เมนู

อสังขาริกที่เป็นญาณวิปปยุต และสสังขาริกที่เป็นญาณวิปปยุตก็เหมือนกัน
อย่างนี้ด้วยประการฉะนี้ ในกามาวจรกุศลจิตนี้จึงมี 4 อย่าง ด้วยสามารถแห่งการ
แสดงการจำแนกญาณ ว่าโดยการจำแนกอสังขารและสสังขารแล้วก็ได้กุศลจิต
8 ดวงเท่านั้น คือ อสังขาริก 4 ดวง สสังขาริก 4 ดวง. พระผู้มีพระภาคเจ้า
ผู้ทรงเป็นพระสัพพัญญู ทรงเป็นผู้ประเสริฐกว่าเจ้าคณะทั้งหลาย ทรงเป็นมุนี
ผู้ประเสริฐสุด ทรงทราบกามาวจรกุศลจิตเหล่านั้นตามความเป็นจริงแล้วจึง
ทรงบอก ทรงแสดง ทรงบัญญัติ ทรงแต่งตั้ง ทรงเปิดเผย ทรงจำแนก
ทรงทำให้ง่าย ดังนี้แล.
นิทเทสว่าด้วยกามาวจรกุศลจิต
ในอรรถกถาธรรมสังคหะชื่ออัฏฐสาลินีจบบริบูรณ์


รูปาวจรกุศล กสิณ ฌาน



จตุกนัย



[139] ธรรมเป็นกุศล เป็นไฉน ?
โยคาวจรบุคคลเจริญมรรคปฏิปทาเพื่อเข้าถึงรูปภูมิ สงัดจากกาม
สงัดจากอกุศลธรรมทั้งหลายแล้ว บรรลุปฐมฌานที่มีปฐวีกสิณเป็นอารมณ์
ประกอบด้วยวิตก วิจาร มีปีติและสุขอันเกิดแต่วิเวกอยู่ ในสมัยใด ผัสสะ
ฯลฯ อวิกเขปะ มีในสมัยนั้น ฯลฯ
สภาวธรรมเหล่านี้ ชื่อว่า ธรรมเป็นกุศล.

[140] ธรรมเป็นกุศล เป็นไฉน ?
โยคาวจรบุคคลเจริญมรรคปฏิปทาเพื่อเข้าถึงรูปภูมิ บรรลุทุติยฌาน
ที่มีปฐวีกสิณเป็นอารมณ์ ภายในผ่องใส เพราะวิตกวิจารสงบ จิตถึงความ
เป็นธรรมชาติผุดขึ้นดวงเดียว ไม่มีวิตกวิจาร มีแต่ปีติและสุขอันเกิดจากสมาธิ
อยู่ในสมัยใด ผัสสะ เวทนา สัญญา เจตนา จิต ปีติ สุข เอกัคคตา
สัทธินทรีย์ วิริยินทรีย์ สตินทรีย์ สมาธินทรีย์ ปัญญินทรีย์ มนินทรีย์
โสมนัสสินทรีย์ ชีวิตินทรีย์ สัมมาทิฏฐิ สัมมาวายามะ ฯลฯ ปัคคาหะ
อวิกเขปะ มีในสมัยนั้น หรือนามธรรมที่อิงอาศัยเกิดขึ้นแม้อื่นใด มีอยู่ใน
สมัยนั้น.
สภาวธรรมเหล่านี้ชื่อว่า ธรรมเป็นกุศล ฯลฯ
[141] ก็ขันธ์ 4 อายตนะ 2 ธาตุ 2 อาหาร 3 อินทรีย์ 8
ฌานมีองค์ 3 มรรคมีองค์ 4 พละ 7 เหตุ 3 ผัสสะ 1 ฯลฯ ธรรมายตนะ 1
ธรรมธาตุ 1 มีในสมัยนั้น หรือนามธรรมที่อิงอาศัยเกิดขึ้นแม้อื่นใด มีอยู่
ในสมัยนั้น.
สภาวธรรมเหล่านั้นชื่อว่า ธรรมเป็นกุศล ฯลฯ
[142] สังขารขันธ์ มีอยู่ในสมัยนั้น เป็นไฉน ?
ผัสสะ เจตนา ปีติ เอกัคคตา สัทธินทรีย์ วิริยินทรีย์ สตินทรีย์
สมาธินทรีย์ ปัญญินทรีย์ ชีวิตินทรีย์ สัมมาทิฏฐิ สัมมาวายามะ ฯลฯ ปัคคาหะ
อวิกเขปะ หรือนามธรรมที่อิงอาศัยเกิดขึ้นแม้อื่นใด มีอยู่ในสมัยนั้น เว้น
เวทนาขันธ์ สัญญาขันธ์ วิญญาณขันธ์ นี้ชื่อว่า สังขารขันธ์มีในสมัยนั้น ฯลฯ
สภาวธรรมเหล่านั้นชื่อว่า ธรรมเป็นกุศล ฯลฯ

[143] ธรรมเป็นกุศล เป็นไฉน ?
โยคาวจรบุคคลเจริญมรรคปฏิปทาเพื่อเข้าถึงรูปภูมิ เพราะคลายปีติ
ได้อีกด้วย จึงเป็นผู้เพ่งโดยอุปบัติ มีสติสัมปชัญญะอยู่ และเสวยสุขด้วยนามกาย
พระอริยะทั้งหลายย่อมกล่าวบุคคลนั้นว่าเป็นผู้เพ่งโดยอุปบัติ มีสติอยู่เป็นสุข
ดังนี้ เพราะฌานใด บรรลุตติยฌานนั้นที่มีปฐวีกสิณเป็นอารมณ์ อยู่ในสมัยใด
ผัสสะ เวทนา สัญญา เจตนา จิต สุข เอกัคคตา สัทธินทรีย์ วิริยินทรีย์
สตินทรีย์ สมาธินทรีย์ ปัญญินทรีย์ มนินทรีย์ โสมนัสสินทรีย์ ชีวิตินทรีย์
สัมมาทิฏฐิ สัมมาวายามะ ฯลฯ ปัคคาหะ อวิกเขปะ มีในสมัยนั้น หรือ
นามธรรมที่อิงอาศัยเกิดขึ้นแม้อื่นใด มีอยู่ในสมัยนั้น.
สภาวธรรมเหล่านี้ชื่อว่า ธรรมเป็นกุศล ฯลฯ
[144] ก็ขันธ์ 4 อายตนะ 2 ธาตุ 2 อาหาร 3 อินทรีย์
ฌานมีองค์ 2 มรรคมีองค์ 4 พละ 7 เหตุ 3 ผัสสะ 1 ฯลฯ ธรรมายตนะ 1
ธรรมธาตุ 1 มีในสมัยนั้น หรือนามธรรมที่อิงอาศัยเกิดขึ้นแม้อื่นใด มีอยู่ใน
ในสมัยนั้น.
สภาวธรรมเหล่านี้ ชื่อว่า ธรรมเป็นกุศล ฯสฯ
[145] สังขารขันธ์ มีในสมัยนั้น เป็นไฉน ?
ผัสสะ เจตนา เอกัคคตา สัทธินทรีย์ วิริยินทรีย์ สตินทรีย์
สมาธินทรีย์ ปัญญินทรีย์ ชีวิตินทรีย์ สัมมาทิฏฐิ สัมมาวายามะ ฯลฯ ปัคคาหะ
อวิกเขปะ หรือนามธรรมที่อิงอาศัยเกิดขึ้นแม้อื่นใด มีอยู่ในสมัยนั้น เว้น
เวทนาขันธ์ สัญญาขันธ์ วิญญาณขันธ์ นี้ชื่อว่า สังขารขันธ์มีในสมัยนั้น ฯลฯ
สภาวธรรมเหล่านั้นชื่อว่า ธรรมเป็นกุศล.

[146] ธรรมเป็นกุศล เป็นไฉน ?
โยคาวจรบุคคลเจริญมรรคปฏิปทาเพื่อเข้าถึงรูปภูมิ บรรลุจตุตถฌาน
ที่มีปรวีกสิณเป็นอารมณ์ไม่มีทุกข์ไม่มีสุขเพราะละสุขเเละทุกข์ได้เพราะโสมนัส
และโทมนัสดับสนิทในก่อน มีสติบริสุทธิ์เพราะอุเบกขาอยู่ในสมัยใด ผัสสะ
เวทนา สัญญา เจตนา จิต อุเบกขา เอกัคคตา สัทธินทรีย์ วิริยินทรีย์
สตินทรีย์ สมาธินทรีย์ ปัญญินทรีย์ มนินทรีย์ อุเบกขินทรีย์ ชีวิตินทรีย์
สัมมาทิฏฐิ สัมมาวายามะ ฯลฯ ปัคคาหะ อวิกเขปะ มีในสมัยนั้น หรือ
นามธรรมที่อิงอาศัยเกิดขึ้นแม้อื่นใดมีอยู่ในสมัยนั้น.
สภาวธรรมเหล่านั้นชื่อว่า ธรรมเป็นกุศล ฯลฯ
[147] ก็ขันธ์ 4 อายตนะ 2 ธาตุ 2 อาหาร 3 อินทรีย์ 8
ฌานมีองค์ 2 มรรคมีองค์ 4 พละ 7 เหตุ 3 ผัสสะ 1 ฯลฯ ธรรมายตนะ 1
ธรรมธาตุ 1 มีในสมัยนั้น หรือนามธรรมที่อิงอาศัยเกิดขึ้นแม้อื่นใด มีอยู่
ในสมัยนั้น.
สภาวธรรมเหล่านี้ชื่อว่า ธรรมเป็นกุศล ฯลฯ
[148] สังขารขันธ์ มีในสมัยนั้น เป็นไฉน ?
ผัสสะ เจตนา เอกัคคตา สัทธินทรีย์ วิริยินทรีย์ สตินทรีย์
สมาธินทรีย์ ปัญญินทรีย์ ชีวิตินทรีย์ สัมมาทิฏฐิ สัมมาวายามะ ฯลฯ ปัคคาหะ
อวิกเขปะ หรือนามธรรมที่อิงอาศัยเกิดขึ้นแม้อื่นใด มีอยู่ในสมัยนั้น เว้น
เวทนาขันธ์ สัญญาขันธ์ วิญญาณขันธ์ นี้ชื่อว่า สังขารขันธ์มีในสมัยนั้น ฯลฯ
สภาวธรรมเหล่านี้ ชื่อว่า ธรรมเป็นกุศล.
จตุกนัย จบ

อรรถกถาจิตตุปปาทกัณฑ์



อธิบายรูปาวจรกุศล



บัดนี้ เพื่อจะแสดงรูปาวจรกุศล พระผู้มีพระภาคเจ้าจึงทรงเริ่มคำ
เป็นต้นว่า กตเม ธมฺมา กุสลา ( ธรรมเป็นกุศล เป็นไฉน ? ) ดังนี้.
บรรดาคำเหล่านั้น คำว่า รูปูปตฺติยา มคฺคํ ภาเวติ (พระโยคาวจร
เจริญมรรคเพื่อเข้าถึงรูปภพ) ดังนี้ ความว่า รูปภพท่านเรียกว่า รูป. คำว่า
อุปปตฺติ (ความเข้าถึง) ได้แก่ ความบังเกิด คือความเกิด ความเกิดพร้อม.
คำว่า มคฺโค ได้แก่ อุบาย. ก็ความหมายถ้อยคำในคำว่า มรรค นี้ ดังนี้.
สภาวธรรมที่ชื่อว่า มรรค เพราะอรรถว่า ย่อมค้นหา คือ ย่อม
แสวงหา ย่อมให้เกิด ย่อมให้สำเร็จซึ่งความเข้าถึงนั้น. มีอธิบายว่า ความเข้าถึง
ความบังเกิด ความเกิด ความเกิดพร้อมย่อมมีในรูปภพด้วยมรรคใด พระ-
โยคาวจรย่อมเจริญมรรคนั้น ดังนี้. ถามว่า ก็ความเข้าถึงรูปภพด้วยมรรคนี้
ได้โดยนิยมหรือ. ตอบว่า ไม่ใช่โดยนิยม. พระผู้มีพระภาคเจ้าตรัสไว้อย่างนี้ว่า
ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย พวกเธอจงเจริญสมาธิ บุคคลผู้มีจิตตั้งมั่นแล้ว ย่อมรู้ชัด
ย่อมรู้พร้อม ย่อมเห็นตามความเป็นจริง ดังนี้ เพราะว่า แม้การก้าวล่วง
รูปภพโดยส่วนแห่งการแทงตลอดย่อมมีไม่ได้ ก็แต่ว่า ชื่อว่ามรรคอื่นนอกจาก
มรรคนี้ เพื่อความเข้าถึงรูปภพย่อมไม่มี เพราะเหตุนั้น จึงตรัสว่า พระโยคาวจร
เจริญมรรคเพื่อเข้าถึงรูปภพ ดังนี้. อนึ่ง เมื่อว่าโดยอรรถ ธรรมดามรรคนี้
เป็นเจตนาก็มี เป็นธรรมสัมปยุตด้วยเจตนาก็มี เป็นทั้ง 2 คือ เป็นทั้งเจตนา
ทั้งธรรมที่สัมปยุตด้วยเจตนาก็มี.
จริงอยู่ เจตนา ชื่อว่า มรรค ดังในประโยคนี้ว่า ดูก่อนสารีบุตร
เรา (ตถาคต) ย่อมรู้ทั่วถึงนรก และมรรค (เจตนา) ที่ให้สัตว์ไปสู่นรก ดังนี้.