เมนู

ประชุมกันเนืองแน่น ในที่ที่พระองค์เสด็จไป ๆ ทหารย่อมพรั่งพร้อมทำลาย
ทหารข้าศึก ย่อมคล้อยตามพระราชานั่นแหละ.
อีกนัยหนึ่ง ชื่อว่า สมาธิ กล่าวคือเอกกัคคตาแห่งจิตนี้ มีความไม่ซ่าน
ไปเป็นลักษณะ หรือมีความไม่ฟุ้งซ่านเป็นลักษณะ มีการประมวลมาซึ่ง
สหชาตธรรมทั้งหลายเข้าด้วยกันเป็นรสดุจน้ำประมวลจุรณสำหรับอาบน้ำ (ทำ
จุรณให้เป็นก้อน) มีความเข้าไปสงบเป็นปัจจุปัฎฐาน หรือมีญาณเป็นปัจจุ-
ปัฏฐาน คือว่า บุคคลมีจิตตั้งมั่นแล้ว ย่อมทราบชัด ย่อมเห็นตามความ
เป็นจริง ว่าโดยพิเศษ สมาธิมีสุขเป็นปทัฏฐาน บัณฑิตพึงทราบ ความตั้งอยู่
แห่งจิต เหมือนการตั้งอยู่แห่งเปลวประทีปทั้งหลายที่ปราศจากลม ฉะนั้น.

ความหมายของคำว่าสัทธินทรีย์



ธรรมที่ชื่อว่า ศรัทธา เพราะอรรถว่า เป็นเหตุให้เชื่อ หรือเชื่อเอง
หรือเป็นเพียงความเชื่อเท่านั้น ก็ชื่อว่า ศรัทธา. ศรัทธานั้น ชื่อว่า อินทรีย์
เพราะอรรถว่าเป็นอธิบดี โดยครอบงำความไม่มีศรัทธา อีกอย่างหนึ่ง ชื่อว่า
อินทรีย์ เพราะครองความเป็นใหญ่กว่าธรรมอื่น ในการน้อมใจเชื่อเป็นลักษณะ.
ศรัทธานั่นเองเป็นอินทรีย์ ชื่อว่า สัทธินทรีย์. ก็ศรัทธานั้น มีการเลื่อมใสเป็น
ลักษณะ และมีความแล่นไปเป็นลักษณะ ศรัทธาเมื่อเกิดขึ้นย่อมข่มนิวรณ์
ทั้งหลาย ย่อมให้กิเลสสงบ ย่อมให้จิตผ่องใส ย่อมทำจิตไม่ให้ขุ่นมัว เหมือน
แก้วมณีพระเจ้าจักรพรรดิอันทำน้ำให้ใสสะอาด ใส่ในน้ำแล้วสามารถทำให้น้ำใส
ย่อมให้โคลนสาหร่าย จอกแหน เปือกตมสงบ ย่อมให้น้ำใสสะอาดไม่ขุ่นมัว
ฉะนั้น. กุลบุตรโยคาวจรให้ทานก็ดี สมาทานศีลก็ดี กระทำอุโบสถกรรมก็ดี เริ่ม
ภาวนาก็ดี ด้วยจิตอันผ่องใส พึงทราบศรัทธานั้น อย่างนี้ว่ามีความเลื่อมใสเป็น
ลักษณะ เพราะเหตุนั้น ท่านพระนาคเสนเถระ จึงถวายพระพรพระยามิลินทร์ว่า

มหาบพิตร พระเจ้าจักรพรรดิข้ามแม่น้ำน้อยพร้อมด้วยจตุรงคินีเสนา น้ำนั้น
พึงกระทบกระเทือนด้วยช้าง ม้า รถ และพลเดินเท้าทั้งหลายก็ขุ่นมัว ขุ่นข้น
เป็นเปือกตม พระราชาทรงข้ามไปแล้ว จึงสั่งมนุษย์ทั้งหลายว่า แนะพนาย
พวกเธอจงนำน้ำดื่มมา เราจักดื่มน้ำนั้น ก็พระราชามีแก้วมณีสำหรับทำน้ำให้
ใสสะอาด พวกมนุษย์จึงกราบทูลว่า พระพุทธเจ้าข้า แล้วเอาแก้วมณีอันทำ
น้ำให้ใสนั้นใส่ลงในน้ำ พร้อมกับการตกไปในน้ำ โคลน สาหร่าย จอกแหน
เปือกตมก็สงบ น้ำพึงเป็นน้ำใสสะอาดไม่ขุ่นมัว จากนั้นพวกมนุษย์ก็น้อม
น้ำดื่มถวายพระราชา กราบทูลว่า ขอพระองค์ผู้สมมติเทพ จงทรงดื่ม
พระเจ้าข้า.
ขอถวายพระพรมหาบพิตร พระองค์พึงเห็นจิตเหมือนน้ำ พึงเห็น
กุลบุตรโยคาวจรเหมือนมนุษย์เหล่านั้น พึงเห็นกิเลสทั้งหลายเหมือนโคลน
สาหร่าย จอกแหนเปือกตม พึงเห็นศรัทธาเหมือนแก้วมณีทำน้ำให้ใสสะอาด
ขอถวายพระพรมหาบพิตร ศรัทธาเมื่อเกิดย่อมข่มนีวรณ์ทั้งหลาย จิตปราศจาก
นิวรณ์ก็ใสสะอาดไม่ขุ่นมัว เหมือนเมื่อใส่แก้วมณีอันยังน้ำให้ใสสะอาดแล้ว
โคลน สาหร่าย จอกแหนเปือกตมย่อมสงบ น้ำย่อมใสสะอาดไม่ขุ่นมัว ฉะนั้น.
เหมือนอย่างว่า เหล่าชนผู้กลัวอาศัยมหานทีที่เกลื่อนกล่นไปด้วยจระเข้
มังกร และรากษสร้ายเป็นต้น ก็ยืนอยู่ที่ฝั่งแม่น้ำทั้งสอง ส่วนทหารผู้ใหญ่
ผู้กล้าในสงครามมาถึงจึงถามว่า เพราะเหตุไร พวกท่านจึงยืนอยู่ เมื่อเขา
กล่าวว่า พวกเราไม่อาจข้ามเพราะมีภัยเฉพาะหน้า จึงจับดาบที่ตนเคยชำนาญ
มาแล้วนั้น แล้วกล่าวว่า พวกท่านจงมาข้างหลังเรา อย่ากลัวเลย แล้วก้าวลงสู่
แม่น้ำ ป้องกันจระเข้เป็นต้นที่มาแล้ว ๆ กระทำความสวัสดีแก่พวกมนุษย์
ทั้งหลาย นำจากฝั่งนี้ไปฝั่งโน้น จากฝั่งโน้นมาที่ฝั่งนี้ ฉันใด เมื่อบุคคล

ให้ทานรักษาศีล กระทำอุโบสถกรรม เริ่มภาวนา ศรัทธาย่อมเป็นหัวหน้า
เป็นภาวะนำหน้าไป เพราะฉะนั้น จึงกล่าวว่า ศรัทธา มีการแล่นไปเป็น
ลักษณะ ดังนี้.
อีกนัยหนึ่ง ศรัทธามีการเชื่อเป็นลักษณะ หรือมีการเชื่อมั่นเป็น
ลักษณะ. มีการผ่องใสเป็นรส ราวกะแก้วมณีทำน้ำให้ใสสะอาด หรือว่า
มีการแล่นไปเป็นรสเหมือนการข้ามห้วงน้ำ มีการไม่ขุ่นมัวเป็นปัจจุปัฏฐาน
หรือมีการน้อมใจเชื่อเป็นปัจจุปัฏฐาน มีวัตถุเป็นตั้งแห่งศรัทธาเป็นปทัฏฐาน
หรือมีโสดาปัตติยังคะเป็นปทัฏฐาน บัณฑิตพึงเห็นเหมือนมือ ทรัพย์สมบัติ
และพืช.

ความหมายของคำว่า วิริยินทรีย์



ความเป็นแห่งบุคคลผู้กล้า ชื่อว่า วิริยะ หรือการงานของบุคคล
ผู้กล้า ชื่อว่า วิริยะ หรือว่า ชื่อว่า วิริยะ เพราะอรรถว่า พึงดำเนินไป
คือให้เป็นไปโดยวิธี คือโดยนัย โดยอุบาย วิริยะนั้นนั่น แหละ ชื่อว่า
อินทรีย์ ด้วยอรรถว่าเป็นอธิบดีเพราะครอบงำโกสัชชะ. อีกอย่างหนึ่ง ชื่อว่า
อินทรีย์ เพราะครองความเป็นใหญ่กว่าธรรมอื่นในลักษณะของความเพียร.
ความเพียรนั่นแหละเป็นอินทรีย์ ชื่อว่า วิริยินทรีย์. ก็วิริยะนี้นั้น มีการอุปถัมภ์
คือค้ำจุนไว้เป็นลักษณะ และมีความประคองไว้เป็นลักษณะ เหมือนอย่างว่า
เรือนเก่า ย่อมตั้งอยู่ได้ด้วยเสาอื่นนำมาค้ำจุนไว้ ฉันใด พระโยคาวจรก็
เหมือนกันนั่นแหละ เป็นผู้ได้อุปถัมภ์แล้วด้วยความอุปถัมภ์ของความเพียร
กุศลธรรมทั้งปวงจึงไม่เสื่อมสูญไป พึงทราบความที่วิริยินทรีย์นั้น มีความ
อุปถัมภ์คือค้ำจุนไว้เป็นลักษณะอย่างนี้ก่อน ด้วยเหตุนั้น พระนาคเสนเถระ