เมนู

จึงถวายพระพรกะพระยามิลินทร์ว่า มหาบพิตร วิริยะมีการอุปถัมภ์คือค้ำจุน
ไว้เป็นลักษณะ กุศลธรรมทั้งหมดมีวิริยอุปถัมภ์ค้ำจุนแล้ว ย่อมไม่เสื่อมไป
เหมือนเมื่อบ้านเก่าจะพังไป ได้ไม้อื่นมาค้ำจุนไว้ บ้านเรือนที่มีเสาอุปถัมภ์
ค้ำจุนแล้วนั่นแหละก็ไปพึงล้มไป ฉะนั้น.
เหมือนอย่างว่า กองทัพน้อยและกองทัพใหญ่ทำสงครามกัน กองทัพ
น้อยถอยร่นมา ทีนั้นเขาพึงกราบทูลพระราชา พระราชาพึงส่งพลและพาหนะ
ไป กองทัพของพระองค์อันพลและพาหนะสนับสนุนแล้ว พึงยังกองทัพของ
ข้าศึกให้พ่ายแพ้ ฉันใด วิริยะก็เหมือนกันนั่นแหละ ย่อมไม่ทำให้สัมปยุตธรรม
ที่เกิดพร้อมกันให้ล้าให้ถอย ย่อมยกคือย่อมประคองไว้ ด้วยเหตุนั้น จึงกล่าว
ว่า วิริยะ มีความประคองไว้เป็นลักษณะ.
อีกนัยหนึ่ง วิริยะมีความอุตสาหะเป็นลักษณะ มีความอุปถัมภ์สห-
ชาตธรรมทั้งหลายเป็นรส มีความไม่ท้อถอยเป็นปัจจุปัฏฐาน มีความสลดใจ
เป็นปทัฏฐาน เพราะพระบาลีว่า สํวิคฺโค โยนิโส ปทหติ (ความสลด
ย่อมเริ่มตั้งความเพียรโดยแยบคาย) หรือมีวัตถุแห่งวิริยารัมภะเป็นปทัฏฐาน.
บัณฑิตพึงทราบว่า ความเพียรอันเริ่มตั้งไว้โดยชอบ เป็นมูลเหตุแห่งสมบัติ
ทั้งปวง ดังนี้.

ความหมายของคำว่า สตินทรีย์



ธรรมที่ชื่อว่า สติ เพราะเป็นเหตุระลึก หรือว่า ย่อมระลึกเอง หรือว่า
เป็นเพียงการระลึกเท่านั้น. ก็สตินั้น ชื่อว่า อินทรีย์ ด้วยอรรถเป็นอธิบดี
โดยครอบงำความเป็นผู้หลงลืมด้วยสติ อีกอย่างหนึ่ง ชื่อว่า อินทรีย์ เพราะ
ครองความเป็นใหญ่ในลักษณะแห่งการอุปการะ สตินั่นแหละเป็นอินทรีย์