เมนู

ความหมายของคำว่าวิตก



วิตกฺเกตีติ วิตกฺโก วิตกกฺนํ วา วิตกฺโก

ธรรมที่ชื่อว่า วิตก
เพราะอรรถว่า ตรึก อีกอย่างหนึ่ง การตรึก คือ การจดอารมณ์ ชื่อว่า วิตก.
วิตกนี้นั้น มีการยกจิตขึ้นในอารมณ์เป็นลักษณะ (อารมฺมเณ จิตฺตสฺส
อภินิโรปนลกฺขโณ)
จริงอยู่ วิตกนั้นยกจิตขึ้นในอารมณ์. เหมือนอย่างว่า
คนบางคนอาศัยญาติ หรือมิตรที่เป็นราชวัลลภ จึงเข้าไปสู่พระราชมณเฑียรได้
ฉันใด จิตก็อาศัยวิตก ฉันนั้น เพราะฉะนั้น วิตกนั้น ท่านจึงกล่าว มีการ
ยกจิตขึ้นในอารมณ์เป็นลักษณะ.
อนึ่ง พระนาคเสนเถระกล่าวว่า วิตกมีการเคาะอารมณ์เป็นลักษณะ
ขอถวายพระพรมหาบพิตร เปรียบเหมือนบุคคลตีกลอง หลังจากนั้นก็มีเสียง
กลองดังกระหึ่มออกไป ฉันใด มหาบพิตรพึงเข้าพระทัย วิตกเหมือนบุคคล
ตีกลอง พึงเข้าพระทัยวิจารเหมือนเสียงกลองดังกระหึ่ม ฉันนั้น.
วิตกนั้นมีการกระทำให้จิตกระทบอารมณ์บ่อย ๆ เป็นรส (อาหนน-
ปริยาหนนรโส)
จริงอย่างนั้น ท่านจึงกล่าวว่า พระโยคาวจรย่อมกระทำ
จิตนั้น อันวิตกให้กระทบแล้วบ่อย ๆ วิตกนั้นมีการนำจิตมาในอารมณ์เป็น
ปัจจุปัฏฐาน (อารมฺมเณ จิตฺตสฺส อานยปจฺจุปฏฺฐาโน) และมีนามขันธ์
3 ที่เหลือ (เวทนา สัญญา วิญญาณขันธ์) เป็นปทัฏฐาน (เสสขนฺธตฺตย-
ปทฏฺฐาโน)
*.
อารมฺมเณ เตน จิตตํ วีจรตีติ วิจาโร ธรรมที่ชื่อว่า วิจาร เพราะ
เป็นเหตุให้จิตเที่ยวไปในอารมณ์. อีกอย่างหนึ่ง การเที่ยวไป คือการสัญจร
ไปตามอารมณ์ ชื่อว่า วิจาร. วิจารนั้นมีการเคล้าคลึงในอารมณ์เป็นลักษณะ
บาลีว่า เสสขนฺธตฺตยปทฏฺฐาโน ไม่มีในที่นี้

(อารมฺมณานุมชชนลกฺขโณ) มีการประกอบสหชาตธรรมไว้ในอารมณ์นั้น
เป็นรส (ตตฺถ สหชาตานุโยชนรโส) มีการผูกพันจิตไว้ในอารมณ์เป็น-
ปัจจุปัฏฐาน (จิตฺตอนุปปพนฺธปจฺจุปฏฺฐาโน).
อนึ่ง เมื่อความไม่แยกจากกันแห่งวิตกและวิจารในจิตตุปบาทบางแห่ง
แม้มีอยู่ ด้วยอาการอย่างนี้ การทำจิตตกไปในอารมณ์ครั้งแรก ชื่อว่า วิตก
เพราะอรรถว่าเป็นธรรมหยาบ เพราะอรรถว่าเป็นธรรมถึงก่อน เพราะอรรถว่า
ยกจิตขึ้นสู่อารมณ์ เหมือนการเคาะระฆัง. การผูกพันในอารมณ์ ชื่อว่า วิจาร
เพราะอรรถว่า เป็นธรรมสุขุม เพราะอรรถว่า เคล้าคลึงในอารมณ์ เหมือน
เสียงครางของระฆัง ฉะนั้น. ก็ในธรรม 2 อย่างนั้น วิตกมีการแผ่ไป เป็นการ
แผ่ไปโดยรอบในกาลเกิดขึ้นแห่งจิต จับอารมณ์ครั้งแรกเหมือนการขยับปีกของ
นกตัวที่ต้องการบินขึ้นในอากาศ และเหมือนภมรมีจิตผูกพันในกลิ่นมุ่งหน้า
บินลงสู่ดอกปทุม ฉะนั้น. วิจารมีความเป็นไปสงบ ไม่มีการแผ่ไปของจิต
เกินไป เหมือนการกางปีกของนกตัวที่ต้องการบินไปในอากาศ และเหมือน
ภมรตัวที่บินลงที่ดอกปทุมแล้วบินเคล้าเคลียเบื้องบน ฉะนั้น.
แต่ในอรรถกถาทุกนิบาต ท่านกล่าวไว้ว่า วิตกเป็นไปโดยการยกจิต
ขึ้นในอารมณ์ เหมือนนกใหญ่บินไปในอากาศ กระพือปีกทั้งสองให้จับลม
แล้วให้ปีกทั้งสองติดลมบินไป เพราะว่าวิตกนั้นมีอารมณ์เป็นหนึ่งแน่วแน่.
ส่วนวิจารเป็นไปโดยการเคล้าอารมณ์ เหมือนนกใหญ่ขยับปีกเพื่อให้จับลมเป็น
ไป เพราะว่า วิจารนั้น มีการเคล้าในอารมณ์ ดังนี้. ถ้อยคำในอรรถกถา
ทุกนิบาตนั้น เหมาะสมอย่างยิ่งในการที่จิตผูกพันในอารมณ์เป็นไป. แต่ว่าการ
แปลกกันแห่งวิตกและวิจารนั้น ย่อมปรากฏชัดในฌานที่หนึ่งและที่สอง.
อีกอย่างหนึ่ง เมื่อบุคคลเอามือข้างหนึ่งจับภาชนะสำริดที่ติดสนิมไว้
ให้มั่น แล้วเอามืออีกข้างหนึ่งขัดสีด้วยจุณน้ำมัน หรือมูลสัตว์ที่เหมาะสม

วิตกเหมือนมือที่จับไว้มั่น วิจารเหมือนมือที่ขัดสี อนึ่ง เมื่อช่างหม้อใช้ไม้ตี
หมุนจักรทำภาชนะ วิตกเหมือนกับมือที่กดไว้ วิจารเหมือนกับมือที่หมุนไป
ทางโน้นและทางนี้. อนึ่ง เมื่อบุคคลทำวงกลม วิตกคือการจดจ่ออยู่ซึ่งอารมณ์
เหมือนเหล็กแหลมที่ปักยันไว้ท่ามกลาง วิจารเคล้าอารมณ์ เหมือนเหล็กแหลม
ที่หมุนไปรอบ ๆ ข้างนอก ฉะนั้น.

ความหมายของคำว่าปีติ



ปีนยตีติ ปีติ

ธรรมที่ชื่อว่า ปีติ เพราะเอิบอิ่ม ปีตินั้นมีการ
ชื่นชมยินดีเป็นลักษณะ (สมฺปิยายนลกฺขณา) มีการทำกายและจิตให้เอิบอิ่ม
เป็นรส หรือว่าซาบซ่านไปเป็นรส (กายจิตฺตปีนนรสา ผรณรสา วา)
มีการฟูกายและใจเป็นปัจจุปัฏฐาน (โอทคฺยปจฺจุปฏฺฐานา) ก็ปีตินั้นมี 5
อย่าง คือ
ขุททกาปีติ
ขณิกาปีติ
โอกกันติกาปีติ
อุพเพงคาปีติ
ผรณาปีติ.
บรรดาปีติเหล่านั้น ขุททกาปีติสามารถเพื่อทำเพียงขนในร่างกายให้
ชูชันเท่านั้น. ขณิกาปีติย่อมเป็นเช่นกับความเกิดขึ้นแห่งฟ้าแลบขณะหนึ่ง ๆ
โอกกันติกาปีติ ก้าวลงสู่กายแล้ว ครั้นก้าวลงแล้วก็แตกไป เหมือนคลื่นที่
ฝั่งสมุทร อุพเพงคาปีติ เป็นปีติมีกำลัง ทำกายให้ฟูขึ้นถึงการลอยไปในอากาศ
ได้.