เมนู

อรรถกถาจิตตุปปาทกัณฑ์



บัดนี้ ทรงประสงค์จะจำแนกบทวาระว่าด้วยธัมมุทเทส (หัวข้อธรรม)
56 ที่ยกขึ้นสู่พระบาลีเหล่านั้นทั้งหมด จึงทรงเริ่มนิทเทสวาร โดยนัยมีอาทิว่า
กตโม ตสฺมึ สมเย ผสฺโส โหติ (ผัสสะย่อมมีในสมัยนั้น เป็นไฉน)
ดังนี้ ควรทราบเนื้อความนี้แห่งคำถามในนิทเทสนั้นก่อนแล้วพึงทราบใจความ
ในคำถามทั้งหมดโดยนัยมีอาทิว่า กามาวจรมหากุศลจิตสหรคตด้วยโสมนัสเป็น
อสังขาริกเกิดขึ้นในสมัยใด ผัสสะใดก็ย่อมมีในสมัยนั้นดังนี้ จึงตรัสว่า ผัสสะ
มีในสมัยนั้นเป็นไฉน ? ดังนี้.
คำว่า ผัสสะใดย่อมมีในสมัยนั้น ความว่า ผัสสะอันใดที่เกิดขึ้น
ด้วยสามารถแห่งธรรมที่สัมผัส (กระทบ) ในสมัยนั้น คำว่า ผัสสะนี้นั้น
ชื่อว่าเป็นบทสภาวธรรมเพราะแสดงสภาวะของผัสสะ. คำว่า ผุสนา ได้แก่
อาการที่ถูกต้อง คำว่า สมฺผุสนา คืออาการที่กระทบพร้อมกันนั่นแหละ
ทรงเพิ่มบทอุปสรรคแล้วตรัสว่า สมฺผุสนา. คำว่า สมฺผุสิตตฺตํ ได้แก่
ภาวะที่ถูกกระทบกันแล้ว. ก็ในนิทเทสวารนี้ มีคำประกอบความดังต่อไปนี้ว่า
ผัสสะอันใดด้วยการถูกต้องย่อมมีในสมัยนั้น ผุสนา (กิริยาที่กระ-
ทบ) อันใดย่อมมีในสมัยนั้น สมฺผุสนา (อาการที่กระทบพร้อมกัน) อันใด
ย่อมมีในสมัยนั้น สมฺผุสิตตฺตํ (ภาวะที่ถูกกระทบพร้อมกัน) อันใดย่อมมี
ในสมัยนั้น อีกอย่างหนึ่ง ผัสสะอันใดย่อมมีด้วยสามารถแห่งธรรมที่กระทบ
กัน โดยปริยายอื่นท่านเรียกว่า ผุสนา สัมผุสนา สัมผุสิตัตตา สภาวะนี้
ชื่อว่า ผัสสะย่อมมีในสมัยนั้นดังนี้. ในนิทเทสทั้งหลายแม้แห่งธรรมมีเวทนา

เป็นต้น พึงทราบโยชนาเฉพาะบทโดยนัยนี้ ส่วนข้อวินิจฉัยในการจำแนก
บทที่ทั่วไปในบททั้งหมดในนิทเทสวาร ดังต่อไปนี้
พระผู้มีพระภาคเจ้าครั้นทรงจำแนกกามาวจรมหากุศลจิตดวงที่หนึ่งแล้ว
เมื่อจะทรงจำแนกออกไป จึงวางบทธรรมไว้เกิน 50 บทด้วยอำนาจแห่ง
มาติกาแล้ว จึงทรงยกขึ้นทีละบทจำแนกอีก บทธรรมเหล่านั้น เมื่อถึงการ
จำแนกย่อมถึงการจำแนกด้วยเหตุ 3 ประการ บทธรรมเหล่านั้นเมื่อแตกต่าง
กันก็ย่อมแตกต่างกันด้วยเหตุ 4 ประการ. ก็ในนิทเทสวารนี้ การแสดงโดย
ประการอื่น ย่อมได้ฐานะ 2 ประการ ได้อย่างไร จริงอยู่ บทเหล่านั้นย่อมถึง
การจำแนกด้วยเหตุ 3 ประการเหล่านั้น คือด้วยอำนาจพยัญชนะ 1 ด้วยอำนาจ
อุปสรรค 1 ด้วยอำนาจอรรถะ 1.
บรรดาเหตุ 3 ประการเหล่านั้น บัณฑิตพึงทราบถึงการจำแนกด้วย
สามารถแห่งพยัญชนะอย่างนี้ว่า ความโกรธ (โกโธ) กิริยาที่โกรธ (กุชฺฌนา)
ความเป็นผู้โกรธ (กุชฺฌิตตฺตํ) ความประทุษร้าย (โทโส) กิริยาที่ประทุษร้าย
(ทุสฺสนา) ความเป็นผู้ประทุษร้าย (ทุสฺสิตฺตํ) จริงอยู่ ในเหตุเหล่านี้
ความโกรธอย่างเดียวเท่านั้นถึงการจำแนกอย่างนี้ด้วยอำนาจแห่งพยัญชนะ.
ส่วนการจำแนกด้วยสามารถแห่งอุปสรรคพึงทราบอย่างนี้ว่า จาโร
(การเที่ยวไป) วิจาโร (การพิจารณา) อนุวิจาโร (การตามพิจารณา)
อุปวิจาโร (การเข้าไปพิจารณา) พึงทราบถึงการจำแนกด้วยอำนาจแห่งอรรถะ
อย่างนี้ว่า ปณฺฑิจฺจํ (ความเป็นบัณฑิต) โกสลฺลํ (ความเป็นคนฉลาด)
เนปุญฺญํ (ความเฉลียวฉลาด) เวภพฺยา (ความเป็นผู้รู้แจ้ง) จินฺตา
(ความคิด) อุปปริกฺขา (ความใคร่ครวญ) บรรดาการจำแนกบทธรรมเหล่า

นั้น การจำแนกแม้ทั้ง 3 เหล่านั้นย่อมได้ในนิทเทสแห่งบทผัสสะก่อน จริงอยู่
คำว่า ผสฺโส ผุสนา ได้แก่การจำแนกด้วยพยัญชนะ คำว่า สมผุสนาได้แก่
การจำแนกด้วยอุปสรรค. คำว่า สมฺผุสิตตฺตํ ได้แก่การจำแนกด้วยอรรถะ.
พึงทราบการจำแนกในนิทเทสบททั้งปวงโดยนัยนี้.
ส่วนธรรมทั้งหลายแม้เมื่อมีบทต่างกัน ชื่อว่า ย่อมต่างกันด้วยเหตุ
ประการเหล่านั้น คือ ความต่างกันโดยชื่อ ความต่างกันโดยลักษณะ
ความต่างกันโดยกิจ
(หน้าที่) ความต่างกันโดยการปฏิเสธ บรรดา
ความต่างกันเหล่านั้น พึงทราบความต่างกันโดยชื่ออย่างนี้ในที่นี้ว่า ความ
พยาบาทมีในสมัยนั้นเป็นไฉน ? ความประทุษร้าย กิริยาที่ประทุษร้ายอันใดมี
ในสมัยนั้นดังนี้ ธรรมเหล่านี้แม้ทั้ง 2 คือ ความพยาบาท หรือโทสะ
ก็คือความโกรธนั่นเอง แต่ถึงความต่างกันโดยชื่อ อนึ่ง ธรรมแม้ 5 อย่าง
ชื่อว่าขันธ์เพราะอรรถว่า เป็นกอง ธรรมหนึ่งเท่านั้นก็เรียกว่า ขันธ์ ก็ขันธ์
5 ย่อมมีความต่างกันโดยลักษณะนี้ คือ ในบรรดาขันธ์ 5 เหล่านี้ รูปมี
ความย่อยยับไปเป็นลักษณะ เวทนามีการเสวยอารมณ์เป็นลักษณะ สัญญามีการ
จำอารมณ์เป็นลักษณะ เจตนามีการกระตุ้นเตือนสัมปยุตตธรรมเป็นลักษณะ
วิญญาณมีการรู้อารมณ์เป็นลักษณะ ว่าโดยความต่างกันแห่งกิจ ความเพียร
อย่างเดียวเท่านั้นมาแล้วในฐานะทั้ง 4 อย่างนี้ว่า สัมมัปปธาน 4 คือ ภิกษุ
ในศาสนานี้ ทำฉันทะให้เกิด ประคองจิตไว้ ทำความเพียร ฯลฯ เพื่อป้องกัน
บาปอกุศลธรรมที่ยังมิเกิดมิให้เกิดขึ้น พึงทราบความต่างกันด้วยสามารถความ
ต่างกันด้วยกิจ ด้วยประการฉะนี้. ก็พึงทราบความต่างกันด้วยความต่างกันโดย
การปฏิเสธ ในประโยคมีอาทิอย่างนี้ว่า อธรรม 4 ประการคือ ความเป็นผู้
หนักในความโกรธมิใช่เป็นผู้หนักในสัทธรรม 1 ความเป็นผู้หนักในความลบหลู่

มิใช่หนักในสัทธรรม 1 ความเป็นผู้หนักในลาภมิใช่หนักในสัทธรรม 1 ความ
เป็นผู้หนักในสักการะมิใช่หนักในสัทธรรม 1 ดังนี้.
ก็ความต่างกัน 4 อย่างเหล่านั้น ย่อมได้ในผัสสะเท่านั้นก็หาไม่ ย่อม
ได้ในธรรมแม้ทั้งหมด อันเป็นหมวด 5 มีผัสสะเป็นต้น จริงอยู่ คำว่า ผสฺโส
เป็นชื่อของผัสสะ ฯลฯ คำว่า จิตฺตํ เป็นชื่อของจิต (นี้เรียกว่าต่างกันโดยชื่อ)
ก็ผัสสะมีการถูกต้องเป็นลักษณะ เวทนามีการเสวยอารมณ์เป็นลักษณะ สัญญา
มีการจำอารมณ์เป็นลักษณะ เจตนามีการกระตุ้นเตือนสัมปยุตตธรรมเป็น
ลักษณะ วิญญาณมีการริอารมณ์เป็นลักษณะ(นี้เรียกว่าต่างกันโดย ลักษณะ)
อนึ่ง ผัสสะมีการถูกต้องเป็นกิจเท่านั้น เวทนามีการเสวยอารมณ์เป็นกิจ
สัญญามีการจำอารมณ์เป็นกิจ เจตนามีการกระตุ้นเตือนเป็นกิจ วิญญาณมีการ
รู้อารมณ์เป็นกิจ พึงทราบความต่างกัน แห่งกิจอย่างนี้ด้วยประการฉะนี้.
ความต่างกันในการปฏิเสธในธรรมหมวด 5 แห่งผัสสะไม่มี. แต่ใน
นิทเทสแห่งธรรมมีอโลภะเป็นต้น พึงทราบความต่างกันด้วยสามารถแห่งความ
ปฏิเสธอย่างนี้ว่า บุคคลย่อมโลภโดยนัยเป็นต้นว่า ความไม่โลภ กิริยาที่ไม่
โลภ ความเป็นผู้ไม่โลภ พึงทราบความต่างกันแม้ทั้ง 4 อย่าง ด้วยสามารถ
แห่งบทที่มีอยู่ในนิทเทสบททั้งหมดด้วยประการฉะนี้.
ส่วนการแสดงโดยปริยายอื่นอีก ย่อมได้ 2 ฐานะอย่างนี้ คือ ปทัตถูติ
(บทสดุดี) ทัฬหีกรรม (บทที่ย้ำความ) จริงอยู่ เมื่อพระผู้มีพระภาคเจ้าตรัส
คำว่า ผัสสะเพียงครั้งเดียว ประดุจการกดปลายไม้เท้าลง บทเดียวยังไม่ชื่อว่า
การประดับแล้วตกแต่งแล้วซึ่งบทสัมผัส เมื่อตรัสบ่อย ๆ ว่า ผัสสะ ผุสนา
สัมผุสนา สัมผุสิตัตตัง ด้วยสามารถแห่งพยัญชนะ ด้วยสามารถแห่งอุปสรรค
ด้วยสามารถอรรถ บทนั้นชื่อว่า ประดับแล้วตกแต่งแล้วซึ่งบทผัสสะ เปรียบ

เหมือนพี่เลี้ยงอาบน้ำให้พระราชกุมารแล้วเอาผ้าที่ชอบใจห่มแล้ว เอาดอกไม้
ทั้งหลายประดับแล้ว หยอดยาตาแล้วต่อจากนั้นก็เอามโนศิลา (สีแดง) เจิมหน้า
ผากเพียงจุดเดียวเท่านั้น เพียงเท่านี้ยังไม่ชื่อว่า มีรอยเจิมที่สวยงาม แต่เมื่อ
พี่เลี้ยงเอาสีทั้งหลายมาเจิมล้อม จึงชื่อว่า มีรอยเจิมที่สวยงาม ความอุปมาเป็น
เครื่องเปรียบเทียบนี้ พึงเห็นฉันนั้นเถิด. นี้ชื่อว่า ปทัตถูติบท. ก็การกล่าว
บ่อย ๆ นั่นแหละ. ด้วยสามารถแห่งพยัญชนะ อรรถะ และอุปสรรค ชื่อว่า
ทัพหีกรรมบทเปรียบเหมือนเมื่อกล่าวว่า อาวุโสก็ดี ภันเตก็ดี ยักษ์ก็ดี งูก็ดี
ไม่ชื่อว่า กล่าวย้ำความ แต่เมื่อกล่าวว่า อาวุโส อาวุโส ภันเต ภันเต ยักษ์
ยักษ์ งู งู ดังนี้ จึงชื่อว่า กล่าวย้ำความ ฉันใด เมื่อพระผู้มีพระภาคเจ้า
ตรัสบทว่า ผัสสะก็ฉันนั้นเหมือนกัน เป็นดุจการกดปลายไม้เท้า ไม่ชื่อว่า
เป็นการย้ำความ แต่เมื่อตรัสบ่อย ๆ ว่า ผัสสะ ผุสนา ผัมผุสนา สัมผุสิตัตตัง
ด้วยสามารถแห่งพยัญชนะ อุปสรรคและอรรถนั่นแหละ จึงชื่อเป็นการตรัส
ย้ำความ การแสดงโดยปริยายอื่นย่อมได้ฐานะ 2 ด้วยประการฉะนี้. บัณฑิต
พึงทราบเนื้อความในบททั้งหมด ในนิทเทสแห่งบทที่มีอยู่ด้วยสามารถแห่ง
ผัสสะแม้นี้เถิด.
คำว่า อยํ ตสมึ สมเย ผสฺโส โหติ ความว่า กามาวจร-
มหากุศลจิตดวงที่หนึ่งย่อมเกิดขึ้นในสมัยใด ชื่อว่า ผัสสะนี้ย่อมมีในสมัยนั้น
การพรรณนานิทเทสบทแห่งผัสสะเพียงเท่านี้ก่อน.

อธิบายเวทนานิทเทสเป็นต้น



ก็ต่อจากนี้ไป ข้าพเจ้าพรรณนาซึ่งเหตุสักความต่างกันในนิทเทสอื่น ๆ
แห่งบทมีเวทนาเป็นต้น คำที่เหลือพึงทราบโดยนัยที่กล่าวไว้ในนิทเทสแห่ง
ผัสสะนี้แหละ.