เมนู

เหมือนเวลาที่บุรุษเจ้าของนาทำการอุตสาหะสองเท่า มีความพยายามสองเท่า
บัณฑิตพึงทราบความที่เจตนานั้นมีความประมวลมาเป็นรส ด้วยประการฉะนี้.
ก็เจตนานั้น มีการจัดแจงเป็นปทัฏฐาน (สํวิทหนปจฺจุปฏฺฐานา)
จริงอยู่ เจตนานี้เมื่อจัดแจงย่อมปรากฏเหมือนศิษย์ผู้ใหญ่ และนายช่างใหญ่
เป็นต้นผู้สามารถทำกิจของตนและของผู้อื่นให้สำเร็จ. เหมือนอย่างว่า ศิษย์
ผู้ใหญ่ เห็นพระอุปัชฌาย์มาแต่ไกล เมื่อตนเองสาธยายอยู่ ก็ยังเตือนศิษย์
ผู้น้อยนอกนี้ ให้สาธยายตามอัชฌาศัยของตน ๆ เมื่อศิษย์ผู้ใหญ่นั้นเริ่มสาธยาย
ศิษย์ผู้น้อยแม้เหล่านั้น ก็สาธยาย เพราะคล้อยตามศิษย์ผู้ใหญ่นั้น ฉันใด และ
เปรียบเหมือนนายช่างใหญ่ เมื่อตนเองถากก็ยังช่างถากแม้นอกนี้ให้เป็นไปใน
กรรมคือการถากของตน ๆ เพราะว่า เมื่อนายช่างใหญ่นั้นเริ่มถาก ช่างถาก
เหล่านั้นก็ย่อมถากตามนายช่างใหญ่นั้น ฉันใด และเปรียบเหมือนแม่ทัพ
เมื่อตนเองรบ ก็เตือนนักรบแม้นอกนี้ให้ทำการรบ เพราะว่า เมื่อแม่ทัพเริ่ม
ทำการรบ นักรบแม้เหล่านั้นก็ทำการรบตามแม่ทัพนั้น ฉันใด แม้เจตนานี้
ก็ฉันนั้น แม้เป็นไปในอารมณ์ด้วยกิจของตนอยู่ ก็ยังสัมปยุตตธรรมแม้อื่น ๆ
ให้เป็นไปในการกระทำของตน ๆ เพราะว่า เมื่อเจตนานั้น เริ่มกิจของตน
แม้ธรรมที่สัมปยุตกับเจตนานนั้นก็เริ่ม เพราะฉะนั้น ข้าพเจ้าจึงกล่าวว่า เจตนา
นั้นทำกิจของตนและของผู้อื่นให้สำเร็จ เหมือนศิษย์ผู้ใหญ่และนายช่างใหญ่
เป็นต้น. ก็เจตนานี้ พึงทราบว่า ปรากฏเป็นไปโดยภาวะที่ให้สัมปยุตธรรม
ให้อุตสาหะในการระลึกถึงการงานที่รีบด่วนเป็นต้น ดังนี้.

ความหมายของคำว่าจิต



ความหมายของคำแห่งจิต ข้าพเจ้ากล่าวไว้โดยนัยเป็นต้นว่า อารมฺมณํ
จินฺเตตีติ จิตฺตํ
(ธรรมที่ชื่อว่าจิต เพราะอรรถว่า คิดซึ่งอารมณ์) นั่นแหละ

ก็เมื่อว่าโดยลักษณะเป็นต้น จิตมีการรู้แจ้งอารมณ์เป็นลักษณะ (วิชานนลกฺ-
ขณํ)
มีการเป็นหัวหน้าเป็นรส (ปุพฺพงฺคมรสํ) มีการเกี่ยวข้องกันเป็น
ปัจจุปัฏฐาน (สนฺธานปจฺจุปฏฺฐานํ) มีนามรูปเป็นปทัฏฐาน (นามรูป-
ปทฏฺฐานํ)
จริงอยู่ จิตที่เป็นไปในภูมิ ชื่อว่า ไม่มีการรู้แจ้งอารมณ์
เป็นลักษณะก็หาไม่ จิตทั้งหมดมีการรู้แจ้งอารมณ์ทั้งนั้น.
ก็เพ่งถึงทวารแล้ว จิตก็เป็นหัวหน้า คือมีปกติเที่ยวไปก่อนในที่เป็นที่
กระทำให้แจ่มแจ้งซึ่งอารมณ์ จริงอยู่ บุคคลย่อมรู้แจ้งรูปารมณ์อันเห็นด้วย
จักษุ ด้วยจิตนั่นแหละ ฯลฯ ย่อมรู้แจ้งธรรมารมณ์ อันรู้แล้วด้วยใจ ด้วยจิต
นั่นแหละ เหมือนอย่างว่า บุคคลผู้รักษาพระนครนั่งอยู่ที่ทาง 4 แพร่ง ใน
ท่ามกลางพระนครย่อมใคร่ครวญ ย่อมกำหนดชนผู้มาแล้ว ๆ ว่า คนนี้เป็น
เจ้าถิ่น คนนี้เป็นผู้จรมา ฉันใด พึงทราบข้ออุปไมยฉันนั้น. ข้อนี้เหมือน
กับคำที่พระมหาเถระนามว่านาคเสนกล่าวไว้ว่า ธรรมดาบุคคลผู้รักษาพระนคร
นั่งอยู่ที่ทาง 4 แพร่ง ท่ามกลางพระนครพึงเห็นบุคคลผู้มาจากทิศตะวันออก
พึงเห็นบุคคลผู้มาจากทิศตะวันตก จากทิศทักษิณ จากทิศอุดร ฉันใด ข้าแต่
มหาบพิตร ฉันนั้นนั่นแหละ บุคคลย่อมเห็นรูปใดด้วยจักษุ ย่อมรู้แจ้งรูปนั้น
ด้วยวิญญาณ ย่อมฟังเสียงใดด้วยโสต ย่อมสูดกลิ่นด้วยฆานะ ย่อมลิ้มรสด้วย
ชิวหา ย่อมถูกต้องโผฏฐัพพะด้วยกาย ย่อมรู้แจ้งธรรมด้วยใจ ย่อมรู้แจ้ง
สิ่งนั้น ๆ ด้วยวิญญาณ เพราะเพ่งถึงทวารแล้ว จิตเท่านั้นเป็นหัวหน้า เป็น
ธรรมชาติเที่ยวไปข้างหน้า ในฐานะที่กระทำอารมณ์ให้แจ่มแจ้งอย่างนี้ ฉะนั้น
จึงกล่าวว่า มีการเป็นหัวหน้าเป็นรส ดังนี้.
จิตนี้นั้น ดวงหลัง ๆ เมื่อเกิดขึ้น ย่อมปรากฏติดต่อกันทีเดียว เพราะ
ทำดวงต้น ๆ ให้สืบต่อกันนั่นเอง เพราะฉะนั้น จึงชื่อว่า มีการเกี่ยวข้องกัน

เป็นปัจจุปัฏฐาน แต่ว่า ในปัญจโวการภพ (ภพที่มีขันธ์ 5) จิตนั้น มีนามรูป
เป็นปทัฏฐาน ในจตุโวการภพ มีนามเท่านั้นเป็นปทัฏฐานโดยแน่นอน
เพราะฉะนั้น ท่านจึงกล่าวว่า จิตมีนามและรูปเป็นปทัฏฐาน ดังนี้.
ถามว่า ก็จิตนี้ เป็นจิตดวงเดียวกันกับจิตที่แสดงมาข้างต้นหรือเป็น
ดวงอื่น ตอบว่า เป็นดวงเดียวกันนั่นแหละ. ถามว่า เมื่อเป็นเช่นนี้ เพราะ
เหตุไร จึงกล่าวอีกเล่า. ตอบว่า คำนี้อรรถกถาและอาจารย์ทั้งหลายยังมิได้
วิจารในคำแห่งจิตนี้. ก็ในคำแห่งจิตนี้ มีการประกอบดังนี้ เหมือนอย่างว่า
พระอาทิตย์เป็นต้นที่บัญญัติ เพราะอาศัยรูปเป็นต้น ว่าโดยความหมายก็มิใช่
สิ่งอื่นที่นอกไปจากรูปเป็นต้น ด้วยเหตุนั้นนั่นแหละ แม้จะกล่าวว่า สมัยใด
พระอาทิตย์ย่อมอุทัย สมัยนั้น รูปคือแสงแห่งพระอาทิตย์นั้น ย่อมปรากฏ
ดังนี้ ขึ้นชื่อว่า พระอาทิตย์อื่น นอกจากรูปเป็นต้นย่อมไม่มี ฉันใด จิตนี้
ย่อมมีฉันนั้น หามิได้ พระองค์ทรงบัญญัติจิต เพราะอาศัยธรรมทั้งหลาย
มีผัสสะเป็นต้น แต่เมื่อว่าโดยความหมาย จิตนั้นก็เป็นอีกดวงหนึ่ง นอกจาก
ธรรมทั้งหลายมีผัสสะเป็นต้นเหล่านั้นโดยแท้ เพราะเหตุนั้น เพื่อแสดงเนื้อ
ความว่า สมัยใด จิตย่อมเกิดขึ้น สมัยนั้น จิตดวงอื่นอีกนอกจากธรรมมี
ผัสสะเป็นต้น ย่อมเกิดขึ้น ดังนี้ จิตนี้ บัณฑิตพึงทราบว่า พระองค์ทรงตรัส
ไว้อีก.
เหมือนอย่างว่า เมื่อพระองค์ทรงกำหนดสมัยด้วยบุคคลผู้เจริญมรรค
ในพระบาลีมีคำเป็นต้นว่า สมัยใด บุคคลเจริญมรรค ฯลฯ มีปฐวีกสิณเป็นอารมณ์
เพื่อความเกิดขึ้นในรูปภพ สมัยนั้น ผัสสะย่อมมี ดังนี้ ผู้ใด ย่อมเจริญมรรค
ในสมัย ว่าโดยอรรถ ผู้นั้นชื่อว่า ย่อมเกิดขึ้นหามิได้ เพราะเหตุนั้น
นั่นแหละ ในข้อที่กล่าวแล้วนั้น จึงตรัสว่า ผัสสะย่อมมี เวทนาย่อมมี ฉันใด

แต่มิได้ตรัสว่า บุคคลใดย่อมเจริญมรรค ผู้นั้นย่อมมีฉันนั้น แต่เมื่อทรง
กำหนดสมัยด้วยจิต ในพระบาลีมีคำเป็นต้นว่า สมัยใด กามาวจรกุศลจิต
เกิดขึ้น ดังนี้ จิตทรงกำหนดไว้ด้วยสมัย ว่าโดยอรรถแล้ว ย่อมไม่เกิดขึ้น
เหมือนอย่างนั้น หามิได้ แต่ตรัสว่า ผัสสะย่อมมี เวทนาย่อมมี ในสมัยนั้น
ฉันใด แม้จิตนี้ก็ย่อมมี ฉันนั้น ดังนี้ เพื่อแสดงเนื้อความแม้นี้ พึงทราบว่า
ทรงตรัสจิตนี้อีก ก็ในข้อนี้ มีข้อสันนิษฐาน ดังต่อไปนี้
พระผู้มีพระภาคเจ้าทรงแสดงจิต เพื่อประมวลมาไว้ในอุทเทสวาร
และเพื่อทรงจำแนกในนิทเทสวาร จริงอยู่ พระองค์ทรงกำหนดสมัยไว้ด้วย
จิตศัพท์ ซึ่งเป็นศัพท์ต้นอย่างเดียว เพื่อทรงแสดงธรรมในสมัยซึ่งมีการกำหนด
ด้วยจิต จึงเริ่มตรัสว่า ผสฺโส โหติ เป็นต้น แม้จิตนั้นก็ย่อมมีในสมัยนั้น
เหมือนกัน เพราะฉะนั้น เพื่อประมวลมาซึ่งจิตแม้นั้น จึงตรัสคำว่าจิตนี้อีก.
อนึ่ง เมื่อไม่ตรัสคำว่าจิตนี้ในที่นี้ ก็ไม่อาจเพื่อจำแนกในนิทเทสวารได้ว่า
จิตในสมัยนั้น เป็นไฉน ? ด้วยเหตุนั้น การจำแนกจิตนั้นนั่นเองก็จะหายไป
เพราะฉะนั้นนั่นแหละ พึงทราบว่า เพื่อทรงจำแนกจิตนั้นในนิทเทสวาร จึง
ตรัสจิตนี้อีก.
อีกอย่างหนึ่ง ในอรรถกถาท่านวิจารว่า คำว่า จิตเกิดขึ้นในคำว่า
อุปฺปนฺนํ โหติ นี้ ว่าเป็นเพียงหัวข้อแห่งเทศนาเท่านั้น แต่จิตนี้มิได้เกิดขึ้น
ได้เพียงดวงเดียวเท่านั้น เพราะฉะนั้น แม้ในคำว่า อุปฺปนฺนํ นี้ ก็มิได้ถือ
เอาจิตอย่างเดียว แต่ถือเอาจิตกับกุศลธรรมเกิน 50 ทีเดียว โดยประการฉะนี้
จึงเริ่มตรัสคำว่า ผสฺโส โหติ เป็นต้น เพื่อแสดงจิตนั้น ในที่นั้นโดยสังเขป
แล้วแสดงโดยประเภทโดยถือเอาจิตและเจตสิกธรรมทั้งปวงนั้น และโดยย่อ
ในที่นี้ ด้วยประการฉะนี้ พึงทราบว่า แม้จิตก็พึงตรัสไว้เหมือนธรรมมีผัสสะ
เป็นต้น ฉะนี้แล.

ความหมายของคำว่าวิตก



วิตกฺเกตีติ วิตกฺโก วิตกกฺนํ วา วิตกฺโก

ธรรมที่ชื่อว่า วิตก
เพราะอรรถว่า ตรึก อีกอย่างหนึ่ง การตรึก คือ การจดอารมณ์ ชื่อว่า วิตก.
วิตกนี้นั้น มีการยกจิตขึ้นในอารมณ์เป็นลักษณะ (อารมฺมเณ จิตฺตสฺส
อภินิโรปนลกฺขโณ)
จริงอยู่ วิตกนั้นยกจิตขึ้นในอารมณ์. เหมือนอย่างว่า
คนบางคนอาศัยญาติ หรือมิตรที่เป็นราชวัลลภ จึงเข้าไปสู่พระราชมณเฑียรได้
ฉันใด จิตก็อาศัยวิตก ฉันนั้น เพราะฉะนั้น วิตกนั้น ท่านจึงกล่าว มีการ
ยกจิตขึ้นในอารมณ์เป็นลักษณะ.
อนึ่ง พระนาคเสนเถระกล่าวว่า วิตกมีการเคาะอารมณ์เป็นลักษณะ
ขอถวายพระพรมหาบพิตร เปรียบเหมือนบุคคลตีกลอง หลังจากนั้นก็มีเสียง
กลองดังกระหึ่มออกไป ฉันใด มหาบพิตรพึงเข้าพระทัย วิตกเหมือนบุคคล
ตีกลอง พึงเข้าพระทัยวิจารเหมือนเสียงกลองดังกระหึ่ม ฉันนั้น.
วิตกนั้นมีการกระทำให้จิตกระทบอารมณ์บ่อย ๆ เป็นรส (อาหนน-
ปริยาหนนรโส)
จริงอย่างนั้น ท่านจึงกล่าวว่า พระโยคาวจรย่อมกระทำ
จิตนั้น อันวิตกให้กระทบแล้วบ่อย ๆ วิตกนั้นมีการนำจิตมาในอารมณ์เป็น
ปัจจุปัฏฐาน (อารมฺมเณ จิตฺตสฺส อานยปจฺจุปฏฺฐาโน) และมีนามขันธ์
3 ที่เหลือ (เวทนา สัญญา วิญญาณขันธ์) เป็นปทัฏฐาน (เสสขนฺธตฺตย-
ปทฏฺฐาโน)
*.
อารมฺมเณ เตน จิตตํ วีจรตีติ วิจาโร ธรรมที่ชื่อว่า วิจาร เพราะ
เป็นเหตุให้จิตเที่ยวไปในอารมณ์. อีกอย่างหนึ่ง การเที่ยวไป คือการสัญจร
ไปตามอารมณ์ ชื่อว่า วิจาร. วิจารนั้นมีการเคล้าคลึงในอารมณ์เป็นลักษณะ
บาลีว่า เสสขนฺธตฺตยปทฏฺฐาโน ไม่มีในที่นี้