เมนู

พระยามิลินทร์ : ท่านพระนาคเสน พระผู้มีพระภาคเจ้าทำอะไร ซึ่ง
ทำได้โดยยาก
พระนาคเสน มหาบพิตร : พระผู้มีพระภาคเจ้าทรงบอกการกำหนด
ธรรมคือจิตและเจตสิกอันไม่ใช่รูปเหล่านี้ ที่เป็นไปในอารมณ์เดียวกันว่า นี้
เป็นผัสสะ นี้เป็นเวทนา นี้เป็นสัญญา นี้เป็นเจตนา นี้เป็นจิต.
พระยามิลินทร์ : ขอพระผู้เป็นเจ้าจงอุปมาให้ฟัง.
พระนาคเสน : มหาบพิตร อุปมาเหมือนคนบางคนข้ามสมุทรด้วย
เรือ แล้วใช้อุ้งมือวักน้ำชิมดูก็พึงทราบหรือหนอว่า นี้น้ำแม่น้ำคงคา นี้น้ำแม่-
น้ำยมุนา นี้น้ำแม่น้ำอจิรวดี นี้น้ำแม่น้ำสรภู นี้น้ำแม่น้ำมหี.
พระยามิลินทร์ : ข้าแต่ท่านนาคเสน รู้ได้ยาก.
พระนาคเสน : มหาบพิตร การที่พระผู้มีพระภาคเจ้าตรัสบอกการ
กำหนดธรรมคือจิตและเจตสิก ซึ่งไม่ใช่รูปเป็นไปในอารมณ์เดียวกันว่า นี้เป็น
ผัสสะ ฯลฯ นี้เป็นจิต ชื่อว่า ทรงทำสิ่งที่ทำได้ยากกว่านั้นมาก.

อธิบายวิตกนิทเทสเป็นต้น



ในนิทเทสแห่งวิตก ธรรมที่ชื่อว่า ตักกะเพราะตรึก. บัณฑิตพึงทราบ
ความเป็นไปแห่งธรรมที่ชื่อว่า ตักกะนั้น ด้วยสามารถแห่งการตรึกอย่างนี้ว่า
ท่านตรึกถึงอะไร ? ท่านตรึกถึงหม้อ ตรึกถึงเกวียน ตรึกถึงโยชน์ ตรึกถึง
ครึ่งโยชน์หรือ นี้เป็นบทแสดงสภาวะของการตรึก. ธรรมที่ชื่อว่า วิตก
เพราะอำนาจแห่งการตรึกพิเศษ คำว่า วิตกนี้เป็นชื่อของความตรึกที่มีกำลัง
มากกว่า. ชื่อว่า สังกัปปะ เพราะการกำหนดอย่างดี. เอกัคคจิต ชื่อว่า
อัปปนา เพราะแนบแน่นในอารมณ์. บทที่สองทรงเพิ่มขึ้นด้วยอำนาจอุปสรรค
อีกอย่างหนึ่ง อัปปนาที่มีกำลังกว่า ชื่อว่า พยัปปนา. ธรรมชาติที่ชื่อว่า การ