เมนู

จนกระทั่งถึงการเห็นน้ำ. สุขดำรงอยู่ด้วยอาการเสวยรสอารมณ์ถึงแล้วซึ่งกำลัง
พึงเห็นเหมือนบุคคลอาบน้ำ ดื่มแล้วนอนรำพึงว่า สุขหนอ สุขหนอ ที่ร่ม
เงาไม้อันเย็นเมื่อลมอ่อน ๆ โชยมากระทบ. ก็สุขนี้ พึงทราบว่า พระผู้มี-
พระภาคเจ้าตรัสแล้ว เพราะความปรากฏในสมัยนั้น ๆ ดังนี้ คำนี้ท่านกล่าว
อธิบายว่า ก็ในที่ใดมีปีติ แม้สุขก็มีอยู่ในที่นั้นนั่นแล.

อธิบายว่าด้วยเอกัคคตาแห่งจิต



ความที่จิตมีอารมณ์เลิศเป็นหนึ่ง ชื่อว่า จิตฺตสฺเสกคฺคตา คำว่า
จิตตัสเสกัคคตานี้ เป็นชื่อของสมาธิ. ก็ในบรรดาธรรมมีลักษณะเป็นต้นของ
สมาธินั้น ท่านอรรถกถาจารย์กล่าวไว้ในอรรถกถาก่อนแล้ว. สมาธินั้นมีความ
เป็นประธานเป็นลักษณะ (ปาโมกฺขลกฺขโณ) และมีความไม่ฟุ้งซ่านเป็น
ลักษณะ (อวิกฺเขปลกฺขโณ).
จริงอยู่ สมาธิชื่อว่า เป็นประธานแห่งธรรมเหล่านั้นแม้ทั้งหมด
เพราะกุศลธรรมทั้งปวงสำเร็จด้วยสมาธิ เหมือนช่อฟ้าเรือนยอดชื่อว่าเป็น
ประธานของทัพสัมภาระของเรือนที่เหลือ เพราะเป็นเครื่องยืดไว้ เพราะ
เหตุนั้น พระนาคเสนเถระจึงถวายพระพรว่า มหาบพิตร ไม้จันทันทั้งหลาย
ไม่ว่าอันใดแห่งเรือนยอด ไม้จันทันทั้งหมดเหล่านั้นไปรวมที่ยอดเรือน
น้อมไปที่ยอด ไปประชุมกันยอด เงื้อมไปที่ยอด ยอดเรือน บัณฑิตกล่าวว่า
เป็นเลิศกว่าไม้จันทันเหล่านั้น ฉันใด ขอถวายพระพรมหาบพิตร กุศลธรรม
ไม่ว่าชนิดใด กุศลธรรมเหล่านั้น ทั้งหมดน้อมไปสู่สมาธิ ประชุมลงที่สมาธิ
เงื้อมไปสู่สมาธิ สมาธิ บัณฑิต ย่อมเรียกว่าเป็นเลิศกว่ากุศลธรรมเหล่านั้น
ฉันนั้น สมาธิชื่อว่า มีความไม่ฟุ้งซ่านเป็นลักษณะ เพราะไม่ให้สหชาตธรรม
ทั้งหลายฟุ้งซ่านกระจัดกระจาย เหมือนพระราชาจอมทัพเสด็จไปสู่ที่ทหาร

ประชุมกันเนืองแน่น ในที่ที่พระองค์เสด็จไป ๆ ทหารย่อมพรั่งพร้อมทำลาย
ทหารข้าศึก ย่อมคล้อยตามพระราชานั่นแหละ.
อีกนัยหนึ่ง ชื่อว่า สมาธิ กล่าวคือเอกกัคคตาแห่งจิตนี้ มีความไม่ซ่าน
ไปเป็นลักษณะ หรือมีความไม่ฟุ้งซ่านเป็นลักษณะ มีการประมวลมาซึ่ง
สหชาตธรรมทั้งหลายเข้าด้วยกันเป็นรสดุจน้ำประมวลจุรณสำหรับอาบน้ำ (ทำ
จุรณให้เป็นก้อน) มีความเข้าไปสงบเป็นปัจจุปัฎฐาน หรือมีญาณเป็นปัจจุ-
ปัฏฐาน คือว่า บุคคลมีจิตตั้งมั่นแล้ว ย่อมทราบชัด ย่อมเห็นตามความ
เป็นจริง ว่าโดยพิเศษ สมาธิมีสุขเป็นปทัฏฐาน บัณฑิตพึงทราบ ความตั้งอยู่
แห่งจิต เหมือนการตั้งอยู่แห่งเปลวประทีปทั้งหลายที่ปราศจากลม ฉะนั้น.

ความหมายของคำว่าสัทธินทรีย์



ธรรมที่ชื่อว่า ศรัทธา เพราะอรรถว่า เป็นเหตุให้เชื่อ หรือเชื่อเอง
หรือเป็นเพียงความเชื่อเท่านั้น ก็ชื่อว่า ศรัทธา. ศรัทธานั้น ชื่อว่า อินทรีย์
เพราะอรรถว่าเป็นอธิบดี โดยครอบงำความไม่มีศรัทธา อีกอย่างหนึ่ง ชื่อว่า
อินทรีย์ เพราะครองความเป็นใหญ่กว่าธรรมอื่น ในการน้อมใจเชื่อเป็นลักษณะ.
ศรัทธานั่นเองเป็นอินทรีย์ ชื่อว่า สัทธินทรีย์. ก็ศรัทธานั้น มีการเลื่อมใสเป็น
ลักษณะ และมีความแล่นไปเป็นลักษณะ ศรัทธาเมื่อเกิดขึ้นย่อมข่มนิวรณ์
ทั้งหลาย ย่อมให้กิเลสสงบ ย่อมให้จิตผ่องใส ย่อมทำจิตไม่ให้ขุ่นมัว เหมือน
แก้วมณีพระเจ้าจักรพรรดิอันทำน้ำให้ใสสะอาด ใส่ในน้ำแล้วสามารถทำให้น้ำใส
ย่อมให้โคลนสาหร่าย จอกแหน เปือกตมสงบ ย่อมให้น้ำใสสะอาดไม่ขุ่นมัว
ฉะนั้น. กุลบุตรโยคาวจรให้ทานก็ดี สมาทานศีลก็ดี กระทำอุโบสถกรรมก็ดี เริ่ม
ภาวนาก็ดี ด้วยจิตอันผ่องใส พึงทราบศรัทธานั้น อย่างนี้ว่ามีความเลื่อมใสเป็น
ลักษณะ เพราะเหตุนั้น ท่านพระนาคเสนเถระ จึงถวายพระพรพระยามิลินทร์ว่า