เมนู

ในภังคขณะเพราะตนเองก็ต้องแตกดับ ดุจไส้น้ำมันสิ้นไปอยู่ เปลวประทีป
ก็ดับไป บัณฑิตไม่พึงเห็นชีวิตินทรีย์ว่าเว้นจากอานุภาพแห่งการรักษา การ
ให้เป็นไป การดำรงไว้เพราะชีวิตินทรีย์ยังอานุภาพนั้น ๆให้สำเร็จ ดังนี้.

อธิบายว่าด้วยสัมมาทิฏฐิเป็นต้น



พึงทราบวินิจฉัยในคำว่า สัมมาทิฏฐิ เป็นต้น องค์มรรคที่ชื่อว่า
สัมมาทิฏฐิ เพราะอรรถว่าการเห็น. ชื่อว่า สัมมาสังกัปปะ เพราะอรรถ
ว่าการยกขึ้น. ชื่อว่า สัมมาวายามะ เพราะอรรถว่าการประคอง. ชื่อว่า
สัมมาสติ เพราะอรรถว่าการอุปการะ. ชื่อว่า สัมมาสมาธิ เพราะอรรถว่า
การไม่ฟุ้งซ่าน. ก็ว่าโดยวจนัตถะ คือความหมายของพระบาลี ชื่อว่า
สัมมาทิฏฐิ เพราะเห็นชอบหรือว่าเป็นเหตุให้เห็นชอบ. ชื่อว่า สัมมา-
สังกัปปะ
เพราะดำริชอบหรือว่าเป็นเหตุให้ดำริชอบ. ชื่อว่า สัมมาวายามะ
เพราะพยายามชอบหรือว่าเป็นเหตุให้พยายามชอบ. ชื่อว่า สัมมาสติ เพราะ
ระลึกชอบหรือว่าเป็นเหตุให้ระลึกชอบ. ชื่อว่า สัมมาสติ เพราะตั้งมั่น
โดยชอบหรือว่าเป็นเหตุให้ตั้งมั่นโดยชอบ. อีกอย่างหนึ่ง พึงทราบวจนัตถะ
ขององค์มรรคนั้นโดยนัยแม้นี้ว่า ทิฏฐิอันบัณฑิตสรรเสริญแล้วเป็นทิฏฐิดี
ชื่อว่า สัมมาทิฏฐิ. ส่วนธรรมมีลักษณะเป็นต้น ข้าพเจ้ากล่าวไว้แล้วใน
หนหลังนั่นแหละ.

อธิบายว่าด้วยศรัทธาพละเป็นต้น



ธรรมมีศรัทธาพละเป็นต้น มีเนื้อความตามกล่าวไว้แม้ในศรัทธาพละ
นั่นแหละ แต่ว่าพึงทราบว่าพละเพราะอรรถว่าไม่หวั่นไหว. บรรดาธรรม
เหล่านั้น ธรรมที่ชื่อว่า ศรัทธาพละ เพราะไม่หวั่นไหวไปในความเป็น
ผู้ไม่มีศรัทธา ชื่อว่า วิริยพละ เพราะไม่หวั่นไหวไปในความเกียจคร้าน.

ชื่อว่า สติพละ เพราะไม่หวั่นไหวไปในความหลงลืมสติ. ชื่อว่า สมาธิพละ
เพราะไม่หวั่นไหวไปในความฟุ้งซ่าน. ชื่อว่า ปัญญาพละ เพราะไม่หวั่นไหว
ไปในอวิชชา. ชื่อว่า หิริพละ เพราะไม่หวั่นไหวไปในอหิริกะ. ชื่อว่า
โอตตัปปพละ เพราะไม่หวั่นไหวไปในอโนตตัปปะ นี้เป็นการพรรณนา
เนื้อความด้วยอำนาจบททั้งสอง ด้วยประการฉะนี้.
บรรดาพละ 7 เหล่านั้น พละ 5 เบื้องต้นข้าพเจ้าประกาศแล้วโดย
ลักษณะเป็นต้นนั่นแหละ พละ 2 บทหลัง มีคำอธิบายว่า ธรรมที่ชื่อว่า. หิริ
เพราะละอายแต่กายทุจริตเป็นต้น คำว่า หิรินี้เป็นชื่อของความละอาย ชื่อว่า
โอตตัปปะ เพราะความเกรงกลัวแต่กายทุจริตเป็นต้นเหล่านั้นเหมือนกัน
คำว่าโอตตัปปะนี้เป็นชื่อของความเกรงกลัวต่อบาป. เพื่อการแสดงความต่างกัน
แห่งหิริและโอตตัปปะทั้ง 2 นั้น ท่านจึงเริ่มตั้งมาติกา (แม่บท) นี้ว่า
สมุฏฺฐานํ อธิปติลชฺชาภยลกฺขเณน วา (สมุฏฐาน อธิบดี ลัชชาภัย และ
ลักษณะ) ดังนี้.
ว่าโดยสมุฏฐานเป็นต้น ชื่อว่า หิริ เพราะมีเหตุภายในเป็น
สมุฏฐาน. ชื่อว่า โอตตัปปะ เพราะมีเหตุภายนอกเป็นสมุฏฐาน. ชื่อว่า
หิริ เพราะมีอัตตาเป็นอธิบดี ชื่อว่า โอตตัปปะ เพราะมีโลกเป็นอธิบดี.
ชื่อว่า หิริ เพราะตั้งอยู่โดยสภาพแห่งความละอาย. ชื่อว่า โอตตัปปะ
เพราะตั้งอยู่โดยสภาพแห่งความกลัว. ชื่อว่า หิริ เพราะมีความเคารพเชื่อฟัง
เป็นลักษณะ ชื่อว่า โอตตัปปะ เพราะมีความกลัวโทษและเห็นเป็นลักษณะ
บรรดาหิริและโอตตัปปะเหล่านั้น บุคคลย่อมให้หิริอันมีเหตุภายในเป็น
สมุฏฐานด้วยเหตุ 4 คือ พิจารณาถึงชาติ พิจารณาถึงวัย พิจารณาถึงความ
เป็นผู้กล้า พิจารณาถึงความเป็นพหูสูต. ถามว่า พิจารณาอย่างไร ตอบว่า

เบื้องต้นบุคคลพิจารณาถึงชาติอย่างนี้ว่า ขึ้นชื่อว่า การกระทำความชั่วนี้ไม่ใช่
การงานของบุคคลสมบูรณ์ด้วยชาติ การงานนี้เป็นของบุคคลผู้มีชาติมีพวกประมง
เป็นต้น การงานนี้ไม่สมควรแก่บุคคลผู่สมบูรณ์ด้วยชาติ เช่นดังเรา แล้วไม่ทำ
ปาณาติบาต เป็นต้น ชื่อว่า ยังหิริให้ตั้งขึ้น.
อนึ่ง บุคคลผู้พิจารณาถึงวัยอย่างนี้ว่า ขึ้นชื่อว่า การทำบาปนี้เป็น
การกระทำอันคนหนุ่มทั้งหลายพึงกระทำ การทำนี้ไม่สมควรแก่ผู้ดำรงอยู่ในวัย
เช่นอย่างเรา แล้วไม่ทำปาณาติบาตเป็นต้น ชื่อว่า ย่อมยังหิริให้ตั้งขึ้น.
อนึ่ง บุคคลพิจารณาถึงความเป็นผู้กล้าอย่างนี้ว่า ขึ้นชื่อว่า การทำ
บาปนี้เป็นการทำของบุคคลผู้มีชาติอ่อนแอ การทำนี้ไม่สมควรแก่บุคคลผู้
สมบูรณ์ด้วยความกล้าเช่นเรา แล้วไม่ทำปาณาติบาตเป็นต้น ชื่อว่า ย่อมยัง
หิริให้ตั้งขึ้น
.
อนึ่ง บุคคลพิจารณาถึงความเป็นพหูสูตอย่างนี้ว่า ขึ้นชื่อว่าการทำบาป
นี้เป็นการกระทำของบุคคลอันพาลไม่ใช่ของบัณฑิต การทำนี้ไม่สมควรแก่
บุคคลผู้เป็นพหูสูตผู้เป็นบัณฑิตเช่นกับเราแล้วไม่ทำบาป ชื่อว่า ย่อมยังหิริ
ให้ตั้งขึ้น
ด้วยอาการอย่างนี้ บุคคลชื่อว่า ย่อมยังหิริอันมีเหตุภายในเป็น
สมุฏฐานให้ตั้งขึ้นด้วยเหตุ 4 อย่าง ก็และครั้นให้ตั้งขึ้น คือให้หิริเข้าไปตั้ง
ไว้ในจิตของตนไม่กระทำบาปกรรม ชื่อว่า หิริ มีเหตุภายในเป็นสมุฏฐาน
ด้วยประการฉะนี้.
ถามว่า ชื่อว่า โอตตัปปะ มีเหตุภายนอกเป็นสุมุฏฐาน อย่างไร
ตอบว่า ถ้าท่านจักทำบาป ท่านก็จักถูกบริษัท 4 ติเตียน จริงอยู่ เมื่อบุคคล
พิจารณาอยู่อย่างนี้ว่า

วิญญูชนทั้งหลายจักติเตียนเธอ เธอ
จักเป็นอันบุคคลผู้มีศีลทั้งหลายเว้นแล้ว
เหมือนชาวพระนครเว้นของไม่สะอาด
ดูก่อนภิกษุ เธอจักทำอย่างไรเล่า
ดังนี้.
บุคคลนั้นย่อมไม่ทำบาปกรรมเพราะโอตตัปปะอันเหตุภายนอกเป็น
สมุฏฐาน ชื่อว่า โอตตัปปะ มีเหตุภายนอกเป็นสมุฏฐาน ด้วยประการฉะนี้.
ถามว่า ชื่อว่า หิริ มีอัตตาเป็นอธิบดี อย่างไร. ตอบว่า กุลบุตรบาง
คนในโลกนี้กระทำตนให้เป็นใหญ่ให้เป็นหัวหน้าแล้วคิดว่า การทำความชั่ว
ไม่สมควรแก่บุคคลผู้บวชด้วยศรัทธา เป็นพหูสูต ผู้ปฏิบัติธุดงค์ ผู้เช่นกับเรา
แล้วไม่ทำบาปกรรม ชื่อว่า หิริ มีอัตตาเป็นอธิบดี อย่างนี้ เพราะเหตุนั้น
พระผู้มีพระภาคเจ้าจึงตรัสว่า บุคคลนั้นกระทำตนเท่านั้นให้เป็นใหญ่ ให้เป็น
หัวหน้าแล้วย่อมละอกุศล เจริญกุศล ย่อมละธรรมที่มีโทษ เจริญธรรมไม่มี
โทษ ย่อมบริหารตนให้หมดจด ดังนี้.
ถามว่า ชื่อว่า โอตตัปปะ มีโลกเป็นอธิบดี อย่างไร ตอบว่า
กุลบุตรบางคนในโลกนี้กระทำโลกให้เป็นใหญ่ ให้เป็นหัวหน้า แล้วไม่ทำบาป-
กรรม เหมือนอย่างที่ตรัสไว้ว่า ก็โลกสันนิวาสนี้ใหญ่แล อนึ่ง ในโลกสันนิวาส
ใหญ่แล ย่อมมีสมณพราหมณ์ทั้งหลายผู้มีฤทธิ์ มีทิพยจักษุ รู้จิตของผู้อื่น
สมณพราหมณ์เหล่านั้นย่อมมองเห็นได้แม้แต่ที่ไกล แม้แต่ที่ใกล้เราก็มองไม่
เห็นท่าน สมณพราหมณ์เหล่านั้นย่อมรู้ชัดซึ่งจิตแม้ด้วยจิต ท่านแม้เหล่านั้น
จักรู้เราอย่างนี้ว่า ดูก่อนท่านผู้เจริญทั้งหลาย จงดูกุลบุตรนี้ซิ เขาเป็นผู้มีศรัทธา
ออกจากเรือน บวชเป็นบรรพชิตผู้ไม่มีเรือน แต่เกลื่อนกล่นด้วยอกุศลธรรม
อันลามกอยู่ ดังนี้ ถึงเทวดาทั้งหลายที่มีฤทธิ์ มีทิพยจักษุ รู้ใจผู้อื่นก็มีอยู่

เทวดาเหล่านั้นย่อมมองเห็นได้แม้แต่ที่ไกล แม้ท่านอยู่ใกล้พวกเราก็ไม่เห็น
เทวดาเหล่านั้นย่อมรู้ชัดซึ่งจิตแม้ด้วยจิต ถึงพวกเทวดาเหล่านั้นก็จักรู้เรา
อย่างนี้ว่า ท่านผู้เจริญทั้งหลาย จงดูกุลบุตรนี้ซิ เป็นผู้มีศรัทธาออกจากเรือน
บวชเป็นบรรพชิตผู้ไม่มีเรือน แต่เกลื่อนกล่นไปด้วยอกุศลธรรมอันลามก
ทั้งหลายอยู่ ดังนี้ บุคคลนั้นกระทำโลกเท่านั้นให้เป็นใหญ่ เป็นหัวหน้าแล้ว
ย่อมละอกุศล เจริญกุศล ย่อมละธรรมที่มีโทษ เจริญธรรมไม่มีโทษ ย่อม
บริหารตนให้หมดจด ชื่อว่า โอตตัปปะ มีโลกเป็นอธิบดี ด้วยประการฉะนี้.
ก็บัณฑิตพึงทราบเนื้อความในคำว่า หิริ อันตั้งขึ้นด้วยสภาวะ คือ
ความละอาย และโอตตัปปะอันตั้งขึ้นด้วยสภาวะคือความกลัวต่อไป คำว่า
ละอาย ได้แก่ อาการที่น่าละอาย อธิบายว่า หิริตั้งอยู่โดยสภาวะที่น่าละอาย
นั้น. คำว่า กลัว ได้แก่ กลัวอบาย อธิบายว่า โอตตัปปะตั้งอยู่โดยสภาวะ
ที่กลัวนั้น. หิริและโอตตัปปะแม้ทั้ง 2 นั้น ย่อมปรากฏในการเว้นจากความชั่ว.
จริงอยู่ คนบางคนก้าวลงสู่ธรรมคือ ความละอายในภายใน ย่อมไม่ทำบาป
เหมือนอย่างกุลบุตรบางคนผู้กระทำการถ่ายอุจจาระปัสสาวะเป็นต้น เห็นบุคคล
แม้คนเดียวที่ตนควรละอายก็พึงถึงอาการละอาย พึงแอบแล้วเป็นผู้ละอายแล้ว
ไม่ทำการถ่ายอุจจาระปัสสาวะฉะนั้น. คนบางคนเป็นผู้กลัวต่อภัยในอบายแล้ว
ก็ไม่ทำบาปกรรม. ในอธิการแห่งหิริและโอตตัปปะนั้น มีข้ออุปมาดังนี้
เปรียบเหมือนก้อนเหล็ก 2 ก้อน ก้อนหนึ่งเย็นแต่เปื้อนคูถ ก้อนหนึ่งร้อน
ลุกโพลง บรรดาก้อนเหล็กทั้ง 2 นั้น คนฉลาดรังเกียจก้อนเหล็กที่เย็นแต่
เปื้อนคูถจึงไม่จับ รังเกียจก้อนเหล็กนอกนี้เพราะกลัวความร้อน ในการ
อุปมานั้น พึงทราบการที่บุคคลก้าวลงสู่ธรรม คือความละอายภายในแล้วไม่ทำ
บาปเหมือนคนฉลาดไม่จับก้อนเหล็กเย็นที่เปื้อนคูถเพราะความรังเกียจ. พึง
ทราบการไม่ทำบาปเพราะกลัวอบาย เหมือนบุคคลไม่จับก้อนเหล็กร้อนเพราะ
กลัวความร้อน ฉะนั้น.

หิริมีความเคารพเชื่อฟังเป็นลักษณะ โอตตัปปะมีความกลัวโทษและ
เห็นภัยเป็นลักษณะ เพราะฉะนั้น ธรรมทั้ง 2 แม้นี้จึงปรากฏในการเว้นจาก
บาปเหมือนกัน. จริงอยู่ คนบางคนยังหิริอันมีความเคารพเชื่อฟังเป็นลักษณะ
ให้ตั้งขึ้นแล้วไม่ทำบาปด้วยเหตุ 4 คือ พิจารณาถึงชาติที่เป็นใหญ่ พิจารณาถึง
ศาสดาที่เป็นใหญ่ พิจารณาถึงความเป็นทายาทที่เป็นใหญ่ พิจารณาถึงเพื่อน
พรหมจารีที่เป็นใหญ่ บางคนยังโอตตัปปะอันมีความกลัวโทษและเห็นภัยเป็น
ลักษณะให้ตั้งขึ้นแล้วไม่ทำบาปด้วยเหตุ 4 คือ ภัยเกิดแต่การติเตียนตนเอง
ภัยเกิดเเต่การติเตียนแต่ผู้อื่น ภัยแต่อาชญา ภัยแต่ทุคติ. บรรดาเหตุทั้ง 8
เหล่านั้น บัณฑิตพึงกล่าวถึงการพิจารณาชาติที่เป็นใหญ่เป็นต้น และภัยมีการ
ติเตียนตนเองเป็นต้นให้พิสดาร.

ความหมายของคำว่า อโลภะ



ธรรมที่ชื่อว่า อโลภะ เพราะเป็นเหตุให้ไม่โลภ หรือว่า ตัวเอง
ไม่โลภ หรือว่าเป็นเพียงความไม่โลภ. แม้ในอโทสะและอโมหะก็นัยนี้เหมือน
กัน บรรดาธรรมทั้ง 3 เหล่านั้น อโลภะมีความที่จิตไม่กำหนัดในอารมณ์
เป็นลักษณะ หรือมีความที่จิตไม่ติดในอารมณ์เป็นลักษณะเหมือนหยดน้ำ
ไม่ติดบนใบบัว มีการไม่หวงแหนเป็นรสเหมือนภิกษุพ้นแล้ว มีการไม่ติดใจ
เป็นปัจจุปัฏฐานเหมือนบุรุษผู้ตกไปในของไม่สะอาด ฉะนั้น. อโทสะมีการไม่
ดุร้ายเป็นลักษณะ หรือว่า มีการไม่พิโรธเป็นลักษณะเหมือนมิตรผู้ช่วยเหลือ
มีการกำจัดความอาฆาตเป็นรส หรือว่า มีการกำจัดความเร่าร้อนเป็นรส
เหมือนเนื้อไม้จันทน์ มีความร่มเย็นเป็นปัจจุปัฏฐานเหมือนจันทร์เพ็ญ. ส่วน
อโมหะพร้อมทั้งลักษณะเป็นต้น ท่านตั้งบทอธิบายเหมือนปัญญินทรีย์ ตามที่
กล่าวแล้วในหนหลังนั่นแหละ.