เมนู

พระขีณาสพทั้งหลายจึงท่องเที่ยวไปทางอากาศได้ เจ้ามาได้อย่างไร ? นาง
ตอบว่า เมื่อลูกยืนแลดูพระเจดีย์อยู่โดยแสงจันทร์ ปีติมีกำลังมีพุทธคุณเป็น
อารมณ์ก็เกิดขึ้น ทีนั้น ดิฉันไม่ทราบว่าตนยืนหรือนั่งลอยไปสู่อากาศด้วยนิมิต
ที่ถือเอานั่นแหละ แล้วยืนอยู่ที่ลานพระเจดีย์ อุพเพงคาปีติมีการลอยไปใน
อากาศ ด้วยประการฉะนี้.
ส่วนผรณาปีติเกิดขึ้นแล้วก็แผ่ไปสู่สรีระทั้งสิ้น เหมือนถุงที่เต็มด้วย
ลม และเหมือนท้องภูเขาที่ห้วงน้ำใหญ่ไหลเข้าไปซึมซาบแล้ว.
ก็ปีติ 5 อย่างเหล่านั้น เมื่อถือเอาครรภ์ถึงความแก่รอบย่อมยังปัสสัทธิ
2 อย่าง คือ กายปัสสัทธิ และจิตตปัสสัทธิ ให้บริบูรณ์. ปัสสัทธิเมื่อถือเอา
ครรภ์ถึงความแก่รอบย่อมยังสุข 2 อย่าง คือ กายิกสุข และเจตสิกสุขให้บริบูรณ์
ความสุขเมื่อถือเอาครรภ์ถึงความแก่รอบย่อมยังสมาธิ 3 อย่าง คือ ขณิกสมาธิ
อุปจารสมาธิ อัปปนาสมาธิ ให้บริบูรณ์. บรรดาปีติเหล่านั้น ปีติ 2 อย่าง
เว้นปีติที่ถึงความสมบูรณ์ด้วยอัปปนา ย่อมควรในกามาวจรนี้.

ความหมายของคำว่าสุข



สุขยตีติ สุขํ

ธรรมที่ชื่อว่า สุข เพราะอรรถว่า สบาย อธิบายว่า ความ
สุขย่อมเกิดแก่ผู้ใด ก็ทำบุคคลนั้นให้ถึงความสุข. อีกอย่างหนึ่ง ธรรมชาติใด
ย่อมเคี้ยวกินอย่างดี และย่อมขุด (ทำลาย) อาพาธทางกายทางใจ เพราะเหตุนั้น
ธรรมชาตินั้นจึงชื่อว่าสุข. สุขนี้เป็นชื่อของโสมนัสสเวทนา. บัณฑิตพึงทราบ
ลักษณะเป็นต้นของสุขนั้นโดยนัยที่กล่าวแล้วในบทแห่งเวทนานั้นแหละ อีกนัย
หนึ่ง สุขมีการยินดีเป็นลักษณะ (สาตลกฺขณํ) มีการยังสัมปยุตธรรมทั้งหลาย
ให้เจริญเป็นรส (สปฺปยุตฺตานํ อุปพฺรูหนรสํ) มีการอนุเคราะห์เป็น

ปัจจุปัฏฐาน (อนุคฺคหณปจฺจุปฏฺฐานํ) อนึ่ง เมื่อปีติและสุขเหล่านั้นไม่แยก
จากกันมีอยู่ในที่บางแห่ง ความยินดีในการได้อิฏฐารมณ์เป็นปีติ การเสวยรส
อารมณ์ที่ได้แล้ว เป็นสุข ปีติมีในที่ใด สุขก็มีในที่นั้น สุขมีในที่ใด ในที่นั้น
ไม่แน่ว่าเป็นปีติ ปีติท่านสงเคราะห์เข้าในสังขารขันธ์ สุขท่านสงเคราะห์เข้าใน
เวทนาขันธ์. ปีติย่อมมีในกรณีที่บุคคลเหน็ดเหนื่อยในทางกันดารได้เห็นหรือ
ได้ยินน้ำในป่า. สุขย่อมมีในเวลาที่บุคคลนั้นเข้าไปสู่ร่มเงาในป่า และใช้สอย
น้ำฉะนั้น.
เหมือนอย่างว่า บุรุษเดินทางไกลกันดารมาก มีเหงื่อโซมตัว มีความ
อยากกระหายเห็นบุรุษเดินทางสวนนาก็พึงถามว่า มีน้ำดื่มที่ไหนบ้าง บุรุษ
นั้นตอบว่า ผ่านดงไปมีสระธรรมชาติและป่าสูง ท่านไปในที่นั้นจักได้ ดังนี้
เขาฟังคำบอกบุรุษคนนั้นแล้วก็พึงมีใจร่าเริง ยินดี เมื่อเขาไปจากที่นั้นเห็น
กลีบ ก้าน ใบดอกอุบลเป็นต้นตกเกลื่อนที่แผ่นดิน ก็เป็นผู้มีจิตยินดีร่าเริง
อย่างดี เมื่อเดินไปเห็นบุรุษมีผ้าเปียก ผมเปียก ฟังเสียงไก่ป่าและนกยูงป่า
เป็นต้น พึงเห็นไพรสณฑ์อันเขียวเช่นกับข่ายแก้วมณีเกิดที่ในเขตสระธรรมชาติ
พึงเห็นดอกอุบลและดอกโกมุทเป็นต้นซึ่งเกิดในสระ พึงเห็นน้ำใสสะอาด เขาก็
มีความยินดีร่าเริงยิ่ง จึงก้าวลงสู่สระธรรมชาติ อาบดื่มตามชอบใจระงับความ
กระวนกระวายแล้ว เคี้ยวกินเหง้ารากใบบัวเป็นต้น ประดับดอกอุบลเขียว
เป็นต้น เอารากบัวขาวพาดที่บ่า ขึ้นจากสระนุ่งผ้าตากผ้าที่แดดนอนอยู่ใต้ร่มเงา
อันเย็น เมื่อลมอ่อน ๆ โชยมาก็พึงกล่าวว่า สุขหนอ สุขหนอ ดังนี้ คำอุปมา
เป็นเครื่องเปรียบเทียบพึงเห็นอย่างนี้ว่า
ก็ปีติมีอาการร่าเริงยินดีในอารมณ์อันเป็นส่วนเบื้องต้น พึงเห็นเหมือน
เวลาที่ร่าเริงยินดี นับตั้งแต่เวลาที่บุรุษนั้นได้ยินว่ามีสระธรรมชาติและไพรสณฑ์

จนกระทั่งถึงการเห็นน้ำ. สุขดำรงอยู่ด้วยอาการเสวยรสอารมณ์ถึงแล้วซึ่งกำลัง
พึงเห็นเหมือนบุคคลอาบน้ำ ดื่มแล้วนอนรำพึงว่า สุขหนอ สุขหนอ ที่ร่ม
เงาไม้อันเย็นเมื่อลมอ่อน ๆ โชยมากระทบ. ก็สุขนี้ พึงทราบว่า พระผู้มี-
พระภาคเจ้าตรัสแล้ว เพราะความปรากฏในสมัยนั้น ๆ ดังนี้ คำนี้ท่านกล่าว
อธิบายว่า ก็ในที่ใดมีปีติ แม้สุขก็มีอยู่ในที่นั้นนั่นแล.

อธิบายว่าด้วยเอกัคคตาแห่งจิต



ความที่จิตมีอารมณ์เลิศเป็นหนึ่ง ชื่อว่า จิตฺตสฺเสกคฺคตา คำว่า
จิตตัสเสกัคคตานี้ เป็นชื่อของสมาธิ. ก็ในบรรดาธรรมมีลักษณะเป็นต้นของ
สมาธินั้น ท่านอรรถกถาจารย์กล่าวไว้ในอรรถกถาก่อนแล้ว. สมาธินั้นมีความ
เป็นประธานเป็นลักษณะ (ปาโมกฺขลกฺขโณ) และมีความไม่ฟุ้งซ่านเป็น
ลักษณะ (อวิกฺเขปลกฺขโณ).
จริงอยู่ สมาธิชื่อว่า เป็นประธานแห่งธรรมเหล่านั้นแม้ทั้งหมด
เพราะกุศลธรรมทั้งปวงสำเร็จด้วยสมาธิ เหมือนช่อฟ้าเรือนยอดชื่อว่าเป็น
ประธานของทัพสัมภาระของเรือนที่เหลือ เพราะเป็นเครื่องยืดไว้ เพราะ
เหตุนั้น พระนาคเสนเถระจึงถวายพระพรว่า มหาบพิตร ไม้จันทันทั้งหลาย
ไม่ว่าอันใดแห่งเรือนยอด ไม้จันทันทั้งหมดเหล่านั้นไปรวมที่ยอดเรือน
น้อมไปที่ยอด ไปประชุมกันยอด เงื้อมไปที่ยอด ยอดเรือน บัณฑิตกล่าวว่า
เป็นเลิศกว่าไม้จันทันเหล่านั้น ฉันใด ขอถวายพระพรมหาบพิตร กุศลธรรม
ไม่ว่าชนิดใด กุศลธรรมเหล่านั้น ทั้งหมดน้อมไปสู่สมาธิ ประชุมลงที่สมาธิ
เงื้อมไปสู่สมาธิ สมาธิ บัณฑิต ย่อมเรียกว่าเป็นเลิศกว่ากุศลธรรมเหล่านั้น
ฉันนั้น สมาธิชื่อว่า มีความไม่ฟุ้งซ่านเป็นลักษณะ เพราะไม่ให้สหชาตธรรม
ทั้งหลายฟุ้งซ่านกระจัดกระจาย เหมือนพระราชาจอมทัพเสด็จไปสู่ที่ทหาร