เมนู

ย่อมได้ธรรม 4 อย่าง (ฉันทะ อธิโมกข์ มนสิการ ตัตรมัชฌัตตตา) ซึ่งเป็น
ส่วนประกอบที่แน่นอน.

อธิบายฉันทะเป็นต้น



บรรดาเยวาปนกธรรมทั้ง 9 เหล่านี้ ดังที่พรรณนามานี้ คำว่า ฉันทะ
เป็นชื่อของกัตตุกัมยตา
เพราะฉะนั้น ฉันทะนั้น จึงมีความเป็นผู้ใคร่
เพื่อจะทำเป็นลักษณะ มีการแสวงหาอารมณ์เป็นกิจ มีการต้องการอารมณ์เป็น
ปัจจุปัฏฐาน อารมณ์ของฉันทะนั้นนั่นแหละเป็นปทัฏฐาน ก็ฉันทะนี้ในการ
ยึดอารมณ์ บัณฑิตพึงเห็นเหมือนจิตเหยียดมือออกไป.
ความน้อมใจเชื่อ ชื่อว่า อธิโมกข์ อธิโมกข์นั้นมีการตกลงใจเป็น
ลักษณะ มีการไม่ส่ายไปเป็นรส มีการตัดสินเป็นปัจจุปัฏฐาน มีธรรมที่พึงตกลง
ใจเป็นปทัฏฐาน อธิโมกข์นี้พึงเห็นเหมือนเสาเขื่อนเพราะความไม่หวั่นไหวใน
อารมณ์.
การกระทำ ชื่อว่า การะ การกระทำไว้ในใจชื่อว่า มนสิการ
ธรรมที่ชื่อว่า มนสิการ เพราะทำใจให้ขึ้นสู่วิถีจากภวังคจิต. มนสิการนี้นั้น
มี 3 ประการ คือ
อารัมมณปฏิปาทกะ (สังขารขันธ์)
วิถีปฏิปาทกะ (ปัญจทวาราวัชชนจิต)
ชวนปฏิปาทกะ (มโนทวาราวัชชนจิต).
บรรดามนสิการทั้ง 3 นั้น มนสิการที่ทำจิตให้รับอารมณ์ ชื่อว่า
มนสิการ เพราะกระทำไว้ในใจ. มนสิการที่ทำจิตให้รับอารมณ์นั้น มีการ
ทำสัมปยุตตธรรมให้รับอารมณ์เป็นลักษณะ มีการประกอบสัมปยุตธรรม

ทั้งหลายไว้ด้วยอารมณ์เป็นรส มีการมุ่งต่ออารมณ์เป็นปัจจุปัฏฐาน นับเนื่อง
ด้วยสังขารขันธ์ (มีอารมณ์เป็นปทัฏฐาน) พึงเห็นเหมือนสารถี เพราะยัง
สัมปยุตตธรรมให้ดำเนินไปในอารมณ์. ส่วนคำว่า วิถีปฏิปาทกะ นี้ เป็นชื่อ
ของปัญจทวาราวัชชนจิต. คำว่า ชวนปฏิปาทกะ นี้ เป็นชื่อของมโนทวารา-
วัชชนจิต. มนสิการทั้ง 2 เหล่านั้น ท่านไม่ประสงค์เอาในที่นี้.
ความเป็นกลางในธรรมเหล่านั้น ชื่อว่า ตัตรมัชฌัตตตา ตัตรมัช-
ฌัตตตานั้น มีการทรงไว้ซึ่งจิตและเจตสิกให้เสมอกันเป็นลักษณะ มีการห้ามจิต
และเจตสิกไม่ให้ยิ่งและหย่อนเป็นรส หรือมีการตัดขาดจากการตกไปในฝ่ายใด
ฝ่ายหนึ่งเป็นรส มีความเป็นกลางเป็นปัจจุปัฏฐาน ด้วยอำนาจแห่งความวางเฉย
ต่อจิตและเจตสิก (และมีสัมปยุตตธรรมเป็นปทัฏฐาน) ตัตรมัชฌัตตตานี้
พึงเห็นเหมือนสารถีผู้วางเฉยต่อม้าอาชาไนยทั้งหลายที่วิ่งไปเรียบร้อย ฉะนั้น.
กรุณาและมุทุตาจักมีแจ้งในนิทเทสแห่งพรหมวิหาร อันที่จริง กรุณา
และมุทุตานั้นมีข้อที่แปลกกันอยู่เท่านี้ว่า ที่ถึงอัปปนาเป็นรูปาวจร ในที่นี้เป็น
กามาพจร.
การงดเว้นจากกายทุจริต ชื่อว่า กายทุจริตวิรัติ. วิรัติ 2 ที่เหลือ
ก็นัยนี้แหละ. ก็วิรัติแม้ทั้ง 3 เหล่านั้นโดยลักษณะเป็นต้น มีการไม่ก้าวล่วง
วัตถุมีกายทุจริตเป็นต้นเป็นลักษณะ อธิบายว่า มีการไม่ย่ำยีสัตว์เป็นลักษณะ
วิรัติ 3 นั้นมีการเบือนหน้าจากวัตถุมีกายทุจริตเป็นต้นเป็นรส มีการไม่ทำกาย
ทุจริตเป็นต้นเป็นปัจจุปัฏฐาน มีคุณคือศรัทธา หิริ โอตตัปปะ และความปรา
รถนาน้อยเป็นต้นเป็นปทัฏฐาน พึงเห็นวิรัติ 3 นั้นเป็นจิตที่เฉยต่อการทำบาป.
วาระแห่งธัมมุทเทส (ธรรมที่ทรงยกขึ้นแสดง) นี้ มีบทธรรมแม้
ทั้งหมด 65 บท คือ ธรรม 56 มีผัสสะเป็นต้น และธรรม 9 ที่ตรัสไว้ด้วย
อำนาจเยวาปนกธรรม.

บรรดาบทเหล่านั้น บางคราวในขณะเดียวกันมี 61 บางคราวมี
60 บทถ้วน เพราะว่า บทธรรมเหล่านั้นที่ตรัสไว้ด้วยอำนาจแห่งการสมบูรณ์
ด้วยสัมมาวาจาเป็นต้น ก็มี 61 บท ที่เป็นไปในฐาน 5 (วิรัติ 3 อัปปมัญญา 2)
ในฐานะหนึ่งพ้นจากฐาน 5 เหล่านี้ มีฐานะ 60 ถ้วนแต่ถ้าเว้นเยวาปนกธรรม
บทธรรมที่ท่านถือเอาด้วยสามารถแห่งรุฬหีศัพท์ในพระบาลีมี 56 บท. แต่ถ้า
ไม่นับบทที่ซ้ำกันในบาลีนี้ ก็มีบทธรรม 3. ถ้วน คือ หมวด 5 แห่งผสัสะ
(ผสฺสปญฺจกํ) วิตก 1 วิจาร 1 ปีติ 1 จิตเตกัคคตา 1 อินทรีย์ 5
พละ 2 คือ หิริพละ โอตตัปปพละ มูล 2 คือ อโทภะ อโทสะ ธรรม 12
มีกายปัสสัทธิ จิตตปัสสัทธิเป็นต้น.
บรรดาธรรม 30 เหล่านั้น ธรรม 18 ท่านไม่จำแนกไว้ ธรรม 12
ท่านจำแนกไว้. ธรรม 18 ประการเป็นไฉน ? ธรรม 18 ประการเหล่านี้
คือ ผัสสะ 1 สัญญา 1 เจตนา 1 วิจาร 1 ปีติ 1 ชีวิตินทรีย์ 1 ธรรม
12 มีกายปัสสัทธิเป็นต้นท่านไม่จำแนกไว้. ธรรม 12 ประการเหล่านี้ คือ
เวทนา 1 จิต 1 วิตก 1 จิตเตกัคคตา 1 สัทธินทรีย์ 1 วิริยินทรีย์ 1
สตินทรีย์ 1 ปัญญินทรีย์ 1 หิริพละ 1 โอตตัปปพละ 1 อโลภะ 1 อโทสะ 1
ท่านจำแนกไว้.
บรรดาธรรมเหล่านั้น ธรรม 7 ประการจำแนกไว้ในฐานะทั้ง 2
ธรรมหนึ่งจำแนกไว้ในฐานะทั้ง 3 ธรรมสองจำแนกไว้ในฐานะ 4 ธรรมหนึ่ง
จำแนกไว้ในฐานะ 6 ธรรมหนึ่งจำแนกไว้ในฐานะ 7.
ธรรม 7 เหล่านี้ คือ จิต วิตก ศรัทธา หิริ โอตตัปปะ อโลภะ
อโทสะ จำแนกไว้ในฐานะ 2 อย่างไร ? จริงอยู่ บรรดาธรรม 7 เหล่านั้น
จิตก่อนท่านมุ่งถึงธรรมมีหมวด 5 แห่งผัสสะ ท่านเรียกว่า จิต เพ่งถึงอินทรีย์
ท่านเรียกว่า มนินทรีย์. วิตกถึงเป็นองค์ฌานก็เรียกว่า วิตก ถึงเป็นองค์มรรค

เรียกว่า สัมมาสังกัปปะ ศรัทธาเพ่งเป็นอินทรีย์เรียกว่า สัทธินทรีย์ เพ่งถึง
เป็นพละเรียกว่า สัทธาพละ หิริเพ่งถึงเป็นพละเรียกว่า หิริพละ เพ่งถึงธรรม
หมวด 2 แห่งโลกบาลเรียกว่า หิริ. แม้ในโอตตัปปะก็นัยนี้เหมือนกัน. อโลภะ
เพ่งถึงมูลเรียกว่า อโลภะ เพ่งถึงกรรมบถเรียกว่า อนภิชฌา. อโทสะเพ่งถึง
มูลเรียกว่า อโทสะ เพ่งถึงกรรมบถเรียกว่า อัพยาบาท. ธรรม 7 เหล่านี้
จำแนกแล้วในฐานะทั้ง 2.
ส่วนเวทนา เพ่งถึงธรรมหมวด 5 แห่งผัสสะเรียกว่า เวทนา เพ่งถึง
องค์ฌานเรียกว่า สุข เพ่งถึงอินทรีย์เรียกว่า โสมนัสสินทรีย์. ธรรมหนึ่งนี้
จำแนกไว้ในฐานะ 3 อย่างนี้.
ส่วนวิริยะเพ่งถึงอินทรีย์เรียกว่า วิริยินทรีย์ เพ่งถึงองค์มรรคเรียกว่า
สัมมาวายามะ เพ่งถึงพละเรียกว่า วิริยพละ เพ่งถึงปิฏฐิทุกะ เรียกว่า
ปัคคาหะ แม้สติเพ่งถึงอินทรีย์ก็เรียกว่า สตินทรีย์ เพ่งถึงองค์มรรคเรียกว่า
สัมมาสติ เพ่งถึงพละเรียกว่า สติพละ เพ่งถึงปิฏฐิทุกะ เรียกว่า สติ.
ธรรม 2 เหล่านั้นจำแนกไว้ในฐานะ 4 ด้วยประการฉะนี้.
ส่วนสมาธิเพ่งถึงองค์ฌานเรียกว่า จิตเตกัคคตา เพ่งถึงอินทรีย์เรียกว่า
สมาธินทรีย์ เพ่งถึงองค์มรรคเรียกว่า สัมมาสมาธิ เพ่งถึงพละเรียกว่า สมาธิ-
พละ เพ่งถึงปิฏฐิทุกะ เรียกว่า สมถะและอวิกเขปะ ธรรมอย่างหนึ่งนี้จำแนก
ไว้ในฐานะ 6 ด้วยประการฉะนี้.
ส่วนปัญญาเพ่งถึงอินทรีย์ เรียกว่าปัญญินทรีย์ เพ่งถึงองค์มรรค
เรียกว่าสัมมาทิฏฐิ เพ่งถึงพละ เรียกว่า ปัญญาพละ เพ่งถึงมูล เรียกว่า อโมหะ
เพ่งถึงกรรมบถ เรียกว่า สัมมาทิฏฐิ เพ่งถึงปิฏฐิทุกะ เรียกว่า สัมปชัญญะ
และวิปัสสนา ธรรมหนึ่งนี้จำแนกไว้ในฐานะ 7 ด้วยประการฉะนี้.

ก็ถ้าบุคคลไรๆพึงท้วงว่า ในพระบาลีนี้ ขึ้นชื่อว่าบทที่ไม่เคยมี หามีไม่
เพราะพระองค์ทรงกำหนดธรรมที่ทรงถือเอาแล้วในหนหลังนั่นแหละมาทำบท
ให้เต็มในฐานะนั้น ๆ กถาที่ไม่มีอนุสนธิเช่นกับสิ่งของอันพวกโจรลักมาสุมกันไว้
เช่นกับหญ้าที่ฝูงโคเหยียบย่ำที่ทางเดิน อันพระพุทธเจ้าไม่ทรงรู้แล้วจึงตรัสไว้
ไซร้ บุคคลนั้นพึงถูกกล่าวปฏิเสธว่า ไม่ควรกล่าวอย่างนั้น ธรรมดาว่าเทศนา
ของพระพุทธเจ้าทั้งหลายที่ไม่มีอนุสนธิ หามีไม่ เป็นเทศนาที่มีอนุสนธิ
แม้ถ้อยคำที่ไม่ทรงทราบตรัสไว้ก็ไม่มี เรื่องทั้งหมดพระองค์ทรงทราบแล้วจึงตรัส
ไว้ทั้งนั้น. จริงอยู่ พระสัมมาสัมพุทธะทรงทราบหน้าที่ (กิจ) ของธรรมเหล่า
นั้น ๆ ครั้นทรงทราบกิจนั้นแล้วจึงทรงยกขึ้นจำแนกไปตามหน้าที่ ทรงทราบ
ธรรม 18 อย่าง ว่ามีหน้าที่แต่ละอย่าง จึงทรงยกขึ้นจำแนกไว้ในฐานะแต่
ละฐานะ ทรงทราบธรรม 7 อย่าง มีหน้าที่อย่างละ 2 จึงทรงยกขึ้นจำแนก
ในฐานะ 2 ทรงทราบเวทนามีหน้าที่ 3 ในฐานะ 3 จึงทรงยกขึ้น
จำแนกในฐานะ 3 ทรงทราบวิริยะและสติมีหน้าที่ 4 อย่าง จึงทรงยกขึ้น
จำแนกในฐานะ 4 ทรงทราบสมาธิมีหน้าที่ 6 อย่าง จึงทรงยกขึ้นจำแนกใน
ฐานะ 6 ทรงทราบ ปัญญาที่ 7 จึงทรงยกขึ้นจำแนกในฐานะ 7 ในข้อ
นั้นมีอุปมา ดังนี้.
ได้ยินว่า พระราชาพระองค์หนึ่งทรงเป็นบัณฑิตเสด็จประทับอยู่ในที่
เฉพาะพระองค์แล้วทรงดำริว่า เราจักเพิ่มสินจ้างอันสมควรแก่ผู้รู้ศิลปะโดย
ประการที่ไม่พึงเสียทรัพย์พระคลังหลวงนี้ ท้าวเธอจึงตรัสให้เรียกนักศิลปะ
ทั้งหมดประชุมกัน แล้วตรัสว่า พวกเธอจงเชิญคนที่มีความรู้เฉพาะอย่างเดียว
มา เมื่อพระองค์ตรัสให้เรียกอย่างนี้ ชนทั้ง 18 ก็ลุกขึ้นมาแล้วก็พระราชทาน
ให้ชนเหล่านั้นคนละส่วน. เมื่อพระราชาตรัสว่า ผู้รู้ศิลปะ 2 อย่างจงมา คน
7 คนพากันมาเฝ้า พระองค์ก็ทรงพระราชทานให้คนเหล่านั้นคนละ 2 ส่วน

เมื่อตรัสว่าผู้รู้ศิลปะ 3 อย่างจงมา มีคนเพียงคนเดียวเข้ามาเฝ้า พระองค์ก็
พระราชทานให้คนนั้น 3 ส่วน เมื่อพระองค์ตรัสว่า ผู้รู้ศิลปะ 4 อย่างจงมา
ก็มีคน 2 คนเข้ามาเฝ้า พระองค์ก็พระราชทานให้คนละ 4 ส่วน เมื่อพระองค์
ตรัสว่า ผู้รู้ศิลปะ 5 อย่างจงมา แม้คนเดียวก็ไม่มา เมื่อตรัสว่า ผู้รู้ศิลปะ
6 อย่างจงมา มีเพียงคนเดียวเท่านั้นเข้ามา พระองค์ก็พระราชทานให้ 6 ส่วน
แก่เขา เมื่อตรัสว่า ผู้รู้ศิลปะ 7 อย่างจงมา มีเพียงคนเดียวเท่านั้นเข้ามา
พระองค์ก็พระราชทานให้เขาถึง 7 ส่วน.
ในเรื่องนั้นมีข้ออุปมา ดังนี้.
พระมาสัมพุทธะผู้ทรงเป็นธรรมราชาไม่มีใครยิ่งกว่า เปรียบ
เหมือนพระราชาผู้เป็นบัณฑิต ธรรมทั้งหลายซึ่งเกิดขึ้นด้วยอำนาจแห่งการ
เป็นองค์ของจิต เปรียบเหมือนชนผู้รู้ศิลปะ การที่พระองค์ทรงยกธรรมเหล่า
นั้น ๆ ขึ้นจำแนกด้วยสามารถแห่งหน้าที่ เปรียบเหมือนการเพิ่มค่าจ้างให้สมควร
แก่ผู้รู้ศิลปะ ก็ธรรมเหล่านี้แม้ทั้งหมดเป็นกองแห่งธรรม 17 หมวด คือ
หมวดธรรม 5 มีผัสสะเป็นต้น องค์แห่งฌาน 1 อินทรีย์ 1 องค์แห่งมรรค 1
พละ 1 มูล 1 กรรมบถ 1 โลกบาล 1 ปัสสัทธิ 1 ลหุตา 1 มุทุตา 1
กัมมัญญตา 1 ปาคุญญตา 1 อุชุกตา 1 สัมปชัญญะ 1 สมถวิปัสสนา 1
ปัคคาหาวิกเขปะ 1.
จบกถาว่าด้วยธรรมุทเทสวาร.

บาลีนิทเทสวาร



[17] ผัสสะ มีในสมัยนั้น เป็นไฉน ?
การกระทบ กิริยาที่กระทบ กิริยาที่ถูกต้อง ความถูกต้อง ในสมัยนั้น
อันใด นี้ชื่อว่า ผัสสะมีในสมัยนั้น.
[18] เวทนา มีในสมัยนั้น เป็นไฉน ?
ความสบายทางใจ ความสุขทางใจ อันเกิดแต่สัมผัสแห่งมโนวิญญาณ.
ธาตุที่สมกัน ความเสวยอารมณ์ที่สบายเป็นสุขอันเกิดแต่เจโตสัมผัส กิริยา
เสวยอารมณ์ที่สบายเป็นสุขอันเกิดแต่เจโตสัมผัส ในสมัยนั้น อันใด นี้ชื่อว่า
เวทนา มีในสมัยนั้น.
[19 ] สัญญา มีในสมัยนั้น เป็นไฉน ?
การจำ กิริยาที่จำ ความจำ อันเกิดแต่สัมผัสแห่งมโนวิญญาณธาตุที่
สมกัน ในสมัยนั้น อันใด นี้ชื่อว่า สัญญามีในสมัยนั้น.
[20] เจตนา มีในสมัยนั้น เป็นไฉน ?
การคิด กิริยาที่คิด ความคิด อันเกิดแต่สัมผัสแห่งมโนวิญญาณธาตุ
ที่สมกัน ในสมัยนั้น อันใด นี้ชื่อว่า เจตนามีในสมัยนั้น.
[21] จิต มีในสมัยนั้น เป็นไฉน ?
จิต มโน มานัส หทัย ปัณฑระ* มโน มนายตนะ มนินทรีย์
วิญญาณ วิญญาณขันธ์ มโนวิญญาณธาตุที่สมกัน ในสมัยนั้น อันใด นี้ชื่อว่า
จิตมีในสมัยนั้น.
* ธรรมชาติที่ผ่องใส