เมนู

ความหมายของคำว่าเจตนา



เจตยตีติ เจตนา

ธรรมที่ชื่อว่า เจตนา เพราะอรรถว่า ตั้งใจ
อธิบายว่า ย่อมยังสัมปยุตธรรมกับตนให้เป็นไปในอารมณ์ เจตนานั้นมี
ลักขณาทิจตุกะ ดังนี้.
เจตยิกลกฺขณา มีการตั้งใจเป็นลักษณะ คือมีความจงใจเป็น
ลักษณะ อายูหนรสา มีการประมวลมาเป็นรส. จริงอยู่ เจตนาที่เป็น
ไปในภูมิ 4 ชื่อว่า ไม่มีความจงใจเป็นลักษณะก็หาไม่. เจตนาทั้งหมด
มีความตั้งใจเป็นลักษณะทั้งนั้น ก็เจตนาที่มีการประมวลมาเป็นรสย่อมเป็นทั้ง
กุศล และอกุศลทั้งนั้น เพ่งถึงฐานะแห่งการประมวลมาซึ่งกุศลกรรม และ
อกุศลกรรมแล้ว สัมปยุตธรรมที่เหลือก็มีกิจเพียงบางส่วนเท่านั้น แต่ว่า
เจตนามีอุตสาหะยิ่งนัก มีความพยายามยิ่งนัก คือมีอุตสาหะสองเท่า มีความ
พยายามสองเท่า ด้วยเหตุนั้น อาจารย์ในปางก่อน จึงกล่าวว่า ก็แล เจตนา
นี้ตั้งอยู่ในสภาพความเป็นเจ้าของแท้ เจ้าของนา เรียกว่า เจ้าของแท้ เหมือน
อย่างว่า บุรุษเจ้าของนาชวนบุรุษรวมแรงกัน 55 คน หยั่งลงนาพร้อมกัน
โดยบอกว่า เราจักเกี่ยวข้าว ดังนี้ เจ้าของนามีความอุตสาหะยิ่ง มีความพยายาม
ยิ่ง คือมีความอุตสาหะสองเท่า มีความพยายามสองเท่า ย่อมบอกกล่าวถึงเขต
มีคำว่า พวกท่านจงเกี่ยวติดต่อกันไป ดังนี้ แล้วจัดแจงสุราอาหารและของหอม
เป็นต้น นำไปให้ชนเหล่านั้น ย่อมชี้ทางให้เท่า ๆ กัน ฉันใด ข้ออุปไมยนี้
บัณฑิตพึงทราบฉันนั้นเถิด จริงอยู่ เจตนาเหมือนบุรุษเจ้าของนา ธรรม
ทั้งหลายเป็นกุศล 55 ที่เกิดขึ้นด้วยสามารถเป็นองค์ของจิต เหมือนบุรุษ
ผู้ร่วมแรงกัน 55 คน เพราะเพ่งถึงฐานะแห่งการประมวลมาซึ่งกุศลกรรม
และอกุศลกรรม เจตนาก็มีความอุตสาหะสองเท่า มีความพยายามสองเท่า