เมนู

ย่อมได้ธรรม 4 อย่าง (ฉันทะ อธิโมกข์ มนสิการ ตัตรมัชฌัตตตา) ซึ่งเป็น
ส่วนประกอบที่แน่นอน.

อธิบายฉันทะเป็นต้น



บรรดาเยวาปนกธรรมทั้ง 9 เหล่านี้ ดังที่พรรณนามานี้ คำว่า ฉันทะ
เป็นชื่อของกัตตุกัมยตา
เพราะฉะนั้น ฉันทะนั้น จึงมีความเป็นผู้ใคร่
เพื่อจะทำเป็นลักษณะ มีการแสวงหาอารมณ์เป็นกิจ มีการต้องการอารมณ์เป็น
ปัจจุปัฏฐาน อารมณ์ของฉันทะนั้นนั่นแหละเป็นปทัฏฐาน ก็ฉันทะนี้ในการ
ยึดอารมณ์ บัณฑิตพึงเห็นเหมือนจิตเหยียดมือออกไป.
ความน้อมใจเชื่อ ชื่อว่า อธิโมกข์ อธิโมกข์นั้นมีการตกลงใจเป็น
ลักษณะ มีการไม่ส่ายไปเป็นรส มีการตัดสินเป็นปัจจุปัฏฐาน มีธรรมที่พึงตกลง
ใจเป็นปทัฏฐาน อธิโมกข์นี้พึงเห็นเหมือนเสาเขื่อนเพราะความไม่หวั่นไหวใน
อารมณ์.
การกระทำ ชื่อว่า การะ การกระทำไว้ในใจชื่อว่า มนสิการ
ธรรมที่ชื่อว่า มนสิการ เพราะทำใจให้ขึ้นสู่วิถีจากภวังคจิต. มนสิการนี้นั้น
มี 3 ประการ คือ
อารัมมณปฏิปาทกะ (สังขารขันธ์)
วิถีปฏิปาทกะ (ปัญจทวาราวัชชนจิต)
ชวนปฏิปาทกะ (มโนทวาราวัชชนจิต).
บรรดามนสิการทั้ง 3 นั้น มนสิการที่ทำจิตให้รับอารมณ์ ชื่อว่า
มนสิการ เพราะกระทำไว้ในใจ. มนสิการที่ทำจิตให้รับอารมณ์นั้น มีการ
ทำสัมปยุตตธรรมให้รับอารมณ์เป็นลักษณะ มีการประกอบสัมปยุตธรรม