เมนู

อธิบายจิตดวงที่ 3



ในจิตดวงที่ 3 บทว่า ญาณวิปฺปยุตตํ ความว่า จิตไม่ประกอบ
ด้วยญาณ ชื่อว่า ญาณวิปปยุต ถึงจิตญาณวิปปยุตนี้จะร่าเริงยินดีแล้วใน
อารมณ์ แต่ว่าในจิตดวงที่ 3 นี้ไม่มีญาณเป็นเครื่องกำหนด เพราะฉะนั้น
จิตที่เป็นญาณวิปปยุตนี้ บัณฑิตพึงทราบว่า ย่อมเกิดขึ้นในกาลที่พวกเด็กเล็ก ๆ
เห็นภิกษุแล้วไหว้ด้วยคิดว่า พระเถระนี้ของพวกเราดังนี้ และในกาลต่าง ๆ
มีการไหว้พระเจดีย์และการฟังธรรมเป็นต้น โดยนัยนั้นนั่นแหละ ก็ในพระบาลี
จิตดวงที่ 3 นี้ ไม่มีปัญญาในที่ 7 แห่ง คำที่เหลือเป็นไปตามปกติ คือ เช่นกับ
ที่กล่าวมาแล้วนั้นแล.
จบจิตดวงที่ 3

อธิบายจิตดวงที่ 4



แม้ในจิตดวงที่ 4 ก็นัยนี้เหมือนกัน แต่จิตดวงที่ 4 นี้ เพราะพระ-
บาลีว่า สสํขาเรน (การชักชวน) พึงทราบว่า ย่อมมีในกาลที่มารดาบิดา
จับศีรษะเด็กเล็ก ๆ ให้ก้มไหว้พระเจดีย์เป็นต้น ถึงแม้เด็กเหล่านั้นไม่ปรารถนา
จะไหว้ก็ร่าเริงยินดี.
จบจิตดวงที่ 4

อธิบายจิตดวงที่ 5 เป็นต้น



ในจิตดวงที่ 5 บทว่า อุเปกฺขาสหคตํ ได้แก่ สัมปยุตด้วย
อุเบกขาเวทนา เพราะว่า อุเบกขาสหคตะนี้ ย่อมเป็นกลางในอารมณ์ ในจิต
ดวงที่ 5 นี้ มีญาณเป็นเครื่องกำหนดโดยแท้. ก็ในจิตดวงที่ 5 นี้ในบาลี