เมนู

เหมือนเวลาที่บุรุษเจ้าของนาทำการอุตสาหะสองเท่า มีความพยายามสองเท่า
บัณฑิตพึงทราบความที่เจตนานั้นมีความประมวลมาเป็นรส ด้วยประการฉะนี้.
ก็เจตนานั้น มีการจัดแจงเป็นปทัฏฐาน (สํวิทหนปจฺจุปฏฺฐานา)
จริงอยู่ เจตนานี้เมื่อจัดแจงย่อมปรากฏเหมือนศิษย์ผู้ใหญ่ และนายช่างใหญ่
เป็นต้นผู้สามารถทำกิจของตนและของผู้อื่นให้สำเร็จ. เหมือนอย่างว่า ศิษย์
ผู้ใหญ่ เห็นพระอุปัชฌาย์มาแต่ไกล เมื่อตนเองสาธยายอยู่ ก็ยังเตือนศิษย์
ผู้น้อยนอกนี้ ให้สาธยายตามอัชฌาศัยของตน ๆ เมื่อศิษย์ผู้ใหญ่นั้นเริ่มสาธยาย
ศิษย์ผู้น้อยแม้เหล่านั้น ก็สาธยาย เพราะคล้อยตามศิษย์ผู้ใหญ่นั้น ฉันใด และ
เปรียบเหมือนนายช่างใหญ่ เมื่อตนเองถากก็ยังช่างถากแม้นอกนี้ให้เป็นไปใน
กรรมคือการถากของตน ๆ เพราะว่า เมื่อนายช่างใหญ่นั้นเริ่มถาก ช่างถาก
เหล่านั้นก็ย่อมถากตามนายช่างใหญ่นั้น ฉันใด และเปรียบเหมือนแม่ทัพ
เมื่อตนเองรบ ก็เตือนนักรบแม้นอกนี้ให้ทำการรบ เพราะว่า เมื่อแม่ทัพเริ่ม
ทำการรบ นักรบแม้เหล่านั้นก็ทำการรบตามแม่ทัพนั้น ฉันใด แม้เจตนานี้
ก็ฉันนั้น แม้เป็นไปในอารมณ์ด้วยกิจของตนอยู่ ก็ยังสัมปยุตตธรรมแม้อื่น ๆ
ให้เป็นไปในการกระทำของตน ๆ เพราะว่า เมื่อเจตนานั้น เริ่มกิจของตน
แม้ธรรมที่สัมปยุตกับเจตนานนั้นก็เริ่ม เพราะฉะนั้น ข้าพเจ้าจึงกล่าวว่า เจตนา
นั้นทำกิจของตนและของผู้อื่นให้สำเร็จ เหมือนศิษย์ผู้ใหญ่และนายช่างใหญ่
เป็นต้น. ก็เจตนานี้ พึงทราบว่า ปรากฏเป็นไปโดยภาวะที่ให้สัมปยุตธรรม
ให้อุตสาหะในการระลึกถึงการงานที่รีบด่วนเป็นต้น ดังนี้.

ความหมายของคำว่าจิต



ความหมายของคำแห่งจิต ข้าพเจ้ากล่าวไว้โดยนัยเป็นต้นว่า อารมฺมณํ
จินฺเตตีติ จิตฺตํ
(ธรรมที่ชื่อว่าจิต เพราะอรรถว่า คิดซึ่งอารมณ์) นั่นแหละ