เมนู

ในภังคขณะเพราะตนเองก็ต้องแตกดับ ดุจไส้น้ำมันสิ้นไปอยู่ เปลวประทีป
ก็ดับไป บัณฑิตไม่พึงเห็นชีวิตินทรีย์ว่าเว้นจากอานุภาพแห่งการรักษา การ
ให้เป็นไป การดำรงไว้เพราะชีวิตินทรีย์ยังอานุภาพนั้น ๆให้สำเร็จ ดังนี้.

อธิบายว่าด้วยสัมมาทิฏฐิเป็นต้น



พึงทราบวินิจฉัยในคำว่า สัมมาทิฏฐิ เป็นต้น องค์มรรคที่ชื่อว่า
สัมมาทิฏฐิ เพราะอรรถว่าการเห็น. ชื่อว่า สัมมาสังกัปปะ เพราะอรรถ
ว่าการยกขึ้น. ชื่อว่า สัมมาวายามะ เพราะอรรถว่าการประคอง. ชื่อว่า
สัมมาสติ เพราะอรรถว่าการอุปการะ. ชื่อว่า สัมมาสมาธิ เพราะอรรถว่า
การไม่ฟุ้งซ่าน. ก็ว่าโดยวจนัตถะ คือความหมายของพระบาลี ชื่อว่า
สัมมาทิฏฐิ เพราะเห็นชอบหรือว่าเป็นเหตุให้เห็นชอบ. ชื่อว่า สัมมา-
สังกัปปะ
เพราะดำริชอบหรือว่าเป็นเหตุให้ดำริชอบ. ชื่อว่า สัมมาวายามะ
เพราะพยายามชอบหรือว่าเป็นเหตุให้พยายามชอบ. ชื่อว่า สัมมาสติ เพราะ
ระลึกชอบหรือว่าเป็นเหตุให้ระลึกชอบ. ชื่อว่า สัมมาสติ เพราะตั้งมั่น
โดยชอบหรือว่าเป็นเหตุให้ตั้งมั่นโดยชอบ. อีกอย่างหนึ่ง พึงทราบวจนัตถะ
ขององค์มรรคนั้นโดยนัยแม้นี้ว่า ทิฏฐิอันบัณฑิตสรรเสริญแล้วเป็นทิฏฐิดี
ชื่อว่า สัมมาทิฏฐิ. ส่วนธรรมมีลักษณะเป็นต้น ข้าพเจ้ากล่าวไว้แล้วใน
หนหลังนั่นแหละ.

อธิบายว่าด้วยศรัทธาพละเป็นต้น



ธรรมมีศรัทธาพละเป็นต้น มีเนื้อความตามกล่าวไว้แม้ในศรัทธาพละ
นั่นแหละ แต่ว่าพึงทราบว่าพละเพราะอรรถว่าไม่หวั่นไหว. บรรดาธรรม
เหล่านั้น ธรรมที่ชื่อว่า ศรัทธาพละ เพราะไม่หวั่นไหวไปในความเป็น
ผู้ไม่มีศรัทธา ชื่อว่า วิริยพละ เพราะไม่หวั่นไหวไปในความเกียจคร้าน.