เมนู

อรรถกถาจิตตุปปาทกัณฑ์



บัดนี้ ทรงประสงค์จะจำแนกบทวาระว่าด้วยธัมมุทเทส (หัวข้อธรรม)
56 ที่ยกขึ้นสู่พระบาลีเหล่านั้นทั้งหมด จึงทรงเริ่มนิทเทสวาร โดยนัยมีอาทิว่า
กตโม ตสฺมึ สมเย ผสฺโส โหติ (ผัสสะย่อมมีในสมัยนั้น เป็นไฉน)
ดังนี้ ควรทราบเนื้อความนี้แห่งคำถามในนิทเทสนั้นก่อนแล้วพึงทราบใจความ
ในคำถามทั้งหมดโดยนัยมีอาทิว่า กามาวจรมหากุศลจิตสหรคตด้วยโสมนัสเป็น
อสังขาริกเกิดขึ้นในสมัยใด ผัสสะใดก็ย่อมมีในสมัยนั้นดังนี้ จึงตรัสว่า ผัสสะ
มีในสมัยนั้นเป็นไฉน ? ดังนี้.
คำว่า ผัสสะใดย่อมมีในสมัยนั้น ความว่า ผัสสะอันใดที่เกิดขึ้น
ด้วยสามารถแห่งธรรมที่สัมผัส (กระทบ) ในสมัยนั้น คำว่า ผัสสะนี้นั้น
ชื่อว่าเป็นบทสภาวธรรมเพราะแสดงสภาวะของผัสสะ. คำว่า ผุสนา ได้แก่
อาการที่ถูกต้อง คำว่า สมฺผุสนา คืออาการที่กระทบพร้อมกันนั่นแหละ
ทรงเพิ่มบทอุปสรรคแล้วตรัสว่า สมฺผุสนา. คำว่า สมฺผุสิตตฺตํ ได้แก่
ภาวะที่ถูกกระทบกันแล้ว. ก็ในนิทเทสวารนี้ มีคำประกอบความดังต่อไปนี้ว่า
ผัสสะอันใดด้วยการถูกต้องย่อมมีในสมัยนั้น ผุสนา (กิริยาที่กระ-
ทบ) อันใดย่อมมีในสมัยนั้น สมฺผุสนา (อาการที่กระทบพร้อมกัน) อันใด
ย่อมมีในสมัยนั้น สมฺผุสิตตฺตํ (ภาวะที่ถูกกระทบพร้อมกัน) อันใดย่อมมี
ในสมัยนั้น อีกอย่างหนึ่ง ผัสสะอันใดย่อมมีด้วยสามารถแห่งธรรมที่กระทบ
กัน โดยปริยายอื่นท่านเรียกว่า ผุสนา สัมผุสนา สัมผุสิตัตตา สภาวะนี้
ชื่อว่า ผัสสะย่อมมีในสมัยนั้นดังนี้. ในนิทเทสทั้งหลายแม้แห่งธรรมมีเวทนา