เมนู

เป็นปทัฏฐาน (คือเหตุใกล้ให้เกิดขึ้น) เพราะความเกิดขึ้นแห่งผสัสะไม่มีการ
ขัดขวางในอารมณ์ ที่ประมวลมาแห่งธรรมเหล่านั้น และอินทรีย์ที่ปรุงแต่ง
ดีแล้ว ดังนี้.

ความหมายของคำว่าเวทนา



เวทยตีติ เวทนา

ธรรมที่ชื่อว่า เวทนา เพราะอรรถว่า รู้สึก
อารมณ์ เวทนานั้นมีลักขณาทิจตุกะดังนี้
เวทยิตลกฺขณา มีการรู้สึกอารมณ์เป็นลักษณะ
อนุภวนรสา มีการเสวยรสอารมณ์เป็นกิจ
อิฏฺฐาการสมโภครสา หรือมีความเสวยอารมณ์ที่ชอบเป็นกิจ
เจตสิก อสฺสาทปจฺจุปฏฺฐานา มีความพอใจทางเป็นปัจจุปัฏฐาน
ปสฺสทฺธิปทฏฺฐานา มีปัสสัทธิเป็นปทัฏฐาน.
จริงอยู่ เวทนาเป็นไปในภูมิ 4 ชื่อว่า ไม่มีการรู้สึกอารมณ์
เป็นลักษณะก็หาไม่ แต่ท่านกล่าวว่า เวทนามีการเสวยอารมณ์เป็นรส ย่อมได้
เฉพาะสุขเวทนาเท่านั้น แล้วกลับปฏิเสธวาทะนั้นอีก แล้วแสดงเนื้อความนี้ว่า
สุขเวทนาก็ตาม ทุกขเวทนาก็ตาม อุเบกขาเวทนาก็ตาม ทั้งหมด มีการเสวย
อารมณ์เป็นรส จริงอยู่ มุ่งถึงฐานะการเสวยอารมณ์เป็นรสแล้วสัมปยุตตธรรม
ที่เหลือย่อมเสวยอารมณ์เพียงบางส่วน คือผัสสะก็เพียงกระทบอารมณ์เท่านั้น
สัญญามีเพียงจำอารมณ์เท่านั้น เจตนามีเพียงความตั้งใจเท่านั้น วิญญาณมีการ
รู้แจ้งอารมณ์เท่านั้น แต่เวทนาเท่านั้นย่อมเสวยรสแห่งอารมณ์โดยส่วนเดียว
เพราะความเป็นเจ้าของโดยความเป็นใหญ่ เป็นผู้สมควร จริงอยู่ เวทนา
เปรียบเหมือนพระราชา ธรรมที่เหลือเหมือนพ่อครัว พ่อครัวยังโภชนะมีรส

อันเลิศต่าง ๆ ให้เรียบร้อยแล้วใส่สมุกประทับตรา ยกไปวางไว้ในสำนักพระ-
ราชา ทำลายตราแล้วเปิดสมุก แล้วพนักงานก็ถือเอาส่วนข้างบนจากกับแกง
ทั้งหลายใส่ภาชนะเพื่อลองชิมดูว่ามีโทษหรือไม่มีโทษ จากนั้นก็น้อมโภชนะมี
รสต่าง ๆ ไปถวายพระราชา พระราชาเท่านั้นทรงเป็นเจ้าของเสวยได้ตาม
ปรารถนา เพราะทรงเป็นใหญ่และทรงมีอำนาจ ธรรมนอกนั้นเสวยรสอารมณ์
บางส่วน เหมือนพ่อครัวเพียงแต่ชิม และทดลองชิมพระกระยาหารเพียงบางส่วน
เท่านั้น ฉันใด แม้ธรรมที่เหลือก็ฉันนั้น ย่อมเสวยรสอารมณ์เพียงบางส่วน
เท่านั้น เหมือนอย่างว่า พระราชาทรงเป็นเจ้าของ เพราะพระองค์ทรงเป็นใหญ่
เป็นผู้สมควร ย่อมเสวยตามความพอพระทัย ฉันใด แม้เวทนาก็ฉันนั้น
ย่อมเสวยรสแห่งอารมณ์ โดยความเป็นเจ้าของ เพราะความเป็นใหญ่ เป็นผู้
สมควร เพราะฉะนั้น ท่านจึงกล่าวว่า เวทนามีการเสวยอารมณ์เป็นรส.
ในการกำหนดเนื้อความที่สอง เวทนาที่ท่านประสงค์เอาในที่นี้ ท่าน
กล่าวว่า เวทนา (สุขเวทนา) ว่ามีการเสวยอาการที่น่าปรารถนาเป็นรส
เพราะอรรถว่า ย่อมเสวยรสแห่งอารมณ์ มีอาการน่าปรารถนาตามที่ประสบ
ก็เวทนานี้ เมื่อว่าโดยความชอบใจ ท่านกล่าวว่า มีความพอใจเป็นปทัฏฐาน
หมายถึงการปรากฏโดยสภาวะของตน ก็เพราะบุคคลผู้มีกายสงบแล้ว ย่อมเสวย
ความสุข ฉะนั้น พึงทราบว่า เวทนานี้มีความสงบเป็นปทัฏฐาน ดังนี้.

ความหมายของคำว่าสัญญา



นีลาทิเภทํ อารมฺมณํ สญฺชานาตีติ สญฺญา

ธรรมที่ชื่อว่า
สัญญา เพราะอรรถว่า ย่อมจำอารมณ์มีสีเขียวเป็นต้น สัญญานั้นมีลักขณา-
ทิจตุกะดังนี้
ที่อื่นใช้ ผสฺสปทฏฺฐานา มีผัสสะเป็นปทัฏฐาน.