เมนู

พระยามิลินทร์ : ท่านพระนาคเสน พระผู้มีพระภาคเจ้าทำอะไร ซึ่ง
ทำได้โดยยาก
พระนาคเสน มหาบพิตร : พระผู้มีพระภาคเจ้าทรงบอกการกำหนด
ธรรมคือจิตและเจตสิกอันไม่ใช่รูปเหล่านี้ ที่เป็นไปในอารมณ์เดียวกันว่า นี้
เป็นผัสสะ นี้เป็นเวทนา นี้เป็นสัญญา นี้เป็นเจตนา นี้เป็นจิต.
พระยามิลินทร์ : ขอพระผู้เป็นเจ้าจงอุปมาให้ฟัง.
พระนาคเสน : มหาบพิตร อุปมาเหมือนคนบางคนข้ามสมุทรด้วย
เรือ แล้วใช้อุ้งมือวักน้ำชิมดูก็พึงทราบหรือหนอว่า นี้น้ำแม่น้ำคงคา นี้น้ำแม่-
น้ำยมุนา นี้น้ำแม่น้ำอจิรวดี นี้น้ำแม่น้ำสรภู นี้น้ำแม่น้ำมหี.
พระยามิลินทร์ : ข้าแต่ท่านนาคเสน รู้ได้ยาก.
พระนาคเสน : มหาบพิตร การที่พระผู้มีพระภาคเจ้าตรัสบอกการ
กำหนดธรรมคือจิตและเจตสิก ซึ่งไม่ใช่รูปเป็นไปในอารมณ์เดียวกันว่า นี้เป็น
ผัสสะ ฯลฯ นี้เป็นจิต ชื่อว่า ทรงทำสิ่งที่ทำได้ยากกว่านั้นมาก.

อธิบายวิตกนิทเทสเป็นต้น



ในนิทเทสแห่งวิตก ธรรมที่ชื่อว่า ตักกะเพราะตรึก. บัณฑิตพึงทราบ
ความเป็นไปแห่งธรรมที่ชื่อว่า ตักกะนั้น ด้วยสามารถแห่งการตรึกอย่างนี้ว่า
ท่านตรึกถึงอะไร ? ท่านตรึกถึงหม้อ ตรึกถึงเกวียน ตรึกถึงโยชน์ ตรึกถึง
ครึ่งโยชน์หรือ นี้เป็นบทแสดงสภาวะของการตรึก. ธรรมที่ชื่อว่า วิตก
เพราะอำนาจแห่งการตรึกพิเศษ คำว่า วิตกนี้เป็นชื่อของความตรึกที่มีกำลัง
มากกว่า. ชื่อว่า สังกัปปะ เพราะการกำหนดอย่างดี. เอกัคคจิต ชื่อว่า
อัปปนา เพราะแนบแน่นในอารมณ์. บทที่สองทรงเพิ่มขึ้นด้วยอำนาจอุปสรรค
อีกอย่างหนึ่ง อัปปนาที่มีกำลังกว่า ชื่อว่า พยัปปนา. ธรรมชาติที่ชื่อว่า การ

ยกจิตขึ้น เพราะยกจิต คือตั้งจิตไว้ในอารมณ์. ธรรมที่ชื่อว่า สัมมาสังกัปปะ
เพราะเป็นสังกัปปะ (ความดำริ) ที่พระผู้มีพระภาคเจ้าทรงสรรเสริญถึงความ
เป็นกุศล เพราะเป็นความดำริตามความเป็นจริง และเป็นความดำรินำสัตว์
ออกจากวัฏฏะ.
ในนิทเทสแห่งวิจาร ธรรมที่ชื่อว่า จาระ เพราะเที่ยวไปในอารมณ์
บทนี้เป็นบทแสดงสภาวะของจาระนั้น ที่ชื่อว่า วิจาร เพราะเที่ยวไปพิเศษ
ชื่อว่า อนุวิจาร เพราะเที่ยวตามไป ชื่อว่า อุปวิจาร เพราะเที่ยวไปใกล้.
บทเหล่านั้นท่านเพิ่มมาด้วยอำนาจอุปสรรค. ธรรมที่ชื่อว่า ความสืบต่อจิต
เพราะการตั้งจิตสืบต่อไว้ในอารมณ์ ดุจการพาดลูกศรที่สายธนู. ธรรมที่ชื่อว่า
การเข้าไปเพ่ง เพราะตั้งอยู่ ดุจการเพ่งอารมณ์.
ในนิทเทสแห่งปีติ บทว่า ปีติ เป็นบทแสดงสภาวะ ภาวะแห่ง
บุคคลผู้ปราโมทย์แล้ว ชื่อว่า ปาโมชชะ อาการแห่งการบันเทิง ชื่อว่า อาโมทนา
อาการที่รื่นเริง ชื่อว่า ปโมทนา. การรวมกันแห่งยาหรือน้ำมัน หรือน้ำร้อน
และน้ำเย็นเข้าด้วยกัน ท่านเรียกว่า โมทนา ฉันใด แม้ปีตินี้ก็ฉันนั้น ชื่อว่า
โมทนาเพราะรวมธรรมทั้งหลายเข้าด้วยกัน แต่พระผู้มีพระภาคเจ้าทรงประดับ
คำโมทนาด้วยอุปสรรคแล้ว ตรัสว่า อาโมทนา และปโมทนา ธรรมที่ชื่อว่า
หาสะ เพราะร่าเริง คำว่า หาสะนี้เป็นชื่อของอาการที่ร่าเริงยินดี. ธรรมที่ชื่อว่า
วิตตะ เพราะปลื้มใจ คำว่า วิตตะนี้ เป็นชื่อของทรัพย์ ก็ความปลื้มใจนี้ ชื่อว่า
วิตติ เพราะเป็นปัจจัยให้เกิดโสมนัส เพราะคล้ายกับความปลื้มใจเหมือน
อย่างว่า คนมีทรัพย์อาศัยทรัพย์เกิดโสมนัส ฉันใด คนมีปีติก็อาศัยปีติเกิด
โสมนัสขึ้น ฉันนั้น ดังนั้นจึงเรียกปีติว่า วิตติ คำว่า วิตตินี้ เป็นชื่อของ
ปีติดำรงอยู่ด้วยความยินดี. ก็บุคคลผู้มีปีติตรัสเรียกว่า อุทคฺคะ เพราะพุ่งขึ้น

แห่งกายและจิต คือพุ่งขึ้นสูงแห่งกายและจิต. ภาวะแห่งคนที่มีกายและใจสูงขึ้น
เรียกว่า โอทัคคะ ความเป็นผู้มีใจเป็นของตน ชื่อว่า อัตตมนา จริงอยู่
ใจของบุคคลผู้ไม่ยินดี (โกรธ) ไม่ชื่อว่า เป็นใจของคน เพราะเป็นเหตุเกิด
แห่งทุกข์. อนึ่ง บุคคลยินดีแล้ว ก็ชื่อว่า มีใจเป็นของตน เพราะเป็นเหตุ
ให้เกิดสุข. ด้วยเหตุตามที่กล่าวมานี้ ความเป็นผู้มีใจเป็นของตน จึงชื่อว่า
อัตตมนา คือมีใจเป็นของตน. อธิบายว่า ความที่บุคคลเป็นผู้มีใจเป็นของตน
ก็เพราะความดีใจนั้นมิใช่ของใครอื่น เพราะความเป็นผู้มีใจเป็นของตนเอง คือ
สภาพนั้น เป็นของจิตนั่นเอง อนึ่ง เพราะความผู้มีใจเป็นของตนนั้น มิใช่เป็น
ธรรมอื่น คือมิใช่เป็นเจตสิกธรรม ฉะนั้น จึงตรัสว่า ความเป็นผู้มีใจเป็น
ของตน คือ จิต.
ในนิทเทสแห่งจิตตัสเสกัคคตา ธรรมชาติที่ชื่อว่า ฐิติ เพราะ
ตั้งมั่นในอารมณ์อันไม่หวั่นไหว. สองบทข้างหน้าท่านเพิ่มบทอุปสรรคเข้ามา.
อีกอย่างหนึ่ง ที่ชื่อว่า สัณฐิติ เพราะประมวลสัมปยุตตธรรมทั้งหลายมาตั้ง
ไว้ด้วยอารมณ์. ที่ชื่อว่า อวัฏฐิติ เพราะหยั่งลงสู่อารมณ์ คือเข้าไปแล้วตั้งอยู่.
จริงอยู่ ธรรมทั้ง 4 คือ ศรัทธา สติ สมาธิ ปัญญา ย่อมหยั่งลง คือย่อม
ปรากฏในฝ่ายกุศล. ด้วยเหตุนั้นนั่นแหละ ธรรมคือศรัทธา พระองค์จึงตรัสว่า
โอกัปปนา (การทำใจให้เชื่อมั่น ). ตรัสเรียกสติว่า อปิลาปนตา (ความเป็น
ผู้มีใจไม่ฟั่นเฟือน). ตรัสเรียกสมาธิว่า อวัฏฐิติ (ความที่ใจตั้งมั่น). ตรัสเรียก
ปัญญาว่า ปริโยคาหนา (การส่องดู).
ส่วนในฝ่ายอกุศล ธรรม 3 อย่าง คือ ตัณหา ทิฏฐิ และอวิชชา
ย่อมหยั่งลงสู่อารมณ์ ด้วยเหตุนั้นนั่นแหละ ธรรมเหล่านั้น พระองค์จึงตรัสว่า
เป็นโอฆะ แต่ในฝ่ายอกุศลนี้ เอกัคคตาแห่งจิตไม่เป็นสภาพมีกำลัง เปรียบ

เหมือนบุคคลเอาน้ำรดในที่มีฝุ่น สถานที่ก็เกลี้ยงฝุ่น ฝุ่นย่อมระงับไปเวลา
เล็กน้อย เมื่อฝุ่นแห้ง ฝุ่นก็ตั้งขึ้นเป็นปกติอีก ฉะนั้น. แต่ในฝ่ายกุศล
เอกัคคตาแห่งจิตมีกำลังมาก เปรียบเหมือนบุคคลเอาหม้อน้ำลาดนำลงในที่นั้น
คลุกเคล้าด้วยจอบกระทำการทุบขยำ ขัดสีไล้ทาให้ปรากฏเหมือนในเงากระจก
แม้จะก้าวเลยไปร้อยปีก็เป็นของวิจิตรเหมือนเวลาครู่หนึ่ง ฉะนั้น.
ธรรมที่ชื่อว่า อวิสาหาระ เพราะเป็นปฏิปักษ์ต่อความฟุ้งซ่านที่เป็นไป
ด้วยอำนาจอุทธัจจะและวิจิกิจฉา. จิตที่ดำเนินไปด้วยอำนาจแห่งอุทธัจจะและ
วิจิกิจฉา ชื่อว่า ย่อมฟุ้งซ่าน แต่ความฟุ้งซ่านนี้เช่นอย่างนั้นไม่มี เพราะเหตุนั้น
สภาพธรรมนั้นจึงชื่อว่า อวิกเขปะ. จิตที่ชื่อว่า ฟุ้งซ่านไปด้วยอำนาจแห่ง
อุทธัจจะและวิจิกิจฉาเท่านั้น คือ อุทธัจจะและวิจิกิจฉา ย่อมนำไปทางนี้และ
ทางโน้นได้ แต่อวิกเขปะนี้เป็นภาวะของใจที่ไม่ฟุ้งซ่านด้วยอาการอย่างนั้น
เพราะเหตุนั้น จึงชื่อว่า ความเป็นผู้มีใจไม่ฟุ้งซ่าน (อวิสาหฎมานสตา).
คำว่า สมณะ ได้แก่ สมถะ 3 อย่าง คือ จิตตสมถะ อธิกรณสมถะ
และสัพพสังขารสมถะ
บรรดาสมถะทั้ง 3 นั้น เอกัคคตาแห่งจิต (ความที่จิตแน่วแน่) ใน
สมาบัติ 8 ชื่อว่า จิตตสมถะ จริงอยู่ เพราะอาศัยจิตตสมถะนั้น ความดิ้นรน
แห่งจิต ความหวั่นไหวแห่งจิตย่อมสงบ คือ เข้าไประงับไว้ เพราะฉะนั้น
สมถะนั้นจึงตรัสเรียกว่า จิตตสมถะ. สมถะ 7 อย่างมีสัมมุขาวินัยเป็นต้น ชื่อว่า
อธิกรณสมถะ เพราะอาศัยอธิกรณสมถะนั้น อธิกรณ์เหล่านั้นย่อมสงบ คือ
ย่อมระงับไว้ เพราะฉะนั้น สมถะนั้น จึงตรัสเรียกว่า อธิกรณสมถะ. อนึ่ง
เพราะสังขารทั้งหมด อาศัยพระนิพพานย่อมเข้าไปสงบระงับ ฉะนั้น พระ-
นิพพานนั้น พระองค์จึงตรัสเรียกว่า สัพพสังขารสมถะ. ในอรรถะนี้ ทรง

ประสงค์เอาจิตตสมถะ จิตตสมถะนั้นชื่อว่า สมาธินทรีย์ เพราะทำความเป็น
ใหญ่กว่าธรรมอื่นในลักษณะแห่งสมาธิ. ที่ชื่อว่า สมาธิพละ เพราะความ
ไม่หวั่นไหวไปในเพราะอุทธัจจะ สมาธิตามความเป็นจริง ชื่อว่า สัมมาสมาธิ
สมาธิฝ่ายกุศล ชื่อว่า นิยยานิกสมาธิ (สมาธิที่นำออก).
ในนิทเทสแห่งสัทธินทรีย์ ธรรมที่ชื่อว่า ศรัทธา เพราะการเชื่อ
พุทธคุณเป็นต้น. อีกอย่างหนึ่ง ชื่อว่า ศรัทธา เพราะเชื่อ คือ ดำเนินไปสู่
รัตนะมีพระพุทธรัตนะเป็นต้น. อาการแห่งการเชื่อ ชื่อว่า สัททหนา. ที่ชื่อว่า
โอกัปปนา (น้อมใจเชื่อ) เพราะหยั่งลงเหมือนการทำลายแล้วแทรกเข้าไปใน
พุทธคุณเป็นต้น. ที่ชื่อว่า อภิปสาทะ (เลื่อมใสยิ่ง) เพราะเป็นเหตุให้สัตว์
ทั้งหลายเลื่อมใสอย่างยิ่งในพุทธคุณเป็นต้น หรือว่าตัวเองย่อมเลื่อมใสยิ่ง.
บัดนี้ เพราะพระผู้มีพระภาคเจ้าครั้นทรงปรารภปริยายอื่นด้วยบทสมาส (ความ
ย่อ) แห่งสัทธินทรีย์เป็นอาทิ จึงทรงถือเอาบทว่า อาทิ มาทำการจำแนกบท
ข้อนี้เป็นเรื่องธรรมดาในพระอภิธรรม ฉะนั้น พระองค์จึงตรัสคำว่า ศรัทธา
อีก. อีกอย่างหนึ่ง อินทรีย์แห่งหญิง ชื่อว่า อิตถินทรีย์ ฉันใด สัทธินทรีย์
นี้ฉันนั้นหามิได้. ก็อินทรีย์นี้คือศรัทธาเท่านั้น จึงชื่อว่า สัทธินทรีย์ ด้วยอาการ
อย่างนี้ จึงตรัสศรัทธาอีก เพื่อจะให้รู้ถึงภาวะที่กระทำให้ยิ่งกว่ามีอยู่. ในทำนอง
เดียวกันนี้ พึงทราบการประกอบคำสำหรับบทว่า อาทิ ในนิทเทสแห่งบท
ทั้งปวงอีก. ธรรมชาติที่ชื่อว่า สัทธินทรีย์ เพราะทำความเป็นใหญ่ในลักษณะ
แห่งอธิโมกข์ (น้อมใจเชื่อ) ที่ชื่อว่าสัทธาพละ. เพราความไม่หวั่นไหวใน
เพราะความไม่มีศรัทธา.
ในนิทเทสแห่งวิริยินทรีย์ คำว่า เจตสิโก นี้ท่านกล่าวเพื่อแสดง
ถึงความที่วิริยะเป็นเจตสิกโดยนิยม. จริงอยู่ วิริยะนี้แม้จะกล่าวอยู่ว่าเป็นกายิกะ

คือเป็นไปทางกายเพราะเกิดขึ้นแก่บุคคลผู้เดินจงกรมเป็นต้น ในสูตรทั้งหลายมี
อาทิว่า ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย วิริยะเป็นไปทางกายก็เป็นวิริยสัมโพชฌงค์
วิริยะที่เป็นไปทางใจก็เป็นวิริยสัมโพชฌงค์ วิริยะนี้ย่อมมาสู่อุทเทสด้วยประการ
ฉะนี้ แต่ไม่เป็นไปทางกายเหมือนกายวิญญาณ ก็เพื่อแสดงว่าวิริยะนั้นเป็นไป
ทางใจอย่างเดียว จึงตรัสว่า เจตสิโก (เป็นเจตสิก). คำว่า วิริยารมฺโภ
ได้แก่ การเริ่ม กล่าวคือความเพียร. ด้วยบทว่า วิริยารมฺโภ นี้ท่านปฏิเสธ
การเริ่มความเพียรที่เหลือนอกจากนี้. จริงอยู่ อารัมภศัพท์นี้มาในอรรถะมิใช่น้อย
คือ กรรม อาบัติ กิริยา วิริยะ หิงสา (ความเบียดเบียน) วิโกปนะ
(การพราก).
จริงอยู่ กรรม มาในคำว่า อารัมภะ ดังในประโยคนี้ว่า
ยํ กิญฺจิ ทุกฺขํ สมฺโภติ สพฺพํ อารมฺภปจฺจยา
อารมฺภานํ นิโรเธน นตฺถิ ทุกฺขสฺส สมฺภโว
ทุกข์ทั้งหมดอย่างใดอย่างหนึ่ง ย่อม
เกิดเพราะกรรมเป็นปัจจัย เพราะกรรมดับ
โดยไม่เหลือ ทุกข์ก็ย่อมไม่เกิดขึ้น.

อาบัติมาในคำว่า อารัมภะ ในประโยคนี้ว่า ภิกษุย่อมต้องอาบัติและ
เป็นผู้มีวิปฏิสาร. กิริยามีการปักหลักบูชายัญมาในคำว่า อารัมภะ ในประโยค
นี้ว่า มหายัญ มีกิริยาใหญ่ แต่มหายัญเหล่านั้น หามีผลใหญ่ไม่. วิริยะมาใน
คำว่า อารัมภะ ในประโยคนี้ว่า ท่านทั้งหลายจงเพียร จงพยายาม จงขวนขวาย
ในพระพุทธศาสนา. ความเบียดเบียนมาในคำว่า อารัมภะ ในประโยคนี้ว่า
ชนทั้งหลายเบียดเบียนสัตว์อุทิศพระสมณโคดม. การพรากมีการตัดและการหัก
เป็นต้นมาในอารัมภะ ในประโยคนี้ว่า พระสมณโคดมเว้นขาดจากการพราก

พีชคามและภูตคาม. แต่ในนิทเทสนี้ท่านประสงค์เอาวิริยะเท่านั้น เพราะเหตุนั้น
จึงตรัสว่า วิริยารัมโภ อธิบายว่า อารัมภะคือความเพียร. จริงอยู่ วิริยะ
ตรัสเรียกว่า อารัมภะด้วยอำนาจแห่งความริเริ่ม คำว่า อารมฺโภ นี้เป็นบท
แสดงสภาวะของวิริยะ สภาวะที่ชื่อว่า นิกกมะ ด้วยอำนาจการออกไปจากการ
เกียจคร้าน. ที่ชื่อว่า ปรักกมะ ด้วยอำนาจการก้าวไปสู่ประโยชน์อย่างยิ่ง
ข้างหน้า. ที่ชื่อว่า อุยยามะ ด้วยอำนาจความพยายามเข้าถึง. ที่ชื่อว่า วายามะ
ด้วยอำนาจความพากเพียร. ที่ชื่อว่า อุตสาหะ ด้วยอำนาจแห่งความอดทน.
ที่ชื่อว่า อุสโสฬหี ด้วยอำนาจแห่งความอุตสาหะยิ่ง. ที่ชื่อว่า ถามะ ด้วย
อรรถะว่ามั่นคง ที่ชื่อว่า ธีติ เพราะทรงไว้ซึ่งการสืบต่อกุศล ด้วยสามารถ
แห่งการทรงไว้ซึ่งจิตและเจตสิกทั้งหลาย หรือการเป็นไปโดยไม่ขาดสาย.
อีกนัยหนึ่ง ก็สภาวะนั้นชื่อว่า นิกกมะ เพราะบรรเทากามทั้งหลาย
ชื่อว่า ปรักกมะ เพราะตัดเครื่องผูกพัน ชื่อว่า อุยยามะ เพราะการถอน
โอฆะ ชื่อว่า วายามะ ด้วยอรรถะว่าการถึงฝั่ง ชื่อว่า อุตสาหะ ด้วย
อรรถะว่าเป็นหัวหน้า ชื่อว่า อุสโสฬหี ด้วยอรรถว่าเป็นหัวหน้าใหญ่
ชื่อว่า ถามะ เพราะอรรถว่าถอดลิ่มสลัก ชื่อว่า ธีติ เพราะการทำได้ตาม
ต้องการ.
วิริยะนั้นก็คือ ความบากบั่นไม่ย่อท้อด้วยสามารถแห่งการไม่ย่อหย่อน
ในปวัตติกาลอย่างนี้ว่า. . .จะเหลืออยู่แต่หนังเอ็นกระดูกก็ตามดังนี้ อธิบายว่า
ความบากบั่นมั่นคง ความบากบั่นเด็ดเดี่ยว. ก็เพราะวิริยะนี้ไม่ทอดทิ้งฉันทะ
ไม่ทอดทิ้งธุระ ไม่ให้ความเกียจคร้านได้โอกาส ไม่สละ นำความพอใจไม่
ท้อถอยในฐานะเป็นเครื่องสร้างกุศลกรรม ฉะนั้น จึงตรัสว่า วิริยะไม่ทอดทิ้ง
ฉันทะ ไม่ทอดทิ้งธุระ.

เหมือนอย่างว่า ในสถานที่มีโคลนตมตามธรรมชาติ เจ้าของโค
กล่าวว่า พวกเธอจงเอาโคตัวที่นำธุระไปได้มา โคนั้นแม้จะคุกเข่ายันที่พื้นดิน
ก็สู้นำไปไม่ยอมให้แอกตกที่พื้นดิน ฉันใด วิริยะก็ฉันนั้นเหมือนกัน ย่อมไม่
ทอดทิ้ง ย่อมประคองธุระไปในฐานะเป็นเครื่องสร้างกุศลกรรม ฉะนั้น พระ-
ผู้มีพระภาคเจ้าตรัสว่า วิริยะเป็นธรรมประคับประคองธุระอย่างดี ( ธุรสมฺ-
ปคฺคาโห )
ธรรมที่ชื่อว่า วิริยินทรีย์ เพราะครองความเป็นใหญ่ในลักษณะ
แห่งการประคับประคอง. ที่ชื่อว่า วิริยพละ เพราะไม่หวั่นไหวในเพราะความ
เกียจคร้าน. ชื่อว่า สัมมาวายามะ เพราะความพยายามในกุศลอันนำออกจาก
สังสารวัฏตามความเป็นจริง.
ในนิทเทสแห่งสตินทรีย์ ธรรมที่ชื่อว่า สติ ด้วยสามารถแห่งการ
ระลึก. การระลึกนี้เป็นบทแสดงสภาวะของสติ. ชื่อว่า อนุสสติ ด้วยสามารถ
การตามระลึกเพราะการระลึกบ่อย ๆ. ชื่อว่า ปฏิสสติ ด้วยอำนาจการระลึก
เฉพาะโดยการระลึกดุจไปข้างหน้า. อีกอย่างหนึ่ง คำที่กล่าวแล้วนี้เป็นเพียง
เพิ่มเติมด้วยอุปสรรค. อาการที่ระลึก ชื่อว่า สรณตา ก็เพราะคำว่า สรณตา
เป็นชื่อแห่งการระลึกทั้ง 3 ฉะนั้น เพื่อที่จะปฏิเสธคำที่เป็นชื่อทั้ง 3 นั้น จึง
กระทำสตศัพท์ (คือตรัสถึงสติ) อีก. ในที่นี้มีอธิบายว่า ภาวะที่ระลึกคือสติ.
สติ ชื่อว่า ธารณตา เพราะทรงจำสิ่งที่ได้ฟังและได้เรียนมา. ภาวะที่ไม่
เลอะเลือน ชื่อว่า อปิลาปนตา ด้วยอรรถว่าหยั่งลงคือการไหลเข้าไปในอารมณ์
เปรียบเหมือนกระโหลกน้ำเต้าเป็นต้น ลอยอยู่บนน้ำไม่จมน้ำ ฉันใด สติก็
ฉันนั้น ตั้งอยู่ในอารมณ์ไม่จมลง เพราะสติย่อมไปตามอารมณ์ ฉะนั้น
พระผู้มีพระภาคเจ้า จึงตรัสว่า อภิลาปนตา (ความไม่เลอะเลือน). สติ ชื่อว่า
อสัมมุสนตา (ความไม่หลงลืม) เพราะความไม่หลงลืมในการงานที่ทำและคำพูด

ที่ล่วงมานานได้. สติ ชื่อว่า อินทรีย์ เพราะครองความเป็นใหญ่ในลักษณะ
แห่งการอุปการะ อินทรีย์ คือ สติ เรียกว่า สตินทรีย์. สตินั่นเองเป็นอินทรีย์
เรียกว่า สตินทรีย์. สติ ชื่อว่า สติพละ เพราะไม่หวั่นไหวในเพราะความ
ประมาท. สติชื่อว่า สัมมาสติ เพราะเป็นสติตามความเป็นจริง เป็นสตินำออก
เป็นสติในกุศล.
ในนิทเทสแท่งปัญญินทรีย์ ธรรมที่ชื่อว่า ปัญญา เพราะอรรถว่า
การประกาศให้รู้ คือ กระทำเนื้อความนั้น ๆ ให้แจ่มแจ้ง. อีกอย่างหนึ่ง
ชื่อว่า ปัญญา เพราะย่อมรู้ธรรมทั้งหลายโดยประการต่าง ๆ มีความไม่เที่ยง
เป็นต้นนั้น ๆ. คำนี้เป็นบทแสดงสภาวะของปัญญานั้น. อาการที่รู้ทั่ว ชื่อว่า
ปชานนา. ปัญญา ชื่อว่า วิจัย เพราะค้นหาธรรมมีความไม่เที่ยงเป็นต้น
คำว่า ปวิจัย นี้ท่านเพิ่มอุปสรรคเข้ามา. ปัญญา ชื่อว่า ธรรมวิจัย
เพราะค้นหาธรรม คือ สัจจะ 4 ธรรมที่ชื่อว่า สัลลักขณาด้วยอำนาจการ
กำหนดอนิจจลักษณะเป็นต้นได้. สัลลักขณานั่นแหละ ตรัสเรียกว่า อุปลักขณา
ปัจจุปลักขณา โดยความต่างกันแห่งอุปสรรค. ความเป็นแห่งบัณฑิต ชื่อว่า
ปัณฑิจจะ ความเป็นแห่งบุคคลผู้ฉลาด ชื่อว่า โกสัลละ. ความเป็นแห่งธรรม
ที่ละเอียด ชื่อว่า เนปุญญะ ความเป็นแห่งการทำให้แจ้งซึ่งความไม่เที่ยงเป็นต้น
ชื่อว่า เวภัพยา ปัญญาที่ชื่อว่า จินตา ด้วยสามารถแห่งการคิดความไม่เที่ยง
เป็นต้น. อีกอย่างหนึ่ง ที่ชื่อว่า จินตา เพราะเกิดขึ้นแก่ผู้ใดย่อมยังบุคคล
นั้นให้คิดอนิจจลักษณะเป็นต้น. ที่ชื่อว่า อุปปริกขา เพราะใคร่ครวญ
อนิจจลักษณะเป็นต้น. คำว่า ภูริ เป็นชื่อของแผ่นดิน. จริงอยู่ปัญญานี้
เรียกว่า ภูรี ดุจแผ่นดิน เพราะอรรถว่าตั้งมั่นและกว้างขวาง เพราะเหตุนั้น
จึงตรัสเรียกแผ่นดินว่า ภูริ. บุคคลชื่อว่า มีปัญญาดังแผ่นดิน เพราะ

ประกอบด้วยปัญญาอันกว้างขวางไพบูลเสมอด้วยแผ่นดินนั้น. อีกอย่างหนึ่ง
คำว่า ภูริ นี้เป็นชื่อของปัญญา. ปัญญาชื่อว่า ภูริ เพราะย่อมยินดีในอรรถะที่
เป็นจริง. ปัญญาที่ชื่อว่า เมธา เพราะทำลายเบียดเบียนกิเลสเหมือนสายฟ้า
ผ่าภูเขาหิน. อีกอย่างหนึ่ง ชื่อว่า เมธา เพราะเรียนและทรงจำได้เร็วพลัน.
ที่ชื่อว่า ปริณายิกา เพราะเกิดแก่ผู้ใด ย่อมนำผู้นั้นไปในการปฏิบัติประโยชน์
เกื้อกูล และในการแทงตลอดลักษณะตามความเป็นจริงในสัมปยุตธรรม.
ปัญญาที่ชื่อว่า วิปัสสนา เพราะย่อมเห็นแจ้งธรรมทั้งหลายด้วยสามารถแห่ง
อนิจจลักษณะเป็นต้น. ที่ชื่อว่า สัมปชัญญะ เพราะย่อมรู้นิจจลักษณะ
เป็นต้นโดยประการต่าง ๆ โดยชอบ. ที่ชื่อว่า ปโตทะ (ปฏัก) เพราะแทงจิต
ที่คดโกงวิ่งไปผิดทางให้ขึ้นสู่ทาง เหมือนปฏักแทงม้าสินธพที่วิ่งไปผิดทางให้
ไปถูกทาง. ปฏักคือปัญญานั่นแหละชื่อว่า ปัญญา คือ ปฏัก. ที่ชื่อว่า
อินทรีย์ เพราะครองความเป็นใหญ่ในลักษณะแห่งการเห็น. อินทรีย์ คือ
ปัญญา เรียกว่า ปัญญินทรีย์. ปัญญานั่นเองเป็นอินทรีย์ก็ชื่อว่า ปัญญินทรีย์.
ที่ชื่อว่า ปัญญาพละ เพราะไม่หวั่นไหวในเพราะอวิชชา. ศาสตราคือปัญญา
นั่นแหละชื่อว่า ปัญญาสัตถะ เพราะอรรถว่าตัดกิเลส. ปราสาท คือ ปัญญานั่น
แหละชื่อว่า ปัญญาปาสาทะ เพราะอรรถว่าสูงยิ่ง. แสงสว่างคือปัญญาเทียว
ชื่อว่า ปัญญาอาโลกะ เพราะอรรถว่าการส่องแสง. โอภาสคือปัญญาเทียว
ชื่อว่า ปัญญาโอภาสะ เพราะอรรถว่าสว่าง. ประทีปคือปัญญาชื่อว่า ปัญญา-
ปัชโชตะ
เพราะอรรถว่าโชติช่วง. จริงอยู่ บุคคลผู้มีปัญญานั่งแล้วโดย
บัลลังก์เดียว หมื่นโลกธาตุก็แสงสว่างเป็นอันเดียวกัน มีโอภาสเป็นอันเดียวกัน
มีการโชติช่วงเป็นอันเดียวกัน ด้วยเหตุนั้นพระองค์จึงตรัสพระดำรัสนั้นไว้แล้ว.

ก็บทปัญญาทั้ง 3 เหล่านี้ แม้บทเดียวก็สำเร็จเนื้อความได้. พระผู้มี-
พระภาคเจ้าทรงแสดงพระสูตรทั้งหลาย ( ในอังคุตตรนิกายจตุกนิบาต ) ตาม
อัธยาศัยของสัตว์ทั้งหลายว่า ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย แสงสว่างเหล่านั้นมี 4 อย่าง
แสงสว่าง 4 อย่างเป็นไฉน ? คือแสงสว่างแห่งดวงจันทร์ แสงสว่างแห่ง
ดวงอาทิตย์ แสงสว่างแห่งไฟ แสงสว่างแห่งปัญญา ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย
แสงสว่าง 4 เหล่านี้แล ภิกษุทั้งหลาย บรรดาแสงสว่าง 4 เหล่านี้ แสงสว่าง
แห่งปัญญาเป็นเลิศ. ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย โอภาส 4 เหล่านี้ ฯลฯ ดูก่อนภิกษุ
ทั้งหลาย ความโชติช่วง เหล่านั้นก็ฉันนั้น. แม้ในนิทเทสนี้พระองค์ก็ทรงทำ
เทศนาโดยสมควรแก่พระสูตรนั้นเหมือนกัน. เพราะว่า เนื้อความเมื่อทรง
จำแนกโดยอาการมิใช่น้อย ย่อมชื่อว่าเป็นการจำแนกดีแล้ว. สัตว์ทั้งหลาย
พวกหนึ่งย่อมตรัสรู้ได้โดยประการอย่างหนึ่ง และพวกอื่นก็ตรัสรู้ได้โดย
ประการอื่น. ก็รัตนะ คือ ปัญญา เรียกว่าปัญญารัตนะ ด้วยอรรถว่ากระทำ
ความยินดี ด้วยอรรถว่าให้ความยินดี ด้วยอรรถว่าให้เกิดความยินดี ด้วย
อรรถว่าปลื้มใจ ด้วยอรรถว่าปรากฏได้โดยยาก ด้วยอรรถว่าชั่ง (เปรียบ)
ไม่ได้ ด้วยอรรถว่าเป็นเครื่องใช้ของสัตว์ผู้ไม่ต่ำทราม. ที่ชื่อว่า อโมหะ
เพราะเป็นเหตุให้สัตว์ทั้งหลายไม่ลุ่มหลง หรือว่า ตัวปัญญาเองย่อมไม่หลงใน
อารมณ์ หรือว่า สิ่งนี้นั้นเป็นเพียงไม่หลงใหลไปเท่านั้น. บทแห่งธรรมวิจยะมี
เนื้อความตามที่กล่าวแล้วนั่นแหละ ถามว่า เพราะเหตุไร จึงตรัสธรรมวิจยะ
นี้อีก. ตอบว่า เพื่อแสดงความที่อโมหะเป็นปฏิปักษ์ต่อโมหะ เพราะฉะนั้น
จึงแสดงธรรมวิจยะนี้. อโมหะนั้นมิใช่เป็นธรรม นอกจากโมหะอย่างเดียว
ที่แท้เป็นปฏิปักษ์ต่อโมหะด้วย ชื่อว่า อโมหะ กล่าวคือธรรมวิจยะนั้น
พระผู้มีพระภาคเจ้าทรงประสงค์เอาในที่นี้. ทิฏฐิที่เป็นจริง เป็นเครื่องนำ
ออกจากภพ และเป็นกุศล ชื่อว่า สัมมาทิฏฐิ.

ในนิทเทสแห่งชีวิตินทรีย์ พระบาลีว่า โย เตสํ อรูปีนํ ธมฺมานํ
อายุ
ความว่า สภาวธรรมที่ชื่อว่า อายุ เพราะอรรถว่าเป็นเครื่องต่อสัมปยุตต-
ธรรมที่เป็นอรูปเหล่านั้น. จริงอยู่ เมื่ออายุนั้นมีอยู่ อรูปธรรมทั้งหลายย่อมมี
ต่อไป ดำเนินไป เป็นไปทั่ว เพราะฉะนั้น จึงตรัสว่า อายุ. บทว่า อายุ นี้
เป็นบทแสดงสภาวะของอายุนั้น ก็เพราะเมื่ออายุยังมีอยู่เท่านั้น อรูปธรรม
เหล่านั้นจึงดำรงอยู่ ย่อมนำไป ย่อมให้นำไป ย่อมเคลื่อนไหว ย่อมเป็นไป
ย่อมรักษา ฉะนั้น จึงตรัสคำเป็นต้น ว่า ฐิติ. ส่วนความหมายถ้อยคำในบทนี้
ดังนี้
ที่ชื่อว่า ฐิติ เพราะเป็นเหตุให้ตั้งอยู่. ที่ชื่อว่า ยปนา เพราะนำไป
ชื่อว่า ยาปนา ก็เหมือนกัน แต่พระองค์ทรงทำบทก่อนให้สิ้นด้วยอำนาจแห่ง
สัตว์ผู้ตรัสรู้ด้วยอาการอย่างนั้น. ที่ชื่อว่า อิริยนา เพราะเป็นเหตุให้เคลื่อน
ไป. ที่ชื่อว่า วัตตนา เพราะเป็นเหตุให้เป็นไป. ที่ชื่อว่า ปาลนา เพราะ
รักษาไว้ ที่ชื่อว่า ชีวิต เพราะเป็นเหตุให้สัตว์เป็นอยู่. ที่ชื่อว่า ชีวิตินทรีย์
เพราะครองความเป็นใหญ่ในลักษณะแห่งอนุบาล.
ในนิเทสแห่งหิริพละ พระบาลีว่า ยํ ตสฺมึ สมเย ความว่า
ในสมัยนั้น. . . ด้วยธรรมใด. อีกอย่างหนึ่ง ท่านทำให้เป็นลิงควิปลาสแล้วพึง
ทราบเนื้อความว่า ในสมัยนั้น ธรรมใดดังนี้ ก็ได้. บทว่า หิริยิตพฺเพน
เป็นตติยาวิภัตติ ใช้ในอรรถทุติยาวิภัตติ อธิบายว่า ย่อมละอายคือรังเกียจ
ธรรมมีกายทุจริตเป็นต้น อันควรแก่การละอาย. บทว่า ปาปกานํ ได้แก่
ลามก. บทว่า อกุสลานํ ธมฺมานํ ได้แก่ ธรรมที่เกิดแต่ความไม่ฉลาด.
แม้คำว่า สมาปตฺติยา นี้ก็เป็นตติยาวิภัตติใช้ในอรรถแห่งทุติยาวิภัตติ.
อธิบายว่า ย่อมละอายคือย่อมรังเกียจซึ่งการถึงพร้อม การได้เฉพาะ และการ
พรั่งพร้อมแห่ง (อกุศล) ธรรมเหล่านั้น.

ในนิเทสแท่งโอตตัปปะ บทว่า โอตฺตปปิตพฺพยุตฺตเกน เป็น
ตติยาวิภัตติ ใช้ในอรรถแห่งเหตุ อธิบายว่า ย่อมหวั่นเกรง คือ ย่อมกลัวทุจริต
มีกายทุจริตเป็นต้น ซึ่งควรแก่ความเกรงกลัวอันเป็นเหตุแห่งความควรเกรง
กลัว และการเข้าถึงมีประการตามที่กล่าวแล้วอันเป็นเหตุแห่งความเกรงกลัว.
ในนิเทสแห่งอโลภะ ธรรมที่ชื่อว่า อโลภะ เพราะความไม่ละโมบ
อีกอย่างหนึ่ง ชื่อว่า อโลภะ เพราะย่อมไม่โลภ. บทว่า อโลภะ นี้เป็น
บทแสดงสภาวะของความไม่โลภนั้น. อาการที่ไม่โลภ ชื่อว่า อลุพภนา
(กิริยาที่ไม่โลภ) บุคคลผู้พรั่งพร้อมด้วยโลภะ ชื่อว่า ผู้ละโมบ. บุคคล
ผู้ไม่ละโมบ ชื่อว่า อลุพภิตะ (ผู้ไม่ละโมบ). ภาวะแห่งบุคคลผู้ไม่ละโมบ
ชื่อว่า ภาวะแห่งความไม่ละโมบ. สภาวะที่ชื่อว่า อสาราคะ (ความไม่
กำหนัด) เพราะไม่กำหนัดโดยเป็นปฏิปักษ์ต่อความกำหนัด. อาการที่ไม่
กำหนัด ชื่อว่า อสารัชชนา (กิริยาที่ไม่กำหนัด ). ภาวะแห่งผู้ไม่กำหนัด
แล้วชื่อว่า อสารัชชิตัตตะ (ความเป็นผู้ไม่กำหนัด ). สภาวะที่ชื่อว่า
อนภิชฌา เพราะย่อมไม่เพ่งเล็ง. บทว่า อโลโภ กุสลมูลํ ได้แก่ กุศลมูล
คืออโลภะ จริงอยู่ อโลภะ ชื่อว่า กุศลมูล เพราะอรรถว่าเป็นมูลคือเป็น
ปัจจัยแก่กุศลธรรมทั้งหลายบ้าง ชื่อว่า กุศลมูล เพราะกุศลนั้นด้วยเป็นมูล
ด้วย ด้วยอรรถว่าเป็นปัจจัย ดังนี้บ้าง.
ในนิเทสแห่งอโทสะ สภาวะที่ชื่อว่า อโทสะ เพราะไม่ประทุษร้าย.
อีกอย่างหนึ่ง ชื่อว่า อโทสะ เพราะย่อมไม่ประทุษร้ายบ้าง. บทว่า อโทสะ
นี้เป็นบทแสดงสภาวะของอโทสะนั้น. อาการที่ไม่ประทุษร้าย ชื่อว่า อทุสสนา
(กิริยาที่ไม่ประทุษร้าย) ภาวะแห่งบุคคลผู้ไม่ประทุษร้ายแล้ว ชื่อว่า
อทุสสิตัตตะ (ความไม่ประทุษร้าย) สภาวะชื่อว่า อัพยาบาท เพราะ

ไม่พยาบาทโดยเป็นปฏิปักษ์ต่อความพยาบาท. สภาวะที่ชื่อว่า อัพยาปัชฌะ
(ความไม่เบียดเบียน) เพราะไม่เบียดเบียนโดยเป็นปฏิปักษ์ต่อความทุกข์
อันเกิดแต่ความโกรธ. กุศลมูล คือ อโทสะ ชื่อว่า อโทสะ เป็นรากเหง้า
ของกุศล กุศลมูลนั้นมีเนื้อความตามกล่าวแล้วนั่นแหละ.
ในนิทเทสแห่งกายปัสสัทธิเป็นต้น ขันธ์ 3 (เวทนา สัญญา
สังขารขันธ์) พระผู้มีพระภาคเจ้าทรงประสงค์เอาในคำว่า กาย นี้ เพราะฉะนั้น
จึงตรัสว่า เวทนากฺขนฺธสฺส เป็นต้น. สภาวะที่ชื่อว่า ปัสสัทธิ เพราะ
เป็นเหตุให้ธรรมเหล่านั้นสงบ คือ ปราศจากความกระวนกระวายถึงความ
ปลอดโปร่ง. บทที่ 2 (ปฏิปฺปสฺสทฺธิ) ทรงเพิ่มอุปสรรค อาการที่สงบ
ชื่อว่า ปัสสัมภนา (กิริยาที่สงบ). บทที่ 2 (ปฏิปปัสสัมภนา) ก็ทรง
เพิ่มอุปสรรค. ภาวะแห่งขันธ์ 3 ที่สงบเพราะพรั่งพร้อมด้วยปัสสัทธิ ชื่อว่า
ปฏิปัสสัมภิตัตตะ (ความเป็นผู้สงบระงับ). ความสงบระงับแห่งความ
กระวนกระวายของกิเลส ของขันธ์ 3 ท่านกล่าวไว้แม้ด้วยบททั้งหมด. ความ
สงบระงับความกระวนกระวายของวิญญาณขันธ์ ท่านกล่าวไว้ด้วยนัยที่ 2.
อาการแห่งภาวะที่เบา ชื่อว่า ลหุตา. คำว่า ลหุปริณามตา ความว่า
ธรรมเหล่านั้น ชื่อว่า ลหุปริณามะ (การเปลี่ยนไปเร็ว) เพราะธรรมเหล่านั้น
เปลี่ยนไปเร็ว. ภาวะแห่งลหุปริณามธรรมเหล่านั้น ชื่อว่า ลหุปริณามตา.
อธิบายว่า สามารถเปลี่ยนแปลงโดยฉับพลัน. คำว่า อทันธนตา เป็นคำ
ปฏิเสธความหนัก คือ ไม่ใช่ภาระหนัก. คำว่า อวิตฺถนตา ได้แก่ ความ-
ไม่กระด้าง เพราะความไม่มีภาระหนัก คือ กิเลสมีถีนะและมานะเป็นต้น.
อีกอย่างหนึ่ง ความไม่กระด้างแห่งภาระหนักแห่งกิเลสมีถีนะและมานะเป็นต้น

ชื่อว่า อวิตฺถนตา. พระผู้มีพระภาคเจ้าตรัสอาการคือความเบาแห่งขันธ์ทั้ง 3
เหล่านั้นโดยนัยแรก ตรัสอาการ คือ ความเบาแห่งวิญญาณขันธ์โดยนัยที่ 2.
ความอ่อน ชื่อว่า มุทุตา คำว่า มทฺทวตา ความว่า ความสนิธ
ความเกลี้ยงเกลา ตรัสเรียกว่า มัททวะ ความเป็นมัททวะนั้น ชื่อว่า มัททวตา.
ภาวะที่ไม่กักขฬะ ชื่อว่า อกักขฬตา. ภาวะที่ไม่กระด้าง ชื่อว่า อกถินตา.
แม้ในนิทเทสนี้ พระผู้มีพระภาคเจ้าก็ตรัสว่า อาการ คือ ความอ่อนแห่งขันธ์ 3
ไว้โดยนัยแรก และของวิญญาณขันธ์โดยนัยหลัง.
ความสำเร็จแห่งกายงาน ชื่อว่า กัมมัญญตา ความควรแก่การงาน
คือ ความควรแก่การประกอบในการทำกุศล. สองบทที่เหลือท่านเพิ่มมาด้วย
อำนาจพยัญชนะโดยแท้. จริงอยู่ แม้โดยบททั้ง 2 พระองค์ก็ตรัสอาการ คือ
ความควรแก่การงานของขันธ์ทั้ง 3 โดยนัยแรก และตรัสอาการ คือ ความควร
แก่การงานแห่งวิญญาณขันธ์โดยนัยหลัง.
ภาวะแห่งความคล่องแคล่ว ชื่อว่า ปคุณตา คือ ความไม่ชักช้า
ความไม่ป่วยไข้. บทที่เหลือเป็นบทที่เพิ่มมาด้วยอำนาจพยัญชนะ. แม้ในนิทเทส
นี้ ก็ตรัสความคล่องแคล่วไม่เป็นไข้นั่นแหละแห่งขันธ์ 3 โดยนัยแรก ตรัส
ความคล่องแคล่วไม่ป่วยไข้แห่งวิญญาณขันธ์โดยนัยหลัง.
ภาวะแห่งความซื่อตรง ชื่อว่า อุชุตา คือ ความเป็นไปโดยอาการ
อันตรง. ภาวะแห่งขันธ์ 3 อันตรงและวิญญาณขันธ์อันตรง เรียกว่า อุชุกตา.
ความปฏิเสธแห่งความคดเหมือนมูตรโค ชื่อว่า อชิมหตา (ความคล่องแคล่ว).
บทว่า อวงฺกตา ได้แก่ ปฏิเสธความโค้งเหมือนวงจันทร์. บทว่า อกุฏิลตา
ได้แก่ ปฏิเสธความคดเหมือนปลายงอนไถ. จริงอยู่. บุคคลใดทำบาปแล้วกล่าว
ว่าเราไม่ได้กระทำ บุคคลนั้น ชื่อว่า เป็นผู้คดเหมือนมูตรโค (เยี่ยวโค)

เพราะความไปวกวน ผู้ใดกำลังทำบาปแล้วพูดว่า เราไม่กลัวบาปผู้นั้น ชื่อว่า
คด เหมือนวงจันทร์ เพราะความคดมาก ผู้ใดกำลังทำบาป แต่กล่าวว่า
ใครไม่กลัวบาปเล่า ผู้นั้นชื่อว่า คด เหมือนงอนไถ เพราะไม่คดมาก.
อีกอย่างหนึ่ง กรรมทวาร 3 ของบุคคลใดไม่บริสุทธิ์ บุคคลนั้นชื่อ
เป็นผู้คดเหมือนน้ำมูตรโค. กรรมทวาร 2 แม้อย่างใดอย่างหนึ่งมีอยู่แก่
บุคคลใดไม่บริสุทธิ์ บุคคลนั้น ชื่อว่า เป็นผู้คดเหมือนวงจันทร์. กรรมทวาร
หนึ่งอย่างใดอย่างหนึ่งของบุคคลใดไม่บริสุทธิ์ บุคคลนั้น ชื่อว่า เป็นผู้คด
เหมือนปลายงอนไถ
.
ส่วนอาจารย์ผู้เรียนทีฆนิกาย กล่าวว่า ภิกษุบางรูปในวัยทั้งหมดย่อม
ประพฤติอเนสนา 21 และอโคจร 6 ภิกษุนี้ชื่อว่า คดเหมือนน้ำมูตรโค.
บางองค์ในปฐมวัยย่อมบำเพ็ญจตุปาริสุทธิศีล เป็นผู้ละอาย รังเกียจความชั่ว
ใคร่การศึกษา ในมัชฌิมวัยและปัจฉิมวัยเป็นเช่นภิกษุองค์ก่อน ภิกษุนี้ ชื่อว่า
เป็นผู้คดเหมือนวงจันทร์. บางองค์ในปฐมวัยก็ดี มัชฌิมวัยก็ดี ย่อมบำเพ็ญ
จตุปาริสุทธิศีล มีความละอาย มีความรังเกียจบาป ใคร่การศึกษา แต่ใน
ปัจฉิมวัยเป็นเช่นภิกษุองค์ก่อน ภิกษุนี้ ชื่อว่า คดเหมือนปลายงอนไถ.
ภาวะของบุคคลผู้คดอย่างนี้ด้วยอำนาจกิเลสนั้น พระผู้มีพระภาคเจ้าตรัสเรียกว่า
ชิมหตา (ความคด) อวงฺกตา (ความโค้ง) อกุฏิลตา (ความงอ) พระ-
ผู้มีพระภาคเจ้าตรัสความไม่คดเป็นต้น โดยปฏิเสธความคดเป็นต้นเหล่านั้น
แล้วทรงแสดงโดยเป็นขันธาธิษฐาน จริงอยู่ ความไม่คดเป็นต้นนี้ ย่อมมีแก่
ขันธ์ทั้งหลาย หามีแก่บุคคลไม่ ด้วยบทเหล่านั้น แม้ทั้งหมดอย่างนี้ พระผู้มี-
พระภาคเจ้าตรัสอาการ คือ ความตรงโดยนัยแรก ตรัสอาการ คือ ความตรง
แห่งวิญญาณขันธ์โดยนัยหลัง เพราะฉะนั้น พึงทราบว่า พระองค์ทรงตรัส

อาการ คือ ความตรงแห่งอรูปธรรมทั้งหลาย เพราะความไม่มีกิเลส. บัดนี้
นิทเทสเป็นอันพระผู้มีพระภาคเจ้าตรัสแล้วโดยสังเขปแห่งธรรม ชื่อว่า เยวา-
ปนกะ
นั่นแหละ ที่แสดงไว้ในธัมมุทเทสวาระ โดยอัปปนาวาระที่ตรัสว่า
เย วา ปน นั้นดังนี้.

จบกถาว่าด้วยนิทเทสวาร

ด้วยคำมีประมาณเท่านี้ เป็นอันว่าจบวาระว่าด้วยการกำหนดธรรม
ประดับด้วยปริจเฉท 8 ปริจเฉท คือ ในอุทเทสวาร 4 ปริจเฉทมี ปุจฉา 1
สมยนิทเทส 1 ธัมมุทเทส 1 อัปปนา 1 และในนิทเทสวาร 4 ปริจเฉทมี
ปุจฉา 1 สมยนิทเทส 1 ธัมมุทเทส 1 อัปปนา 1 ดังนี้แล.

โกฏฐาสวาร



[73] ก็ขันธ์ 4 อายตนะ 2 ธาตุ 2 อาหาร 3 อินทรีย์ 8
ฌานมีองค์ 5 มรรคมีองค์ 5 พละ 7 เหตุ 3 ผัสสะ 1 เวทนา 1 สัญญา 1
เจตนา 1 จิต 1 เวทนาขันธ์ 1 สัญญาขันธ์ 1 สังขารขันธ์ 1 วิญญาณขันธ์ 1
มนายตนะ 1 มนินทรีย์ 1 มโนวิญญาณธาตุ 1 ธรรมายตนะ 1 ธรรมธาตุ
มีในสมัยนั้น หรือว่า นามธรรมที่อิงอาศัยเกิดขึ้นแม้อื่นใด มีอยู่ในสมัยนั้น
สภาวธรรมเหล่านั้นชื่อว่า ธรรมเป็นกุศล.
[74] ขันธ์ 4 มีในสมัยนั้น เป็นไฉน ?
เวทนาขันธ์ สัญญาขันธ์ สังขารขันธ์ วิญญาณขันธ์
เวทนาขันธ์ มีในสมัยนั้น เป็นไฉน ?
ความสบายทางใจ ความสุขทางใจ ความเสวยอารมณ์ที่สบายเป็นสุข
อันเกิดแต่เจโตสัมผัส กิริยาเสวยอารมณ์ทีสบายเป็นสุขอันเกิดแต่เจโตสัมผัส
ในสมัยนั้น อันใด นี้ชื่อว่า เวทนาขันธ์ มีในสมัยนั้น
สัญญาขันธ์ มีในสมัยนั้น เป็นไฉน ?
การจำ กิริยาที่จำ ความจำ ในสมัยนั้น อันใด นี้ชื่อว่า สัญญาขันธ์
มีในสมัยนั้น
สังขารขันธ์ มีในสมัยนั้น เป็นไฉน ?
ผัสสะ เจตนา วิตก วิจาร ปีติ เอกัคคตา สัทธินทรีย์ วิริยินทรีย์
สตินทรีย์ สมาธินทรีย์ ปัญญินทรีย์ ชีวิตินทรีย์ สัมมาทิฏฐิ สัมมาสังกัปปะ
สัมมาวายามะ สัมมาสติ สัมมาสมาธิ สัทธาพละ วิริยพละ สติพละ สมาธิพละ
ปัญญาพละ หิริพละ โอตตัปปพละ อโลภะ อโทสะ อโมหะ อนภิชฌา