เมนู

จิตดวงที่ 8



[138] ธรรมเป็นกุศล เป็นไฉน ?
กามาวจรกุศลจิต สหรคตด้วยอุเบกขา วิปปยุตจากญาณ มีรูปเป็น
อารมณ์ ฯลฯ มีธรรมเป็นอารมณ์ หรือว่า ปรารภอารมณ์ใด ๆ เกิดขึ้น
โดยมีการชักจูง ในสมัยใด ผัสสะ ฯสฯ อวิกเขปะมีในสมัยนั้น ฯลฯ
สภาวธรรมเหล่านี้ชื่อว่า ธรรมเป็นกุศล ฯลฯ
จิตดวงที่ 8 จบ
กามาวจรมหากุศลจิต 8 จบ
ทุติยภาณวาร จบ


อธิบายสุญญตวาร



จิตดวงที่ 1



บัดนี้ พระผู้มีพระภาคเจ้าทรงเริ่มสุญญตวาร มีคำว่า ตสฺมึ โข ปน
สมเย ธมฺมา โหนฺติ
ดังนี้ สุญญตวารนั้นกำหนดไว้ 2 อย่าง ด้วยสามารถ
แห่งอุทเทส และนิทเทส. บรรดาอุทเทสและนิทเทสเหล่านั้น วาระว่าด้วย
อุทเทสจิตไว้เป็น 2 ส่วน รวมทั้งบทว่า ธมฺมา โหนฺติ. ก็ในส่วนทั้งปวง
ท่านมิได้กล่าวกำหนดนับว่า เป็น 4 เป็น 2 และเป็น 3 ดังนี้. ถามว่า
เพราะเหตุไร ? ตอบว่า เพราะกำหนดไว้ในสังคหวารแล้ว ด้วยว่า ธรรม
ทั้งหลายที่กำหนดไว้ในสังคหวารนั้นนั่นแหละท่านก็กล่าวไว้ แม้ในสุญญต-

วารนี้ จริงอยู่ ในสุญญตวารนี้ ย่อมไม่ได้สัตว์ หรือภาวะ หรืออัตตา
ก็ธรรมทั้งหลาย ตรัสไว้เพื่อแสดงสุญญตา (ความว่าง) นี้ว่า ธรรมเหล่านี้
สักว่าเป็นธรรม ไม่มีสาระ ไม่เป็นปริณายก เพราะฉะนั้น ในวาระแห่ง
อุทเทสนี้ พึงทราบเนื้อความ อย่างนี้ว่า
ในสมัยใด กามาวจรมหากุศลจิต ดวงที่ 1 ย่อมเกิดขึ้น ธรรมเกิน
50 ที่เกิดขึ้นด้วยองค์ประกอบของจิต ในสมัยนั้น ธรรมนั่นแหละ ย่อมมี
ด้วยอรรถว่าเป็นสภาวะ ไม่ใช่อะไร ๆ อื่น คือ ไม่ใช่สัตว์ ไม่ใช่ภาวะ
ไม่ใช่ชีวะ ไม่ใช่โปสะ ไม่ใช่บุคคล. อนึ่ง ธรรมนั้น ย่อมชื่อว่า ขันธ์
เพราะอรรถว่าเป็นกอง. ในบททั้งปวงพึงทราบการประกอบเนื้อความโดยนัย
ก่อนนั่นแหละ ด้วยประการฉะนี้.
ก็เพราะองค์ฌานอื่นจากฌาน หรือว่าองค์มรรคอื่นจากมรรคไม่มี
ฉะนั้น ในที่นี้พระผู้มีพระภาคเจ้าจึงตรัสว่า ฌานย่อมมี มรรคย่อมมี ดังนี้.
จริงอยู่ ที่ชื่อว่า ฌาน ก็เพราะอรรถว่าการเข้าไปเพ่งโดยแท้ ที่ชื่อว่า มรรค
ก็เพราะอรรถว่าเป็นเหตุนั่นแหละ สัตว์หรือว่าภาวะ อย่างใดอย่างหนึ่งอื่นไม่มี
พึงทราบการประกอบเนื้อความในบททั้งปวง อย่างนี้ด้วยประการฉะนี้. นิทเทส-
วาร มีเนื้อความง่ายทั้งนั้นแล.
จบสุญญตวาร และ
จบการพรรณนาอรรถแห่ง
ปฐมจิตซึ่งอธิบายแล้วประดับ
ด้วยมหาวารทั้ง 3

อธิบายจิตดวงที่ 2



บัดนี้ เพื่อแสดงมหากุศลจิตมีจิตดวงที่ 2 เป็นต้น จึงเริ่มคำเป็นต้น
ว่า กตเม ธมฺมา ดังนี้อีก. แม้ในจิตเหล่านั้นทั้งหมด พึงทราบมหาวาระ
ดวงละ 3 วาระโดยนัยที่กล่าวแล้วในปฐมจิต และไม่ใช่มหาวาระอย่างเดียว
เท่านั้น แม้อรรถแห่งบททั้งปวงเช่นกับคำที่กล่าวในปฐมจิต ก็พึงทราบโดยนัย
ที่กล่าวแล้วเหมือนกัน. เพราะว่า เบื้องหน้านี้ไปข้าพเจ้าจักกระทำการพรรณนา
ตามลำดับบท เบื้องต้นพึงทราบวินิจฉัยในนิทเทสแห่งจิตดวงที่ 2 ก่อน.
คำว่า สสํขาเรน นี้เท่านั้นเป็นคำยังไม่เคยพรรณนา พึงทราบ
เนื้อความแห่งคำว่า สสํขาเรน นั้น. ธรรมที่ชื่อว่า สสังขาร (การชักชวน)
เพราะเป็นไปกับด้วยสังขาร อธิบายว่า มีสังขารนั้น คือ มีการประกอบ มีอุบาย
มีปัจจัยเป็นหมู่ จริงอยู่ ปฐมจิต (มหากุศลจิตดวงที่ 1) ย่อมเกิดขึ้นด้วย
หมู่แห่งปัจจัยมีอารมณ์เป็นต้น อันใด จิตดวงที่ 2 นี้ ก็ย่อมเกิดขึ้นด้วยหมู่
แห่งปัจจัยโดยมีปโยคะ มีอุบายนั้นเหมือนกัน.
พึงทราบความเกิดขึ้นแห่งจิตดวงที่ 2 นั้น อย่างนี้ว่า ภิกษุบางรูปใน
พระธรรมวินัยนี้ อาศัยอยู่ในที่สุดแห่งวิหาร เมื่อถึงเวลากวาดลานพระเจดีย์
หรือถึงเวลาบำรุงพระเถระ หรือถึงวันฟังธรรม ก็คิดว่า เมื่อเราไปแล้วกลับมา
จักไกลยิ่ง เราจักไม่ไป ดังนี้ แล้วคิดอีกว่า ชื่อว่า การปัดกวาดลาน
พระเจดีย์
หรือการบำรุงพระเถระ หรือการไม่ไปฟังธรรมไม่สมควรแก่ภิกษุ
เราจักไป ดังนี้ จึงไป. กุศลจิตที่เกิดขึ้นแก่ภิกษุนั้น ผู้กระทำปโยคะของตน
หรือถูกผู้อื่นแสดงโทษในการไม่ทำวัตรเป็นต้น และอานิสงส์ในการกระทำแล้ว
กล่าวสอนอยู่ หรือแก่ภิกษุที่ถูกสั่งให้กระทำว่า เจ้าจงมาจงกระทำสิ่งนี้ ดังนี้
ชื่อว่า ย่อมเกิดขึ้นโดยมีสังขาร มีหมู่แห่งปัจจัย ดังนี้.
จบจิตดวงที่ 2