เมนู

อรรถกถาจิตตุปปาทกัณฑ์



อธิบายสังคหวาร

*

บัดนี้ พระผู้มีพระภาคเจ้าทรงเริ่มสังคหวารโดยคำเป็นต้นว่า ตสฺมึ
โข ปน สมเย จตฺตาโร ขนฺธา โหนฺติ
(ก็ในสมัยนั้นแล ขันธ์ 4
ย่อมมี) ก็สังคหวารนั้นมี 3 อย่าง คือ อุทเทส นิทเทส และปฏินิทเทส.
บรรดาสังคหวารทั้ง 3 เหล่านั้น วาระที่มีคำเป็นต้นอย่างนี้ว่า ตสฺมึ
โข ปน สมเย จตฺตาโร ขนฺธา
(ก็ในสมัยนั้นแลขันธ์ 4 ย่อมมี) ดังนี้
พึงทราบว่าเป็นอุทเทส. วาระที่มีคำเป็นต้น ว่า กตเม ตสฺมึ สมเย จตฺตาโร
ขนฺธา
(ขันธ์ 4 มีใสมัยนั้นเป็นไฉน) ดังนี้พึงทราบว่าเป็นนิทเทส. วาระที่
มีคำเป็นต้นว่า กตโม ตสฺมึ สมเย เวทนากฺขนฺโธ (เวทนาขันธ์มีใน
สมัยนั้นเป็นไฉน) ดังนี้ พึงทราบว่าเป็นปฏินิทเทส.
บรรดาวาระเหล่านั้น วาระว่าด้วยอุทเทสมีคำว่า จตฺตาโร ขนฺธา
เป็นต้น มีโกฏฐาส 23 พึงทราบเนื้อความโกฏฐาสเหล่านั้น ดังต่อไปนี้
กามาวจรมหากุศลจิตดวงที่ 1 ย่อมเกิดขึ้นในสมัยใด ในสมัยนั้น
ธรรมทั้งหลายเกิน 50 ซึ่งมาในพระบาลีที่เกิดขึ้นเป็นส่วนประกอบของจิตเว้น
เยวาปนกธรรม เมื่อประมวลเข้าด้วยกันแม้ทั้งหมด ชื่อว่า ขันธ์ 4 ด้วยอรรถ
ว่าเป็นกอง ชื่อว่า เป็นอายตนะ 2 เท่านั้น ด้วยอรรถว่าเป็นที่ต่อตาม
ที่กล่าวมาแล้ว ชื่อว่า เป็นธาตุ 2 เหมือนกันนั่นแหละ ด้วยอรรถว่าเป็น
สภาวะ ด้วยอรรถว่าเป็นสุญญตะ ด้วยอรรถว่าเป็นนิสสัตตะ. ในธรรมเหล่านั้น
ชื่อว่า เป็นอาหารมี 3 เท่านั้น ด้วยอรรถว่านำมากล่าวคือเป็นปัจจัย ธรรม
ที่เหลือไม่ใช่เป็นอาหาร.
* บาลี เรียกว่า โกฏฐาสวาร

ถามว่า ธรรมที่เหลือเหล่านั้นไม่เป็นปัจจัยของกันและกันหรือ หรือ
ว่าไม่เป็นปัจจัยแก่รูปซึ่งมีธรรมนั้นเป็นสมุฏฐานหรือ ? ตอบว่า ไม่เป็นปัจจัย
หามิได้ แต่ว่าธรรมเหล่านั้นย่อมเป็นปัจจัยอย่างนั้นก็ได้ ย่อมเป็นโดยประการ
อื่นก็ได้ เพราะฉะนั้น ครั้นเมื่อความเป็นปัจจัยแม้มีอยู่ ก็ย่อมเป็นปัจจัยเกินไป
ดังนั้น จึงตรัสว่า ธรรมเหล่านั้น ว่าเป็นอาหาร.
ถามว่า ตรัสว่าอย่างไร ? ตอบว่า บรรดาอาหารเหล่านั้น ผัสสาหาร
เป็นปัจจัยแก่ธรรมทั้งหลายที่จิตและเจตสิกเป็นปัจจัยเหล่านั้น และย่อมนำมา
ซึ่งเวทนา 3. มโนสัญเจตนาหารย่อมเป็นปัจจัยแก่ธรรมเหล่านั้น และย่อม
นำมาซึ่งภพ 3. วิญญาณาหาร ย่อมเป็นปัจจัยแก่ธรรมเหล่านั้น และย่อมนำมา
ซึ่งปฏิสนธิ นามและรูป.
ถามว่า วิญญาณาหารนั้นเป็นวิบากอย่างเดียว ส่วนวิญญาณนี้เป็น
กุศลวิญญาณ มิใช่หรือ. ตอบว่า เป็นกุศลวิญญาณแม้ก็จริง ถึงอย่างนั้น
กุศลวิญญาณนั้น ท่านก็เรียกว่า วิญญาณาหารเหมือนกัน เพราะเป็นสภาพ
เหมือนกับวิปากวิญญาณาหารนั้น. อีกย่างหนึ่ง ธรรมทั้ง 3 เหล่านี้ ตรัส
เรียกว่า อาหาร เพราะอรรถว่าเป็นธรรมอุปถัมภ์. จริงอยู่ ธรรมเหล่านี้เป็น
ปัจจัยโดยเป็นอุปถัมภกปัจจัย แก่สัมปยุตตธรรมทั้งหลาย เหมือนกพฬิงการา-
หารเป็นปัจจัยแก่รูปกาย เพราะเหตุนั้นนั่นแหละ พระองค์จึงตรัสว่า อรูป-
อาหารย่อมเป็นปัจจัยแก่สัมปยุตตธรรม และแก่รูปทั้งหลายที่มีอาหารนั้นเป็น
สมุฏฐาน ด้วยอาหารปัจจัย.
อีกนัยหนึ่ง ก็ธรรมทั้ง 3 เหล่านั้น พระผู้มีพระภาคเจ้า ตรัสเรียกว่า
อาหาร ดุจกพฬิงการาหารเป็นปัจจัยพิเศษแห่งสันตติ (ความสืบต่อ) ในภายใน
จริงอยู่ กพฬิงการาหารเป็นปัจจัยพิเศษแก่รูปกายของสัตว์ทั้งหลายผู้มีกพฬิงกา-

ราหารเป็นอาหาร ในนามกายผัสสะเป็นปัจจัยพิเศษแก่เวทนา มโนสัญเจตนา
เป็นปัจจัยพิเศษแก่วิญญาณ. วิญญาณเป็นปัจจัยพิเศษแก่นามรูป. เหมือน
อย่างที่พระผู้มีพระภาคเจ้าตรัสว่า ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย กายนี้ดำรงอยู่ได้เพราะ
อาหาร อาศัยอาหารจึงดำรงอยู่ ไม่อาศัยอาหารก็ดำรงอยู่ไม่ได้ เช่นกับที่
ตรัสว่า เพราะผัสสะเป็นปัจจัยจึงมีเวทนา เพราะสังขารเป็นปัจจัยจึงมีวิญญาณ
เพราะวิญญาณเป็นปัจจัยจึงมีนามรูป ฉะนั้น.
ก็ธรรม 8 เท่านั้น (ศรัทธา วิริยะ สติ สมาธิ ปัญญา มนะ
โสมนัส ชีวิตะ) ชื่อว่า อินทรีย์ ด้วยอรรถว่าเป็นอธิบดี ธรรมที่เหลือ
ไม่ชื่อว่าเป็นอินทรีย์ เพราะเหตุนั้น จึงตรัสว่า อินทรีย์ 8 มีในสมัยนั้น.
ธรรม 5 เท่านั้น ชื่อว่า เป็นองค์ฌาน เพราะอรรถว่า เข้าไปเพ่ง เพราะ
เหตุนั้น จึงตรัสว่า ฌานมีองค์ 5 ดังนี้. ธรรม 5 เท่านั้น ชื่อว่าเป็นองค์มรรค
เพราะอรรถว่านำออก และเพราะอรรถเป็นเหตุ เพราะเหตุนั้น จึงตรัสว่า
มรรคมีองค์ 5 ดังนี้. จริงอยู่ อริยมรรคมีองค์ 8 แม้ก็จริง แต่ว่าองค์มรรค
ในโลกิยจิต ไม่ได้วิรติ 3 พร้อมกัน เพราะฉะนั้น จึงตรัสว่า มรรคมีองค์ 5.
ถามว่า แม้มรรคที่เป็นบุรพภาควิปัสสนาก็มีองค์ 8 เหมือนโลกุตร-
มรรค ดังในสูตรนี้ว่า ดูก่อนภิกษุ คำว่า ยถาคตมคฺโคติ โข มคฺโค โหติ
นี้ เป็นชื่อของอริยมรรคประกอบด้วยองค์ 8 เพราะความที่เนื้อความนี้ เป็น
การแสดงตามยถาคตศัพท์ แม้โลกิยมรรคก็พึงประกอบด้วยองค์ 8 มิใช่หรือ.
ตอบว่า โลกิยมรรคไม่พึงประกอบด้วยองค์ 8 เพราะชื่อว่า สุตตันติกเทศนา
นี้ เป็นปริยายเทศนา ด้วยเหตุนั้นนั่นแหละ พระผู้มีพระภาคเจ้า จึงตรัสว่า
ส่วนกายกรรม วจีกรรม อาชีวะของเธอบริสุทธิ์ดีแล้วในเบื้องต้นเทียว ดังนี้.
ส่วนเทศนานี้เป็นนิปปริยายเทศนา เพราะในโลกิยจิตไม่ได้วิรติ 3 พร้อมกัน
เพราะฉะนั้น จึงตรัสว่า ในโลกิยมรรคได้มรรคมีองค์ 5 เท่านั้น ดังนี้.

ก็ธรรม 7 เท่านั้น (ศรัทธา วิริยะ สติ สมาธิ ปัญญา หิริ
โอตตัปปะ) ชื่อว่า พละ เพราะอรรถว่าไม่หวั่นไหว. ธรรม 3 เท่านั้น
(อโลภะ อโทสะ อโมหะ) ชื่อว่า เป็นเหตุ เพราะอรรถว่าเป็นมูล. ธรรม
หนึ่งเท่านั้น ชื่อว่า ผัสสะ เพราะอรรถว่าถูกต้อง. ธรรมหนึ่งเท่านั้น ชื่อว่า
เวทนา เพราะอรรถว่า เสวยอารมณ์. ธรรมหนึ่งเท่านั้น ชื่อว่า สัญญา
เพราะอรรถจำได้. ธรรมหนึ่งเท่านั้น ชื่อว่า เจตนา เพราะอรรถว่า การตั้งใจ.
ธรรมหนึ่งเท่านั้น ชื่อว่า จิต เพราะอรรถว่าคิดและทำให้วิจิตร.
ธรรมหนึ่งเท่านั้น ชื่อว่า เวทนาขันธ์ เพราะอรรถว่าเป็นกอง
และเพราะอรรถว่าเสวยอารมณ์. ธรรมหนึ่งเท่านั้น ชื่อว่า สัญญาขันธ์
เพราะอรรถว่าเป็นกอง และเพราะอรรถว่าจำได้. ธรรมหนึ่งเท่านั้น ชื่อว่า
สังขารขันธ์ เพราะอรรถว่าเป็นกอง และเพราะอรรถว่าปรุงแต่ง. ธรรมหนึ่ง
เท่านั้น ชื่อว่า วิญญาณขันธ์ เพราะอรรถว่าเป็นกอง และเพราะอรรถว่า
คิดและกระทำให้วิจิตร. ธรรมนั่นแหละ ชื่อว่า มนายตนะ เพราะอรรถว่า
รู้แจ้ง และเพราะอรรถว่าเป็นอายตนะตามที่กล่าวแล้ว. ธรรมหนึ่งเท่านั้น
ชื่อว่า มนินทรีย์ เพราะอรรถว่ารู้แจ้ง และเพราะอรรถว่าเป็นอธิบดี. ธรรม
หนึ่งเท่านั้น ชื่อว่า มโนวิญญาณธาตุ. เพราะอรรถว่ารู้แจ้ง และเพราะ
อรรถว่าเป็นสภาวะ เป็นสุญญตะ เป็นนิสสัตตะ ธรรมที่เหลือไม่ใช่ธรรม
(ตามที่กล่าวมา) ธรรมแม้ทั้งหมดที่เหลือเว้นจิต ชื่อว่า เป็นธรรมายตนะ
หนึ่ง
และเป็นธรรมธาตุหนึ่งนั่นแหละ เพราะอรรถว่าเป็นอายตนะตามที่กล่าว
แล้ว ดังนี้.
ก็ว่าโดยอัปปนาวารนี้ว่า เย วา ปน ตสฺมึ สมเย ดังนี้ แม้ใน
ที่นี้ท่านก็สงเคราะห์ คือ รวมเอาเยวาปนกธรรมตามที่กล่าวแล้วในหนหลังด้วย

คือว่า เยวาปนกธรรม ในที่นี้ฉันใด ในที่ทั้งปวงก็ฉันนั้น เพราะว่า ต่อจาก
นี้ไป ข้าพเจ้าจักไม่วิจารเท่านี้ บัณฑิตพึงทราบวาระในนิทเทสและปฏินิทเทส
ทั้งหลายโดยนัยตามที่กล่าวมาแล้วในหนหลังนั่นแหละ แม้คำว่าโกฏฐาสวาร
ก็เป็นชื่อของสังคหวารนั่นแหละ.
จบสังคหวาร

บาลีสุญญตวาร



จิตดวงที่ 1



[98] ก็ธรรม ขันธ์ อายตนะ ธาตุ อาหาร อินทรีย์ ฌาน มรรค
พละ เหตุ ผัสสะ เวทนา สัญญา เจตนา จิต เวทนาขันธ์ สัญญาขันธ์
สังขารขันธ์ วิญญาณขันธ์ มนายตนะ มนินทรีย์ มโนวิญญาณธาตุ ธรรมายตนะ
ธรรมธาตุ มีในสมัยนั้น หรือนามธรรมที่อิงอาศัยเกิดขึ้นแม้อื่นใด มีอยู่ใน
สมัยนั้น.
สภาวธรรมเหล่านี้ ชื่อว่า ธรรมเป็นกุศล.
[99] ธรรม มีในสมัยนั้น เป็นไฉน ?
เวทนาขันธ์ สัญญาขันธ์ สังขารขันธ์ วิญญาณขันธ์ เหล่านี้ชื่อว่า
ธรรม มีในสมัยนั้น.
[100] ขันธ์ มีในสมัยนั้น เป็นไฉน ?
เวทนาขันธ์ สัญญาขันธ์ สังขารขันธ์ วิญญาณขันธ์ เหล่านี้ชื่อว่า
ขันธ์ มีในสมัยนั้น.