคะ อาสวะ อุปาทาน คัณฐะและสัญโญชน์ที่เหลือ
อนึ่ง ด้วยบทต้น (วิวิจฺเจว กาเมหิ) ย่อมเป็นอันตรัสวิเวกเป็นเครื่องข่ม
ตัณหาและธรรมที่สัมปยุตด้วยตัณหานั้น ด้วยบทที่สอง (วิวิจฺ จ อกุสเลหิ)
ย่อมเป็นอันตรัสวิเวกเป็นเครื่องข่มอวิชชา และธรรมที่สัมปยุตด้วยอวิชชานั้น.
อีกนัยหนึ่ง ด้วยบทแรก (วิวิจฺเจว กาเมหิ) พึงทราบว่า ตรัสวิเวกเป็น
เครื่องข่มจิต 8 ดวงที่สัมปยุตด้วยโลภะ ด้วยบทที่สอง (วิวิจฺจ อกุสเลหิ)
ย่อมเป็นอันตรัสวิเวกเป็นเครื่องข่มอกุศลจิ ต 4 ดวงที่เหลือ. การประกาศ
เนื้อความในคำนี้ว่า วิวิจฺเจว กาเมหิ วิวิจฺจ อกุสเลหิ ธมฺเมหิ ดังนี้
เท่านี้ก่อน.

ว่าด้วยองค์ฌาน



ก็พระผู้มีพระภาคเจ้าครั้นทรงแสดงองค์ที่ปฐมฌานละได้แล้ว ด้วยคำ
ประมาณเท่านี้บัดนี้ เพื่อแสดงสัมปโยคธรรม จึงตรัสคำเป็นต้นว่า สวิตกฺกํ
สวิจารํ
ดังนี้. บรรดาบทเหล่านั้น ฌานตรัสเรียกว่า สวิตก สวิจาร
เพราะความเป็นไปร่วมกับวิตกและวิจาร ชื่อว่า ถึงความเป็นรูปาวจร
เพราะสัมปโยคะด้วยอัปปนา โดยการจำแนกลักษณะเป็นต้น ตามที่กล่าวใน
หนหลัง ดุจนี้ไม้ที่มีดอกและผล ฉะนั้น. แต่ในวิภังค์ท่านทำเทศนาเป็น
ปุคคลาธิฏฐาน โดยนัยมีอาทิว่าพระโยคาวจรเป็นผู้เข้าถึงแล้ว เข้าถึงพร้อมแล้ว
ด้วยวิตก ด้วยวิจารนี้. ส่วนเนื้อความในวิภังค์แม้นั้น พึงเห็นตามที่กล่าว
แล้วนั่นแหละ.