เมนู

อันเลิศต่าง ๆ ให้เรียบร้อยแล้วใส่สมุกประทับตรา ยกไปวางไว้ในสำนักพระ-
ราชา ทำลายตราแล้วเปิดสมุก แล้วพนักงานก็ถือเอาส่วนข้างบนจากกับแกง
ทั้งหลายใส่ภาชนะเพื่อลองชิมดูว่ามีโทษหรือไม่มีโทษ จากนั้นก็น้อมโภชนะมี
รสต่าง ๆ ไปถวายพระราชา พระราชาเท่านั้นทรงเป็นเจ้าของเสวยได้ตาม
ปรารถนา เพราะทรงเป็นใหญ่และทรงมีอำนาจ ธรรมนอกนั้นเสวยรสอารมณ์
บางส่วน เหมือนพ่อครัวเพียงแต่ชิม และทดลองชิมพระกระยาหารเพียงบางส่วน
เท่านั้น ฉันใด แม้ธรรมที่เหลือก็ฉันนั้น ย่อมเสวยรสอารมณ์เพียงบางส่วน
เท่านั้น เหมือนอย่างว่า พระราชาทรงเป็นเจ้าของ เพราะพระองค์ทรงเป็นใหญ่
เป็นผู้สมควร ย่อมเสวยตามความพอพระทัย ฉันใด แม้เวทนาก็ฉันนั้น
ย่อมเสวยรสแห่งอารมณ์ โดยความเป็นเจ้าของ เพราะความเป็นใหญ่ เป็นผู้
สมควร เพราะฉะนั้น ท่านจึงกล่าวว่า เวทนามีการเสวยอารมณ์เป็นรส.
ในการกำหนดเนื้อความที่สอง เวทนาที่ท่านประสงค์เอาในที่นี้ ท่าน
กล่าวว่า เวทนา (สุขเวทนา) ว่ามีการเสวยอาการที่น่าปรารถนาเป็นรส
เพราะอรรถว่า ย่อมเสวยรสแห่งอารมณ์ มีอาการน่าปรารถนาตามที่ประสบ
ก็เวทนานี้ เมื่อว่าโดยความชอบใจ ท่านกล่าวว่า มีความพอใจเป็นปทัฏฐาน
หมายถึงการปรากฏโดยสภาวะของตน ก็เพราะบุคคลผู้มีกายสงบแล้ว ย่อมเสวย
ความสุข ฉะนั้น พึงทราบว่า เวทนานี้มีความสงบเป็นปทัฏฐาน ดังนี้.

ความหมายของคำว่าสัญญา



นีลาทิเภทํ อารมฺมณํ สญฺชานาตีติ สญฺญา

ธรรมที่ชื่อว่า
สัญญา เพราะอรรถว่า ย่อมจำอารมณ์มีสีเขียวเป็นต้น สัญญานั้นมีลักขณา-
ทิจตุกะดังนี้
ที่อื่นใช้ ผสฺสปทฏฺฐานา มีผัสสะเป็นปทัฏฐาน.

สญฺชานนลกฺขณา สัญญานั้นมีการจำเป็นลักษณะ ปจฺจาภิญฺญาณ-
รสา
มีการทำเครื่องหมายเป็นรส.
จริงอยู่ สัญญาเป็นไปในภูมิ 4 ไม่ชื่อว่ามีความจำได้หามีไม่ สัญญา
ทั้งหมดล้วนมีความจำเป็นลักษณะทั้งนั้น. ก็ในที่นี้ สัญญาใดย่อมจำได้โดย
เครื่องหมาย สัญญานั้น ชื่อว่า มีการทำเครื่องหมายเป็นรส. พึงทราบความ
เป็นไปแห่งสัญญานั้นในเครื่องหมายนั้นอีก และในเวลาที่บุรุษกำหนดเครื่อง
หมายด้วยไฝดำเป็นต้น แล้วจำเครื่องหมายของบุคคลนั้นอีกว่า บุคคลนี้ ชื่อโน้น
ด้วยเครื่องหมายนั้น และในเวลาที่ขุนคลังผู้รักษาเครื่องประดับของพระราชา
ผูกชื่อหนังสือไว้ที่เครื่องประดับนั้น เมื่อพระราชาตรัสว่า เจ้าจงนำเครื่อง
ประดับชื่อโน้นมา ขุนคลังก็จุดประทีปแล้วเข้าไปในห้องด้วยประทีปนั้น อ่าน
หนังสือแล้วก็นำเครื่องประดับนั้น ๆ นั่นแหละมาได้.
อีกนัยหนึ่ง ก็เมื่อว่าโดยการรวบรวมธรรมทั้งหมด สัญญามีการจำได้
เป็นลักษณะ มีการทำนิมิตโดยปัจจัยให้จำได้อีกเป็นรส เหมือนช่างถากเป็นต้น
ทำเครื่องหมายที่ไม้เป็นต้น ด้วยสามารถแห่งนิมิตตามที่ตนทำไว้ ชื่อว่า การ
กระทำความโน้มน้าวไว้เป็นปัจจุปัฏฐาน
เหมือนคนตาบอดแสดงช้าง
หรือว่ามีการตั้งอยู่ในอารมณ์ไม่นานเป็นปัจจุปัฏฐาน เพราะไม่หยั่งลงในอารมณ์
เหมือนสายฟ้า หรือความที่มีอารมณ์ตามที่ปรากฏเป็นปทัฏฐาน เหมือนกับ
สัญญาที่เกิดขึ้นแก่ลูกเนื้อทั้งหลายในหุ่นหญ้าว่าเป็นคน. ก็ในที่นี้ สัญญาใด
เป็นญาณสัมปยุต สัญญานั้นก็เป็นไปตามญาณนั่นแหละ ธรรมที่เหลือทั้งหลาย
บัณฑิตพึงทราบเหมือนปฐวีธาตุเป็นต้น ในสสัมภารปฐวีธาตุเป็นต้น ดังนี้.

ความหมายของคำว่าเจตนา



เจตยตีติ เจตนา

ธรรมที่ชื่อว่า เจตนา เพราะอรรถว่า ตั้งใจ
อธิบายว่า ย่อมยังสัมปยุตธรรมกับตนให้เป็นไปในอารมณ์ เจตนานั้นมี
ลักขณาทิจตุกะ ดังนี้.
เจตยิกลกฺขณา มีการตั้งใจเป็นลักษณะ คือมีความจงใจเป็น
ลักษณะ อายูหนรสา มีการประมวลมาเป็นรส. จริงอยู่ เจตนาที่เป็น
ไปในภูมิ 4 ชื่อว่า ไม่มีความจงใจเป็นลักษณะก็หาไม่. เจตนาทั้งหมด
มีความตั้งใจเป็นลักษณะทั้งนั้น ก็เจตนาที่มีการประมวลมาเป็นรสย่อมเป็นทั้ง
กุศล และอกุศลทั้งนั้น เพ่งถึงฐานะแห่งการประมวลมาซึ่งกุศลกรรม และ
อกุศลกรรมแล้ว สัมปยุตธรรมที่เหลือก็มีกิจเพียงบางส่วนเท่านั้น แต่ว่า
เจตนามีอุตสาหะยิ่งนัก มีความพยายามยิ่งนัก คือมีอุตสาหะสองเท่า มีความ
พยายามสองเท่า ด้วยเหตุนั้น อาจารย์ในปางก่อน จึงกล่าวว่า ก็แล เจตนา
นี้ตั้งอยู่ในสภาพความเป็นเจ้าของแท้ เจ้าของนา เรียกว่า เจ้าของแท้ เหมือน
อย่างว่า บุรุษเจ้าของนาชวนบุรุษรวมแรงกัน 55 คน หยั่งลงนาพร้อมกัน
โดยบอกว่า เราจักเกี่ยวข้าว ดังนี้ เจ้าของนามีความอุตสาหะยิ่ง มีความพยายาม
ยิ่ง คือมีความอุตสาหะสองเท่า มีความพยายามสองเท่า ย่อมบอกกล่าวถึงเขต
มีคำว่า พวกท่านจงเกี่ยวติดต่อกันไป ดังนี้ แล้วจัดแจงสุราอาหารและของหอม
เป็นต้น นำไปให้ชนเหล่านั้น ย่อมชี้ทางให้เท่า ๆ กัน ฉันใด ข้ออุปไมยนี้
บัณฑิตพึงทราบฉันนั้นเถิด จริงอยู่ เจตนาเหมือนบุรุษเจ้าของนา ธรรม
ทั้งหลายเป็นกุศล 55 ที่เกิดขึ้นด้วยสามารถเป็นองค์ของจิต เหมือนบุรุษ
ผู้ร่วมแรงกัน 55 คน เพราะเพ่งถึงฐานะแห่งการประมวลมาซึ่งกุศลกรรม
และอกุศลกรรม เจตนาก็มีความอุตสาหะสองเท่า มีความพยายามสองเท่า