เมนู

สัมมาทิฏฐิ เพราะย่อมเห็นโดยชอบ หรือเห็นอันงาม. คำว่า อนภิชฌา
เป็นต้นเหล่านั้นเป็นชื่อของธรรมมีความไม่โลภเป็นต้นนั่นแหละ ก็ธรรมเหล่านี้
พึงทราบว่า ในตอนต้นท่านถือเอาด้วยสามารถแห่งความเป็นมูล ในที่นี้พึง
ทราบว่า ท่านถือเอาด้วยสามารถแห่งกรรมบถ.
แม้หิริและโอตตัปปะก็พึงทราบว่า ในตอนต้นท่านถือเอาด้วย
อำนาจแห่งความเป็นพละ ในที่นี้พึงทราบด้วยอำนาจแห่งโลกบาล. จริงอยู่
ธรรมทั้ง 2 นี้ย่อมรักษาโลก เหมือนอย่างที่ตรัสไว้ว่า
ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย สุกกธรรมทั้ง 2 เหล่านี้ ย่อมรักษาโลก ธรรม
2 ประการเป็นไฉน ? คือ หิริและโอตตัปปะ ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย สุกกธรรม
2 เหล่านี้แลย่อมรักษาโลก ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ถ้าสุกกธรรม 2 เหล่านี้ ไม่
พึงคุ้มครองโลกไซร้ ในโลกนี้ก็ไม่พึงปรากฏ คำว่า แม่ น้า ป้า ภรรยา
ของอาจารย์ หรือภรรยาของครู ชาวโลกจักถึงแล้วซึ่งการปะปนกันเหมือน
อย่างพวกแพะ แกะ ไก่ สุกร สุนัขบ้าน สุนัขจิ้งจอก ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย
ก็เพราะสุกกธรรมทั้ง 2 เหล่านี้ย่อมคุ้มครองโลก ฉะนั้น จึงยังปรากฏคำว่า
แม่ น้า ป้า ภรรยาของอาจารย์ หรือภรรยาของครู ดังนี้.

ความหมายของยุคลธรรม



ความสงบกายชื่อว่า กายปัสสัทธิ ความสงบจิตชื่อว่า จิตตปัสสัทธิ
คำว่า กาย ในคำว่า กายปัสสัทธินี้ ได้แก่ ขันธ์ 3 มีเวทนาขันธ์เป็นต้น
อนึ่ง ปัสสัทธิธรรมทั้ง 2 แม้เหล่านี้รวมกันแล้ว พึงเห็นว่ากายปัสสัทธิและ
จิตตปัสสัทธิ มีการระงับความกระวนกระวายทางกายและทางจิตเป็นลักษณะ
มีการกำจัดความกระวนกระวายทางกายและจิตเป็นรส มีการเยือกเย็นไม่

เร่าร้อนแห่งกายและจิตเป็นปัจจุปัฏฐาน มีกาย (เจตสิก) และจิตเป็นปทัฏฐาน
เป็นปฏิปักษ์ต่อกิเลส มีอุทธัจจะอันกระทำความไม่สงบเป็นต้นแห่งกายและจิต.
ความเบาแห่งกาย ชื่อว่า กายลหุตา. ความเบาแห่งจิต ชื่อว่า
จิตตลหุตา. ลหุตาทั้ง 2 นั้น พึงเห็นว่า มีความสงบความหนักกายและจิต
เป็นลักษณะ มีการกำจัดความหนักกายและจิตเป็นรส มีความไม่ชักช้าแห่งกาย
และจิตเป็นปัจจุปัฏฐาน มีกายและจิตเป็นปทัฏฐาน เป็นปฏิปักษ์ต่อกิเลส
มีถีนมิทธะเป็นต้นที่กระทำความหนัก.
ความอ่อนแห่งกาย ชื่อว่า กายมุทุตา. ความอ่อนแห่งจิต ชื่อว่า
จิตตมุทุตา. กายและจิตตมุทุตาเหล่านั้น มีความสงบความกระด้างกายและจิต
เป็นลักษณะ มีการกำจัดความกระด้างกายและจิตเป็นรส มีการไม่คับแค้นใจ
เป็นปัจจุปัฏฐาน มีกายและจิตเป็นปทัฏฐาน พึงเห็นว่า เป็นปฏิปักษ์ต่อกิเลส
มีทิฏฐิและมานะเป็นต้น อันการทำความที่กายและจิตให้กระด้าง.
ความควรแก่การงานของกาย ชื่อว่า กายกัมมัญญตา ความควร
แก่การงานของจิต ชื่อว่า จิตตกัมมัญญตา. กัมมัญญตาทั้ง 2 นั้น มีการ
เข้าไปสงบความไม่ควรแก่การงานของกายและจิตเป็นลักษณะ มีการกำจัดการ
ไม่ควรแก่การงานของกายและจิตเป็นรส มีการถึงพร้อมด้วยการทำกายและจิต
สมควรแก่อารมณ์เป็นปัจจุปัฏฐาน มีกายและจิตเป็นปทัฏฐาน พึงเห็นว่า
เป็นปฏิปักษ์ต่อนิวรณ์ที่เหลือ อันกระทำความไม่ควรแก่การงานของกายและ
จิต. และพึงเห็นกัมมัญญตาทั้ง 2 นั้น เป็นธรรมนำมาซึ่งความเลื่อมใส ใน
วัตถุอันเป็นที่ตั้งแห่งความเลื่อมใสทั้งหลาย เป็นการนำมาซึ่งความเกษม
เหมาะสมในการทำประโยชน์เกื้อกูลดุจความหมดจดแห่งทอง ฉะนั้น.

ความเป็นแห่งการคล่องแคล่วของกาย ชื่อว่า กายปาคุญญตา ความ
เป็นแห่งการคล่องแคล่วของจิต ชื่อว่า จิตตปาคุญญตา. ปาคุญญตาทั้ง 2
นั้น มีการไม่ขัดข้องของกายและจิตเป็นลักษณะ มีการกำจัดความขัดข้องของ
กายและจิตเป็นรส มีการปราศจากโทษเป็นปัจจุปัฏฐาน มีกายและจิตเป็น
ปทัฏฐาน พึงเห็นว่า เป็นปฏิปักษ์ต่อกิเลส คือความเป็นผู้ไม่มีศรัทธาเป็นต้น
อันกระทำความขัดข้องของกายและจิต.
ความตรงของกาย ชื่อว่า กายุชุกตา ความตรงของจิต ชื่อว่า
จิตตุชุกตา. อุชุกตาทั้ง 2 นั้น มีการตรงของกายและจิตเป็นลักษณะ มีการ
กำจัดการคดของกายและจิตเป็นรส มีการซื่อตรงของกายและจิตเป็นปัจจุปัฏฐาน
มีกายและจิตเป็นปทัฏฐาน พึงทราบว่า เป็นปฏิปักษ์ต่อกิเลส มีมายาและ
สาเถยยะเป็นต้น อันกระทำความคดโค้งของกายและจิต.
ธรรมที่ชื่อว่า สติ เพราะระลึก ชื่อว่า สัมปชัญญะ เพราะรู้ตัว
อธิบายว่า ย่อมรู้โดยประการต่าง ๆ รอบด้าน ก็บรรดาธรรมทั้ง 2 นั้น พึงทราบ
สัมปชัญญะ 4 ประเภทเหล่านี้ คือ สาตถกสัมปชัญญะ สัปปายสัมปชัญญะ
โคจรสัมปชัญญะ อสัมโมหสัมปชัญญะ ส่วนธรรมมีลักษณะเป็นต้นของสติและ
สัมปชัญญะเหล่านั้น พึงทราบโดยนัยที่กล่าวในสตินทรีย์ และปัญญินทรีย์นั่น-
แหละ คู่ธรรมนี้ ตรัสไว้ในหนหลังแล้ว ในที่นี้ตรัสไว้อีกด้วยสามารถแห่ง
ความเป็นธรรมมีอุปการะด้วยประการฉะนี้.
ธรรมที่ชื่อว่า สมถะ เพราะสงบธรรมที่เป็นข้าศึกมีกามฉันทะเป็นต้น.
ชื่อว่า วิปัสสนา เพราะเห็นธรรมทั้งหลายโดยอาการต่าง ๆ ด้วยสามารถแห่ง
ความไม่เที่ยงเป็นต้น โดยอรรถะวิปัสสนานี้ก็คือปัญญานั่นเอง. ธรรมมีลักษณะ
เป็นต้นแห่งสมถะและวิปัสสนาแม้เหล่านั้นมีเนื้อความตามที่กล่าวไว้แล้วในหน-

หลังนั่นแล แต่ถือเอาในที่นี้อีกด้วยสามารถแห่งธรรมยุคนัทธะ (ธรรมเนื่อง
กันเหมือนแอก).
ธรรมที่ชื่อว่า ปัคคาหะ เพราะประคองสหชาตธรรม. ที่ชื่อว่า
อวิกเขปะ เพราะความไม่ฟุ้งซ่านโดยปฏิปักษ์ต่อความฟุ้งซ่าน คือ อุทธัจจะ
ธรรมมีลักษณะเป็นต้น แม้แห่งธรรมทั้ง 2 นี้ กล่าวไว้แล้วในหนหลังนั่นแหละ
ก็ธรรมทั้ง 2 นี้ พึงทราบว่าถือเอาในที่นี้เพื่อการประกอบวิริยะและสมาธิแล.

อธิบายคำว่า เยวาปนกนัย



คำว่า เยวาปน ตสฺมึ สมเย อญฺเญปิ อตฺถิ ปฏิจฺจสมุปฺปนฺนา
อรูปิโน ธมฺมา อิเม ธมฺมา กุสลา
(ก็หรือว่า ในสมัยนั้น ธรรมที่มิใช่
รูป ซึ่งอาศัยกันและกันเกิดขึ้น แม้อื่นใดมีอยู่ ธรรมเหล่านี้ชื่อว่า กุศล)
พึงทราบวินิจฉัยดังต่อไปนี้.
กุศลธรรมเกิน 50 (ปโรปณฺณาสธมฺมา) เหล่านี้ พระผู้มีพระภาคเจ้า
ทรงยกขึ้นแสดงโดยลำดับว่า ผัสสะย่อมมี ฯลฯ อวิกเขปะย่อมมีอย่างเดียว
ก็หาไม่ โดยที่แท้ทรงแสดงว่า ในสมัยใด มหาจิตเป็นอสังขาริก ดวงที่หนึ่ง
สหรคตด้วยโสมนัสสติเหตุกะฝ่ายกามาวจรย่อมเกิดขึ้น ในสมัยนั้น ธรรมแม้
เหล่าอื่นที่เป็นเยวาปนกธรรม ที่สัมปยุตด้วยธรรมเหล่านั้นนั่นแหละ มีผัสสะ
เป็นต้น ซึ่งอาศัยปัจจัยอันสมควรแก่ตน ๆ เกิดขึ้น ชื่อว่า อรูป เพราะความ
ไม่มีรูป ซึ่งกำหนดได้โดยสภาวะ ธรรมเหล่านั้นแม้ทั้งหมดเป็นกุศล.
พระผู้มีพระภาคเจ้าผู้ธรรมราชาครั้นแสดงธรรมเกิน 50 ที่ยกขึ้นไว้ใน
บาลีด้วยอำนาจแห่งส่วนประกอบของจิตด้วยพุทธพจน์มีประมาณเท่านี้แล้วจึง
ทรงแสดงธรรม 9 อย่าง แม้อื่นอีกด้วยสามารถแห่งเยวาปนกธรรม. จริงอยู่
บรรดาบทพระสูตรเหล่านั้น ๆ ธรรม 9 เหล่านี้ย่อมปรากฏ คือ